ฉบับที่ 128/2566 วันที่ 31 ตุลาคม 2566
โครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล)
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ ความไม่สงบในประเทศอิสราเอลที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงแรงงานไทยที่เดินทางไปทางานอยู่ในประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือถูกจับเป็นตัวประกัน โดยแรงงานไทยบางส่วนทยอยเดินทางกลับประเทศไทยก่อนครบกาหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง ในขณะที่บางส่วนยังไม่ตัดสินใจเดินทางกลับ เนื่องจากยังมี ความกังวลเกี่ยวกับรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ภาระหนี้สินที่เกิดจากการเดินทางไปทางานยังประเทศอิสราเอล รวมถึงการเริ่มต้นประกอบอาชีพภายหลังจากเดินทางกลับมาประเทศไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เห็นชอบโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) โดยมีสาระสำคัญของโครงการ ดังนี้
โครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แรงงานไทยที่ไปทำงาน ที่ประเทศอิสราเอลชำระหนี้ที่กู้ยืมสำหรับการไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลและ/หรือเพื่อลงทุนประกอบอาชีพ ภายหลังจากเดินทางกลับมาประเทศไทย โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท (แห่งละ 1,000 ล้านบาท) ให้แก่แรงงานไทยที่ไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลที่ประกอบอาชีพเดิมคือค้าขายหรืออาชีพอิสระ (ขอสินเชื่อผ่านธนาคารออมสิน) หรือเป็นเกษตรกรหรือบุคคลในครัวเรือนเกษตรกร (ขอสินเชื่อผ่าน ธ.ก.ส.) วงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 150,000 บาท คิดดอกเบี้ยลดต้นลดดอกในอัตรา ร้อยละ 1 ต่อปี (Effective Rate) ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 งวดแรก ระยะเวลาชำระคืนเงินงวดสูงสุดไม่เกิน 20 ปี ทั้งนี้ สามารถยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567
กระทรวงการคลังคาดว่า โครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) จะสามารถช่วยเหลือแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศอิสราเอลผ่านแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่าได้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แรงงานไทยที่เดินทางกลับประเทศมีสภาพคล่องที่เพียงพอในการเริ่มต้นประกอบอาชีพหรือแบ่งเบาภาระหนี้สิน เพื่อบรรเทาและป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม o ธนาคารออมสิน โทร. 02 299 8000 หรือสายด่วน 1115 o ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555 ที่มา: กระทรวงการคลัง