ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 31, 2023 14:17 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 125/2566 วันที่ 27 ตุลาคม 2566
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567
?เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 โดยภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสาคัญ ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการส่งออกเป็นสาคัญ อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่า ?เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 2.2 ถึง 3.2) ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสาคัญ โดยคาดว่าทั้งปี 2566 จะมีจานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจานวน 27.7 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 148.3 ต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จานวน 1.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 225.5 จากปี 2565 และการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.3 ถึง 6.3) รวมถึงแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่คลี่คลายลง สาหรับการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4 ถึง 1.4) สาหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐคาดว่าจะหดตัวที่ ร้อยละ -1.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ ?2.3 ถึง -1.3) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสาคัญ ของไทย นอกจากนี้ การบริโภคภาครัฐคาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -3.4 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -3.9 ถึง -2.9) ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะทรงตัวในระดับเดียวกับปีก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปี 2567 ที่ล่าช้ากว่าปีที่ผ่านมา
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.0 ถึง 2.0) เนื่องจากแรงกดดันจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานได้คลี่คลายลงตามลาดับ ประกอบกับมาตรการบรรเทาของภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ทาให้เงินเฟ้อกลับเข้ามาสู่กรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 1 - 3 สาหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะกลับมาเกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP
- 2 -
สาหรับในปี 2567 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.2 ถึง 4.2) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการส่งออก กอปรกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจานวน 34.5 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 24.6 ต่อปี ส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ประชาชน โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 ถึง 4.1) ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยคาดว่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.4 ถึง 5.4) ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจทาให้คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5 ถึง 4.5) อย่างไรก็ดี การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ในครั้งนี้ ยังไม่ได้รวมผลกระทบของมาตรการเศรษฐกิจที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดาเนินการโดยเฉพาะนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.2 ถึง 3.2) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดี ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ของ GDP (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 0.5 ถึง 2.5 ของ GDP) ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า สาหรับปัจจัยสาคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อจากัดต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น สถานการณ์สู้รบในอิสราเอลและกาซาที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานให้ปรับตัวสูงขึ้น ความยืดเยื้อของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน และการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและการค้าระหว่างประเทศ จาเป็นต้องติดตามบทบาทและท่าทีของแต่ละประเทศอย่างใกล้ชิด 2) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดาเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป 3) สถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่ประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย และ 4) ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Ni?o) ที่อาจทาให้เกิดภัยแล้งในปี 2567 ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกร
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3296 หรือ 3273
- 3 -
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567
2565 2566f 2567f ณ ต.ค. 66 เฉลี่ย ช่วง เฉลี่ย ช่วง
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
2.6
2.7
2.2 ถึง 3.2
3.2
2.2 ถึง 4.2
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภค
- การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
6.3
5.8
5.3 ถึง 6.3
3.1
2.1 ถึง 4.1
- การบริโภคภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
0.2
-3.4
-3.9 ถึง -2.9
2.7
1.7 ถึง 3.7
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุน
- การลงทุนภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
5.1
0.9
0.4 ถึง 1.4
3.5
2.5 ถึง 4.5
- การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
-4.9
0.0
-0.5 ถึง 0.5
5.4
4.4 ถึง 6.4
4) อัตราการขยายตัวของปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละ)
6.8
4.3
3.8 ถึง 4.8
5.7
4.7 ถึง 6.7
5) อัตราการขยายตัวของปริมาณนาเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละ)
4.1
2.8
2.3 ถึง 3.3
6.2
5.2 ถึง 7.2
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
13.5
8.2
7.0 ถึง 9.4
7.9
2.6 ถึง 13.2
- มูลค่าสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ)
5.4
-1.8
-2.3 ถึง -1.3
4.4
3.4 ถึง 5.4
- มูลค่าสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ)
14.0
0.1
-0.4 ถึง 0.6
4.6
3.6 ถึง 5.6
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
-15.7
2.7
0.1 ถึง 5.3
8.3
5.6 ถึง 11.0
- ร้อยละของ GDP
-3.2
0.5
0.0 ถึง 1.0
1.5
0.5 ถึง 2.5
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละ)
6.1
1.5
1.0 ถึง 2.0
2.2
1.2 ถึง 3.2
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละ)
2.5
1.3
0.8 ถึง 1.8
1.3
0.3 ถึง 2.3
สมมติฐานหลัก
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละ)
3.4
3.0
2.5 ถึง 3.5
2.9
2.4 ถึง 3.4
2) ราคาน้ามันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล)
95.4
83.0
78.0 ถึง 88.0
88.0
83.0 ถึง 93.0
สมมติฐานด้านนโยบาย
3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)
35.1
35.0
34.5 ถึง 35.5
35.3
34.8 ถึง 35.8
4) รายจ่ายภาคสาธารณะ (ล้านล้านบาท)
4.12
4.09
3.99 ถึง 4.19
4.20
4.10 ถึง 4.30
5) จานวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน)
11.2
27.7
26.7 ถึง 28.7
34.5
33.5 ถึง 35.5
          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