นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 2,338,649 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 3,010,172 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 497,643 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 317,385 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566
(ตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566)
หน่วย: ล้านบาท11 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณปีงบประมาณ
จำนวน ร้อยละ 2566 2565 1. รายได้ 2,338,649 2,241,425 97,224 4.3 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 3,010,172 2,894,069 116,103 4.0 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 2,860,960 2,708,101 152,859 5.6 2.2 รายจ่ายปีก่อน 149,212 185,968 (36,756) (19.8) 3. ดุลเงินงบประมาณ (671,523)(652,644)(18,879)(2.9)4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (132,754)(73,621)(59,133)(80.3)5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (804,277)(726,265)(78,012)(10.7)6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 497,643 676,183 (178,540)(26.4)7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (306,634)(50,082)(256,552)(512.3)8. เงินคงคลังต้นงวด 624,019 588,747 35,272 6.0 9. เงินคงคลังปลายงวด 317,385 538,665 (221,280)(41.1)หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 19 กันยายน 2566 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนสิงหาคม 2566 และในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566)
________________ ในเดือนสิงหาคม 2566 รัฐบาลขาดดุลเงินสด จำนวน 28,558 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุล เงินงบประมาณ จำนวน 8,997 ล้านบาท และเป็นการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 19,561 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 มีจำนวน 317,385 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ฐานะการคลังเดือนสิงหาคม 2566 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 201,636 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว โดยการนำส่งรายได้ของกรมสรรพสามิตและรัฐวิสาหกิจสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วเป็นสำคัญ เนื่องจาก ในเดือนสิงหาคม 2565 มีมาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาท/ลิตร ขณะที่ในเดือนสิงหาคม 2566 จัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลในอัตราปกติ ประกอบกับรัฐวิสาหกิจบางแห่งมีการนำส่งรายได้เหลื่อมเดือนจากปีที่แล้ว
อย่างไรก็ดี กรมสรรพากรนำส่งรายได้ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากในเดือนสิงหาคม 2565 มีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเหลื่อมมาจาก เดือนกรกฎาคม 2565 ขณะที่ในเดือนสิงหาคม 2566 ไม่มีการนำส่งรายได้เหลื่อมมาจากเดือนกรกฎาคม 2566
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 210,633 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว จำนวน 8,463 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.2) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 202,189 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 7.0 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 8,444 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 36.3 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 1)
1.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 163,479 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ 6.8 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เบิกจ่ายสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
1.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 38,710 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็น ร้อยละ 8.1 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรัฐวิสาหกิจ และกระทรวงมหาดไทย เบิกจ่ายสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 12,829 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 9,842 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 9,727 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 5,710 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 4,618 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 3,552 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3,505 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของ กรมการปกครอง จำนวน 2,391 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกองทัพบก จำนวน 1,611 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 1,606 ล้านบาท เงินอุดหนุนของ กรมกิจการเด็กและเยาวชน จำนวน 1,531 ล้านบาท และงบลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 1,503 ล้านบาท
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนสิงหาคม 2566
หน่วย: ล้านบาทเดือนสิงหาคม เปรียบเทียบ 2566 2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 202,189 188,917 13,272 7.0 1.1 รายจ่ายประจำ 163,479 153,097 10,382 6.8 1.2 รายจ่ายลงทุน 38,710 35,820 2,890 8.1 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 8,444 13,253 (4,809.3) (36.3) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 210,633 202,170 8,463 4.2 ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ณ เดือนสิงหาคม 2566 ขาดดุลจำนวน 28,558 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 8,997 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 19,561 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรายจ่ายเหลื่อมมาจากเดือนกรกฎาคม 2566 มาเบิก ในเดือนสิงหาคม 2566 จำนวน 11,773 ล้านบาท และถอนเงินฝากคลังของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สุทธิ จำนวน 7,500 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 47,000 ล้านบาท ส่งผลให้ ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุล จำนวน 18,442 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 317,385 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนสิงหาคม 2566
หน่วย: ล้านบาท เดือนสิงหาคม 2566 เปรียบเทียบ 2566 2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 201,636 202,090 (454) (0.2) 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 210,633 202,170 8,463 4.2 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 202,189 188,917 13,272 7.0 2.2 รายจ่ายปีก่อน 8,444 13,253 (4,809) (36.3) 3. ดุลเงินงบประมาณ (8,997) (80) (8,917) (11,146.3) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (19,561) 19,086 (38,647) (202.5) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (28,558) 19,006 (47,564) (250.3) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 47,000 18,108 28,892 159.6 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 18,442 37,114 (18,672) (50.3) 8. เงินคงคลังต้นงวด 298,943 501,551 (202,608) (40.4) 9. เงินคงคลังปลายงวด 317,385 538,665 (221,280) (41.1) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 19 กันยายน 2566 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566
2. ฐานะการคลังในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566) 2.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 2,338,649 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 97,224 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.3) โดยหน่วยงานที่นำส่งรายได้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่สำคัญ ได้แก่ (1) ส่วนราชการอื่น เนื่องจากมีรายได้พิเศษที่ไม่ได้อยู่ในประมาณการ เช่น การนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกิน ของทุนหมุนเวียนเป็นรายได้แผ่นดิน เงินเหลือจ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล รายได้จากสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น (2) กรมสรรพากร โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา และ (3) กรมศุลกากร ตามการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าในรูปเงินบาท ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ประกอบกับมีการชำระอากรขาเข้าย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี
อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของกรมสรรพสามิต (ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน) ต่ำกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากมีมาตรการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566 เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเป็นการชั่วคราวจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ ในระดับสูง
2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 3,010,172 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 116,103 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.0) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 2,860,960 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 5.6 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 149,212 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 19.8 โดยรายจ่าย ปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 3)
2.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 2,434,468 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 95.8 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 2,540,854 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ 3.7 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานอิสระของรัฐ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เบิกจ่ายสูงกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
2.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 426,492 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 66.2 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 644,146 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 18.4 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน กระทรวงคมนาคม รัฐวิสาหกิจ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด เบิกจ่ายสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 261,797 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 206,832 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 183,325 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 100,454 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 98,988 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 84,506 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 82,681 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 80,589 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 53,902 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานประกันสังคม จำนวน 48,514 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 37,066 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง จำนวน 25,586 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรุงเทพมหานคร จำนวน 20,282 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 20,227 ล้านบาท เงินอุดหนุนของ กรมกิจการเด็กและเยาวชน จำนวน 16,376 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมการข้าว จำนวน 15,674 ล้านบาท งบลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 13,457 ล้านบาท เงินอุดหนุน ของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 13,267 ล้านบาท งบดำเนินงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 13,043 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกองทัพบก จำนวน 12,463 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 11,836 ล้านบาท งบลงทุนของกรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 11,105 ล้านบาท
ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566
(ตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566)
หน่วย: ล้านบาท11 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ
จำนวน ร้อยละ 2566 2565 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 2,860,960 2,708,101 152,859 5.6 1.1 รายจ่ายประจำ 2,434,468 2,347,994 86,474 3.7 1.2 รายจ่ายลงทุน 426,492 360,107 66,385 18.4 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 149,212 185,968 (36,756) (19.8) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 3,010,172 2,894,069 116,103 4.0 ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จำนวน 804,277 ล้านบาท โดยเป็น การขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 671,523 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 132,754 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 สุทธิ จำนวน 43,954 ล้านบาท การถอนเงินฝากคลังของภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม งวดที่ 10 - 12 ของปีงบประมาณ 2565 จำนวน 34,000 ล้านบาท ถอนเงินฝากคลังของกองทุนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน สุทธิ จำนวน 17,855 ล้านบาท ถอนเงินฝากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน สุทธิ จำนวน 13,896 ล้านบาท ถอนเงินฝากคลังของกรมสรรพากร (ภาษีมูลเพิ่ม) โอนให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 12,284 ล้านบาท และถอนเงินฝากคลังของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก สุทธิ จำนวน 10,546 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 497,643 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 306,634 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 317,385 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566
(ตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566)
หน่วย: ล้านบาท11 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณปีงบประมาณ
จำนวน ร้อยละ 2566 2565 1. รายได้ 2,338,649 2,241,425 97,224 4.3 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 3,010,172 2,894,069 116,103 4.0 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 2,860,960 2,708,101 152,859 5.6 2.2 รายจ่ายปีก่อน 149,212 185,968 (36,756) (19.8) 3. ดุลเงินงบประมาณ (671,523)(652,644)(18,879)(2.9)4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (132,754)(73,621)(59,133)(80.3)5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (804,277)(726,265)(78,012)(10.7)6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 497,643 676,183 (178,540)(26.4)7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (306,634)(50,082)(256,552)(512.3)8. เงินคงคลังต้นงวด 624,019 588,747 35,272 6.0 9. เงินคงคลังปลายงวด 317,385 538,665 (221,280)(41.1)หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 19 กันยายน 2566 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง___________________________ กองนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566
ที่มา: กระทรวงการคลัง