บทสรุปผู้บริหาร
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2566 และปี 2567
?เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี
ในปี 2567 ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและความผันผวนของนโยบายทางการเงิน
และตลาดเงินโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด?
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผล
การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่า ?เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 ถึง 2.0) ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายร้อยละ 2.6? โดยมีปัจจัยสำคัญจาก
การหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production
Index: MPI) โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์ และคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออก
สินค้าทั้งปี 2566 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -1.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.8 ถึง -1.3) ซึ่งเป็นผลจาก
อุปสงค์ที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจะหดตัวที่ร้อยละ -1.9
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -2.2 ถึง -1.7) ในส่วนของสถานการณ์ค่าเงินบาทในปี 2566 พบว่า ค่าเงินบาทมี
ความผันผวนโดยอ่อนค่าในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 และแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2566
โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจจีน
และนโยบายการเงินผ่อนคลายของญี่ปุ่น โดยค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์สหรัฐฯ) ปี 2566
เฉลี่ยที่ 34.81 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 2565 ที่ร้อยละ 0.7 นอกจากนั้น ยังพบว่า
ตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรของไทยในปี 2566 ที่ผ่านมา มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหล
ออกจากตลาดทุนไทยสุทธิ -3.3 แสนล้านบาท เป็นผลจากกระแสเงินทุนสุทธิของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออก
จากทั้งตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยที่ -1.9 และ -1.4 แสนล้านบาท ตามลำดับ โดยนักลงทุน
ต่างชาติมีการขายสุทธิหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่องตลอดทั้งปี
สำหรับในปี 2567 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 ถึง 3.3) โดยปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะยังสามารถขยายตัวได้
และภาคการท่องเที่ยวคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
จำนวน 33.5 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน
และมาเลเซียเป็นสำคัญ และมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1.48 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ต่อปี ส่งผลดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น คาดว่าการส่งออก
สินค้ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลงเล็กน้อยตามอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว
ชะลอตัวลง ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.7 ถึง 4.7)
และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5) ในขณะที่
รายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลคาดว่าจะเบิกจ่ายได้คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายที่ร้อยละ 99.5
และ 64.0 ตามลำดับ รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายอัตราลดลงจากปีก่อนหน้าเนื่องจากความล่าช้าในการอนุมัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 1.5) เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบจะอยู่ในระดับทรงตัวที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในปี 2566 ที่ 81.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เป็นผลมาจากการชะลอตัว
3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
3
ของอุปสงค์น้ำมันดิบโลก ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุล
ตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะ
กลับมาเกินดุล 10.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP อย่างไรก็ดี ต้องติดตาม
สถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือน โดยล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 มียอดคงค้างอยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 90.9 ของ GDP
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.2 ถึง 3.2) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดี ขณะที่
เสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ
1.5 ของ GDP (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 2.5 ของ GDP)
ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและมี
เสถียรภาพในระยะยาวนั้น ควรให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure
Development) เช่น การพัฒนาการใช้พลังงานที่ยั่งยืน การลงทุนในด้านดิจิทัล และการพัฒนาด้านคมนาคม
เชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ จะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ และทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคได้
2) การพัฒนาทักษะ (Skills Development) การเตรียมแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจโลกมี
ความสำคัญและจะส่งเสริมความสำเร็จในระยะยาวได้ดี 3) การรักษาเสถียรภาพทางการคลัง (Fiscal Stability)
มุ่งมั่นในการบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะ
อย่างรับผิดชอบ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับ
ความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคตได้
นอกจากนี้ ยังควรติดตามปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความขัดแย้ง
ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโต
ของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ สถานการณ์สู้รบ
ระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานให้ปรับตัวสูงขึ้น แ ละความยืดเยื้อ
ของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน 2) สถานการณ์การเลือกตั้งผู้นำของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น
ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศรัสเซีย และประเทศอินเดีย เป็นต้น ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบายระหว่าง
ประเทศของไทย 3) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศ
คู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
และ 4) สถานการณ์เศรษฐกิจของจีน ที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย
4
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
4
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567 (ณ เดือนมกราคม 2567)
2565
2566f 2567f
เฉลี่ย ช่วง เฉลี่ย ช่วง
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ) 2.6 1.8 1.6 ถึง 2.1 2.8 2.3 ถึง 3.3
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภค
- การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ) 6.3 7.1 6.9 ถึง 7.4 3.3 2.8 ถึง 3.8
- การบริโภคภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ) 0.2 -3.6 -3.9 ถึง -3.4 1.4 0.9 ถึง 1.9
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุน
- การลงทุนภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ) 5.1 2.8 2.6 ถึง 3.1 3.2 2.7 ถึง 3.7
- การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ) -4.9 -0.2 -0.5 ถึง 0.1 3.1 2.6 ถึง 3.6
4) อัตราการขยายตัวของปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละ) 6.8 2.0 1.8 ถึง 2.3 5.5 5.0 ถึง 6.0
5) อัตราการขยายตัวของปริมาณนำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละ) 4.1 -1.2 -1.5 ถึง -1.0 5.4 4.9 ถึง 5.9
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 13.5 14.5 13.3 ถึง 15.7 15.7 14.4 ถึง 17.0
- มูลค่าสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ) 5.4 -1.5 -1.8 ถึง -1.3 4.2 3.7 ถึง 4.7
- มูลค่าสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ) 14.0 -1.9 -2.2 ถึง -1.7 4.0 3.5 ถึง 4.5
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) -15.7 5.1 3.9 ถึง 6.3 10.0 7.4 ถึง 12.6
- ร้อยละของ GDP -3.2 1.0 0.8 ถึง 1.3 1.8 1.3 ถึง 2.3
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละ) 6.1 1.2 1.0 ถึง 1.5 1.0 0.5 ถึง 1.5
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละ) 2.5 1.3 1.1 ถึง 1.6 1.1 0.6 ถึง 1.6
สมมติฐานหลัก
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละ) 3.4 3.1 2.9 ถึง 3.4 2.8 2.3 ถึง 3.3
2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) 95.4 81.9 81.7 ถึง 82.2 82.0 77.0 ถึง 87.0
สมมติฐานด้านนโยบาย
3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) 35.1 34.8 34.6 ถึง 35.1 34.4 33.9 ถึง 34.9
4) รายจ่ายภาคสาธารณะ (ล้านล้านบาท) 4.12 4.04 4.02 ถึง 4.07 4.14 4.04 ถึง 4.24
5) จำนวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน) 11.2 28.0 27.8 ถึง 28.3 33.5 32.5 ถึง 34.5
*หมายเหตุ: ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567 ณ เดือนมกราคม 2567 ไม่รวมผลกระทบของโครงการเติมเงิน 10,000 บาท
ผ่าน Digital Wallet
5
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
5
Executive Summary
Thailand?s Economic Projections for 2023 and 2024
Thailand?s Economic Projections for 2023 and 2024
?The Thai economy is projected to expand by 1.8 percent in 2023 and 2.8 percent in
2024. Nevertheless, the geopolitical risks, monetary and financial market fluctuations
that could impact Thai economy should be closely monitored.?
Mr. Pornchai Thiraveja, Director General of the Fiscal Policy Office, and Spokesperson
of Ministry of Finance (MOF), stated that ?The Thai economy is projected to expand by
1.8 percent in 2023 and 2.8 percent in 2024. Nevertheless, the geopolitical risks,
monetary and financial market fluctuations that could impact Thai economy should
be closely monitored.? The projected economic growth in 2023 at 1.8 percent is less than
economic expansion in 2022 at 2.6 percent. The main factor is the contraction of industrial
production, as reflected by the Manufacturing Production Index (MPI), particularly in
automotive and computer and electronic parts. The export value of goods in USD is likely
to experience a contraction of -1.5 percent (within the range of -1.8 to -1.3 percent)
influenced by the economic slowdown of Thailand?s major trading partners. Meanwhile,
the import value of goods in USD is expected to contract by -1.9 percent (within the range
of -2.2 to -1.7 percent). The exchange rate situation was volatilely weakening in the first
three quarters and gained appreciation in the forth quarter. The main reasons were
the interest rate hikes by the US Federal Reserve, the impact of the Chinese economy, and
Japan?s ultra-loose monetary policy. The average exchange rate of Thai baht against the US
dollar was 34.81 THB per USD, strengthening from the average in 2022 by 0.7 percent.
Moreover, there was net foreign capital outflows of -3.3 hundred billion THB in Thai stock market
(-1.9 hundred billion THB) and bond market (-1.4 hundred billion THB) due to foreign
investors have been selling Thai securities throughout the year.
