นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลกครั้งที่ 77 (77th Development Committee Meeting) และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 11-13 เมษายน 2551 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ถือเป็นการประชุมระดับผู้ว่าการของธนาคารโลกจากกลุ่มประเทศสมาชิก 24 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาแนวนโยบายที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาและการสนับสนุนทางการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่ด้อยโอกาสกว่า สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Group : SEA Group) ประกอบด้วยสมาชิก 11 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน และที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ก็คือในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการฯ ครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกลุ่ม SEA
สำหรับวาระที่คณะกรรมการพัฒนาการฯ หารือกันในครั้งนี้ประกอบด้วย 2 เรื่องหลักได้แก่
1. การขจัดปัญหาความยากจนในประเทศกลุ่มที่ยากจนที่สุด (Poorest Countries) โดยเฉพาะอาฟริกา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs) โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนโดยให้ความสมดุลกับการรักษาสภาพแวดล้อม อีกทั้งสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เปราะบางและสถานการณ์หลังเกิดความขัดแย้งในบางประเทศได้
2. การติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน โดยมุ่งในเรื่องราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับประเทศที่มีระดับรายได้ต่ำและปานกลาง
ซึ่งจากการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ คณะกรรมการพัฒนาการฯ เห็นว่าเป้าหมายในการขจัดความยากจนได้บรรลุผลในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการต่อไปเพื่อให้ประเทศต่างๆ สามารถลดระดับปัญหาความยากจนลดลงได้โดยทั่วถึง ตัวอย่างแนวทางที่ธนาคารโลกควรช่วยเหลือประเทศที่ยากจนที่สุด เช่น การส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนภาคเอกชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการเติบโตของภาคเกษตรกรรม เป็นต้น
สำหรับการติดตามภาวะเศรษฐกิจโลก คณะกรรมการพัฒนาการฯ เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการพัฒนาตลาดการเงินในประเทศกำลังพัฒนาน้อยมาก อย่างไรก็ดี แม้ว่าประเทศเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น แต่ก็ยังประสบปัญหาจากราคาน้ำมันและอาหารที่พุ่งตัวสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากจนกลุ่มใหญ่ ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงควรเร่งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเหล่านั้น นอกจากนี้ ควรเร่งปรับปรุงในเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพของบริการด้านสาธารณสุขและการศึกษา รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหามลภาวะต่างๆ
ในเรื่องการรับมือกับสถานการณ์ที่เปราะบางและสถานการณ์ภายหลังความขัดแย้ง คณะกรรมการพัฒนาการฯ เรียกร้องให้ธนาคารโลกให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่สันติภาพอย่างราบรื่น โดยมีการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลและการพัฒนาไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษ ซึ่งบทบาทของธนาคารโลกที่ชัดเจนประกอบกับความสนับสนุนทางวิชาการและการเงินจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
นอกจากนี้คณะกรรมการพัฒนาการฯ ยังได้รับทราบความคืบหน้าในการพัฒนายุทธศาตร์การมีส่วนร่วมระหว่างธนาคารโลกและประเทศกำลังพัฒนา และเห็นว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยที่ผ่านมามีการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ขึ้น ทั้งในด้านเงินกู้และการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลท้องถิ่น รวมทั้งเรื่องการลดขั้นตอนและต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในประเทศต่างๆ จึงขอสนับสนุนให้มีการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ต่อไป
ประเด็นสำคัญท้ายสุดที่คณะกรรมการพัฒนาการฯ ได้กล่าวถึงคือ กรอบยุทธ์ศาสตร์ (Strategic Framework) ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาของธนาคารโลก ซึ่งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการลดความยากจน โดยขอให้ธนาคารโลกประเมินความต้องการด้านการเงินและกลไกทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการเร่งให้มีข้อสรุปในการจัดตั้งกองทุน Climate Investment Fund เพื่อนำมาหารือในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการฯ ครั้งต่อไปในวันที่ 12 ตุลาคม 2551 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้แทนของกลุ่ม SEA ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ของธนาคารโลกตามที่กล่าวข้างต้น โดยได้แสดงชื่นชมในความพยายามของธนาคารโลกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศยากจนอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามได้แสดงความเป็นห่วงในประเด็นที่หลายประเทศอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษได้ในปี คศ. 2015 ตามที่กำหนด เนื่องจากโลกได้เผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างภูมิภาคและโลก รวมทั้งการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน นอกจากนั้นแล้ว ธนาคารโลกควรเปิดโอกาสให้ประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลางเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการของธนาคารฯ มากขึ้น ไม่ว่าโดยการเข้าร่วมบริจาคในกองทุนเพื่อการพัฒนาต่างๆ หรือการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ
“สำหรับในเรื่องปัญหาราคาน้ำมันและราคาอาหารที่พุ่งตัวสูงขึ้นในระยะที่ผ่านมา ธนาคารโลกจำเป็นต้องสนับสนุนให้ประชาคมโลกเปลี่ยนมาลงทุนในภาคการเกษตรและสวัสดิการสังคมให้มากขึ้น โดยร่วมมือกับประเทศผู้บริจาคและประเทศผู้รับความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดเพื่อลดผลกระทบทางลบและสร้างความสมดุลในการดำเนินมาตรการต่างๆ” นายสุรพงษ์กล่าวในท้ายที่สุด
