เศรษฐกิจไทย
Executive Summary
เศรษฐกิจไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 66 สูงขึ้นที่ร้อยละ 3.8 ต่อปีเช่นเดียวกับ
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี
? ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน
? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.พ. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
52.6 จากระดับ 51.7 ในเดือนก่อน
ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 66 คิดเป็น
1.93 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย
เศรษฐกิจต่างประเทศ
GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน
? GDP เกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 4 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 66สูงขึ้นที่ร้อยละ 3.8ต่อปี
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 66 สูงขึ้นที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับที่ สศค. คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.9 ต่อปี) โดยเป็นระดับต่าสุดในรอบ 13 เดือน ตาม การชะลอตัวลงของราคาพลังงานและอาหารสด โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงที่ร้อยละ -0.12 ทั้งนี้ หมวดสินค้าหลักที่ส่งกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. 66 ได้แก่ 1) หมวดอาหารสาเร็จรูป 2) หมวดอาหารสด 3) หมวดยานพาหนะและน้ามันเชื้อเพลิง และ 4) หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปาและแสงสว่าง เนื่องจากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้วในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ มะนาว แตงกวา และน้ามันเชื้อเพลิง ขณะที่สินค้าที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม โดยเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว พบว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับที่ สศค. คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี (ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี)
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ.66 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ.66 ขยายตัวเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากดัชนีราคาที่สูงขึ้น ในทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดซีเมนต์ และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ขยายตัวร้อยละ 7.24.9 และร้อยละ 2.7ตามลาดับ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่ยังคงสูงขึ้นจากราคาพลังงาน รวมทั้งความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงและก่อสร้างเพื่อรองรับจานวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.พ. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.62.6จากระดับ 51.751.7ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 99และสูงสุดในรอบ 3636เดือน
โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้รับปัจจัยบวกมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในปี 6666อีกทั้งจานวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเปิดประเทศของจีน ส่งผลให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ราคาสินค้าทางการเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และราคา น้ามันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ปัจจัยลบมาจากค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง ความกังวลต่อสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เครื่องชี้ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 666คิดเป็น 1.9393เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย
โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ม.ค. 666อยู่ที่ 5.495.49ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)
ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ 26ก.พ -4มี.ค. 66) อยู่ที่ 2.11แสนรายเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1.90 แสนราย สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 1.6 หมื่นราย สอดคล้องกับจานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week
moving average ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1.97 แสนราย
มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค 65 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว และสหรัฐฯ มีการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ยารักษาโรค ยานพาหนะ เป็นต้น
มูลค่าการนาเข้า เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากเดือนก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 65โดยสหรัฐฯ มีการนาเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น โทรศัพท์มือถือ ยารักษาโรค เกม เครื่องกีฬา เป็นต้น
ดุลการค้า เดือน ม.ค. 66 ขาดดุลที่ -8.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -8.5หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
สหรัฐอเมริกา
มูลค่าการส่งออกสินค้า เดือน ม.ค. -ก.พ. 66 หดตัวที่ร้อยละ -6.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแม้จะเป็นการหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 65 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลให้อุปสงค์ภายนอกประเทศลดลง อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปี 66 หดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือน ธ.ค. 65 ที่ร้อยละ -9.9
มูลค่าการนาเข้าสินค้า เดือน ม.ค. -ก.พ. 66 หดตัวที่ร้อยละ -10.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการหดตัวที่เร่งขึ้นจากเดือน ธ.ค. 65ที่ร้อยละ -7.5เนื่องจากมีการนาเข้าน้ามันดิบและก๊าซธรรมชาติลดลง
ดุลการค้า เดือน ม.ค. -ก.พ. 66 เกินดุลที่ 116.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ 109.5พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 66 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ทีร้อยละ 1.9 ต่อปี นับเป็นระดับต่าที่สุดนับตั้งแต่ เดือน มี.ค. 65สืบเนื่องจากการปรับตัวลดลงของราคาทั้งในสินค้าหมวดหมู่อาหารและสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ยูโรโซน
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหดตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะหดตัวร้อยละ -1.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ญี่ปุ่น
GDPไตรมาส 4 ปี 65 (Final) ขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จะขยายตัวร้อยละ 3.5 ส่งผลให้ GDPGDPญี่ปุ่น ทั้งปี 65ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 10 มี.ค. 66 โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ -0.1 และคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร นอกจากนี้ BOJBOJยังคงเดินหน้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นประเภทอายุ 10ปีโดยไม่จากัดจานวน เพื่อปกป้องเพดานอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเอาไว้ที่ระดับร้อยละ 0.5
เกาหลีใต้
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 66 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่าสุดในรอบ 10เดือน โดยเป็นผลจากการที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้น
GDP
GDPไตรมาสที่ 4 ปี 65 (Final) ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ GDPGDPเกาหลีใต้ทั้งปี 65 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไต้หวัน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 66 อยู่ที่ร้อยละ 2.43 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.04จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 66 หดตัวที่ร้อยละ -17.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -21.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.พ. 66 หดตัวที่ร้อยละ -9.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -16.8จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ก.พ. 66 เกินดุลที่ระดับ 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 2.34พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อินโดนีเซีย
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 66 หดตัวร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 64ท่ามกลางการแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
รื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
ฟิลิปปินส์
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 66 อยู่ที่ร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยแรงกดดันเงินเฟ้อส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้ง ราคาบริการที่พักและร้านอาหาร เป็นสาคัญ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 65 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ร้อยละ 9.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเร่งตัวขึ้นในเกือบทุกกิจกรรม โดยเฉพาะการผลิตอุปกรณ์การขนส่ง อุปกรณ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เป็นสาคัญ
อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ทีร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม จานวนผู้ว่างงานอยู่ที่ 2.37 ล้านคน ในขณะที่การจ้างงานอยู่ที่ 47.35 ล้านคน โดยภาคบริการมีสัดส่วนมากที่สุดในการจ้างงานที่ร้อยละ 60.7 รองลงมาคือภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ 22.2) และภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ 17.1) ขณะเดียวกัน อัตราการมีส่วนร่วมในกาลังแรงงานลดลงเหลือร้อยละ 64.5จากร้อยละ 66.4ในเดือนธันวาคม
มาเลเซีย
อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกาลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
ออสเตรเลีย
ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 3.35ต่อปี สู่ร้อยละ 3.6ต่อปี
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายัวที่ร้อยละ 7.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการนาเข้า เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ม.ค. 66 เกินดุลที่ระดับ 11.95 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 16.72พัลล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นShanghaiShanghai(จีน) STISTI(สิงคโปร์) และ IDXIDX(อินโดนีเซีย) เป็นต้น เมื่อวันที่ 99มี.ค. 666ดัชนีปิดที่ระดับ 1,615.111,615.11จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่7 99มี.ค. 6666อยู่ที่ 58,784.0558,784.05ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7 99มี.ค. 6666นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ 6,563.96 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 22เดือน ถึง 2020ปี ปรับตัวลดลงในช่วง 22ถึง 13 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1111ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.991.99เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7 99มี.ค. 6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 6,844.426,844.42ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 99มี.ค. 6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 30,821.5630,821.56ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 99มี.ค. 666เงินบาทปิดที่ 35.0735.07บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.590.59จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต เปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ 0.01
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง