รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 27 ต.ค. 66

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 31, 2023 14:09 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือน ก.ย. 66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปี และดัชนีราคา

สินค้าเกษตรกรรม ในเดือน ก.ย. 66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี

? ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ต่อปี

? ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 66 หดตัวร้อยละ -28.2 ต่อปี

? ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ย. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี

? จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือน ก.ย. 66 ขยายตัว

ร้อยละ 69.2 ต่อปี

? มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย. 66 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี และมูลค่าการนาเข้าในเดือน

ก.ย. 66 หดตัวร้อยละ -8.3 ต่อปี

เศรษฐกิจต่างประเทศ

? GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 3 ปี 66 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

? GDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 3 ปี 66 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนก.ย.66 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย.66พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในหมวดพืชผลสาคัญขยายตัว ร้อยละ 1.2 ขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ขยายตัว ร้อยละ 5.1 และหมวดประมงลดลง ร้อยละ -2.6 ผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น มันสาปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ามัน ปรับตัวลดลง

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย.66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 66 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหมวดพืชผลสาคัญ ขยายตัว ร้อยละ 9.2 หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ปรับตัวลดลง ร้อยละ -18.3 และ ร้อยละ -25.2 ตามลาดับ โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา มันสาปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ามัน และไข่ไก่ สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มไม้ผลสุกร ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม

รายได้เกษตรที่แท้จริง (หักผลของเงินเฟ้อชุดชนบท) ในเดือน ก.ย. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 แหล่งที่มาของการขยายตัวจาก ข้าวเปลือก กลุ่มไม้ผล และยางพารา เป็นสาคัญ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย.66 มีจานวน 25 425 คัน ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ 7.0

โดยปริมาณการจาหน่ายรถยนต์ได้รับปัจจัยบวก การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจากทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสาคัญ รวมถึงรายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวดีขึ้น ประกอบอัตราว่างงานและอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่า ส่งผลให้ทิศทางการบริโภคของประชาชนยังคงอยู่ในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นประกอบกับมาตรการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เข้มงวดขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยกดดันต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนต่อไป

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 66 มีจานวน 36,661 คัน หดตัวที่ร้อยละ -28.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และปริมาณจาหน่ายรถกระบะ 1ตัน หดตัวร้อยละ -44.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ยอดจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือน ก.ย. 66 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -4.3 มาจากปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลให้มีการชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของภาคธุรกิจ โดยมีประเด็นสาคัญจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินที่มีความกังวลต่อหนี้เสีย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ย. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

Cement Sales

4.0

-2.0

-15.0

-10.0

-5.0

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0 %YoY %MoM_Sa

ในเดือน ก.ย. 66 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 6

เนื่องจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจส่งผลทาให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น

แต่ขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างในหนวดซีเมนต์ยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากต้นทุนของวัตถุดิบ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

?เดือนกันยายน 66 จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติปรับตัวลดลงลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามปัจจัยทางฤดูกาล ขณะที่จานวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวภายในประเทศมีจานวนผู้เยี่ยมเยือนลกลง แต่มีการใช้จ่ายต่อทริปสูงขึ้น สะท้อนถึงกาลังการใช่จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น?

จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (ล้านคน)

จานวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (ล้านคน)

จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเดือน ก.ย. 66 มีจานวน 2.13 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 69.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยฐานต่าจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 65 โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และเวียดนาม ตามลาดับ ทั้งนี้ จานวนนักท่องเที่ยวโดยภาพรวม ลดลงจากเดือนก่อนที่มีจานวน 2.47 ล้านคน โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.0 โดยไตรมาส 3มีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 7.09ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 97.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ จานวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามามีจานวน 2.85 แสนคน ลดลงจากเดือนก่อนที่มีจานวน 3.56 แสนคนจากการฟื้นตัวของสายการบินที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อประเทศไทย อย่างไรก็ดี จานวนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียยังคงมีสัดส่วนเป็นอันดับ 1ตามช่วงวันหยุดในมาเลเซีย ขณะที่รัสเซียมีจานวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในประเทศไทย

การท่องเที่ยวของชาวไทย สะท้อนจากจานวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยใน ก.ย. 66 มีจานวน 19.5 ล้านคน ขยายตัวในอัตราชะลอที่ร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า หดตัวที่ร้อยละ-10.3 ทั้งนี้ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากเดือน ก.ย. เป็นเดือนที่ไม่มีวันหยุดยาว ขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวไทยเดือน อยู่ที่ 62,496 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราชะลอที่ร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่พบว่าการใช้จ่ายต่อคนต่อทริปของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยอยู่ที่ 3,203 บาท/คน/ทริป ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4จากสถานการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลง ทาให้ประชาชนมีความมั่นใจในการใช่จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น

มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย. 66 มีมูลค่าอยู่ที่ 25,476.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.1เมื่อเทียบรายปี

การส่งออกของไทยเมื่อหักรายการสินค้าเกี่ยวเนื่องน้ามันและทองคา ขยายตัวร้อยละ 1.0 และการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 66 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ -3.8 เมื่อเทียบรายปี กลุ่มสินค้าส่งออกที่ขยายตัวในเดือนดังกล่าว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ น้ามันสาเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ข้าว น้าตาลทราย และสิ่งปรุงรสอาหาร เป็นสาคัญ สาหรับมิติตลาดคู่ค้า พบว่าการส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าหลักที่ขยายตัวดี อาทิ ตลาดจีน ฮ่องกง และอาเซียน ขณะที่ตลาดคู่ค้ารองก็ขยายตัวได้ดีในกลุ่มเอเชียใต้

