(ตุลาคม - ธันวาคม 2566) นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม - ธันวาคม 2566) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 622,652 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 963,782 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 209,616 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567
(ตุลาคม - ธันวาคม 2566)
หน่วย: ล้านบาทไตรมาสแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณปีงบประมาณ
จำนวน ร้อยละ 2567 2566 1. รายได้ 622,652 639,549 (16,897) (2.6) 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 963,782 1,041,138 (77,356) (7.4) 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 910,192 982,207 (72,015) (7.3) 2.2 รายจ่ายปีก่อน 53,590 58,931 (5,341) (9.1) 3. ดุลเงินงบประมาณ (341,130) (401,589) 60,459 15.1 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (8,310) (71,409) 63,099 88.4 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (349,440) (472,998)123,558 26.1 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 20,000 221,105 (201,105) (91.0) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (329,440) (251,893) (77,547) (30.8) 8. เงินคงคลังต้นงวด 539,056 624,019 (84,963) (13.6) 9. เงินคงคลังปลายงวด 209,616 372,126 (162,510) (43.7) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 16 มกราคม 2567 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนธันวาคม 2566
และในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม - ธันวาคม 2566)
________________ ในเดือนธันวาคม 2566 รัฐบาลขาดดุลเงินสด จำนวน 74,502 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุล เงินงบประมาณ จำนวน 63,169 ล้านบาท และเป็นการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 11,333 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวน 209,616 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ฐานะการคลังเดือนธันวาคม 2566 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 219,411 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 1,102 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.5) โดยการคืนภาษีของกรมสรรพากร (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) ซึ่งเป็นรายการหัก สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ประกอบกับการนำส่งรายได้ของกรมสรรพสามิต (ภาษีรถยนต์) และกรมศุลกากร (อากรขาเข้า) ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของกรมธนารักษ์และรัฐวิสาหกิจสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากการนำส่งค่าเช่าที่ราชพัสดุของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ซึ่งคิดตามสัดส่วนรายได้ของ ทอท. (Revenue Sharing) สูงกว่าปีที่แล้ว และรัฐวิสาหกิจมีการนำส่งรายได้บางส่วนเหลื่อมเดือนจากปีที่แล้ว
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 282,580 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 2,053 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.7) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 265,283 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 2.3 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 17,297 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 18.4 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 1)
1.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 254,456 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ 9.4 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงการคลัง และกระทรวงศึกษาธิการ เบิกจ่ายสูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว
1.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 10,827 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 59.4 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงกลาโหม เบิกจ่ายต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 97,508 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 20,208 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 8,733 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 4,469 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,985 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 2,810 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง จำนวน 2,730 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 2,598 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 2,591 ล้านบาท
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนธันวาคม 2566
หน่วย: ล้านบาทเดือนธันวาคม เปรียบเทียบ 2566 2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 265,283 259,336 5,947 2.3 1.1 รายจ่ายประจำ 254,456 232,696 21,760 9.4 1.2 รายจ่ายลงทุน 10,827 26,640 (15,813) (59.4) 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 17,297 21,191 (3,894) (18.4) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 282,580 280,527 2,053 0.7 ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ณ เดือนธันวาคม 2566 ขาดดุลจำนวน 74,502 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 63,169 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 11,333 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการถอนเงินฝากคลังของภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม งวดที่ 12 ของปีงบประมาณ 2566 จำนวน 9,633 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้ กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 54,502 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 209,616 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนธันวาคม 2566
หน่วย: ล้านบาท เดือนธันวาคม เปรียบเทียบ 2566 2565 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 219,411 220,513 (1,102) (0.5) 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 282,580 280,527 2,053 0.7 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 265,283 259,336 5,947 2.3 2.2 รายจ่ายปีก่อน 17,297 21,191 (3,894) (18.4) 3. ดุลเงินงบประมาณ (63,169) (60,014) (3,155) (5.3) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (11,333) (4,876) (6,457) (132.4) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (74,502) (64,890) (9,612) (14.8) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 20,000 140,711 (120,711) (85.8) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (54,502) 75,821 (130,323) (171.9) 8. เงินคงคลังต้นงวด 264,118 296,305 (32,187) (10.9) 9. เงินคงคลังปลายงวด 209,616 372,126 (162,510) (43.7) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 16 มกราคม 2567 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566
2. ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม - ธันวาคม 2566) 2.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 622,652 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 16,897 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.6) โดยการนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่นและกรมศุลกากรต่ำกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษรวม 36,223 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของกรมสรรพสามิต (ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน) และรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาท/ลิตร ขณะที่ในปีนี้มีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน 2.5 และ 1 บาท/ลิตร ตามลำดับ ประกอบกับรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้บางส่วนเหลื่อมมาจากปีที่แล้ว
2.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 963,782 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้ว จำนวน 77,356 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 7.4) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 910,192 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 72,015 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.3 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 53,590 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 5,341 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.1 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 3)
2.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 859,136 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 34.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 2,522,812 ล้านบาท) เบิกจ่ายใกล้เคียงกันกับช่วงเดียวกัน ปีที่แล้ว
2.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 51,056 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 7.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 662,188 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 58.6 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย รัฐวิสาหกิจ สำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการ ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี เบิกจ่ายต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 115,917 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 84,566 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 59,154 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 45,323 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 41,949 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 41,754 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานประกันสังคม จำนวน 31,437 ล้านบาท เงินอุดหนุน ของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 26,968 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง จำนวน 23,700 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 11,603 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง จำนวน 8,021 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 5,738 ล้านบาท เงินอุดหนุน ของสำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 5,433 ล้านบาท และงบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 4,420 ล้านบาท
- 5 - ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567
(ตุลาคม - ธันวาคม 2566)
หน่วย: ล้านบาทไตรมาสแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ ปีงบประมาณร้อยละต่อวงเงินจำนวน ร้อยละ งบประมาณ2567 2566 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 910,192 982,207 (72,015) (7.3) 28.6 1.1 รายจ่ายประจำ 859,136 858,758 378 0.04 34.1 1.2 รายจ่ายลงทุน 51,056 123,449 (72,393) (58.6) 7.7 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 53,590 58,931 (5,341) (9.1) 33.5 3. รายจ่ายรวม (1+2) 963,782 1,041,138 (77,356) (7.4) 28.8 ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จำนวน 349,440 ล้านบาท โดยเป็น การขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 341,130 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 8,310 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการถอนเงินฝากคลังของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สุทธิ จำนวน 3,500 ล้านบาท และถอนเงินฝากคลังของหน่วยงานต่าง ๆ สุทธิ จำนวน 1,065 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชย การขาดดุล จำนวน 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 329,440 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 209,616 ล้านบาท (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567
(ตุลาคม - ธันวาคม 2566)
หน่วย: ล้านบาทไตรมาสแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณปีงบประมาณ
จำนวน ร้อยละ 2567 2566 1. รายได้ 622,652 639,549 (16,897) (2.6) 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 963,782 1,041,138 (77,356) (7.4) 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 910,192 982,207 (72,015) (7.3) 2.2 รายจ่ายปีก่อน 53,590 58,931 (5,341) (9.1) 3. ดุลเงินงบประมาณ (341,130) (401,589) 60,459 15.1 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (8,310) (71,409) 63,099 88.4 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (349,440) (472,998)123,558 26.1 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 20,000 221,105 (201,105) (91.0) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (329,440) (251,893) (77,547) (30.8) 8. เงินคงคลังต้นงวด 539,056 624,019 (84,963) (13.6) 9. เงินคงคลังปลายงวด 209,616 372,126 (162,510) (43.7) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 16 มกราคม 2567 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง___________________________ กองนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566
ที่มา: กระทรวงการคลัง