ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 29, 2023 11:16 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่  15/2566                            วันที่ 29 พฤษภาคม 2566
ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2566

?เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง?

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2566 ว่า ?เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง? โดยมีรายละเอียด
สรุปได้ ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนเมษายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 2.4
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนเมษายน 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.0 จากระดับ 53.8 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็น
การปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 และสูงสุดในรอบ 38 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัว
ดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง สำหรับรายได้เกษตรกร
ที่แท้จริง ในเดือนเมษายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่
และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -7.0 และ -1.4 ตามลำดับ
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชน
ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -8.4  แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 0.1 สำหรับการลงทุนในหมวด
การก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนมีนาคม 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 0.2 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -1.4 ขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -30.0
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยภาคการเกษตร สะท้อนจาก
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือนเมษายน 2566 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 12.0 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
เดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 2.4 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ อาทิ ยางพารา ข้าวโพด และหมวดปศุสัตว์
เป็นต้น สำหรับภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 95.0 จากระดับ 97.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการชะลอตัวของการผลิตจากวันหยุดต่อเนื่องในช่วงวันสงกรานต์ และอุปสงค์จากต่างประเทศที่ยังคงอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคและการท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัว และต้นทุนค่าระวางเรือที่เริ่มคลี่คลายลง สำหรับภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ในเดือนเมษายน 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวม จำนวน 2.18 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 644.0 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 18.2 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน อินเดีย รัสเซียและเกาหลีใต้ ตามลำดับ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศที่มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ในเดือนเมษายน 2566 จำนวน 21.3 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 27.4 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 11.0
เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี และแรงกดดันจากระดับราคาสินค้าลดลงต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.67 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.66 ส่วนสัดส่วน
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 61.2 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ ในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 0.58 ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทั้งหมด สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับที่มั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2566 อยู่ในระดับสูงที่ 223.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
?เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง
ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง?
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนเมษายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 2.4
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนเมษายน 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.0 จากระดับ 53.8 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็น
การปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 และสูงสุดในรอบ 38 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัว
ดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง สำหรับรายได้เกษตรกร
ที่แท้จริง ในเดือนเมษายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่
และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -7.0 และ -1.4

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน          2565          2565          2566
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่
(%yoy)          6.4%          14.0%          7.1%          7.3%          ?2.0%          ?0.5%          ?0.9%          ?7.0%          ?2.2%
%qoq_SA / %mom_SA                    0.9%          1.0%          1.1%          ?4.7%          2.3%          1.8%          ?3.8%
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง          5.3%          16.0%          9.2%          16.2%          ?14.8%          2.4%          0.2%          ?1.4%          1.6%
%qoq_SA / %mom_SA                    8.5%          ?7.1%          ?2.5%          ?13.6%          30.1%          ?0.8%          ?4.2%
ปริมาณรถจักรยานยนต์
จดทะเบียนใหม่ (%YoY)          12.0%          3.2%          6.0%          38.5%          6.3%          13.5%          20.1%          2.4%          11.1%
%qoq_SA / %mom_SA                    ?1.8%          6.2%          3.4%          ?1.4%          4.8%          ?0.7%          ?4.0%
ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%YoY)          ?1.4%          5.6%          0.9%          ?0.6%          ?10.6%          ?2.7%          ?1.7%          n.a.          ?2.7%
%qoq_SA / %mom_SA                    ?1.4%          0.1%          ?2.0%          ?7.2%          6.5%          0.6%          n.a.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)          43.9          43.4          40.8          43.6          47.9          52.7          53.8          55.0          53.3
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (%YoY)          7.0%          2.5%          7.5%          7.8%          9.7%          2.9%          ?1.6%          1.0%          2.5%

2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชน
ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -8.4  แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 0.1 สำหรับการลงทุนในหมวด
การก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนมีนาคม 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่
ร้อยละ 0.2 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -1.4 ขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลง
จากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -30.0



เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน          2565          2565          2566
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน
(%YoY)          ?1.2%          8.1%          3.6%          ?4.7%          ?10.7%          -5.6%          ?2.2%          n.a.          ?5.6%
%qoq_SA / %mom_SA                    1.8%          1.4%          ?6.4%          ?7.4%          7.2%          ?1.4%          n.a.
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์
เชิงพาณิชย์ (%YoY)          15.2%          20.6%          9.7%          37.5%          ?0.2%          ?10.2%          ?12.6%          ?8.4%          ?9.8%
%qoq_SA / %mom_SA                    15.9%          ?3.6%          1.3%          ?11.9%          4.0%          ?4.1%          0.1%
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%YoY)          13.4%          ?1.8%          18.4%          21.9%          14.6%          19.3%          29.0%          ?30.0%          5.0%
%qoq_SA / %mom_SA                    0.3%          19.9%          ?6.9%          1.2%          4.5%          ?5.1%          ?19.7%
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์
(%YoY)          ?2.5%          0.0%          ?7.8%          2.8%          ?4.7%          -3.3%          ?0.3%          0.2%          ?2.5%
%qoq_SA / %mom_SA                    2.0%          ?4.5%          ?1.0%          ?0.8%          2.7%          1.6%          ?1.4%
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (%YoY)          5.7%          7.2%          6.9%          5.6%          3.4%          2.2%          0.6%          ?1.4%          1.3%

3. การใช้จ่ายงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ ในเดือนเมษายน 2566 เบิกจ่ายได้รวมจำนวน 226.2 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 216.1 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 185.5 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 30.5 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 10.1 พันล้านบาท ทำให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 มีการเบิกจ่ายรวม 2,021.6 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 1,908.0 พันล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,644.8 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 263.2 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน113.6 พันล้านบาท

เครื่องชี้
ภาคการคลัง          FY2565          FY2565          FY2566
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          Q2          มี.ค.          เม.ย.          FY/YTD
รายจ่ายปีปัจจุบัน          2,932.6          983.6          606.3          679.2          663.4          982.2          709.7          248.3          216.1          1,908.0
 %YoY          ?2.6          4.8          ?1.1          0.3          ?15.3          -0.1          17.1          -8.8          11.4          7.0
รายจ่ายประจำ          2,516.7          886.6          515.2          570.8          543.9          858.7          600.5          200.8          185.5          1,644.8
%YoY          ?2.6          2.4          ?2.1          3.2          ?14.8          -3.1          16.5          -13.2          14.3          5.2
รายจ่ายลงทุน          415.9          97.0          91.0          108.4          119.5          123.4          109.2          47.4          30.5          263.2
%YoY          ?2.9          32.8          5.0          ?12.3          ?17.6          27.3          20.0          15.9          ?3.5          19.8
รายจ่ายปีก่อน          213.6          75.5          57.6          31.8          48.7          58.9          44.5          16.2          10.1          113.6
%YoY          8.7          -5.3          6.4          18.7          36.1          -22.0          -22.7          -24.4          6.6          -20.4
รายจ่ายรวม          3,146.3          1,059.1          663.9          711.0          712.0          1,041.1          754.2          264.6          226.2          2,021.6
%YoY          ?1.9          4.0          ?0.5          1.0          ?13.1          -1.7          13.6          -10.0          11.2          4.9

4.  เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือนเมษายน 2566 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 12.0 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
เดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 2.4 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ อาทิ ยางพารา ข้าวโพด และหมวดปศุสัตว์
เป็นต้น สำหรับภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 95.0 จากระดับ 97.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการชะลอตัวของการผลิตจากวันหยุดต่อเนื่องในช่วงวันสงกรานต์ และอุปสงค์จากต่างประเทศที่ยังคงอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคและการท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัว และต้นทุนค่าระวางเรือที่เริ่มคลี่คลายลง สำหรับภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ในเดือนเมษายน 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวม จำนวน 2.18 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 644.0 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 18.2 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน อินเดีย รัสเซียและเกาหลีใต้ ตามลำดับ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศที่มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ในเดือนเมษายน 2566 จำนวน 21.3 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 27.4 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 11.0