In 2024, the Minitry of Finance anticipates the Thai economy to expand by 2.8
percent (within the range of 2.3 to 3.3 percent). The tourism sector is expected to have
33.5 million international tourists (increase by 19.5 percent) mainly from China and Malaysia
and will generate tourism revenue of 1.48 trillion THB (increase by 23.6 percent). This will
benefit the tourism industry and related sectors. In addition, the export value of goods in
USD is expected to slightly increase at 4.2 percent (within the range of 3.7 to 4.7 percent) due
to economic slowdown of major trading partners. The import value of goods in USD is 4.0
percent (within the range of 3.5 to 4.5 percent). The government current expenditure and
capital expenditure are expected to have disbursement rate at 99.5 percent and 64.0 percent
respectively. The decrease of government capital expenditure disbursement rate is from
the budget delay in fiscal year 2024.
6
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
6
Regarding to Thailand?s economic internal stability, the headline inflation rate is
projected to be 1.0 percent (within the range of 0.5 to 1.5 percent) due to oil demand
slowdown which result in stable average dubai oil price at 82 USD per barrel which is close
to 81.9 USD per barrel in 2023. In terms of external stability, the service balance is expected
to shift to a surplus, primarily driven by the strong growth of international tourists, leading
to the current account balance potentially returning to a surplus of 10.0 billion USD, equivalent
to 1.8 percent of GDP. However, the household debt situation at third quarter of 2023 have
reached 16.2 trillion THB (90.9 percent of GDP).
The Ministry of Finance Spokesperson mentioned that the development of Thai economy
to grow sustainably and stably in long term should focus on 3 issues which are 1) Infrastructure
Development such as developing sustainable energy, investing in digital technology, and
developing transportation infrastructure that connects regions. This will help creating new
opportunies and make Thailand as the central of this region. 2) Skills Development such as
preparing workers with the skills needed for the global economy is essential and will promote
long-term success. 3) Fiscal Stability such as diligently managing public finances, taking into
account of government spending and public debt levels responsibly, in order to main tain long-term
financial sustainability. This will ensure Thailand to cope with the risks and challenges in the future.
Moreover, the Ministry of Finance Spokesperson also highlighted, ?Thailand?s
economic outlook could be influenced by several factors, and the following factors that
should be closely monitored: 1) Global geopolitical tensions, such as the strategic
competition between United States and China, conflict in Israel and Gaza which may lead
to higher energy prices, and Russia-Ukraine war 2) Elections in major trading partners
especially United States, Russia and India. This may potentially affect Thailand?s
international policy. 3) The fluctuation in the global financial markets due to more restrictive
monetary policies of Thailand?s major trading partners and financial institutions, particulary
in the United States and the European Union. 4) The China economy situation that may
affect Thailand?s exports and the recovery of tourism sectors.
7
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
7
Major Economic Assumptions and Thailand?s Economic Projections for 2023 and 2024
2022
2023f 2024f
as of Jan 2024
Avg Range Avg Range
Projections
1) GDP Growth Rate (percent y-o-y) 2.6 1.8 1.6 to 2.1 2.8 2.3 to 3.3
2) Real Consumption Growth (percent y-o-y)
- Real Private Consumption (percent y-o-y) 6.3 7.1 6.9 to 7.4 3.3 2.8 to 3.8
- Real Public Consumption (percent y-o-y) 0.2 -3.6 -3.9 to -3.4 1.4 0.9 to 1.9
3) Real Investment Growth (percent y-o-y)
- Real Private Investment (percent y-o-y) 5.1 2.8 2.6 to 3.1 3.2 2.7 to 3.7
- Real Public Investment (percent y-o-y) -4.9 -0.2 -0.5 to 0.1 3.1 2.6 to 3.6
4) Export Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 6.8 2.0 1.8 to 2.3 5.5 5.0 to 6.0
5) Import Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 4.1 -1.2 -1.5 to -1.0 5.4 4.9 to 5.9
6) Trade Balance (USD billion) 13.5 14.5 13.3 to 15.7 15.7 14.4 to 17.0
- Export Value of Goods in USD (percent y-o-y) 5.4 -1.5 -1.8 to -1.3 4.2 3.7 to 4.7
- Import Value of Goods in USD (percent y-o-y) 14.0 -1.9 -2.2 to -1.7 4.0 3.5 to 4.5
7) Current Account (billion U.S.) -15.7 5.1 3.9 to 6.3 10.0 7.4 to 12.6
- Percentage of GDP -3.2 1.0 0.8 to 1.3 1.8 1.3 to 2.3
8) Headline Inflation (percent y-o-y) 6.1 1.2 1.0 to 1.5 1.0 0.5 to 1.5
Core Inflation (percent y-o-y) 2.5 1.3 1.1 to 1.6 1.1 0.6 to 1.6
Major Assumptions
1) Average Economic Growth Rate of Major Trading
Partners (percent y-o-y)
3.4 3.1 2.9 to 3.4 2.8 2.3 to 3.3
2) Dubai Crude Oil Price (USD per Barrel) 95.4 81.9 81.7 to 82.2 82.0 77.0 to 87.0
3) Exchange Rate (THB per USD) 35.1 34.8 34.6 to 35.1 34.4 33.9 to 34.9
4) Public Expenditure (Trillion THB) 4.12 4.04 4.02 to 4.07 4.14 4.04 to 4.24
5) Number of foreign tourists (Million) 11.2 28.0 27.8 to 28.3 33.5 32.5 to 34.5
Note: Thailand?s Economic Projections for 2023 and 2024 as of January 2024 do not account for the potential impact of the 10,000 THB
digital wallet scheme.
8
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
8
9
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
9
สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567
1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 15 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินภาพรวมอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ
คู่ค้าหลักของไทย 15 ประเทศ ในปี 2566 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี (YoY) ปรับลงจาก
การประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี (YoY) และชะลอลงจากปี 2565 (อยู่ที่
ร้อยละ 3.4) โดยในช่วงที่เหลือของปี 2566 คาดว่า เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของประเทศไทยส่วนใหญ่
จะคงขยายตัวได้ในระดับใกล้เคียงกับช่วงไตรมาส 3 โดยเศรษฐกิจคู่ค้าที่สำคัญ คาดว่า จะยังคงได้รับ
แรงสนับสนุนจากภาคบริการที่ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยกดดันจากภาคอุตสาหกรรมที่ยังคง
ชะลอลงต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูง สถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่ยังคงอ่อนแอ
รวมทั้งความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน และสถานการณ์สู้รบ
ระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ทำให้ภาพรวมอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่
ทั้งปี 2566 ยังคงมีทิศทางที่ชะลอลงจากปี 2565
สำหรับภาพรวมอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทย 15 ประเทศ
ในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 แต่ในอัตราที่ชะลอลง สอดคล้องกับการคาดการณ์
ของ IMF และผลสำรวจนักวิเคราะห์หลายสำนัก โดยคาดว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทย
15 ประเทศ โดยรวมขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.8 (YoY) ชะลอลงจากคาดการณ์อัตราการขยายตัวปี 2566
และปรับลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.9 (YoY) เนื่องจากผล
ของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา และยังมีปัจจัยกดดันรอบข้างทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
ในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมัน นอกจากนี้ รัฐบาล
ประเทศเศรษฐกิจหลักมีความสามารถช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจและรับมือความผันผวนได้น้อยลง
จากภาวะหนี้ที่อยู่ในระดับสูงเป็นผลจากรายจ่ายช่วงโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น รายจ่ายสังคมสูงวัย การรับมือ
การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ และภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มลดลงกลับ
เข้าสู่กรอบเป้าหมายในหลายประเทศ คาดว่าจะทำให้ประเทศสำคัญ ๆ เริ่มดำเนินการเปลี่ยนทิศทาง
นโยบายการเงิน โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี ยังมี
ทิศทางการฟื้นตัวการค้าและการส่งออกที่เริ่มปรับดีขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ในปีนี้ได้ โดยแนวโน้มการฟื้นตัวนั้นยังมีทิศทางที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม
ประเทศ
ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงในระยะต่อไปที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในปี 2567 ได้แก่ 1) ความเสี่ยง
ทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้แก่ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ สถานการณ์สู้รบ
ระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ยังรวมถึงความขัดแย้ง
ทางภูมิรัฐศาสตร์ในพื้นที่อื่น ๆ เช่น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผล
กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและการค้าระหว่างประเทศ สำหรับการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง
ของกบฏฮูติยังเป็นอีกปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง 2) สถานการณ์การเลือกตั้งของหลายประเทศ
ที่สำคัญในปี 67 ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อินเดีย และอินโดนีเซีย อาจส่งผลต่อความไม่แน่นอน
ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเงินและการค้าระหว่างประเทศในระยะต่อไป 3) ความผันผวน
ของตลาดการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบัน
การเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป และ 4) สถานการณ์
10
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
10
เศรษฐกิจประเทศสำคัญที่มีทิศทางชะลอลง เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังอ่อนแอ รวมทั้ง
สถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่อาจฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดจากปัจจัยกดดันด้านอสังหาริมทรัพย์และหนี้
ของรัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ซึ่งทิศทาง
ที่อ่อนแอลงของเศรษฐกิจประเทศสำคัญดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน รวมทั้ง
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2567
11
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
11
ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 15 ประเทศ (ร้อยละ)
ที่มา: รวบรวมและประมาณการโดย สศค.
