ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 26, 2023 13:28 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 107/2566 วันที่ 26 กรกฎาคม 2566
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566
?เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญของไทยที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 และสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ที่ยังมีความไม่แน่นอน?
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่า ?เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 3.0 ถึง 4.0) ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2566 จะมีจานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจานวน 29.5 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 164.2 ต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จานวน 1.25 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 243.8 จากปี 2565 และการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.5 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 ถึง 5.0) ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้และแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่คลี่คลายลง สาหรับการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 ถึง 3.1) จากความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มกลับมาดีขึ้นตามทิศทางของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดี การดาเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจคู่ค้าสาคัญของไทย จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐจะหดตัวที่ร้อยละ -0.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.3 ถึง -0.3) นอกจากนี้ การบริโภคภาครัฐคาดว่าหดตัวที่ร้อยละ -2.1 (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ -2.6 ถึง -1.6) ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.7 ถึง 2.7) โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปี 2567 ที่ล่าช้ากว่าปีที่ผ่านมา
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.2 ถึง 2.2) เนื่องจากแรงกดดันจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานได้คลี่คลายลงตามลาดับ ประกอบกับมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าของภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน สาหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะกลับมาเกินดุล 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของ GDP
- 2 -
ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า สาหรับปัจจัยสาคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจาก ประเทศหลัก ๆ เช่น จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย และรัสเซีย 2) สถานการณ์ราคาน้ามันในตลาดโลกที่ส่งผลต่อทิศทางเงินเฟ้อในประเทศ 3) สถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจจีน และ 4) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและการค้าระหว่างประเทศ
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3296 หรือ 3273
- 3 -
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566
2564 2565 2566f ณ ก.ค. 66 เฉลี่ย ช่วง
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
1.5
2.6
3.5
3.0 ถึง 4.0
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภค
- การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
0.6
6.3
4.5
4.0 ถึง 5.0
- การบริโภคภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
3.7
0.2
-2.1
-2.6 ถึง -1.6
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุน
- การลงทุนภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
3.0
5.1
2.6
2.1 ถึง 3.1
- การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
3.4
-4.9
2.2
1.7 ถึง 2.7
4) อัตราการขยายตัวของปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละ)
11.1
6.8
6.6
6.1 ถึง 7.1
5) อัตราการขยายตัวของปริมาณนาเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละ)
17.8
4.1
3.9
3.4 ถึง 4.4
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
32.4
10.8
8.7
5.6 ถึง 11.8
- มูลค่าสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ)
19.2
5.5
-0.8
-1.3 ถึง -0.3
- มูลค่าสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ)
27.7
15.3
-0.1
-0.6 ถึง 0.4
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
-10.6
-17.4
4.2
1.5 ถึง 6.9
- ร้อยละของ GDP
-2.1
-3.5
0.8
0.3 ถึง 1.3
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละ)
1.2
6.1
1.7
1.2 ถึง 2.2
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละ)
0.2
2.5
1.5
1.0 ถึง 2.0
สมมติฐานหลัก
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละ)
5.7
3.4
2.8
2.3 ถึง 3.3
2) ราคาน้ามันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล)
69.2
95.4
79.0
74.0 ถึง 84.0
สมมติฐานด้านนโยบาย
3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)
32.0
35.1
34.0
33.5 ถึง 34.5
4) รายจ่ายภาคสาธารณะ (ล้านล้านบาท)
4.01
4.12
4.11
4.01 ถึง 4.21
5) จานวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน)
0.4
11.2
29.5
28.5 ถึง 30.5
          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