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน          2565          2565          2566
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%YoY)          1.7%          3.1%          4.1%          ?3.6%          2.9%          8.1%          10.9%          12.0%          8.9%
%qoq_SA / %mom_SA                    0.2%          1.9%          ?3.2%          4.1%          5.2%          1.8%          2.4%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
(%YoY)          0.4%          1.4%          ?1.1%          7.7%          ?6.0%          ?3.9%          ?4.6%          n.a.          -3.9%
%qoq_SA / %mom_SA                    ?0.9%          ?0.2%          ?0.2%          ?4.8%          1.3%          ?2.2%          n.a.
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%)          62.8%          66.8%          61.2%          62.8%          60.3%          63.7%          66.1%          n.a.          63.7%
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)          89.3          88.0          85.6          90.4          93.1          96.0          97.8          95.0          95.7
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%YoY)          2,506.6%          2,365.5%          7,704.0%          7,847.7%          1,497.8%          1,202.4%          953.0%          644.0%          995.3%
%qoq_SA / %mom_SA                    9.3%          957.1%          33.4%          2.2%          ?12.3%          22.0%          18.2%
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย
(%YoY)          181.7%          72.2%          400.4%          1,169.3%          83.4%          37.1%          32.2%          27.4%          33.7%
%qoq_SA / %mom_SA                    75.3%          64.4%          -4.6%          -30.4%          18.6%          17.1%          11.0%


5. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี และแรงกดดันจากระดับราคาสินค้าลดลงต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.67 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.66 ส่วนสัดส่วน
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 61.2 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ ในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 0.58 ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทั้งหมด สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับที่มั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2566 อยู่ในระดับสูงที่ 223.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ          2565          2565          2566
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ภายในประเทศ
อัตราการว่างงาน (%)          1.3%           1.5%          1.4%          1.2%          1.2%          1.0%          1.0%          n.a.          1.0%
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม.33)          0.57%          0.61%          0.52%          0.62%          0.52%          0.60%          0.69%          0.58%          0.60%
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%YoY)          6.08%           4.74%          6.46%          7.29%          5.81%          3.88%          2.83%          2.67%          3.57%
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%YoY)          2.50%           1.44%          2.26%          3.08%          3.21%          2.23%          1.75%          1.66%          2.09%
หนี้สาธารณะต่อ GDP(%)          61.0%          60.6%          61.0%          60.5%          61.0%          61.2%          61.2%          n.a.          61.2%
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)          -17.2          ?2.4          ?8.0          -7.7          0.9          4.0          4.8          n.a.          4.0
ทุนสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)          216.6          242.4          222.3          199.4          216.6          224.5          224.5          223.4          223.4
ฐานะสุทธิ Forward (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)          29.2          30.5          28.7          28.7          29.2          27.1          27.1          28.6          28.6


