หมายเหตุ: * คือตัวเลขคาดการณ์ปี 2566
1.1 เศรษฐกิจสหรัฐฯ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.6
ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2565)
? เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดีกว่าการคาดการณ์ของ สศค. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 2
ตามลำดับ ทั้งนี้ เป็นการชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.8 และเป็น
การขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 เมื่อคำนวณแบบ Annualize Rate ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4
มาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การลงทุนของภาคเอกชน
ที่ขยายตัว ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ขยายตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.1
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน) และการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ดี การส่งออกและการนำเข้าหดตัวมากขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ -5.9 จากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนนอกจากนี้ ในไตรมาสที่ 4 สหรัฐฯ มีมูลค่า GDP อยู่ที่ 22,673 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
? ในปี 2566 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นการประมาณการที่เพิ่มขึ้นจาก
ประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 1.1 โดยมีสาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 2 - 4 ขยายตัว
ดีกว่าที่คาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 ร้อยละ 2.4 และ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ การเพิ่มขึ้น
ประเทศคู่ค้าหลักเรียงตามสัดส่วน
การส่งออกปี 2565
2564
2565
2565
2566
YTD
ทั้งปี
2566F
ทั้งปี
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 2567F
15 ประเทศ (79.1%) 5.81 3.78 3.57 4.19 2.29 3.42 2.90 3.15 3.23 3.35 3.16 3.16* 2.83
1. สหรัฐฯ (16.6%) 5.8 3.6 1.9 1.7 0.7 1.9 1.7 2.4 2.9 3.1 2.5 2.5 1.3
2. จีน (12.0%) 8.4 4.8 0.4 3.9 2.9 3.0 4.5 6.3 4.9 5.2 5.2 5.2 4.4
3. ญี่ปุ่น (8.6%) 2.6 0.3 1.5 1.5 0.5 0.9 2.6 2.3 1.7 1.0 1.9 1.9 0.7
4. ยูโรโซน (6.8%) 5.9 5.4 4.1 2.5 1.9 3.4 1.3 0.6 0.0 0.1 0.5 0.5 0.7
5. เวียดนาม (4.6%) 2.6 5.1 7.8 13.7 6.0 8.0 3.4 4.3 5.5 6.7 5.0 5.0 5.8
6. มาเลเซีย (4.4%) 3.3 4.8 8.8 14.1 7.1 8.7 5.6 2.9 3.3 3.4 3.8 3.8 4.5
7. ออสเตรเลีย (3.9%) 5.6 3.6 3.5 5.8 2.3 3.8 2.4 2.0 2.1 - 2.2 1.9* 1.4
8. อินเดีย (3.7%) 8.9 4.0 13.1 6.2 4.5 6.7 6.1 7.8 7.6 - 7.1 6.5* 6.5
9. อินโดนีเซีย (3.6%) 3.7 5.0 5.5 5.7 5.0 5.3 5.0 5.2 4.9 5.0 5.0 5.0 5.0
10. สิงคโปร์ (3.6%) 9.7 4.2 4.6 4.2 2.4 3.8 0.5 0.5 1.0 2.2 1.1 1.1 2.4
11. ฮ่องกง (3.5%) 6.4 -3.9 -1.2 -4.6 -4.1 -3.5 2.9 1.5 4.1 - 2.8 3.6* 2.7
12. ฟิลิปปินส์ (2.6%) 5.7 8.0 7.5 7.7 7.1 7.6 6.4 4.3 6.0 5.6 5.6 5.6 6.1
13. เกาหลีใต้ (2.2%) 4.3 3.1 2.9 3.2 1.4 2.6 0.9 0.9 1.4 2.2 1.4 1.4 2.3
14. ไต้หวัน (1.6%) 6.6 3.8 3.5 4.0 -0.7 2.6 -3.5 1.4 2.3 5.1 1.4 1.4 3.2
15. สหราชอาณาจักร (1.4%) 8.7 11.4 3.9 2.1 0.6 4.3 0.3 0.3 0.2 -0.2 0.1 0.1 0.7
12
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
12
ของ GDP ที่แท้จริงในปี 2023 ได้สะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายของผู้บริโภค การลงทุนคงที่ที่ไม่ใช่
ที่อยู่อาศัย การใช้จ่ายของรัฐบาลของรัฐและท้องถิ่น การส่งออก และการใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง
ซึ่งบางส่วนได้รับการชดเชยด้วยการลดลงของการลงทุนคงที่สำหรับที่อยู่อาศัยและการลงทุนในสินค้าคงคลัง
การนำเข้าลดลง
การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของบริการ (นำโดยการดูแล
สุขภาพ) และสินค้า (นำโดยสินค้าสันทนาการและยานพาหนะ) การเพิ่มขึ้นของการลงทุนคงที่ที่ไม่ใช่ที่อยู่
อาศัยสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของโครงสร้างและผลิตภัณฑ์ทรัพย์สินทางปัญญา การใช้จ่ายของรัฐบาลของรัฐ
และท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของการลงทุนขั้นต้นในโครงสร้างและค่าตอบแทนของพนักงาน
ของรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น การส่งออกที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของทั้งสินค้าและบริการ การเพิ่มขึ้น
ของการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายทั้งในด้านการป้องกัน
และการป้องกันการลดลงของการลงทุนคงที่สำหรับที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่สะท้อนถึงการลดลงของการก่อสร้าง
บ้านเดี่ยวใหม่และค่าคอมมิชชั่นของนายหน้า การลงทุนด้านสินค้าคงคลังภาคเอกชนที่ลดลงสะท้อนถึง
การลดลงของอุตสาหกรรมการค้าส่งเป็นหลัก ภายในการนำเข้า การลดลงสะท้อนถึงการลดลงของสินค้า
เป็นหลัก
? ในปี 2567 สศค. คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 (ช่วงคาดการณ์
ที่ร้อยละ 0.8 ถึง 1.8) ขยายตัวชะลอลงจากปี 2566 ทั้งนี้ การประมาณการดังกล่าวเท่ากับการประมาณการ
ครั้งก่อน และเท่ากับนักเคราะห์จากหลาย ๆ สถาบัน1 แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของ IMF และคณะกรรมการ
กำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เล็กน้อยที่ร้อยละ 1.5 และ 1.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ
ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น และ ณ เดือนธันวาคม 2566 เงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ (Core Inflation
Rate) อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และมีทิศทางชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
นับจากเดือนมีนาคม 66 สำหรับอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (Headline Inflation Rate) ชะลอตัวลงจากเดือน
ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี เป็นร้อยละ 3.4 ต่อปี ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ในขณะที่
ตลาดแรงงานสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณแข็งแกร่งขึ้น โดยมีอัตราการว่างงานล่าสุด ณ เดือนพฤศจิกายน 2566
ที่ร้อยละ 3.7 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ที่ร้อยละ 3.5
ภาคการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ทั้งในส่วนของสินค้าและบริการ อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยภายนอกและความเสี่ยงสืบเนื่องจากปีก่อนหน้า
ที่ยังคงต้องติดตาม เช่น แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยระดับสูง เงื่อนไขสินเชื่อที่ตึงตัวเริ่มมี
ความชัดเจนขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า การเติบโตของกำไรมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งส่งสัญญาณถึง
การลงทุนทางธุรกิจที่จะมีแนวโน้มอ่อนแอลง การกระจายเงินออมจากโรคระบาด (Dissipating Pandemic
Savings) หนี้ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น การดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายมีแนวโน้มลดลง ตลาดแรงงาน
ที่คาดว่าจะชะลอตัวลง การกลับมาชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาอีกครั้ง จะเป็นอุปสรรคต่อการใช้จ่าย
ของผู้บริโภค (The resumption of mandatory student loan repayments) และอาจมีความเสี่ยง
ต่อการปิดตัวของรัฐบาล รวมถึงการที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ พยายามควบคุมสภาพคล่อง
ผ่านโครงการคุมเข้มด้านการเงินเชิงปริมาณ รวมทั้งสงครามในยูเครน และการที่รัฐบาลทั่วโลกใช้จ่ายเงิน
จำนวนมาก นอกจากนี้ ยังต้องติดตามผลของการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้าเพิ่มเติม
1 ข้อมูลจาก Bloomberg ณ เดือนมกราคม 2567
13
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
13
1.2 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย: สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.0
ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมปี 2565)
? เศรษฐกิจของจีนในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวที่ร้อยละ
1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ปี 2566 เศรษฐกิจจีนขยายตัว
ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน และสูงกว่าเป้าหมายของทางการจีนที่ร้อยละ 5.0 โดยได้แรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจ
