นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงข่าวรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมีความสมดุลมากขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากอุปสงค์ภายในประเทศผ่านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน ประกอบกับอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่การนำเข้าปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามอุปสงค์ภายในประเทศ สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังจะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวในระดับสูง โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวร้อยละ 10.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคมและร้อยละ 11.5 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงการบริโภคทั่วไปที่ดีขึ้นจากรายได้ประชาชนที่เพิ่มขึ้นตามรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร ประกอบกับการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคด้านสินค้าคงทนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 39.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคม และร้อยละ 39.1 ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -22.4 ต่อปี เช่นเดียวกับยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี หลังจากหดตัวมาโดยตลอดในช่วงปี 2550
ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนในระดับฐานรากที่ขยายตัวดีขึ้น นอกจากนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งเป็นเครื่องชี้การบริโภคในอนาคต ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 72.5 จุด
ในไตรมาสแรกของปี 2551 จากระดับ 69.4 จุด ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยมีปัจจัยหลักจากสถานการณ์การเมืองที่ชัดเจนขึ้นและมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้
การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 18.3 ต่อปี และร้อยละ 31.3 ต่อปี ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของทุกหมวดสินค้า ทั้งเครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ สอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่วัดจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ10.3 และร้อยละ 7.7 ต่อปี ตามลำดับ หลังจากที่เคยหดตัวที่ร้อยละ -1.4 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างที่วัดจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวลงร้อยละ -27.1 ในเดือนมีนาคม อันเป็นผลจากการที่ประชาชนชะลอการโอนซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อรอให้มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อสนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้ ทำให้ยอดจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสที่ 1 หดตัวร้อยละ -3.4 ต่อปี ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าในระยะต่อไปผลการลดภาษีดังกล่าวจะกระตุ้นให้มีการทำธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างเริ่มขยายตัวดีขึ้น
3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พบว่ารายได้จัดเก็บภาษีของรัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปีในเดือนมีนาคมและร้อยละ 9.3 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น ทั้งนี้ รายได้จัดเก็บจากภาษีฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 14.5 ต่อปีในเดือนมีนาคมและขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 ต่อปี สะท้อนถึงรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการที่ขยายตัวดีขึ้น ในด้านภาษีฐานการบริโภคขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 14.5 และร้อยละ 15.7 ต่อปีในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ตามลำดับ สะท้อนการบริโภคและการนำเข้าที่ขยายตัวดีขึ้น สำหรับรายจ่ายงบประมาณในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 125.1 พันล้านบาทและ 402.2 พันล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวรายจ่ายงบประมาณในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 หดตัวที่ -10.5 และร้อยละ -8.0 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากฐานที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ หลังจากที่การอนุมัติงบประมาณของปีงบประมาณ 2550 ล่าช้า
ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-มีนาคม 2551) ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี ซึ่งสะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
4. การส่งออกในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ยังคงขยายตัวได้ดี โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนมีนาคมและในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 14.8 และ 41.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 14.8 ต่อปี และร้อยละ 20.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับสาเหตุหลักที่มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาสินค้าส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 10.2 ต่อปีในเดือนมีนาคม และร้อยละ 9.9 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ในขณะที่ปริมาณสินค้าส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ในเดือนมีนาคมและร้อยละ 9.9 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นการชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 ต่อปี โดยเป็นการชะลอลงของสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากอุปสงค์จากตลาดโลกเริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมที่เร่งตัวขึ้นตามความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นได้ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกโดยรวมยังขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ขณะที่เมื่อพิจารณาจากมิติด้านตลาดการส่งออกพบว่า มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลักโดยเฉพาะสหรัฐและญี่ปุ่นชะลอลง ขณะที่ตลาดเกิดใหม่และตลาดภูมิภาค เช่น จีน อินโดนิเซีย และเวียดนาม ยังคงขยายตัวได้ดี สำหรับการนำเข้าในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ปรับตัวดีขึ้นมากตามการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยการนำเข้าในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14.6 และ 42.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 32.7 ต่อปี และร้อยละ 38.0 ต่อปี ตามลำดับ โดยการนำเข้าที่ขยายตัวนี้เป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่สินค้าหมวดเชื้อเพลิงขยายตัวสูงขึ้นมากตามราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น สำหรับดุลการค้าในเดือนมีนาคมกลับมาเกินดุลที่ 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ขาดดุลรวม -1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ทำให้ดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 ขาดดุลสุทธิที่ -1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พบว่า ผลผลิต
ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจากการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้
ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือนมีนาคมที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ร้อยละ 25.7 ต่อปี ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.8 ต่อปี ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี และ 9.3 ต่อปีตามลำดับ อันเป็นผลจากการขยายตัวของผลผลิตข้าว และพืชพลังงานต่าง ๆ เช่น
มันสำปะหลังและปาล์มน้ำมัน ที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามความต้องการในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคบริการจากการท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 1.40 ล้านคน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 1 อยู่ที่ 4.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 13.3 ต่อปี เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางการเมืองสูงเช่นนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นจึงเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น ส่วนเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนมีนาคมและไตรมาส 1 ของปี 2551 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ต่อปี และร้อยละ 11.7 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับที่มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบที่ขยายตัวในระดับสูงมากที่ร้อยละ 30.1 ต่อปี และร้อยละ 29.7 ต่อปี
ในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ตามลำดับ
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในด้านเสถียรภาพภายนอกนั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศ
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ 110.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 100.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 4 เท่า ขณะที่เสถียรภาพในประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี และร้อยละ 5.0 ต่อปีตามลำดับ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าในหมวดอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราการว่างงานเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนมกราคมที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ของกำลังแรงงานรวม เนื่องจากการจ้างงานใน
ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวสูงขึ้นมากตามสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวได้ดี
ทำให้อัตราการว่างงานใน 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ทรงตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.6 ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 อยู่ที่ร้อยละ 36.4 ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ของ GDP ค่อนข้างมาก
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
โทร 0-2273-9020 ต่อ 3203, 3255
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 8/2551 28 เมษายน 2551--
1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวในระดับสูง โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวร้อยละ 10.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคมและร้อยละ 11.5 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงการบริโภคทั่วไปที่ดีขึ้นจากรายได้ประชาชนที่เพิ่มขึ้นตามรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร ประกอบกับการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคด้านสินค้าคงทนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 39.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคม และร้อยละ 39.1 ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -22.4 ต่อปี เช่นเดียวกับยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี หลังจากหดตัวมาโดยตลอดในช่วงปี 2550
ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนในระดับฐานรากที่ขยายตัวดีขึ้น นอกจากนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งเป็นเครื่องชี้การบริโภคในอนาคต ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 72.5 จุด
ในไตรมาสแรกของปี 2551 จากระดับ 69.4 จุด ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยมีปัจจัยหลักจากสถานการณ์การเมืองที่ชัดเจนขึ้นและมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้
การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 18.3 ต่อปี และร้อยละ 31.3 ต่อปี ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของทุกหมวดสินค้า ทั้งเครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ สอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่วัดจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ10.3 และร้อยละ 7.7 ต่อปี ตามลำดับ หลังจากที่เคยหดตัวที่ร้อยละ -1.4 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างที่วัดจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวลงร้อยละ -27.1 ในเดือนมีนาคม อันเป็นผลจากการที่ประชาชนชะลอการโอนซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อรอให้มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อสนับสนุนให้มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้ ทำให้ยอดจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสที่ 1 หดตัวร้อยละ -3.4 ต่อปี ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าในระยะต่อไปผลการลดภาษีดังกล่าวจะกระตุ้นให้มีการทำธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างเริ่มขยายตัวดีขึ้น