มูลค่าการนาเข้าในเดือน ก.ย.66 มีมูลค่า 23,383.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -8.3 เมื่อเทียบรายปี

การนาเข้าของไทยหดตัวสินค้าในหมวดเชื้อเพลิง กลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสาเร็จรูป และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ การนาเข้าช่วง 9 เดือนแรกของปี 66 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ -6.0เมื่อเทียบรายปี

ด้านดุลการค้าในเดือน ก.ย. 66 กลับมาเกินดุลมูลค่า 2,092.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทาให้ดุลการค้าสะสมของไทยช่วง 9 เดือนแรกปี 66 ขาดดุลสะสมที่ -5,832.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

GDPสหรัฐฯ ไตรมาส 3 ปี 66 (เบื้องต้น) ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากปีก่อนหน้า เป็นการขยายตัวในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ Q 22ปี 65โดยเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) และเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 เมื่อคานวนแบบ annualized rate ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.3

ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.3 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -8.2ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ ส.ค. 65และมียอดขายสูงที่สุดนับตั้งแต่ ก.พ. 65

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (15-21 ต.ค. 66) อยู่ที่ 2.10 แสนราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 1.98 แสนราย และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.08 แสนราย สอดคล้องกับจานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week

moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ที่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.07แสนราย

สหรัฐอเมริกา

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคการผลิต (เบื้องต้น) เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ 48.5 เท่ากับเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับต่าสุดในรอบ 7เดือน แสดงให้เห็นสัญญาณการถดถอยของการปฏิบัติการในภาคการผลิตเป็นครั้งที่ห้าติดต่อกัน จากคาสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การผลิตหดตัวในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 8เดือน

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ 51.1 บ่งชี้การเติบโตที่อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 65เนื่องจากการเพิ่มขึ้นที่อ่อนตัวของธุรกิจใหม่ ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 14เดือน

อัตราการว่างงาน ดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.44 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.42ของกาลังแรงงานรวม

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 66 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -6.72 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -10.81จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16แต่เป็นการหดตัวในอัตราที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ ส.ค. 65

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.3และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 25ยอดค้าปลีกในเดือนนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหารและยาสูบ สินค้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสันทนาการ และสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงเป็นสาคัญ

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.4ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5จากเดือนก่อนหน้า

อัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาลแล้ว)(เบื้องต้น) ไตรมาส 3 ปี 66 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.9ในไตรมาสก่อนหน้า

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 66 หดตัวร้อยละ -2.1 จากปีก่อนหน้า หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -11.6และหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จะขยายตัวร้อยละ 10.7

มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 6666หดตัวที่ร้อยละ 5.35.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่านาเข้า เดือน ก.ย. 66 หดตัวที่ร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.ย. 66 ขาดดุลอยู่ที่ -64.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ระดับ -25.6พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.8จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคการผลิต (เบื้องต้น) เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ 45.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3เดือน อย่างไรก็ตาม ยังคงสะท้อนการลดลงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ 49.2 ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบ 9 เดือน จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง ผลกระทบของต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น และความต้องการของลูกค้าที่อ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์

ยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ 88,230 หน่วย ขยายตัวร้อยละ 39.8 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นเดือนที่เติบโตแข็งแกร่งที่สุดของปีนี้

GDPไตรมาสที่ 3 ปี 66 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากปีก่อนหน้า ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9จากปีก่อนหน้า

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCSI) เดือน ก.ย. 66 อยู่ที่ระดับ 98.1 จุด ลดลงจากระดับ 99.7 จุด ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นความเชื่อมั่นฯ ที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 66ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การส่งออกที่ตกต่า และกาลังซื้อที่อ่อนแอ

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 68 ลดลงจากระดับ 67ในเดือนก่อนหน้า

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 3 ปี 66 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 ต่อปี ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี นับเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันของอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงตัวเลขที่อ่อนตัวที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2022โดยได้แรงหนุนจากการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อสินค้าและบริการ

ดัชนีฯ PMIPMIภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 48.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 48.7จุด เนื่องจากผลผลิตและอุปสงค์ของคาสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง

ดัชนีฯ PMIPMIภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.8จุด

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นPSEiPSEi(ฟิลิปปินส์) TWES ไต้หวัน และ Hang Seng ฮ่องกง เป็นต้น เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 666ดัชนีปิดที่ระดับ 1,1,371.22จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 24 26ต.ค. 6666อยู่ที่46,034.7846,034.78ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 24 26ต.ค. 66 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ 3 926.36ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน ถึง 114ปี และ 19ถึง 20 ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง -11ถึง -4 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11ปี และ 26ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.6 และ 1.4 เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่24 26ต.ค. 6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 3 803.21 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่26 ต.ค.6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 142,142,172.35ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่26 ต.ค. 666เงินบาทปิดที่ 36.3436.34บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.21จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลยูโร วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลเยน ริงกิตเปโซ และดอลลาร์ไต้หวัน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ 0.37

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