ที่ขยายตัวดีกว่าคาดการณ์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 และการประกาศมาตรการสนับสนุนสำหรับ
ภาคอสังหาริมทรัพย์และรัฐบาลท้องถิ่นเพิ่มเติม รวมถึงการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนบางส่วนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ปรับดีขึ้น อาทิ ยอดค้าปลีก
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว
ร้อยละ 4.2 ขณะที่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2566
อยู่ที่ระดับ 50.3 จุด และ 51.6 จุด เหนือระดับ 50.0 จุด บ่งชี้การขยายตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ
ทางด้านมูลค่าการส่งออกปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้น
จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.7
? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 คงคาดการณ์จากประมาณการ
ครั้งก่อน แต่ชะลอลงจากปี 2566 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 เนื่องจากผลจากการฟื้นตัวจากการเปิดเศรษฐกิจ
อีกครั้งเริ่มลดลง ประกอบกับจีนยังเผชิญกับปัญหาหนี้ที่สูงขึ้นและความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์
ตลอดจนปัจจัยเชิงโครงสร้างในระยะยาวที่ส่งผลต่อการเติบโต ขณะที่ปัจจัยภายนอกยังได้รับแรงกดดันจาก
ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์กับสหรัฐที่รุนแรง นำไปสู่มาตรการกีดกันด้านเทคโนโลยี รวมทั้งส่งผลให้
เกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากจีนไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อย่างไรก็ดี คาดว่าในปี 2567 เศรษฐกิจจีนจะยัง
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง การบริโภคที่มีแนวโน้มฟื้นตัว รวมทั้งการส่งออก
ที่ขยายตัวได้ดีขึ้นตามอุปสงค์และการฟื้นตัวของภาคการผลิต
1.3 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 8.6
ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม)
? เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยในช่วงปลายปี 2566
ญี่ปุ่นจะสามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้นจาก Demand ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนที่อ่อน
ก็ทำให้การเพิ่มขึ้นของปริมาณส่งออกไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก ขณะที่การนำเข้าหดตัว
ร้อยละ -7.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยสำคัญจากต้นทุนการนำเข้าพลังงานที่ลดลงจากราคา
ปิโตรเลียม และ LNG ลดลง ประกอบกับการบริโภคภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ
ยังอยูในระดับที่สูง โดยอัตราเงินเฟ้อ เดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งแม้ว่าจะเป็นระดับต่ำสุดนับจาก
เดือนกรกฎาคม 2565 เป็นต้นมา แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อระยะยาว (Long Term Average)
ที่ร้อยละ 2.42 ขณะเดียวกันค่าเงินเยนยังคงอ่อนทำให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าสินค้าในราคาที่สูงขึ้น และส่งออกได้
ในมูลค่าที่ต่ำลง ขณะที่ค่าแรงขึ้นไม่ทันเงินเฟ้อ ทำให้ประชาชนไม่ออกมาใช้จ่าย เพราะต้องการประหยัดเงินไว้
เพื่อซื้อของที่จำเป็นในการดำรงชีวิต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ณ เดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ระดับ 38
แม้ว่าจะเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 เป็นต้นมา แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนว่า
ผู้บริโภคยังคงไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ยังมีเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจบางตัวที่มสัญญาณบวก
14
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
14
ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคบริการ (Final) เดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ 52.0
บ่งชี้การเติบโตของกิจกรรมภาคบริการในอัตราเร็วสุดนับจากเดือนกันยายน 2566 อัตราการว่างงาน เดือน
ธันวาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับจากเดือนมกราคม 66 เป็นต้นมา ยอดค้าปลีก เดือน
ธันวาคม 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ยอดค้าปลีกขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกัน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้น้อย
มากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะการปรับเพิ่ม
ดอกเบี้ยจะซ้ำภาวะเงินฝืด และทำให้ประชาชนไม่อยากใช้จ่ายมากยิ่งขึ้นไปอีก
? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มที่จะหดตัวลงอีกในไตรมาสปัจจุบัน จากปัญหา
อุปสงค์ที่อ่อนแอในจีน การบริโภคที่ชะลอตัว และสัญญาณที่ไม่สู้ดีนักในภาคการผลิตอุตสากรรม ทั้งนี้
เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังประสบกับแนวโน้มการชะลอตัวของการบริโภคและการใช้จ่ายเงินทุน ( Capital
Expenditure) ซึ่งถือเป็นเสาหลักของอุปสงค์ภายในประเทศ?
1.4 เศรษฐกิจยูโรโซน 20 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย: สัดส่วนการส่งออก
ร้อยละ 6.8 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม)
? เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.0 ส่งผลให้ปี 2566 เศรษฐกิจยูโรโซน
ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากปี 2565 โดยเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจยูโรโซน
โดยรวมยังคงอ่อนแอ สะท้อนจากเครื่องชี้สำคัญด้านอุปทาน ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยไตรมาสที่ 4
ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 43.9 จุด จากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 43.2 จุด ด้านดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการเฉลี่ย
ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 48.4 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 49.2 จุด โดยดัชนีฯ ( PMI)
ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุด สะท้อนถึงภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซน
ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาเครื่องชี้ที่สำคัญด้านอุปสงค์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาสที่ 4 ปี
2566 อยู่ที่ระดับ -16.7 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ -16.3 จุด สะท้อนถึงความเชื่อมั่น
ของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจปรับลดลงและยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทางด้านยอดค้าปลีกเฉลี่ยไตรมาสที่ 4 ปี
2566 หดตัวร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวตัวร้อยละ
-1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทางด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานเฉลี่ยไตรมาสที่ 4 ปี 2566
อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.5
ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อปรับลดลง
ต่อเนื่อง และเริ่มใกล้เคียงเป้าหมายเงินเฟ้อของ ECB ที่ตั้งเอาไว้ร้อยละ 2.0
? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ลดลงจาก
ประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 1.0 โดยคาดว่า เศรษฐกิจจะค่อยทยอยปรับดีขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุน
จากรายได้ที่แท้จริงและการบริโภคที่เริ่มปรับดีขึ้น การส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของอุปสงค์
ในต่างประเทศ แต่เศรษฐกิจจะยังคงซบเซาและมีความเสี่ยงถดถอยแบบไม่รุนแรงจากผลกระทบดอกเบี้ยสูง
และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี คาดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนในปี 2567 จะยังได้แรง
สนับสนุนจากงบประมาณเพิ่มเติมจากแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU ทั้งนี้ ยังต้องติดตาม
สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน การโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดงของกบฏฮูติ
รวมทั้งสถานการณ์สู้รบระหว่างอิสลาเอลและฮามาสที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน
15
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
15
1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม)
ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน (%)
ที่มา: CEIC รวบรวมโดย สศค.
? เศรษฐกิจอาเซียนไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี สะท้อนจากตัวเลข
การขยายตัวเศรษฐกิจของ 5 ประเทศ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ
6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้
ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจ
ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดค้าปลีกไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 มูลค่าส่งออกไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.4 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI ภาคอุตสาหกรรม
ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อยู่ที่ 48.6 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ 49.6 จุด ทางด้านอัตราเงินเฟ้อ
ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 2) เศรษฐกิจ
ประเทศฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจาก
ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 2.1
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์
ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการบริโภคและการลงทุนภาคครัวเรือนยังคงขยายตัวได้
ต่อเนื่อง จากตลาดแรงงานที่ร้อนแรงโดยอัตราการว่างงานต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บ
ในปี 2548 ท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้การบริโภคครัวเรือน
ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน นอกจากนี้ แรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญจะมาจากภาคการบริการที่ขยายตัวที่ร้อยละ
7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
3) เศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซียไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.04 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ
3.3
2.6
9.7
3.7
5.7
8.7 8.0
3.8
5.3
7.6
3.8
5.0
1.1
5.0 5.6
4.5
5.8
2.4
5.0
6.1
0.0
2.0
4.0
6.0
8.0
10.0
12.0
มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
GDP Growth (%)
2564 2565 2566 2567f
16
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
16
0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย
ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีปัจจัยมาจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ประกอบกับการส่งออกที่ยังคงมีการขยายตัว 4) เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ
3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ส่งผลให้ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเศรษฐกิจ
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ได้รับปัจจัยหนุนมาจากการพลิกกลับมาขยายตัวอีกครั้งของภาคการผลิต
และเหมืองแร่ รวมทั้งภาคเกษตรกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้น 5) เศรษฐกิจประเทศสิงคโปร์ไตรมาสที่ 4 ปี 2566
ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 1.1
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจสิงคโปร์เผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ซึ่งรวมถึง
ผลกระทบจากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมทั้งสงครามรัสเซีย - ยูเครน ในระยะต่อไป
คาดการณ์ว่าสิงคโปร์ยังคงต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในต่างประเทศ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อ
การเติบโตและความมั่นคงของสิงคโปร์ เนื่องจากสิงคโปร์ต้องพึ่งพาการค้าโลก เป็นสำคัญ
? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจอาเซียนจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่า เศรษฐกิจ
เวียดนามจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี คงจากการประมาณการณ์เดือนตุลาคม 2566 และเร่งตัว
จากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยคาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะยังคงได้รับแรงสนับสนุนจาก
การลงทุนจากภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ การบริโภค
การท่องเที่ยว และการส่งออกที่ปรับดีขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว
รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่สำคัญ เช่น จีนและสหรัฐฯ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ
5.4 ต่อปี เท่ากับการประมาณการณ์ครั้งก่อนหน้าเมื่อเดือนตุลาคม 2566 เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุน
จากอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังคงมีความเสี่ยงจาก
การฟื้นตัวของการค้าโลกที่ช้ากว่าที่คาดไว้ เศรษฐกิจของประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของฟิลิปปินส์
และความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าและน้ำมัน ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศ
พัฒนาแล้วคาดว่าจะชะลอตัวลงและอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของฟิลิปปินส์ เศรษฐกิจมาเลเซีย
จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี ลดลงจากการประมาณการณ์ เดือนตุลาคม 2566 ที่ขยายตัวร้อยละ
4.0 ต่อปี เนื่องจากมีปัจจัยกดดันจากมูลค่าการส่งออกที่หดตัวลง อันเนื่องจากการชะลอตัวของอุปสงค์โลก
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อ รวมไปถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลไปถึง
สภาวะเศรษฐกิจในประเทศซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของมาเลเซีย อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงได้รับปัจจัย
สนับสนุนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง อัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มลดต่ำลง
อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ เศรษฐกิจ
สิงคโปร์จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากการประมาณการณ์ เดือนตุลาคม 2566
ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศสิงคโปร์ยังคงเผชิญความเสี่ยงด้านลบจากเศรษฐกิจโลก
เป็นสำคัญ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) จะคงนโยบายการเงินในการประชุมเดือน
มกราคม 2567 โดยธนาคารกลางสิงคโปร์ดำเนินนโยบายการเงินผ่านการกำหนดกรอบอัตราแลกเปลี่ยน
แทนการปรับอัตราดอกเบี้ย เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงจาก
การประมาณการณ์ เดือนตุลาคม 2566 เนื่องจากเศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับแรงหนุนจากการบริโภค
ภาคเอกชนและการส่งออกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียที่เริ่มทยอยปรับเข้าสู่กรอบ
เป้าหมาย สภาวะของตลาดแรงงานและด้านการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบการมีการส่งเสริม
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายร่วมกันทั้งการเงินและการคลังให้มีความเข้มแข่งอย่างต่อเนื่องให้
17
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
17
เป็นนโยบายทางเศรษฐกิจแห่งชาติเพื่อให้ประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศในแง่ของการส่งเสริม
ความยืดหยุ่นและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ไม่มี
ความแน่นอน
1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร (สัดส่วนการส่งออก
ร้อยละ 37.2 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม)
? ในปี 2566 ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน
และอินเดีย) ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ส่งสัญญาณผสม โดยเศรษฐกิจไต้หวันไตรมาสที่ 4 ปี
2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อย
การนำเข้าหดตัวน้อยลง ถึงแม้ว่าการส่งออกพลิกกลับมาขยายตัวเร่งขึ้น อย่างไรก็ดี การหดตัวของการส่งออก
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไต้หวันทั้งปี 2566 ขยายตัวชะลอตัวลง
จากปีก่อนหน้า โดยขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 โดยเศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้และสหราชอาณาจักรขยายตัวชะลอ
ลงจากปีก่อนหน้า โดยเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ในปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.4 ต่อปี ชะลอลงจากปีก่อนหน้า
ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี และไต้หวันพึ่งพาการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก ได้รับผลกระทบ
จากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ อันมีสาเหตุมาจากนโยบายคุมเข้มด้านการเงินเชิงรุกของประเทศรายใหญ่
รวมถึงสหรัฐ นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังถูกกระทบจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่วนสหราชอาณาจักร
ในปี 2566 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี ชะลอลงจากปีก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี ขณะที่
เศรษฐกิจฮ่องกงยังคงฟื้นตัวได้ต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 โดยโมเมนตัมที่เร่งขึ้นจากไตรมาส
ก่อนหน้า ได้รับแรงสนับสนุนมาจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และการค้าระหว่างประเทศ
ที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนแผ่นดินใหญ่โดยเฉพาะ
ภาคการเงิน และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ยังคงส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของฮ่องกงอย่างมี
นัยสำคัญ สำหรับเศรษฐกิจออสเตรเลียและอินเดียยังรอแถลงตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากทั้งสองประเทศมีการพึ่งพา
การบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก จึงได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวชะลอลง
สะท้อนจากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจเศรษฐกิจด้านการบริโภคที่ขยายตัวชะลอตัวลง และการดำเนินนโยบาย
คุมเข้มด้านการเงินได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ
ภาพที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย
(ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร)
ที่มา: CEIC รวบรวมโดย สศค.
หมายเหตุ: * คือ คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2566
6.4 5.6
8.9
4.3
6.6
8.7
-3.5
3.8
6.7
2.6 2.6
3.8* 4.3
1.9*
6.5*
1.3 1.1 0.4
2.7* 1.4*
6.5*
2.3* 3.2*
0.7*
-5.0
0.0
5.0
10.0
ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร
GDP Growth (%)
2564 2565 2566f 2567f
18
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
18
? ในปี 2567 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ โดยรวมจะยังขยายตัว
เป็นบวกได้ เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเริ่มลดลง เป็นสำคัญ
เศรษฐกิจไต้หวันยังคงขยายตัวได้ เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกที่จะช่วยให้ภาคการส่งออก
ของไต้หวันกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงการลงทุนในการขยายกำลังการผลิตของบริษัทผู้ผลิต
เซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำและพลังงานสะอาดในไต้หวัน สำหรับเศรษฐกิจอินเดีย ยังคงขยายตัวได้
อย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศมากกว่าต่างประเทศ ขณะที่ สัญญาณของการชะลอตัว
จะเห็นได้จากด้านการบริโภคมากกว่าการลงทุน ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ในกรอบช่วงบน
ของธนาคารกลางอินเดีย ขณะที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้ปีนี้ คาดว่าจะฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าปีที่ผ่านมา
ท่ามกลางการค้าและอุปสงค์เซมิคอนดักเตอร์ที่กระเตื้องขึ้นทั่วโลก แต่ยังคงเผชิญอุปสรรคจากอุปสงค์
ในประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง
อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ฮ่องกงคาดว่าจะยังขยายตัวเป็นบวกได้ต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก
ส่วนไต้หวันจะขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและภาคการเงินของจีน
แผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ ทั้งนี้ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น
ในช่วงปลายปี 2566 หากสหรัฐฯ และประเทศพัฒนาแล้วปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดไว้
ในขณะเดียวกันกับที่ภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวไปใกล้กับระดับก่อนโควิด-19 และทางด้านไต้หวันยังคง
ได้รับแรงหนุนจากการเป็นผู้ผลิตและส่งออกด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจฮ่องกง
และไต้หวันยังต้องติดตามผลกระทบจากการดำเนินนโยบายจีนเดี่ยว เป็นสำคัญ
2. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และดัชนีค่าเงินบาท
?ในปี 2566 คาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยเฉลี่ยทั้งปีที่ 34.40 บาทต่อ
ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการแข็งค่าขึ้นที่ร้อยละ 1.2 จากค่าเฉลี่ยปี 2566 (และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ
คาดการณ์รอบก่อน เนื่องจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในไตรมาส 4) เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯ ที่คาดว่า
จะแข็งค่าขึ้นเป็นสำคัญ? (ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3 สมมติฐานค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และดัชนีค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2567
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวบรวมโดย สศค.
หมายเหตุ: ดัชนีค่าเงินบาท จากการคำนวณของ สศค.
