ฉบับที่ 26/ วันที่ 21 สิงหาคม 2566
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566)
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 ? กรกฎาคม 2566) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 2,145,112 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 2,799,540 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 450,643 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 298,943 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566)
หน่วย: ล้านบาท
10 เดือนแรก
เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ2566
ปีงบประมาณ2565
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
2. รายจ่าย
2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน
2.2 รายจ่ายปีก่อน
3. ดุลเงินงบประมาณ
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
8. เงินคงคลังต้นงวด
9. เงินคงคลังปลายงวด
หมายเหตุ ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2566
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ
- 2 -
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนกรกฎาคม 2566 และในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566)
ในเดือนกรกฎาคม 2566 รัฐบาลขาดดุลเงินสด จำนวน 69,271 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุล เงินงบประมาณ จำนวน 53,511 ล้านบาท และเป็นการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 15,760 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 มีจำนวน 298,943 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนกรกฎาคม 2566 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 180,525 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 32,884 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 22.3) โดยการนำส่งรายได้ของกรมสรรพากรและส่วนราชการอื่นสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วเป็นสำคัญ เนื่องจากในปีงบประมาณ 2565 การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเหลื่อมไปในเดือนสิงหาคม 2565 ขณะที่ปีงบประมาณ 2566 ภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งในเดือนทั้งหมด ประกอบกับมีการนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นที่ไม่ได้อยู่ในประมาณการ ได้แก่ เงินเหลือจ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. โควิดฯ พ.ศ. 2563) 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 234,036 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว จำนวน 23,861 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 9.3) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 224,646 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 10.2 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 9,390 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 21.3 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 1) 1.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 186,405 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ 16.1 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เบิกจ่ายต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 38,241 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็น ร้อยละ 37.2 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรัฐวิสาหกิจ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย เบิกจ่ายสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 26,003 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 10,299 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 9,860 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 6,129 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 5,979 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงาน ศาลยุติธรรม จำนวน 4,506 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 3,356 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 3,236 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 3,060 ล้านบาท งบลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 2,808 ล้านบาท และงบรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง จำนวน 2,328 ล้านบาท - 3 - ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนกรกฎาคม 2566 หน่วย: ล้านบาท เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ 2566 2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 224,646 250,155 (25,509) (10.2) 1.1 รายจ่ายประจำ 186,405 222,291 (35,886) (16.1) 1.2 รายจ่ายลงทุน 38,241 27,864 10,377 37.2 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 9,390 7,742 1,648 21.3 3. รายจ่ายรวม (1+2) 234,036 257,897 (23,861) (9.3) ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ณ เดือนกรกฎาคม 2566 ขาดดุลจำนวน 69,271ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 53,511 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 15,760 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากถอนเงินฝากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน สุทธิ จำนวน 13,896 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 15,400 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 53,871 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 298,943 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนกรกฎาคม 2566 หน่วย: ล้านบาท เดือนกรกฎาคม 2566 เปรียบเทียบ 2566 2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 180,525 147,641 32,884 22.3 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 234,036 257,897 (23,861) (9.3) 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 224,646 250,155 (25,509) (10.2) 2.2 รายจ่ายปีก่อน 9,390 7,742 1,648 21.3 3. ดุลเงินงบประมาณ (53,511) (110,256) 56,745 51.5 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (15,760) (13,108) (2,652) (20.2) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (69,271) (123,364) 54,093 43.8 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 15,400 37,000 (21,600) (58.4) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (53,871) (86,364) 32,493 37.6 8. เงินคงคลังต้นงวด 352,814 587,915 (235,101) (40.0) 9. เงินคงคลังปลายงวด 298,943 501,551 (202,608) (40.4) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3557 - 4 - 2. ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566) 2.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 2,145,112 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 105,777 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 5.2) โดยหน่วยงานที่นำส่งรายได้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่สำคัญ ได้แก่ (1) ส่วนราชการอื่น เนื่องจากมีรายได้พิเศษที่ไม่ได้อยู่ในประมาณการ เช่น การนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนเป็นรายได้แผ่นดิน เงินเหลือจ่ายจากเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. โควิดฯ พ.ศ. 2563 เงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล รายได้จากสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น (2) กรมสรรพากร โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ (3) กรมศุลกากร ตามการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าในรูปเงินบาท ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ประกอบกับมีการชำระอากรขาเข้าย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของกรมสรรพสามิต (ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากมีมาตรการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเป็นการชั่วคราวจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง 2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 2,799,540 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 107,498 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.0) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 2,658,772 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 5.5 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 140,768 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 18.5 โดยรายจ่าย ปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 3) 2.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 2,270,990 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 89.5 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 2,538,663 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ 3.5 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานอิสระของรัฐ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เบิกจ่ายสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 387,782 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 60.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 646,337 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 19.6 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน และรัฐวิสาหกิจ เบิกจ่ายสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 248,968 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 201,122 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 142,298 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 98,848 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 89,261 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 84,506 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 77,084 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 72,840 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 49,284 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานประกันสังคม จำนวน 48,514 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง จำนวน 35,689 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 33,514 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง จำนวน 23,195 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 20,227 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมการข้าว จำนวน 15,674 ล้านบาท งบลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 13,184 ล้านบาท - 5 - ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566) หน่วย: ล้านบาท 10 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2566 ปีงบประมาณ2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 2,658,772 2,519,327 139,445 5.5 1.1 รายจ่ายประจำ 2,270,990 2,195,018 75,972 3.5 1.2 รายจ่ายลงทุน 387,782 324,309 63,473 19.6 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 140,768 172,715 (31,947) (18.5) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,799,540 2,692,042 107,498 4.0 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จำนวน 775,719 ล้านบาท โดยเป็น การขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 654,428 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 121,291 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 สุทธิ จำนวน 43,954 ล้านบาท การถอนเงินฝากคลังของภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม งวดที่ 10 - 12 ของปีงบประมาณ 2565 จำนวน 34,000 ล้านบาท ถอนเงินฝากคลังของกองทุนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน สุทธิ จำนวน 17,855 ล้านบาท ถอนเงินฝากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน สุทธิ จำนวน 13,896 ล้านบาท และถอนเงินฝากคลังของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก สุทธิ จำนวน 10,267 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 450,643 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 325,076 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 298,943 ล้านบาท (ตารางที่ 4) - 6 - ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566) หน่วย: ล้านบาท 10 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ2566 ปีงบประมาณ2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 2,145,112 2,039,335 105,777 5.2 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 2,799,540 2,692,042 107,498 4.0 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 2,658,772 2,519,327 139,445 5.5 2.2 รายจ่ายปีก่อน 140,768 172,715 (31,947) (18.5) 3. ดุลเงินงบประมาณ (654,428) (652,707) (1,721) (0.3) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (121,291) (92,564) (28,727) (31.0) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (775,719) (745,271) (30,448) (4.1) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 450,643 658,075 (207,432) (31.5) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (325,076) (87,196) (237,880) (272.8) 8. เงินคงคลังต้นงวด 624,019 588,747 35,272 6.0 9. เงินคงคลังปลายงวด 298,943 501,551 (202,608) (40.4) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566 ที่มา: กระทรวงการคลัง