ฉบับที่ 42/2566 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566
ฐานะการคลังของรัฐบาลเดือนตุลาคม 2566
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 223,162 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 467,240 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 297,094 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2566
หน่วย: ล้านบาท
เดือนตุลาคม
เปรียบเทียบ
2566
2565
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
223,162
205,288
17,874
8.7
2. รายจ่าย (2.1 + 2.2)
467,240
487,686
(20,446)
(4.2)
2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน
451,884
473,438
(21,554)
(4.6)
2.2 รายจ่ายปีก่อน
15,356
14,248
1,108
7.8
3. ดุลเงินงบประมาณ
(244,078)
(282,398)
38,320
13.6
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
2,116
(16,322)
18,438
113.0
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
(241,962)
(298,720)
56,758
19.0
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
0.0
50,394
(50,394)
(100.0)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
(241,962)
(248,326)
6,364
2.6
8. เงินคงคลังต้นงวด
539,056
624,019
(84,963)
(13.6)
9. เงินคงคลังปลายงวด
297,094
375,693
(78,599)
(20.9)
หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3557
- 2 -
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนตุลาคม 2566
ในเดือนตุลาคม 2566 รัฐบาลขาดดุลเงินสด จำนวน 241,962 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุล เงินงบประมาณ จำนวน 244,078 ล้านบาท ขณะที่เงินนอกงบประมาณเกินดุล จำนวน 2,116 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2566 มีจำนวน 297,094 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนตุลาคม 2566 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 223,162 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 17,874 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 8.7) โดยหน่วยงานที่นำส่งรายได้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่สำคัญ ได้แก่ (1) กรมสรรพากร เนื่องจากการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนเดียวกันปีที่แล้ว มีรายได้บางส่วนเหลื่อมไป ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ขณะที่ในปีนี้ รายได้ดังกล่าวนำส่งในเดือนทั้งหมด (2) กรมสรรพสามิต เนื่องจาก ในเดือนเดียวกันปีที่แล้ว มีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาท/ลิตร ขณะที่ในปีนี้ มีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 2.5 บาท/ลิตร และ (3) รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งนำส่งรายได้เหลื่อมมาจากปีงบประมาณ 2566 อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นและกรมศุลกากรต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากในเดือนเดียวกันปีที่แล้ว มีรายได้พิเศษที่ไม่ได้อยู่ในประมาณการ ได้แก่ การนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนเป็นรายได้แผ่นดิน และการชำระอากรขาเข้าย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 467,240 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว จำนวน 20,446 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.2) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 451,884 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 4.6 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 15,356 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 7.8 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 1) 1.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 422,979 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ 0.5 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทรวงแรงงาน เบิกจ่ายสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 28,905 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 44.9 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี หน่วยงานของศาล รัฐวิสาหกิจ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง เบิกจ่ายต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 59,154 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 45,323 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 35,993 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 35,576 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 35,345 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานประกันสังคม จำนวน 31,255 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง จำนวน 23,677 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 6,697 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 5,433 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 4,423 ล้านบาท และงบรายจ่ายอื่น ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม จำนวน 4,301 ล้านบาท - 3 - ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนตุลาคม 2566 หน่วย: ล้านบาท เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ 2566 2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 451,884 473,438 (21,554) (4.6) 1.1 รายจ่ายประจำ 422,979 420,944 2,035 0.5 1.2 รายจ่ายลงทุน 28,905 52,494 (23,589) (44.9) 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 15,356 14,248 1,108 7.8 3. รายจ่ายรวม (1+2) 467,240 487,686 (20,446) (4.2) ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2. ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ณ เดือนตุลาคม 2566 ขาดดุลจำนวน 241,962 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 244,078 ล้านบาท และดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล จำนวน 2,116 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเงินฝากคลังของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก สุทธิ จำนวน 18,639 ล้านบาท ทั้งนี้ มีการถอนเงินฝากคลังของภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม งวดที่ 10 ของปีงบประมาณ 2566 จำนวน 10,309 ล้านบาท และถอนเงินฝากคลังกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สุทธิ จำนวน 5,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 297,094 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2566 หน่วย: ล้านบาท เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ 2566 2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 223,162 205,288 17,874 8.7 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 467,240 487,686 (20,446) (4.2) 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 451,884 473,438 (21,554) (4.6) 2.2 รายจ่ายปีก่อน 15,356 14,248 1,108 7.8 3. ดุลเงินงบประมาณ (244,078) (282,398) 38,320 13.6 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 2,116 (16,322) 18,438 113.0 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (241,962) (298,720) 56,758 19.0 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 0.0 50,394 (50,394) (100.0) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (241,962) (248,326) 6,364 2.6 8. เงินคงคลังต้นงวด 539,056 624,019 (84,963) (13.6) 9. เงินคงคลังปลายงวด 297,094 375,693 (78,599) (20.9) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566 กองนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566 ที่มา: กระทรวงการคลัง