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 29/2551 17 เมษายน 51--
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ถือเป็นการประชุมระดับผู้ว่าการของธนาคารโลกจากกลุ่มประเทศสมาชิก 24 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาแนวนโยบายที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาและการสนับสนุนทางการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่ด้อยโอกาสกว่า สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Group : SEA Group) ประกอบด้วยสมาชิก 11 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน และที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ก็คือในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการฯ ครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกลุ่ม SEA
สำหรับวาระที่คณะกรรมการพัฒนาการฯ หารือกันในครั้งนี้ประกอบด้วย 2 เรื่องหลักได้แก่
1. การขจัดปัญหาความยากจนในประเทศกลุ่มที่ยากจนที่สุด (Poorest Countries) โดยเฉพาะอาฟริกา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs) โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนโดยให้ความสมดุลกับการรักษาสภาพแวดล้อม อีกทั้งสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เปราะบางและสถานการณ์หลังเกิดความขัดแย้งในบางประเทศได้
2. การติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน โดยมุ่งในเรื่องราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับประเทศที่มีระดับรายได้ต่ำและปานกลาง
ซึ่งจากการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ คณะกรรมการพัฒนาการฯ เห็นว่าเป้าหมายในการขจัดความยากจนได้บรรลุผลในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการต่อไปเพื่อให้ประเทศต่างๆ สามารถลดระดับปัญหาความยากจนลดลงได้โดยทั่วถึง ตัวอย่างแนวทางที่ธนาคารโลกควรช่วยเหลือประเทศที่ยากจนที่สุด เช่น การส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนภาคเอกชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการเติบโตของภาคเกษตรกรรม เป็นต้น
สำหรับการติดตามภาวะเศรษฐกิจโลก คณะกรรมการพัฒนาการฯ เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการพัฒนาตลาดการเงินในประเทศกำลังพัฒนาน้อยมาก อย่างไรก็ดี แม้ว่าประเทศเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น แต่ก็ยังประสบปัญหาจากราคาน้ำมันและอาหารที่พุ่งตัวสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากจนกลุ่มใหญ่ ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงควรเร่งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเหล่านั้น นอกจากนี้ ควรเร่งปรับปรุงในเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพของบริการด้านสาธารณสุขและการศึกษา รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหามลภาวะต่างๆ
ในเรื่องการรับมือกับสถานการณ์ที่เปราะบางและสถานการณ์ภายหลังความขัดแย้ง คณะกรรมการพัฒนาการฯ เรียกร้องให้ธนาคารโลกให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่สันติภาพอย่างราบรื่น โดยมีการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลและการพัฒนาไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษ ซึ่งบทบาทของธนาคารโลกที่ชัดเจนประกอบกับความสนับสนุนทางวิชาการและการเงินจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
นอกจากนี้คณะกรรมการพัฒนาการฯ ยังได้รับทราบความคืบหน้าในการพัฒนายุทธศาตร์การมีส่วนร่วมระหว่างธนาคารโลกและประเทศกำลังพัฒนา และเห็นว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยที่ผ่านมามีการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ขึ้น ทั้งในด้านเงินกู้และการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลท้องถิ่น รวมทั้งเรื่องการลดขั้นตอนและต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในประเทศต่างๆ จึงขอสนับสนุนให้มีการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ต่อไป
ประเด็นสำคัญท้ายสุดที่คณะกรรมการพัฒนาการฯ ได้กล่าวถึงคือ กรอบยุทธ์ศาสตร์ (Strategic Framework) ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาของธนาคารโลก ซึ่งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการลดความยากจน โดยขอให้ธนาคารโลกประเมินความต้องการด้านการเงินและกลไกทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการเร่งให้มีข้อสรุปในการจัดตั้งกองทุน Climate Investment Fund เพื่อนำมาหารือในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการฯ ครั้งต่อไปในวันที่ 12 ตุลาคม 2551 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้แทนของกลุ่ม SEA ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ของธนาคารโลกตามที่กล่าวข้างต้น โดยได้แสดงชื่นชมในความพยายามของธนาคารโลกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศยากจนอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามได้แสดงความเป็นห่วงในประเด็นที่หลายประเทศอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษได้ในปี คศ. 2015 ตามที่กำหนด เนื่องจากโลกได้เผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างภูมิภาคและโลก รวมทั้งการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน นอกจากนั้นแล้ว ธนาคารโลกควรเปิดโอกาสให้ประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลางเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการของธนาคารฯ มากขึ้น ไม่ว่าโดยการเข้าร่วมบริจาคในกองทุนเพื่อการพัฒนาต่างๆ หรือการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ
“สำหรับในเรื่องปัญหาราคาน้ำมันและราคาอาหารที่พุ่งตัวสูงขึ้นในระยะที่ผ่านมา ธนาคารโลกจำเป็นต้องสนับสนุนให้ประชาคมโลกเปลี่ยนมาลงทุนในภาคการเกษตรและสวัสดิการสังคมให้มากขึ้น โดยร่วมมือกับประเทศผู้บริจาคและประเทศผู้รับความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดเพื่อลดผลกระทบทางลบและสร้างความสมดุลในการดำเนินมาตรการต่างๆ” นายสุรพงษ์กล่าวในท้ายที่สุด
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 29/2551 17 เมษายน 51--