(ASEAN+3 Finance and Central Bank Deputies’ Meeting: AFDM+3)
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2551 ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 ณ กรุงมาดริดประเทศสเปน โดยปลัดกระทรวงการคลังของประเทศญี่ปุ่นและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทำหน้าที่ประธานร่วมในการประชุม
เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียน 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ได้มีการหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคและได้ร่วมกันพิจารณามาตรการริเริ่มต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า ภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคจะยังคงขยายตัวในปี 2551 แต่ในอัตราที่ชะลอลง สืบเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความแปรปรวนของตลาดการเงินทั่วโลก และความกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันและอาหาร ในการนี้ ที่ประชุมได้ตระหนัก ถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจของภูมิภาคให้มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเสริมสร้างความร่วมมือร่วมกันในการลดความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก
2. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียทั้งในด้านการเพิ่ม อุปทานด้วยการออกตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่น และการศึกษาแนวทางการออกตราสารหนี้เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนากลไกการค้ำประกันความน่าเชื่อถือและการลงทุน และการจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายในภูมิภาคอาเซียน+3 เพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชียมากขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบแนวทางการดำเนินมาตรการ ABMI ระยะต่อไป (New ABMI Roadmap) ซึ่งกำหนดให้มีการจัดโครงสร้างคณะทำงานภายใต้ ABMI ใหม่ และกำหนดกรอบภารกิจที่ต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติของคณะทำงานต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้การดำเนินมาตรการ ABMI มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
3. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนามาตรการริเริ่มเชียงใหม่จากความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคี (Bilateral Swap Agreement: BSA) ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปสู่ความตกลงที่มีลักษณะพหุภาคี (CMI Multilateralisation) เพื่อเสริมสร้างกลไกการเสริมสภาพคล่องทางการเงินระยะสั้นระหว่างสมาชิกอาเซียน+3 ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอเบื้องต้นของคณะทำงานมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Taskforce on CMI Multilateralisation) ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานในระยะที่ 2 เพื่อศึกษารายละเอียดของรูปแบบ Self-managed Reserve Pooling Arrangement (SRPA) ในรูปของความตกลง (Contractual Agreement) กล่าวคือ (1) ขนาดของ SRPA ควรเท่ากับ 80 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสามารถเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต โดยสัดส่วนการลงเงินจะแบ่งเป็นกลุ่มประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศ+3 ในอัตรา 20:80 (2) รูปแบบการลงเงิน (Contribution Formula) ควรเป็นแบบ Tiered Contribution Formula และ (3) โควต้าการกู้ยืม (Borrowing quota) ควรเป็นแบบ Tiered Multiples Formula อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมขอให้คณะทำงานฯ ศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างของการจัดทำ CMI Multilateralisation ในภาพรวม โดยเฉพาะเรื่องกลไกการเบิกถอนและการเสริมสร้างระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจ รวมทั้งบทบาทขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ
4. ASEAN+3 Research Group ที่ประชุมเห็นชอบหัวข้อการศึกษาสำหรับปี 2551/2552 ได้แก่ เรื่อง Development of Corporate Credit Information Database and Credit Guarantee System เรื่อง The Trend of Trade, Foreign Direct Investment, and Monetary Flows in East Asia, and its Policy Implication และเรื่อง New Financial Products and their Impact on the Asian Financial Market พร้องทั้งรับทรายผลการศึกษาหัวข้อวิจัยของปี 2550/2551 3 เรื่องได้แก่เรื่อง Toward Greater Financial Stability in the Asian Region: Measures for Possible Use of Regional Monetary Units (RMU) for Surveillance and Transaction เรื่อง Development of Database on Corporate Credit Information และเรื่อง Development of Capital Market in Widen and Diversify SME Financing
ทั้งนี้ จะมีการนำผลการประชุม AFDM+3 ครั้งนี้เสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (4 พฤษภาคม 2551) เพื่อพิจารณาต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 37/2551 6 พฤษภาคม 51--
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2551 ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 ณ กรุงมาดริดประเทศสเปน โดยปลัดกระทรวงการคลังของประเทศญี่ปุ่นและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทำหน้าที่ประธานร่วมในการประชุม
เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียน 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ได้มีการหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคและได้ร่วมกันพิจารณามาตรการริเริ่มต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า ภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคจะยังคงขยายตัวในปี 2551 แต่ในอัตราที่ชะลอลง สืบเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความแปรปรวนของตลาดการเงินทั่วโลก และความกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันและอาหาร ในการนี้ ที่ประชุมได้ตระหนัก ถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจของภูมิภาคให้มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเสริมสร้างความร่วมมือร่วมกันในการลดความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก
2. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียทั้งในด้านการเพิ่ม อุปทานด้วยการออกตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่น และการศึกษาแนวทางการออกตราสารหนี้เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนากลไกการค้ำประกันความน่าเชื่อถือและการลงทุน และการจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายในภูมิภาคอาเซียน+3 เพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชียมากขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบแนวทางการดำเนินมาตรการ ABMI ระยะต่อไป (New ABMI Roadmap) ซึ่งกำหนดให้มีการจัดโครงสร้างคณะทำงานภายใต้ ABMI ใหม่ และกำหนดกรอบภารกิจที่ต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติของคณะทำงานต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้การดำเนินมาตรการ ABMI มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
3. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนามาตรการริเริ่มเชียงใหม่จากความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคี (Bilateral Swap Agreement: BSA) ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปสู่ความตกลงที่มีลักษณะพหุภาคี (CMI Multilateralisation) เพื่อเสริมสร้างกลไกการเสริมสภาพคล่องทางการเงินระยะสั้นระหว่างสมาชิกอาเซียน+3 ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอเบื้องต้นของคณะทำงานมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Taskforce on CMI Multilateralisation) ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานในระยะที่ 2 เพื่อศึกษารายละเอียดของรูปแบบ Self-managed Reserve Pooling Arrangement (SRPA) ในรูปของความตกลง (Contractual Agreement) กล่าวคือ (1) ขนาดของ SRPA ควรเท่ากับ 80 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสามารถเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต โดยสัดส่วนการลงเงินจะแบ่งเป็นกลุ่มประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศ+3 ในอัตรา 20:80 (2) รูปแบบการลงเงิน (Contribution Formula) ควรเป็นแบบ Tiered Contribution Formula และ (3) โควต้าการกู้ยืม (Borrowing quota) ควรเป็นแบบ Tiered Multiples Formula อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมขอให้คณะทำงานฯ ศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างของการจัดทำ CMI Multilateralisation ในภาพรวม โดยเฉพาะเรื่องกลไกการเบิกถอนและการเสริมสร้างระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจ รวมทั้งบทบาทขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ
4. ASEAN+3 Research Group ที่ประชุมเห็นชอบหัวข้อการศึกษาสำหรับปี 2551/2552 ได้แก่ เรื่อง Development of Corporate Credit Information Database and Credit Guarantee System เรื่อง The Trend of Trade, Foreign Direct Investment, and Monetary Flows in East Asia, and its Policy Implication และเรื่อง New Financial Products and their Impact on the Asian Financial Market พร้องทั้งรับทรายผลการศึกษาหัวข้อวิจัยของปี 2550/2551 3 เรื่องได้แก่เรื่อง Toward Greater Financial Stability in the Asian Region: Measures for Possible Use of Regional Monetary Units (RMU) for Surveillance and Transaction เรื่อง Development of Database on Corporate Credit Information และเรื่อง Development of Capital Market in Widen and Diversify SME Financing
ทั้งนี้ จะมีการนำผลการประชุม AFDM+3 ครั้งนี้เสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (4 พฤษภาคม 2551) เพื่อพิจารณาต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 37/2551 6 พฤษภาคม 51--