19
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
19
? ในปี 2566 ค่าเงินบาทปี 2566 ปิด ที่ 34.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (วันที่ 30 ธันวาคม 2566)
โดยในปี 2566 นับว่าค่าเงินบาทผันผวนหนักมากที่สุดเป็นอันดับสองในรอบ 15 ปี รองจากปี 2565
ทั้งนี้ มีสาเหตุหลักมาจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และไทยอันเป็นผลมาจากอัตรา
เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2566 รวมถึงผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจจีน และนโ ยบาย
การเงินผ่อนคลายของญี่ปุ่น โดยค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ปี 2566 เฉลี่ยที่ 34.81 บาทต่อดอลลาร์
สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 2565 ที่ร้อยละ 0.7 (ปี 65 = 35.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งเป็น
การแข็งค่าสอดคล้องกับเงินยูโร ดอลลาร์สิงคโปร์ และปอนด์ อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท
ในช่วงที่ผ่านมาสอดคล้องกับ เงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคที่ได้รับผลจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ จากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในช่วงปี
2566 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณบวกต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 2
และ 3 ของปี 2566 และยังมีปัจจัยชั่วคราวระยะสั้นอื่น ๆ เช่น ความผันผวนในตลาดการเงินและตลาดทุน
ในประเทศ ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงกว่าที่คาดในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2566 และ อย่างไรก็ดี
ตั้งแต่เดือนกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นมา พบว่าค่าเงินบาทเริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับสูงสุดที่ 37.16
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566) เป็น 34.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสิ้นปี
? ในปี 2567 คาดว่าในภาพรวมเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปี
2566 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 34.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 34.20 ? 34.60 บาท
ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือคิดเป็นการแข็งค่าขึ้นที่ร้อยละ 1.2 จากค่าเฉลี่ยปี 2566 โดยมีสาเหตุหลักมา
จาก ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในปี 2567 ตามวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคาร
กลางสหรัฐฯ ได้สิ้นสุดลงแล้ว และมีแนวโน้มที่จะปรับลดในปี 2567 ตลอดจนส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ย
ของ ธปท. ที่มีแนวโน้มแคบลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องและดุลบัญชีเดินสะพัด
มีแนวโน้มเกินดุลมากขึ้น
? โดยเฉลี่ยทั้งปี 2567 ดัชนีค่าเงินบาทคาดว่าจะแข็งค่าขึ้นจากปี 2566 จะอยู่ที่ระดับ 111.54
จุดแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยปี 2565 (111.24 จุด) และสถานการณ์ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็ง
ค่าซึ่งอยู่ในทิศทางเดียวกันกับหลาย ๆ ประเทศที่มีแนวโน้มของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ภายใต้การเติบโต
ทางเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีเสถียรภาพ ในปี 2567 อาจจะยังมีความท้าทายในภาพรวมของเศรษฐกิจโลก
ในระยะสั้น และความไม่แน่นอนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ไทยยังมี
ปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น จากการที่ตลาดจะทยอยกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุน
ทิศทางการลงทุน การค้า การผลิต และการท่องเที่ยว ประกอบกับเมื่อความกังวลในตลาดโลกบร รเทาลง
โดยนักลงทุนและตลาดพร้อมจะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสให้เปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น
และหันมาลงทุนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Countries) ซึ่งจะเป็นโอกาสให้มีเงินทุนไหลกลับเข้า
ประเทศไทยเพิ่มขึ้น และหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ ตลอดจนไทยยังมีแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว
ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นมากช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี
? ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทและค่าเงินสกุลอื่น ๆ ได้แก่ เสถียรภาพด้านปัจจัยพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของไทยที่เข้มแข็ง ประกอบกับการดูแลสถานการณ์ในตลาดเงิน
และตลาดทุนของรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ความผันผวนในตลาดลดลงและกลับสู่ภาวะปกติได้ในระยะ
ถัดไป อีกทั้งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตได้อย่างมั่นคง ขณะเดียวกันปัจจัย
ภายนอกที่สำคัญอย่างแนวนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยในการประชุมครั้งล่าสุดเดือน
กุมภาพันธ์ 2567 ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงดอกเบี้ยที่ร้อยละ 5.25 - 5.50 ต่อปี ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.5) ได้คาดการณ์ว่าในการประชุม ครั้งที่ 2/8 ของปี 2567 ในเดือน
20
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
20
มีนาคม 2567 ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ร้อยละ 58.1 ของนักวิเคราะห์
ได้คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม ครั้งที่ 3/8 ของปี 2567
ในเดือนพฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ และมีแนวโน้มที่จะปรับลดต่อเนื่องในปี 2567 จำนวน 5 ครั้ง (ปรับลดจาก
6 ครั้ง จาก Dot plot เมื่อเดือนมกราคม 2567) โดยคาดว่าภายในปี 2567 อัตราดอกเบี้ยจะลดลงไปอยู่ที่
ร้อยละ 4.00 - 4.25 ต่อปี (3.75 ? 4.00 ต่อปี จาก Dot plot เมื่อเดือนมกราคม 2567)
? ดังนั้น ในระยะต่อไปจำเป็นต้องติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ซึ่งจะส่งผล
กระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
และความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้นักลงทุน
หันไปถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น และอาจเป็นปัจจัยกดดันให้กระแสเงินทุนไหลออกจาก
ภูมิภาคเอเชียไปสู่สหรัฐฯ และจะทำให้ค่าเงินบาทและสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชียแข็งค่าขึ้นช้ากว่าที่คาดการณ์
หรืออ่อนค่าลงได้
3. ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
3.1 สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2565 และ 2566
สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี 2566 อยู่ที่ระดับ 81.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ลดลงร้อยละ 15.7 จากปี 2565 ที่ 97.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มีแนวโน้มปรับลดลงตั้งแต่ช่วงเดือน
พฤศจิกายน ปี 2566 จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ประกอบกับการประกาศปรับลดกำลังการผลิต
ของกลุ่ม (OPEC+) ที่ -2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จึงทำให้ราคาลดลง โดยช่วงต้นเดือน
มกราคม 2566 ราคาน้ำมันดิบดูไบมีการปรับขึ้นเล็กน้อยจากสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่เขตทะเลแดง
สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในเดือนมกราคม 2567 เคลื่อนไหวในกรอบแคบที่ช่วง 75 ? 83
ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง
จากวิกฤตการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน อย่างไรก็ดี กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่ม
คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2567 ขึ้นจากระดับร้อยละ 2.9 มาอยู่ที่ 3.1 รวมถึงตัวเลขจีดีพี
ของยุโรปสูงกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้เศรษฐกิจของยุโรปสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ ขณะที่
ประธานเฟดบ่งชี้ว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับเป้าหมายอย่างชัดเจน
ที่ระดับร้อยละ 2.0 เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งในปัจจุบัน ขณะที่อุปทานจากนอกกลุ่ม
โอเปกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากประเทศสหรัฐฯ แคนาดา บราซิล และกายอานา อย่างไรก็ดี กลุ่ม OPEC+
ยังคงเดินหน้าคงนโยบายการปรับลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปี 2567 เพื่อรักษาสมดุลของตลาดน้ำมันโลก
ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้น
หลังฐานทัพสหรัฐฯ ในจอร์แดนถูกโจมตี สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังไม่มี
แนวโน้มจะยุติลง และความไม่สงบในแอฟริกาเหนือ อาจจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลกได้
สำหรับปัจจัยพื้นฐาน สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA) ประเมินว่าปริมาณ
น้ำมันคงคลังของโลกจะลดลง 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในไตรมาส 1 ปี 2567 เนื่องจากการลดกำลังการผลิต
ของกลุ่ม OPEC+ ทำให้อุปทานน้ำมันดิบโลกต่ำกว่าอุปสงค์ อย่างไรก็ดี EIA ยังมองว่าช่วงไตรมาส 2 ปี
2567 ถึง ไตรมาส 1 ปี 2568 น้ำมันคงคลังของโลกจะมีความสมดุล เนื่องจากแนวโน้มการเติบโต
ของอุปทานที่เพิ่มขึ้น มากกว่าแนวโน้มการเติบโตของอุปสงค์ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยอุปทานที่เพิ่มขึ้น
นั้นมาจากกลุ่ม Non-OPEC ที่ต้องการผลักดันการผลิตให้เพิ่มขึ้นในปี 2567
21
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
21
ภาพที่ 4 กราฟการผลิตและการบริโภคเชื้อเพลิงเหลวของโลก
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA)
ขณะที่การประชุม OPEC+ ครั้งที่ 36 ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 มีการประกาศลดกำลัง
การผลิตน้ำมันโดยสมัครใจรวม -2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในไตรมาส 1 ปี 2567 นำโดยประเทศ
ซาอุดิอาระเบียที่ -1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน รัสเซียที่ 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน รองลงมาเป็น อิรัก UAE คูเวต
คาซัคสถาน แอลจีเรีย และโอมาน ตามลำดับ ทั้งนี้ การประชุม OPEC+ ครั้งต่อไปคือครั้งที่ 37 จะจัดขึ้นใน
วันที่ 1 มิถุนายน 2567 ณ เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ภาพที่ 5 กราฟอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันดิบ
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA)
22
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
22
นอกจากนี้ สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA) ยังมองว่าช่วงไตรมาส 2 ปี 2567
ถึง ไตรมาส 1 ปี 2568 น้ำมันคงคลังของโลกจะมีความสมดุล เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตของอุปทาน
ที่เพิ่มขึ้น มากกว่าแนวโน้มการเติบโตของอุปสงค์ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยอุปทานที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากกลุ่ม
Non-OPEC ที่ต้องการผลักดันการผลิตให้เพิ่มขึ้นในปี 2567 ทำให้ภาพรวมน้ำมันในคลังน้ำมันสำรองทั่วโลก
ยังคงทรงตัว โดยเคลื่อนไหวไม่ห่างจากระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีล่าสุด ในช่วงปี 2567
ภาพที่ 6 กราฟอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันดิบ
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA)
โดยอุปสงค์การบริโภคปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงเหลวทั่วโลกในปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 102.5 ล้านบาร์เรล
ต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ขณะที่อุปทานการผลิตปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงเหลวทั่วโลกปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่
102.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับปี 2566 ส่งผลให้อุปทานผลิตปิโตรเลียม
และเชื้อเพลิงเหลวทั่วโลกต่ำกว่าอุปสงค์เล็กน้อยที่ -0.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
สำหรับสถานการณ์ที่สหรัฐฯ และอังกฤษเข้าไปโจมตีกลุ่มติดอาวุธฮูตีในเมืองหลวงของเฮเมนนั้น
มีสาเหตุเกิดจากกลุ่มติดอาวุธฮูตีเข้าไปโจมตีเรือขนส่งสินค้าของชาติตะวันตกในพื้นที่เขตทะเลแดงเพื่อสร้าง
แรงกดดันไม่ให้อิสราเอลส่งกำลังพลเข้าไปในชนวนกาซ่า ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 สหรัฐฯ
จึงเริ่มส่งกำลังพลเข้าไปในโจมตีกลุ่มฮูตีในวันที่ 11 มกราคม 2567 เพื่อตัดความสามารถของกลุ่มฮูตีในการโจมตี
เรือขนส่งสินค้า และทำให้พื้นที่เขตทะเลแดงกลับมาเดินเรือได้ดังเดิม โดยพื้นที่เขตทะเลแดงเป็นทางขนส่ง
น้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันกว่า 7 - 8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความต้องการน้ำมันโลก
หรือร้อยละ 12 ของการขนส่งน้ำมันโลก ทั้งนี้ สศค. มองว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบระยะสั้น
ต่อตลาดน้ำมัน เนื่องจากความขัดแย้งดังกล่าวยังไม่ได้ขยายวงกว้าง กล่าวคือ อิหร่านยังไม่เข้ามาเป็นผู้เล่นหลัก
ซึ่งอิหร่านมีความสามารถในการปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นทางขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในตะวันออกกลาง
กว่าร้อยละ 20 ของโลก โดยตลาดมีความกังวลต่อการผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลาง ที่คิดเป็นประมาณหนึ่ง
ในสามของน้ำมันทั่วโลก ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่ได้กระทบต่อปริมาณการผลิตน้ำมันโลกแต่อย่างใด
23
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
23
3.2 คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2566 และ 2567
สศค. คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 82 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ในระดับ
ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในปี 2566 ที่ 81.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่ร้อยละ
0.1 เป็นผลมาจาก
1) ด้านอุปทานที่ปรับลดลงจากการลดกำลังการผลิตของประเทศซาอุดิอาระเบียและกลุ่ม OPEC+
โดยสมัครใจที่ -2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาส 1 ปี 2567 โดยโอเปกพลัสครอบคลุมปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ
ออกสู่ตลาดโลกถึงร้อยละ 40 การตัดสินใจดังกล่าวจึงมีผลกระทบอย่างมากต่อราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี การผลักดัน
การผลิตที่เพิ่มขึ้นโดยกลุ่ม Non-OPEC จะช่วยให้อุปทานน้ำมันโลกตึงตัวน้อยลง
2) ด้านอุปสงค์ โดยในภาพรวมอุปสงค์น้ำมันดิบโลกเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผล
ให้ความต้องการบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น ทั้งภาคการผลิต ภาคการขนส่ง และภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี
เมื่อเทียบกับปีก่อนอุปสงค์น้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
ที่ฟื้นตัวในอัตราที่ชะลอลง
ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบในปี 2567 ดังนี้
(1) สถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่ขยายไปยังในพื้นที่
การขนส่งสินค้าเขตทะเลแดง ที่เป็นเส้นทางการขนส่งน้ำมันกว่า 7- 8 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 8
ของปริมาณความต้องการน้ำมันโลก จากการที่กลุ่มติดอาวุธฮูตีเข้าโจมตีเรือขนส่งสินค้าของชาติตะวันตก
เพื่อต้องการกดดันให้อิสราเอลยกเลิกการส่งกำลังพลเข้าไปในชนวนกาซ่า ทั้งนี้สถานการณ์ยังไม่ได้แผ่ไป
ในวงกว้าง และยังไม่กระทบต่ออุปทานการผลิตน้ำมันโลกแต่อย่างไร
(2) สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
ในพื้นที่อื่น อาจทำให้เกิดวิกฤตพลังงานขาดแคลนและส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นได้
(3) ผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจะทำให้ความต้องการบริโภคน้ำมันดิบชะลอตัวลง
โดยการฟื้นตัวของสหรัฐฯ และยุโรปยังมีความไม่แน่นอน ในการผ่อนปรนโยบายการเงินที่เข้มงวด
เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งมีผกระทบต่อการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการบริโภค
น้ำมันดิบ อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจของประเทศจีนที่มีแนวโน้มชะลอลงจากปีก่อน จากปัญหาหนี้ที่สูงขึ้น
และความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์ อาจกระทบต่อความต้องการบริโภคน้ำมันดิบที่ชะลอลงเช่นกัน
(4) สภาวะเอลนีโญ (El Nino) ที่คาดว่าจะทำให้ทั่วโลกอาจมีความร้อนเฉลี่ยที่สูงขึ้น กระทบต่อ
ความต้องการใช้พลังงาน และอาจกระทบต่อปริมาณน้ำมันไบโอดีเซลให้ลดลงทำให้ราคาเพิ่มขึ้น
และส่งผ่านผลกระทบมายังราคาน้ำมันดิบให้สูงขึ้น
(5) ผลกระทบจากการลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งพลังงานจากฟอสซิล เช่น น้ำมันดิบ
สู่การเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้นในประเทศสหรัฐฯ และยุโรป
24
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
24
ภาพที่ 7 คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2566 ของ สศค.
ที่มา: ประมาณการโดย สศค.
4. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
สถานการณ์ภาคการท่องเที่ยวของไทยยังฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัย
ในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย โดยในปี 2566 ที่ผ่านมากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า
มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย 28.2 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 154.4
โดยเพิ่มจากปี 2565 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวไทยเพียง 11.1 ล้านคน
โดยปี 2566 มีรายได้จากการเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น
ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปประมาณ 42,800 บาทต่อคนต่อทริป ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในปี 2566
ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และรัสเซีย ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนยังคงไม่สามารถฟื้นตัวได้
ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยมาจากหลายปัจจัย อาทิ สายการบินที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ส่งผลกระทบต่อราคาตั๋ว
โดยสารที่แพงกว่าในภาวะปกติ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนยังเติบโตไม่เต็มที่ และมีข้อน่ากังวล เช่น ปัญหา
ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน หนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น และการใช้จ่ายในจีนเริ่มชะลอตัว อีกทั้งคนหนุ่มสาว
ในจีนยังประสบปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงชาวจีนเองเริ่มให้ความสนใจเดินทางท่องเที่ยว
ภายในประเทศมากขึ้นจากการที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญโปรโมทการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อประเทศไทย
แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 นักท่องเที่ยวจีนมีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น จากมาตรการยกเว้นวีซ่า
ของรัฐบาล โดยปี 2567 นี้จากข้อมูลกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก็พบว่า ช่วงวันที่ 1 มกราคม
- 11 กุมภาพันธ์ 2567 มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามากเป็นอันดับหนึ่ง จึงคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนจะค่อย ๆ
ฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2567 (คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา 6.0 ล้านคน)
53.1
69.4
63.5
42.2
69.2
95.4
81.9
88.0
82.0
0.0
10.0
20.0
30.0
40.0
50.0
60.0
70.0
80.0
90.0
100.0
2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567F
FPO Dubai Forcast (USD/bbl.)
