รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 24 พ.ย. 66

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 28, 2023 13:42 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี

? ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือน ต.ค. 66 ลดลงร้อยละ -0.9 ต่อปี และดัชนีราคา

สินค้าเกษตรกรรม ในเดือน ต.ค. 66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี

? จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือน ต.ค. 66 ขยายตัว

ร้อยละ 49.7 ต่อปี

? ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ต่อปี

? ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 66 หดตัวร้อยละ -18.4 ต่อปี

? ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ต.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี

? การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ต.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 ต่อปี

? รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ต.ค. 66 หดตัวร้อยละ

-0.3 ต่อปี

? ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ต.ค. 66 ขาดดุล

-244,078 ล้านบาท

เศรษฐกิจต่างประเทศ

?

GDP สิงคโปร์ ไตรมาส 3 ปี 66 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส ไตรมาสที่ 3ปี 2566ขยายตัวร้อยละ 1.5ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 1.8ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เป็นผลจากการส่งออกรวมชะลอลง จากการส่งออกสินค้าที่ลดลง ขณะที่บริการรับขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายรัฐบาลยังคงลดลง ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง ขณะที่การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวต่อเนื่อง และการลงทุนของภาคเอกชนที่เร่งขึ้น ส่งผลให้ 9 เดือนปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี

โดยองค์ประกอบสาคัญที่ทาให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2566 ปรับตัวดีขึ้นมาจาก (1) การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 8.1ตามการขยายตัวดีขึ้นของเกือบทุกหมวดสินค้าสอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของการจ้างงานและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น และ (2) การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.1ปัจจัยสาคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง

ในส่วนของภาคการผลิต การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4ร้อยละ -4.0ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ -3.2ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของทุกกลุ่มการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญ สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ -6.2 และการผลิตภาคเกษตร ในหมวดเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงขยายตัวร้อยละ 0.9ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.2ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตหมวดพืชผลสาคัญโดยเฉพาะปาล์มน้ามัน มันสาปะหลัง ข้าวเปลือก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ดี สาหรับสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อเนื่องจากร้อยละ 15.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 7.1ล้านคน ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 3อยู่ที่ 2.48 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 ร้อยละ 76.8 ส่วนการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย จานวน 59.44 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 18.2 สร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย ทั้งสิ้น 1.89 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 19.9 ส่งผลให้รายรับรวมจากการท่องเที่ยว อยู่ที่ 4.38 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.7

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนต.ค.66 ปรับตัวลดลง ร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลง ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค.66พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในหมวดพืชผลสาคัญลดลง ร้อยละ -2.7 ขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ขยายตัว ร้อยละ 3.4 และหมวดประมงขยายตัว ร้อยละ 2.3 ผลผลิตปรับตัวลดลง ยกเว้น มันสาปะหลัง ข้าวโพด สุกร ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไมปรับตัวลดลง

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค.66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ -0.01 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 66 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหมวดพืชผลสาคัญ ขยายตัว ร้อยละ 1.0 หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ปรับตัวลดลง ร้อยละ -19.8 และ ร้อยละ -15.7 ตามลาดับ โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา มันสาปะหลัง ปาล์มน้ามัน ไก่ ไข่ไก่ และกุ้ง สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวโพด กลุ่มไม้ผลและสุกร

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

?เดือนตุลาคม 2566 จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากชาวรัสเซียที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศมีจานวนผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายสูงขึ้น สะท้อนถึงกาลังการใช่จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น?

จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (ล้านคน)

จานวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (ล้านคน)

จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเดือน ต.ค. 66 มีจานวน 2.20 ล้านคน ขยายตัวในอัตราชะลอที่ร้อยละ 49.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ตามลาดับ โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า หดตัวในอัตราร้อยละ -49.7เนื่องจาก จานวนนักท่องเที่ยวชาวจีนยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ แม้จะได้มีมาตรการยกเว้นวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีนและคาซัคสถานตั้งแต่วันที 25 กันยายน 2566 เป็นต้นมา ขณะที่จานวนวนักท่องเที่ยวคาซัคสถานเพิ่มขึ้นจาก 5,856 คน เป็น 10,837 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 85.1และคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 84.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนั้น จานวนนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียก็มีจานวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญเนื่องจากการเริ่มสู่ฤดูหนาวในรัสเซีย ทาให้นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

