เศรษฐกิจไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 66 ลดลงที่ร้อยละ -0.8 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 66 ลดลงร้อยละ -0.4 ต่อปี
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -7.0 ต่อปี
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 66 คิดเป็นร้อยละ 61.88 ของ GDP
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ย. 66 หดตัวตัวที่ร้อยละ -21.6 ต่อปี
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. 66 หดตัวร้อยละ -9.3 ต่อปี
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ย. 66 ขาดดุล 33,832 ล้านบาท
เศรษฐกิจต่างประเทศ
GDP สิงคโปร์ ไตรมาส 4 ปี 66 ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 66 ลดลงที่ร้อยละ -0.8 ต่อปี
เงินเฟ้อทั่วไปไทย เดือน ธ.ค. 66 ลดลง -0.8 (YoY) (ต่ำกว่าที่ สศค. คาดการณ์ ณ เดือน พ.ย. ที่ -0.3 (YoY) ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ต่ำสุดในรอบ 34 เดือน จากการลดลงของราคาสินค้าหมวดพลังงานเป็นหลัก (ตามมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ อาทิ ลดค่ากระแสไฟฟ้า การควบคุมราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์-91 ) รวมถึงราคาเนื้อสัตว์ที่ราคาลดลงจากช่วงปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง -0.46 (MoM) สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ อย่างไรก็ตาม มีสินค้าที่ราคาปรับขึ้น ได้แก่ อาหารสัตว์ บุหรี่ สุรา เบียร์ น้ำดื่ม กาแฟ ชา น้ำยาปรับผ้านุ่ม กับข้าวสำเร็จรูป เป็นต้น และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงขยายตัว +0.58 (YoY) และทรงตัวที่ +0.06 (MoM) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
โดยเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปี 66 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และ 1.3 ตามลำดับ จากการสูงขึ้นของข้าวสารเจ้า อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ที่ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร น้ำมันพืช (ตามอุปทานที่เพิ่มมากขึ้น) น้ำมันเชื้อเพลิง (ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก และมาตรการของภาครัฐ)
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 66 ลดลงร้อยละ -0.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 66 ลดลงร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุมาจากหมวดเหล็กและผลิตเหล็ก ลดลงร้อยละ -2.8 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน ทำให้มีปริมาณเหล็กส่วนเกินสูง รวมทั้งความต้องการใช้เหล็กของภาคการก่อสร้างในประเทศชะลอตัวจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะที่ดัชนีหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นจากความต้องการใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและระบบสาธารณูปโภค
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -4.9
โดยยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ จากปัญหาหนี้เสียที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูงและรายได้เกษตรกรที่ลดลงเกือบทุกหมวด ส่งผลให้การบริโภคของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยว และเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคของประชาชนต่อไป
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 66 มีจำนวนทั้งสิ้น 11,131,598.29 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 61.88 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 6,170.21 ล้านบาท
ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 86.65 ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.61 ของยอดหนี้สาธารณะ
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ย. 66 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 213,962 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -21.6 ต่อปี ทำให้ 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 67 เบิกจ่ายที่ร้อยละ 20.4
โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 193,025 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -22.6 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 20.2 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 181,701 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -11.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 24.0 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 11,324 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -74.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 6.1 (2) รายจ่ายปีก่อนเบิกจ่ายได้ 20,937 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -10.9 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 22.7 ต่อปี
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. 66 ได้ 179,490 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -9.3 ต่อปี
โดยรายได้ในเดือน ต.ค. 66 หดตัวจาก รัฐวิสาหกิจ ที่หดตัวร้อยละ -78.7 ต่อปี และ ส่วนราชการอื่น ที่หดตัวร้อยละ -60.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี กรมสรรพากร ขยายตัวร้อยละ +4.2 ต่อปี
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ย. 66 พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 33,832 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่เกินดุล 856 ล้านบาท พบว่าดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล 32,976 ล้านบาท โดยในเดือนนี้รัฐบาลไม่มีการกู้เงินเพิ่มเติม ส่งผลให้จำนวนเงินคงคลังปลายงวดอยู่ที่ 264,118 ล้านบาท
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา
อัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. 66 ลดลงเหลือร้อยละ 3.7 จากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 66 ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (24 ? 30 ธ.ค. 66) อยู่ที่ 2.02 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.18 แสนราย และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.16 แสนราย ทั้งนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.07 แสนราย
จีน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.7 จุด และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่ระดับ 50.4 จุด โดยดัชนี PMI ที่อยู่ระดับสูงกว่า 50.0 จุด บ่งชี้ทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมของจีน
ดัชนี PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.5 จุด และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่ระดับ 51.6 จุด โดยดัชนี PMI ที่อยู่ระดับสูงกว่า 50.0 จุด บ่งชี้ทิศทางการขยายตัวของภาคบริการของจีน
ญี่ปุ่น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคการผลิต (final) เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ 54.9 ลดลงจากระดับ 56.0 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนการขยายตัวของผลผลิตที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 65 ขณะที่การเติบโตของคำสั่งซื้อใหม่ก็อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 1-1/2 ปี
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคบริการ (final) เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ 52.0 บ่งชี้การเติบโตของกิจกรรมภาคบริการในอัตราเร็วสุดนับจาก ก.ย. 66