ตารางที่ 1 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators) ในเดือนเมษายน 2566
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ
รายเดือน          2565          2565          2566
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ภาวะเศรษฐกิจภายนอก
ราคาน้ำมันดิบ Dubai (ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล) /7          96.04          95.40          107.84          96.10          84.83          80.29          78.28          83.49          81.09
อัตราดอกเบี้ย Federal Fund (%)/7          4.25-4.50          0.25?0.50          1.50?1.75          3.00?3.25          4.25-4.50          4.75-5.00          4.75-5.00          4.75?5.00          4.75?5.00
ด้านอุปสงค์
การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (%YoY)/1          6.4          14.0          7.1          7.3          -2.0          -0.5          -0.9          ?7.0          ?2.2
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%YoY)/13          5.3          16.0          9.2          16.2          ?14.8          2.4          -0.2          ?1.4          1.6
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%YoY)/12          12.0          3.2          6.0          38.5          6.3          13.5          20.1          2.4          11.1
ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐ (%YoY) /14          ?1.4          5.6          0.9          ?0.6          ?10.6          -2.7          -1.7          n.a.          ?2.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวม (ระดับ) /5          43.9          43.4          40.8          43.6          47.9          52.7          53.8          55.0          53.3
การลงทุนภาคเอกชน
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐ (%YoY)/14          -1.2          8.1          3.6          ?4.7          -10.7          -5.6          -2.2          n.a.          -5.6
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์  (%YoY)/13           15.2          20.6          9.7          37.5          -0.2          -10.2          -12.6          ?8.4          ?9.8
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม  (%YoY) /1          13.4          ?1.8          18.4          21.9          14.6          19.3          29.0          ?30.0          5.0
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%YoY) /14          -2.5          0.0          ?7.8          2.8          -4.7          -3.3          -0.3          0.2          ?2.5
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (%YoY) /4          5.7          7.2          6.9          5.6          3.4          2.2          0.6          ?1.4          1.3
การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการส่งออก (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ); ระบบศุลกากร/4          287.1          73.6          75.5          72.2          65.8          70.3          27.7          n.a.          70.3
(%YoY) /4          5.5          14.7          10.7          6.6          ?8.5          -4.5          -4.2          n.a.          -4.5
ราคาสินค้าส่งออก  (%YoY) /4           4.2          3.9          5.1          4.4          3.1          2.0          0.9          n.a.          2.0
ปริมาณการส่งออก  (%YoY)/14          1.3          10.3          5.3          2          -11.3          -6.2          -5.1          n.a.          -6.2
มูลค่าการนำเข้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ระบบศุลกากร/4          303.2          73.7          79.8          80.9          68.8          73.3          24.9          n.a.          73.3
(%YoY) /4          13.6          17.0          21.8          20.2          ?3.3          -0.5          -7.1          n.a.          -0.5
ราคาสินค้านำเข้า  (%YoY) /4           11.1          12.6          14.1          11.2          6.7          2.0          -1.7          n.a.          2.0
ปริมาณการนำเข้า (%YoY)/14           2.2          3.9          6.7          8.1          ?9.3          -2.7          -5.6          n.a.          -2.7
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ);ระบบศุลกากร/4           -16.1          ?0.1          ?4.3          -8.7          -3.0          -3.0          2.7          n.a.          -3.0
ด้านอุปทาน
ภาคการเกษตร
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (%YoY) /6          1.7          3.1          4.1          ?3.6          2.9          8.1          10.9          12.0          8.9
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร  (%YoY)  /6          11.6          4.5          10.1          20.1          12.9          -1.3          ?8.7          ?7.3          ?2.9
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (%YoY) /14          7.0          2.5          7.5          7.8          9.7          2.9          ?1.6          1.0          2.5
การจ้างงานภาคเกษตร (%YoY) /3          ?0.8          3.0          ?0.8          ?2.2          ?3.0          1.6          1.2          n.a.          1.6
ภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%YoY) /9          0.4          1.4          ?1.1          7.7          ?6.0          ?3.9          ?4.6          n.a.          ?3.9
มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐ (%YoY)/4          8.3          7.3          16.2          16.6          ?6.8          ?5.3          1.5          n.a.          -5.3
ปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐ (%YoY) /14          3.2          0.2          9.3          12.1          ?9.0          ?7.9          ?0.5          n.a.          -7.9
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%) /9          62.8          66.8          61.2          62.8          60.3          63.7          66.1          n.a.          63.7
การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม (%YoY) /3          3.8          1.1          3.3          4.8          7.1          -0.2          ?0.7          n.a.          -0.2
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)/8          89.3          88.0          85.6          90.4          93.1          96.0          97.8          95.0          95.7
ภาคบริการ
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ(ล้านคน)/10          11.15          0.50          1.58          3.61          5.46          6.48          2.22          2.18          8.66
(%YoY)  /14          2,506.6          2,366.0          7,704.0          7,847.7          1,497.8          1,202.4           953.0          644.0          995.3
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (%YoY)/10          181.7          72.2          400.4          1,169.3          83.4          35.9          32.2          27.4          33.7
การจ้างงานภาคบริการ (%YoY) /3          7.4          4.4          6.2          10.4          8.8          4.0          4.8          n.a.          4.0


เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ          2565          2565          2566
รายเดือน                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท/ดอลลาร์สหรัฐ)/2           35.0          33.1          34.4          36.4          36.2          33.9          34.5          34.3          34.0
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)/2           -17.2          ?2.4          ?8.0          -7.7          0.9          4.0          4.8          n.a.          4.0
ทุนสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)/2           216.6          242.4          222.3          199.4          216.6          224.5          224.5          223.4          223.4
ฐานะซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)/2           29.2          30.5          28.7          28.7          29.2          27.1          27.1          28.6          28.6
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ
อัตราการว่างงาน (%) /3          1.3          1.5          1.4          1.2          1.2          1.0          1.0          n.a.          1.0
ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33)          0.57          0.61          0.52          0.62          0.52          0.60          0.69          0.58          0.60
ดัชนีราคาผู้ผลิต  (%YoY)  /4          10.4          9.8          13.3          11.1          7.3          0.7          -1.7          -3.4          -0.3
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป  (%YoY)  /4          6.08          4.74          6.46          7.29          5.81          3.88          2.83          2.67          3.57
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%YoY)  /4          2.50          1.44          2.26          3.08          3.21          2.23          1.75          1.66          2.09
หนี้สาธารณะต่อ GDP(%) /1          61.0          60.6          61.0          60.5          61.0          61.2          61.2          n.a.          61.2


ภาคการคลัง (ปีงบประมาณ)/1          FY2565          FY2565           FY2565           FY2565           FY2565           FY2566           FY2566           FY2566           FY2566           YTD/FY 2566
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1/66          Q2/66          มี.ค.66          เม.ย.66
รายจ่ายปีปัจจุบัน (พันล้านบาท)/1          2,932.6          983.6          606.3          679.2          663.4          982.2          709.7          248.3          216.1          1,908.0
(%YoY) /1          ?2.6          4.8          ?1.1          0.3          ?15.3          -0.1          17.1          -8.8          11.4          7.0
รายจ่ายประจำ (พันล้านบาท)/1          2,516.7          886.6          515.2          570.8          543.9          858.7          600.5          200.8          185.5          1,644.8
(%YoY) /1          ?2.6          2.4          ?2.1          3.2          ?14.8          -3.1          16.5          -13.2          14.3          5.2
รายจ่ายลงทุน (พันล้านบาท)/1          415.9          97.0          91.0          108.4          119.5          123.4          109.2          47.4          30.5          263.2
(%YoY) /1          ?2.9          32.8          5.0          ?12.3          ?17.6          27.3          20.0          15.9          ?3.5          19.8
รายจ่ายปีก่อน (พันล้านบาท)/1          213.6          75.5          57.6          31.8          48.7          58.9          44.5          16.2          10.1          113.6
(%YoY) /1          8.7          -5.3          6.4          18.7          36.1          -22.0          -22.7          -24.4          6.6          -20.4
รายจ่ายรวม (พันล้านบาท)/1          3,146.3          1,059.1          663.9          711.0          712.0          1,041.1          754.2          264.6          226.2          2,021.6
(%YoY) /1          ?1.9          4.0          ?0.5          1.0          ?13.1          -1.7          13.6          -10.0          11.2          4.9
ที่มา: 1/กระทรวงการคลัง 2/ธนาคารแห่งประเทศไทย 3/สำนักงานสถิติแห่งชาติ 4/กระทรวงพาณิชย์ 5/มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 6/สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 7/Reuters
8/สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 9/สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 10/กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 11/ กรมจัดเก็บประกอบด้วยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต
และกรมศุลกากร 12/กรมการขนส่งทางบก 13/บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 14/คำนวณโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง




          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