การท่องเที่ยวของชาวไทย สะท้อนจากจานวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยใน ต.ค. 66มีจานวน 20.7ล้านคน ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 17.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า หดตัวที่ร้อยละ -12.9 ทั้งนี้ จานวนผู้เยี่ยมเยือนในเดือน ต.ค. 66 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากวันหยุดนักขัตฤกษ์ อีกทั้งยังมี EventsEventsต่าง ๆ เช่น การแข่งขัน OR Thailand Grand Prix 2023

(Moto GP) เทศกาลออกพรรษา และงานบั้งไฟพญานาค เทศกาลกินเจ เป็นต้น ซึ่งช่วยกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวไทยเดือน ต.ค. อยู่ที่ 62,496 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราชะลอที่ร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และพบว่าการใช้จ่ายต่อคนต่อทริปของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 3,318บาท/คน/ทริป ขยายตัวที่ ร้อยละ 5.6ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 จากสถานการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลง ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. 66รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยแล้วจานวน 6.4แสนล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 25.9

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค.66มีจานวน 22,130คัน ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 5.8

โดยปริมาณการจาหน่ายรถยนต์ได้ฟื้นตัวดีขึ้นเล็กน้อย หลังเติบโตชะลอลงในเดือนก่อนหน้า และยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุน จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง กอปรกับตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่าช่วยลดแรงกดดันต่อการบริโภค ส่งผลให้แนวโน้มการบริโภคของประชาชนยังคงอยู่ในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นและการเข้มงวดปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ยังคงสร้างแรงกดดันต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนต่อไป

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 66 มีจานวน 36,66436,664คัน หดตัวที่ร้อยละ

18.418.4เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และปริมาณจาหน่ายรถกระบะ 1 ตัน หดตัวร้อยละ 35.1

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ยอดจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือน ต.ค. 66 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 111และลดลงจากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 1.21.2มาจากปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลให้มีการชะลอการตัดสินใจซื้อและภาคธุรกิจรอความชัดเจนของมาตรการภาครัฐ รวมทั้งความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อจากความกังวลต่อหนี้เสีย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ต.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

Cement Sales

3.9

-2.0

-15.0

-10.0

-5.0

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0 %YoY %MoM_Sa

ในเดือน ต.ค. 66 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 7

เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศของการภาคบริการจากการท่องเที่ยวส่งผลทาให้มีความต้องการ

ใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่ขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างในหนวดซีเมนต์ยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากความ

ต้องการใช้

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ต.ค. 66เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 467,240ล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.2ต่อปี ทาให้ปีงบประมาณ 67 เบิกจ่ายที่ร้อยละ 14.0

โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 451,884ล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.6ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 14.2ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจา 422,979 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 16.8 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 28,905 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -44.9ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 4.4 (2) รายจ่ายปีก่อนเบิกจ่ายได้ 15,356ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 9.6ต่อปี

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ต.ค. 66ได้ 228,724ล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.3ต่อปี

โดยรายได้ในเดือน ต.ค. 66หดตัวจากส่วนราชการอื่น ที่หดตัวร้อยละ -53.5 ต่อปี อากรขาเข้า ที่หดตัวร้อยละ -40.1 ต่อปี และการคืนภาษีของกรมสรรพากร (ซึ่งเป็นรายการหัก) ขยายตัวร้อยละ 21.4 ต่อปี

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ต.ค. 66พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจานวน 244,078ล้านบาท

ทั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่เกินดุล 2,116 ล้านบาท พบว่าดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล 241,962 ล้านบาท โดยในเดือนนี้รัฐบาลไม่มีการกู้เงินเพิ่มเติม ส่งผลให้จานวนเงินคงคลังปลายงวดอยู่ที่ 297,094ล้านบาท

ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีที่ร้อยละ 3.45 และคงอัตราดอกเบี้ย LPRLPRประเภท 5 ปีไว้ที่ร้อยละ 4.20 ในวันที่ 20 พ.ย. 66 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด หลังจาก PBOCPBOCมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (15พ.ย.) ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันที่มีต่อค่าเงินหยวน

จีน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ต.ค. 66อยู่ที่ร้อยละ 3.3ต่อปี สูงสุดนับจาก ก.ค. 66เป็นต้นมา

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน ต.ค. 66อยู่ที่ร้อยละ 2.9เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8ในเดือนก่อนหน้า

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคการผลิต เดือน พ.ย. 66 อยู่ที่ 48.1 ลดลงจากระดับ 48.7ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนการลดลงของกิจกรรมโรงงานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคบริการ เดือน พ.ย. 66 อยู่ที่ 51.7บ่งชี้การเติบโตของภาคบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15

ญี่ปุ่น

GDP

GDPไตรมาส 3 ปี 66 ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.3เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากการขยายตัวของภาคบริการ เป็นสาคัญ

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.0

อัตราเงินเฟ้อ ณ เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1

สิงคโปร์

ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 6.06.0ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยการตัดสินใจดังกล่าวสอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพของรูเปียห์และบรรเทาอัตราเงินเฟ้อ

อินโดนีเซีย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคการผลิต เดือน พ.ย. 66 อยู่ที่ระดับ 46.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.8ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนการหดตัวที่ค่อย ๆ ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคบริการ เดือน พ.ย. 66 อยู่ที่ 49.5 เพิ่มขึ้นระดับ 49.3แต่ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นดือนที่ 4

การส่งออก เดือน ต.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือน ก.ย. 66 ที่หดตัวที่ร้อยละ -13.8 และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ -5.1 นับเป็นการหดตัวของการส่งออกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8อันเนื่องจากการหดตัวของการส่งออกสินค้าหมวดก๊าซธรรมชาติเหลว น้ามันดิบ และเหมืองแร่เป็นสาคัญ

การนาเข้า เดือน ต.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือน ก.ย. 66 ที่หดตัวที่ร้อยละ -11.1 และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ -9.7 นับเป็นการหดตัวของการนาเข้าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และเป็นการหดตัวที่ต่าที่สุดในรอบ 8 เดือน อันเนื่องจากการหดตัวของการสั่งซื้อสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มสาหรับอุตสาหกรรม และสินค้าขั้นกลาง (intermediate goods) เป็นสาคัญ

ดุลการค้า เดือน ต.ค. 66 เกินดุลอยู่ที่ 12.9 พันล้านริงกิตมาเลเซีย เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 24.3 พันล้านริงกิตมาเลเซีย

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและต่ากว่าคาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 1.9ตัวเลขดังกล่าวนับเป็นตัวเลขที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ มี.ค.64

มาเลเซีย

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคการผลิต เดือน พ.ย. 66 อยู่ที่ระดับ 46.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.8ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนการหดตัวที่ค่อย ๆ ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคบริการ เดือน พ.ย. 66 อยู่ที่ 49.5 เพิ่มขึ้นระดับ 49.3แต่ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นดือนที่ 4

สหราชอาณาจักร

อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.4ของกาลังแรงงานรวม

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 66 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -6.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17แต่เป็นการหดตัวในอัตราที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ ส.ค. 65

ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.9และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 26ยอดค้าปลีกในเดือนนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดยานยนต์และส่วนประกอบ และหมวดเวชภัณฑ์ สินค้าทางการแพทย์และเครื่องสาอางที่ขายในร้านค้าเฉพาะอย่าง เป็นสาคัญ

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETSETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkei 225225(ญี่ปุ่น) TWSETWSE(ไต้หวัน) และ PSEiPSEi(ฟิลิปปินส์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 2323พ.ย. 666ดัชนีปิดที่ระดับ 1,406.611,406.61จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่2020-2323พ.ย. 6666อยู่ที่37,570.1637,570.16ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 2020-2323พ.ย. 66 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ 5,135.235,135.23ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน ถึง 20 ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง 1 ถึง 7 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 44ปี และ 2121ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.082.08และ 1.391.39เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่2020-2323พ.ย. 66 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,262.113,262.11ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่2323พ.ย.6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ

125,584.5125,584.5ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่2323พ.ย. 666เงินบาทปิดที่ 35.2535.25บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.950.95จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตเปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวัน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ 0.36

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