3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พบว่ารายได้จัดเก็บภาษีของรัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปีในเดือนมีนาคมและร้อยละ 9.3 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น ทั้งนี้ รายได้จัดเก็บจากภาษีฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 14.5 ต่อปีในเดือนมีนาคมและขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 ต่อปี สะท้อนถึงรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการที่ขยายตัวดีขึ้น ในด้านภาษีฐานการบริโภคขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 14.5 และร้อยละ 15.7 ต่อปีในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ตามลำดับ สะท้อนการบริโภคและการนำเข้าที่ขยายตัวดีขึ้น สำหรับรายจ่ายงบประมาณในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 125.1 พันล้านบาทและ 402.2 พันล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวรายจ่ายงบประมาณในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 หดตัวที่ -10.5 และร้อยละ -8.0 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากฐานที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ หลังจากที่การอนุมัติงบประมาณของปีงบประมาณ 2550 ล่าช้า
ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-มีนาคม 2551) ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี ซึ่งสะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
4. การส่งออกในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ยังคงขยายตัวได้ดี โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนมีนาคมและในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 14.8 และ 41.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 14.8 ต่อปี และร้อยละ 20.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับสาเหตุหลักที่มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาสินค้าส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 10.2 ต่อปีในเดือนมีนาคม และร้อยละ 9.9 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ในขณะที่ปริมาณสินค้าส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ในเดือนมีนาคมและร้อยละ 9.9 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นการชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 ต่อปี โดยเป็นการชะลอลงของสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากอุปสงค์จากตลาดโลกเริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมที่เร่งตัวขึ้นตามความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นได้ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกโดยรวมยังขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ขณะที่เมื่อพิจารณาจากมิติด้านตลาดการส่งออกพบว่า มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลักโดยเฉพาะสหรัฐและญี่ปุ่นชะลอลง ขณะที่ตลาดเกิดใหม่และตลาดภูมิภาค เช่น จีน อินโดนิเซีย และเวียดนาม ยังคงขยายตัวได้ดี สำหรับการนำเข้าในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ปรับตัวดีขึ้นมากตามการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยการนำเข้าในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14.6 และ 42.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 32.7 ต่อปี และร้อยละ 38.0 ต่อปี ตามลำดับ โดยการนำเข้าที่ขยายตัวนี้เป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่สินค้าหมวดเชื้อเพลิงขยายตัวสูงขึ้นมากตามราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น สำหรับดุลการค้าในเดือนมีนาคมกลับมาเกินดุลที่ 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ขาดดุลรวม -1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ทำให้ดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 ขาดดุลสุทธิที่ -1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พบว่า ผลผลิต
ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจากการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้
ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือนมีนาคมที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ร้อยละ 25.7 ต่อปี ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.8 ต่อปี ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี และ 9.3 ต่อปีตามลำดับ อันเป็นผลจากการขยายตัวของผลผลิตข้าว และพืชพลังงานต่าง ๆ เช่น
มันสำปะหลังและปาล์มน้ำมัน ที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามความต้องการในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคบริการจากการท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 1.40 ล้านคน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 1 อยู่ที่ 4.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 13.3 ต่อปี เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางการเมืองสูงเช่นนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นจึงเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น ส่วนเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนมีนาคมและไตรมาส 1 ของปี 2551 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ต่อปี และร้อยละ 11.7 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับที่มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบที่ขยายตัวในระดับสูงมากที่ร้อยละ 30.1 ต่อปี และร้อยละ 29.7 ต่อปี
ในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ตามลำดับ
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในด้านเสถียรภาพภายนอกนั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศ
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ 110.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 100.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 4 เท่า ขณะที่เสถียรภาพในประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี และร้อยละ 5.0 ต่อปีตามลำดับ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าในหมวดอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราการว่างงานเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนมกราคมที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ของกำลังแรงงานรวม เนื่องจากการจ้างงานใน
ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวสูงขึ้นมากตามสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวได้ดี
ทำให้อัตราการว่างงานใน 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ทรงตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.6 ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 อยู่ที่ร้อยละ 36.4 ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ของ GDP ค่อนข้างมาก
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
โทร 0-2273-9020 ต่อ 3203, 3255
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 8/2551 28 เมษายน 2551--