รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 14 ก.ค. 66

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 17, 2023 14:22 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 55.7ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13และสูงสุดในรอบ 3 ปี 4 เดือนความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟืนตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ สะท้อนจากภาคการท่องเที่ยวและบริการที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง จากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพจากภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)การปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมการขนส่งเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบที่สำคัญที่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคได้แก่ แรงกดดันจากช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ที่ยังคงสร้างแรงกดดันต่อการตัดสินลงทุนของผู้ประกอบการภาคเอกชน รวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงเป็นต้น เครื่องชี้ภาคการเงิน

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ค.66คิดเป็น 1.97เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดำรงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน พ.ค. 66อยู่ที่ 5.63ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100(หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (LiquidityCoverageRatio:LCR)ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59 เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปี นับตั้งแต่เดือน เม.ย. 64 และต่ำกว่าคาดการณ์ตลาดที่ร้อยละ 3.1ต่อปี เป็นผลจากฐานสูงในปีก่อนหน้า รวมถึงราคาพลังงาน ราคาอาหาร และรราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวลดลง เป็นสำคัญมจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (2-8 ก.ค. 66) อยู่ที่ 2.37 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.49 แสนราย และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่ ส2.50 แสนราย สอดคล้องกับ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (fourweek moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.47แสนรายอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่จีนเผชิญภาวะเงินฝืดในเดือน มี.ค. 64 ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัว โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาที่ไม่ใช่อาหาร ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนด้านการศึกษา เป็นสำคัญมูลค่าการส่งออกสินค้า เดือน มิ.ย. 66 หดตัวที่ร้อยละ -12.4 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -7.5 ต่อปี ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -9.5 ต่อปี และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัว โดยมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียนลดลง เป็นสำคัญจมูลค่าการนำเข้าสินค้า เดือน มิ.ย. 66 หดตัวที่ร้อยละ -6.8 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -4.5 ต่อปี ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -4.0ต่อปี และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวดุลการค้าเดือน มิ.ย. 66 เกินดุลที่ 70.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกิดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 65.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 74.80พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยโฆษกกรมศุลกากรจีนกล่าวว่า การค้าของจีนยังคงเผชิญกับแรงกดดันอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปีคำสั่งซื้อเครื่องมือเครื่องจักร เดือน มิ.ย. 66 หดตัวร้อยละ -21.7 จากปีก่อนหน้า จากที่หดตัวร้อยละ -22.2ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า โดยอุปสงค์ลดลงทั้งจากในประเทศและต่างประเทศญผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 4.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7เดือน เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

GDP (เบื้องต้น) ไตรมาส 2 ปี 66 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.9จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 64 ยเผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน และนับเป็นการขยายตัวมสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 66 อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 65ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9 อัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาลแล้ว) เดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ของกำลังแรงงานรวมตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5ของกำลังแรงงานรวมลธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.5 ในรอบประชุมเดือน ก.ค. 66 เซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงซดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ระดับ 127.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 128.3จุด จากการลดลงของทุกปัจจัยชี้วัดตามแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศและโภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.2ต่อปี เออัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 66 ขยายตัวร้อยละ 4.81 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5เดือน จากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร เชื้อเพลิง ค่าไฟ และเสื้อผ้า เป็นสำคัญ เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -20.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ถือเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือนมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 66 หดตัวร้อยละ -8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนฟหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.0จากช่วงเดียวกันปีก่อนอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 ลดลงจากร้อยละ 6.1ในเดือนก่อนหน้า เป็นการเพิ่มขึ้นที่ชะลอตัวลง และถือเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับจาก เดือน พ.ค. 65 อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค 66 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับจากไตรมาสสุดท้ายของปี 64 จดุลการค้า เดือน พ.ค. 66 ขาดดุล -6.58 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นการขาดดุลที่มากที่สุดนับจาก ธ.ค. 65เนื่องจากการส่งออกหดตัวลงร้อยละ -2.6ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 11เดือน และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 สผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 66 หดตัวร้อยละ -2.3 จากปีก่อนหน้าซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นShanghai(จีน)HangSeng(ฮ่องกง) และ Nikkei225(ญี่ปุ่น) เป็นต้น เมื่อวันที่ 13ก.ค. 66ดัชนีปิดที่ระดับ 1,494.02จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 10-13ก.ค. 66อยู่ที่ 40,247.49 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 10-13ก.ค. 66 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ -2,165.27ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2ถึง 20ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1ถึง 5bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4ปี และ 26ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.0และ 3.3 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่10-13ก.ค. 66 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -4,328.44ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่13ก.ค.66 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -75,598.62ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่13ก.ค. 66เงินบาทปิดที่ 34.58บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.5จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตเปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อยู่ที่ร้อยละ 0.17

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