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 66 อยู่ที่ระดับ 36.1 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับจาก ส.ค.66 เป็นต้นมา
เวียดนาม
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 48.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.3 จุด นับเป็นการระดับต่ำกว่า 50.0 จุด เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน บ่งชี้ทิศทางการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม
ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 66 เกินดุล 4.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเกินดุลมากที่สุดและเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 จากการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี (ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3) ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ -10.8 ต่อปี (หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9)
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global PMI) ภาคการผลิต เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 49.9 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 50 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนเสถียรภาพของภาคการผลิตที่ไม่เปลี่ยนแปลง
เกาหลีใต้
สิงคโปร์
GDP ไตรมาส 4 ปี 66 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี เร่งขึ้นไตรมาสก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี และเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 12
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (SIPMM PMI) ภาคการผลิต เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 50.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.3 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันของการขยายตัวทางธุรกิจ และตอกย้ำการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกิจกรรมโรงงาน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global) ของภาคเอกชน เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 55.7 สะท้อนการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ของกิจกรรมภาคเอกชน
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 66 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก้อนหน้า
อินเดีย
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global PMI) ภาคการผลิต เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 54.9 ลดลงจากระดับ 56.0 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดนับจาก ก.พ. 66 แต่ยังคงสะท้อนการขยายตัวของกิจกรรมโรงงานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 28 สะท้อนกาขยายตัวของผลผลิตที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 65
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global PMI) ภาคบริการ เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ 59.0
ออสเตรเลีย
ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด
ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 47.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 46.0 จุด
สหราชอาณาจักร
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคบริการ เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ 53.4 เพิ่มขึ้นระดับ 50.9 นับเป็นการขยายตัวครั้งที่สองติดต่อกันในภาคบริการของอังกฤษ และเป็นอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.66 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นอีก
ดัชนี PMI การก่อสร้าง ของ S&P Global/CIPS UK เดือน พ.ย.66 อยู่ที่ 45.5 ลดลงจาก 45.6 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นจุดต่ำสุดเป็นอันดับสองนับตั้งแต่เดือน พ.ค.63 ซึ่งแสดงถึงการลดลงในผลผลิตการก่อสร้างโดยรวม ทั้งนี้ การสร้างบ้านยังคงเป็นภาคที่อ่อนแอที่สุด โดยได้รับอิทธิพลจากการลดราคาโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย
มาเลเซีย
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 47.9 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 66 และแสดงถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 อันเนื่องจากยอดคำสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออกลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 รวมทั้งผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17
ไต้หวัน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. อยู่ที่ระดับ 47.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.3 ตัวเลขดังกล่าวยังคงแสดงถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 อันเนื่องจากอุปสงค์ของสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลงทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมในการดำเนินการจัดซื้อวัตถุดิบและดำเนินการผลิตสินค้า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 66 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.3 นับเป็นการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18
ยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 และเป็นการขยายตัวของยอดค้าปลีกที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 66 อันเนื่องจากยอดขายสินค้าในหมวดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย และหมวดยานยนต์และส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ
อินโดนีเซีย
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. อยู่ที่ร้อยละ 2.61 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.86 ต่อปี ซึ่งยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2-4 ต่อปี เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน
ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด นับเป็นการขยายตัวของการผลิตเป็นเดือนที่ 28 ติดต่อกัน และเป็นอัตราที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. เนื่องจากการเติบโตของผลผลิตแตะระดับสูงสุดในรอบ 4
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น STI (สิงคโปร์) IDX (อินโดนีเซีย) และ PSEi (ฟิลิปปินส์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 67 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,434.59 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 2 - 4 ม.ค. 67 อยู่ที่ 45,393.01 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2 - 4 ม.ค. 67 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 1,008.52 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 เดือน ถึง 20 ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 6 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2 - 4 ม.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 11,996.57 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 4 ม.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 11,996.57 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 4 ม.ค. 67 เงินบาทปิดที่ 34.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.93 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต เปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวัน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อยู่ที่ร้อยละ -0.24
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง