สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมีนาคม 2551 พร้อมทั้งรายงานสถานะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ดังนี้
ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ
1.1 เดือนมีนาคม 2551
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ครบกำหนดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จำนวน 34,950 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 4 รุ่น ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ได้ออกพันธบัตรรัฐบาลแล้ว 2 รุ่น จำนวน 19,000 ล้านบาท และในเดือนมีนาคมได้ออกพันธบัตรรัฐบาลอีก 2 รุ่น จำนวน 15,657 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 19,700 ล้านบาท โดยทำการ Refinance วงเงิน 12,000 ล้านบาท และ Roll Over วงเงิน 7,700 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงิน 3,500 ล้านบาท และ 4,200 ล้านบาท ตามลำดับ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการ Refinance หนี้เดิม วงเงิน 12,000 ล้านบาท
หนี้ต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ทำ Swap เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) วงเงินรวม 5,031 ล้านบาท
1.2 ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ในประเทศวงเงินรวม 49,657 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 34,657 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ทำการ Roll Over และRefinance หนี้เดิมรวม 37,188 ล้านบาท
หนี้ต่างประเทศ
รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศวงเงินรวม 9,199 ล้านบาท โดยเป็นการ Roll Over วงเงิน 7,500 ล้านบาท และเป็นการ Prepayment วงเงิน 1,699 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยรวม 258 ล้านบาท
2. การกู้เงินภาครัฐ
เดือนมีนาคม 2551
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณ วงเงินรวม 28,178 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 228 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน 10,950 ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง 17,000 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 8,396 ล้านบาท
โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ วงเงิน 4,500 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วงเงิน 2,896 ล้านบาท
อนึ่ง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ลงนามสัญญาเงินกู้กับ JBIC ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 สำหรับลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ วงเงินรวม 62,442 ล้านเยน โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 143,551 ล้านบาท
โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 102,448 ล้านบาท
และรัฐวิสาหกิจ 41,103 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ภาครัฐ
เดือนมีนาคม 2551
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ9,403 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 318 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 9,085 ล้านบาท
ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 57,592 ล้านบาท
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวน 3,329,420 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.35 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,107,862 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 933,560 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 99,602 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 167,427 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 20,969 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 5,136 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 11,953 ล้านบาท และ 1,923 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินและหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 7,737 ล้านบาท และ 1,003 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจาก การเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 14,269 ล้านบาท เนื่องจากการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 15,270 ล้านบาท และได้ชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 20,001 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 19,000 ล้านบาท และ Premium ที่เกิดจากการออกพันธบัตร จำนวน 1,001 ล้านบาท
สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ออกพันธบัตร วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และชำระคืนพันธบัตรที่ครบกำหนด วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ชำระคืนเงินกู้ระยะยาวและกู้เงินระยะสั้นเพิ่มเติม วงเงิน 593 ล้านบาท และ 4 ล้านบาท ตามลำดับ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้ชำระคืนเงินกู้ระยะยาว วงเงิน 198 ล้านบาท
สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันลดลง เนื่องจากการไฟฟ้าภูมิภาค บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศที่กู้เพื่อลงทุนในโครงการ และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลง เนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ชำระหนี้ต่างประเทศสำหรับค่าเช่าซื้อเครื่องบิน
หนี้สาธารณะ 3,329,420 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 404,751 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.16 และหนี้ในประเทศ 2,924,669 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.84 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,124,021 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.83 และหนี้ระยะสั้น 205,399 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.17 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนประสานสัมพันธ์นักลงทุน สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5309
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2551 28 เมษายน 51--
ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ
1.1 เดือนมีนาคม 2551
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ครบกำหนดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จำนวน 34,950 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 4 รุ่น ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ได้ออกพันธบัตรรัฐบาลแล้ว 2 รุ่น จำนวน 19,000 ล้านบาท และในเดือนมีนาคมได้ออกพันธบัตรรัฐบาลอีก 2 รุ่น จำนวน 15,657 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 19,700 ล้านบาท โดยทำการ Refinance วงเงิน 12,000 ล้านบาท และ Roll Over วงเงิน 7,700 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงิน 3,500 ล้านบาท และ 4,200 ล้านบาท ตามลำดับ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการ Refinance หนี้เดิม วงเงิน 12,000 ล้านบาท
หนี้ต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ทำ Swap เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) วงเงินรวม 5,031 ล้านบาท
1.2 ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ในประเทศวงเงินรวม 49,657 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 34,657 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ทำการ Roll Over และRefinance หนี้เดิมรวม 37,188 ล้านบาท
หนี้ต่างประเทศ
รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศวงเงินรวม 9,199 ล้านบาท โดยเป็นการ Roll Over วงเงิน 7,500 ล้านบาท และเป็นการ Prepayment วงเงิน 1,699 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยรวม 258 ล้านบาท
2. การกู้เงินภาครัฐ
เดือนมีนาคม 2551
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณ วงเงินรวม 28,178 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 228 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน 10,950 ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง 17,000 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 8,396 ล้านบาท
โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ วงเงิน 4,500 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วงเงิน 2,896 ล้านบาท
อนึ่ง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ลงนามสัญญาเงินกู้กับ JBIC ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 สำหรับลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ วงเงินรวม 62,442 ล้านเยน โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 143,551 ล้านบาท
โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 102,448 ล้านบาท
และรัฐวิสาหกิจ 41,103 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ภาครัฐ
เดือนมีนาคม 2551
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ9,403 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 318 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 9,085 ล้านบาท
ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 57,592 ล้านบาท
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวน 3,329,420 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.35 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,107,862 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 933,560 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 99,602 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 167,427 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 20,969 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 5,136 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 11,953 ล้านบาท และ 1,923 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินและหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 7,737 ล้านบาท และ 1,003 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจาก การเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 14,269 ล้านบาท เนื่องจากการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 15,270 ล้านบาท และได้ชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 20,001 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 19,000 ล้านบาท และ Premium ที่เกิดจากการออกพันธบัตร จำนวน 1,001 ล้านบาท
สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ออกพันธบัตร วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และชำระคืนพันธบัตรที่ครบกำหนด วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ชำระคืนเงินกู้ระยะยาวและกู้เงินระยะสั้นเพิ่มเติม วงเงิน 593 ล้านบาท และ 4 ล้านบาท ตามลำดับ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้ชำระคืนเงินกู้ระยะยาว วงเงิน 198 ล้านบาท
สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันลดลง เนื่องจากการไฟฟ้าภูมิภาค บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศที่กู้เพื่อลงทุนในโครงการ และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลง เนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ชำระหนี้ต่างประเทศสำหรับค่าเช่าซื้อเครื่องบิน
หนี้สาธารณะ 3,329,420 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 404,751 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.16 และหนี้ในประเทศ 2,924,669 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.84 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,124,021 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.83 และหนี้ระยะสั้น 205,399 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.17 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนประสานสัมพันธ์นักลงทุน สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5309
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2551 28 เมษายน 51--