ประมาณการ ณ ม.ค. 67
ประมาณการ ณ ต.ค. 66
25
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
25
นอกจากนั้น ภาคการท่องเที่ยวยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นในภูมิภาค
เอเชียอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาเลเซีย อินเดีย และเกาหลีใต้ เป็นต้น รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่ยัง
ขยายตัวได้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย (ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 คณะรัฐมนตรียังได้ขยาย
ระยะเวลาการพำนักของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียจาก 30 วัน เป็น 90 วัน (ปกติรัสเซียได้รับการยกเว้นวีซ่า
เข้าประเทศไทย ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2567) อีกทั้ง นายปานปรีย์ พหิทธานุกร
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และนายหวัง อี้ รัฐมนตรีกระทรวง
การต่างประเทศจีน ยังได้ร่วมลงนามในพิธีความตกลงและเอกสารสำคัญไทย - จีน ว่าด้วยการยกเว้น
การตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและหนังสือเดินทางกึ่งราชการ มีผลบังคับ
ใช้วันที่ 1 มีนาคม 2567 ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเดินทางไปมาระหว่างสองประเทศ และภาคการท่องเที่ยวต่อไป
โดยภาพรวม คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศ
ไทยจำนวน 33.5 ล้านคน (ลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดการณ์ไว้ที่ 34.5 ล้านคน) ขยายตัว
ที่ร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับปี 2566 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
ที่ 1.48 ล้านล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 (ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดการณ์
ไว้ที่ 1.49 ล้านล้านบาท) ตามการปรับลดประมาณการนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ค่าใช้จ่าย
นักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อคนต่อทริปของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยภาพรวมอยู่ที่ 44,273 บาท/คน/ทริป
ซึ่งถือว่ายังในระดับต่ำกว่าช่วง Pre covid-19 ที่อยู่ที่ 47,895 บาทต่อคนต่อทริป
ทั้งนี้ ภาคการท่องเที่ยวยังคงมีปัจจัยที่ต้องติดตามที่สำคัญ เช่น (1) การฟื้นตัวของเที่ยวบิน
ระหว่างและความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวชาวจีน รวมทั้งเศรษฐกิจจีนที่มีสัญญาณชะลอตัว (2) ความขัดแย้ง
ทางภูมิรัฐศาสตร์ และ (3) มาตรการเกี่ยวกับวีซ่าในกับนักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ขณะเดียวกันรัฐบาล
ของประเทศอื่น ๆ ก็มีการใช้นโยบายยกเว้นวีซ่าเช่นกัน ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันที่มากขึ้น
ภาพที่ 7 คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ปี 2567 (ล้านคน)
ที่มา: ประมาณการโดย สศค.
24.8
29.9
32.5
35.6
38.2
39.9
6.7
0.4
11.1
28.2
34.5 33.5
-6.5% 20.6% 8.7% 9.4% 7.3% 4.6% -83.2% -93.6%
2,486.1%
154.4%
19.0%
-100.0%
400.0%
900.0%
1400.0%
1900.0%
2400.0%
-2.0
8.0
18.0
28.0
38.0
48.0
2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f
รายได้จากนักท่องเที่ยวแต่ละปี คาดการณ์ ณ ต.ค. 66 คาดการณ์ ณ ม.ค. 67 %YoY
26
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
26
5. รายจ่ายภาคสาธารณะปี 2566 และปี 2567
?ปี 2566 รายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้
4,045,580 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -1.9 ต่อปี (ตารางที่ 6) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น (1) การบริโภค
ภาครัฐบาล คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 2,998,100 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี และ (2) การลงทุน
ภาครัฐบาล คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 1,045,580 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ขณะที่
ปี 2567 รายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 4,143,190
ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี (ตารางที่ 6) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น (1) การบริโภคภาครัฐบาล คาดว่า
จะสามารถเบิกจ่ายได้ 3,052,190 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี และ (2) การลงทุนภาครัฐบาล
คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 1,091,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี?
5.1 รายจ่ายของรัฐบาล
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 3,185,000 ล้านบาท เบิกจ่ายได้
3,088,435 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายที่ร้อยละ 97.0 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ สามารถ
เบิกจ่ายได้ 2,610,245 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 101.6
(2) รายจ่ายลงทุน สามารถเบิกจ่ายได้ 478,190 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตรา
การเบิกจ่ายที่ร้อยละ 77.7 ขณะที่รายจ่ายเหลื่อมปีสามารถเบิกจ่ายได้ 173,958 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
-18.6 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 91.6 ขณะที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 วงเงิน 3,480,000 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 3,210,865 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรา
เบิกจ่ายที่ร้อยละ 92.3 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ สามารถเบิกจ่ายได้ 2,756,249 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.6 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 99.5 (2) รายจ่ายลงทุน สามารถเบิกจ่ายได้
454,616 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.9 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 64.0 ขณะที่รายจ่าย
เหลื่อมปีสามารถเบิกจ่ายได้ 148,988 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -14.4 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย
ที่ร้อยละ 93.0
ในส่วนของการเบิกจ่ายรายจ่ายนอกงบประมาณจากเงินกู้ โดยในปี 2566 มีพระราชกำหนดให้
อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจาก
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท มีการเบิกจ่าย
ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 314 ล้านบาท โดยมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3
โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โครงการเยียวยา
นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นต้น และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
วงเงิน 5 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 48,755 ล้านบาท โดยมี
โครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โครงการพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการ
ด้านสาธารณสุข โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ChulaCov19 mRNA โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
ระยะที่ 4 ส่วนขยาย โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น
27
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
27
ตารางที่ 2 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลปีงบประมาณ 2567
(หน่วย: ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2566
ปีงบประมาณ 2567
คาดการณ์ ม.ค 2567
1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2+1.3) 3,704,190 3,732,496
1.1 รายจ่ายงบประมาณรวม
(1.1.1+1.1.2+1.1.3)
3,262,393 3,359,853
1.1.1 รายจ่ายประจำ 2,610,245 2,756,249
1.1.2 รายจ่ายลงทุน 478,190 454,616
รายจ่ายรัฐบาลประจำปี (1.1.1)+(1.1.2) 3,088,435 3,210,865
อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 97.0 92.3
1.1.3 รายจ่ายเหลื่อมปี 173,958 148,988
1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ
1.2.1 พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563
1.2.2 พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 2564
53,777
197
53,580
-
-
-
1.3 รายจ่ายกองทุนนอกงบประมาณ 388,020 372,643
ที่มา: สศค.
5.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
การเบิกจ่ายงบประมาณของ อปท. ในปีงบประมาณ 2566 เบิกจ่ายได้ 634,719 ล้านบาท
ขยายตัวที่ร้อยละ 8.4 ต่อปี ขณะที่ปีงบประมาณ 2567 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 625,267 ล้านบาท
หดตัวที่ร้อยละ -1.5 ต่อปี โดยการดำเนินงานของ อปท. จะอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจาย
อำนาจให้แก่ อปท. โดยมีเป้าหมายให้ อปท. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดบริการสาธารณะในระดับพื้นที่
(Area) และสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. รวมทั้งสอดคล้องกับ
แนวทางปฏิรูปรายได้ของ อปท. เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น และก่อให้เกิดความยั่งยืน
ทางการคลังของท้องถิ่น
ตารางที่ 3 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่าย อปท. ในปีงบประมาณ 2567
(หน่วย: ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2566
ปีงบประมาณ 2567
คาดการณ์ ณ ม.ค. 2567
รายจ่ายท้องถิ่น 634,719 625,267
ที่มา: กองนโยบายการคลัง (กนค.) คำนวณโดยกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (กศม.) สศค.
28
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
28
5.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
ในปีงบประมาณ 2566 คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 253,787 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -21.4 ต่อปี
หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 89.1 ของวงเงินรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ปีงบประมาณ 2567
คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 267,925 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 94.0
ของวงเงินรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยมีมาตรการการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตาม
กรอบงบประมาณลงทุนรัฐวิสาหกิจอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรอบระหว่างปีตามความเห็นภายใต้อำนาจ
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตารางที่ 4 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2567
(หน่วย: ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2566
ปีงบประมาณ 2567
คาดการณ์ ณ ม.ค. 2567
รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ 253,787 267,925
ที่มา: กนค. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คำนวณโดย กศม.
5.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ
สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายภาคสาธารณะปีงบประมาณดังกล่าว ทำให้คาดว่า ในปีงบประมาณ
2566 จะเบิกจ่ายได้ 4,592,969 ล้านบาท ขณะที่ปีงบประมาณ 2567 จะคาดว่าเบิกจ่ายได้ 4,625,688
ล้านบาท
ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2567
(หน่วย: ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2566
ปีงบประมาณ 2567
คาดการณ์ ณ ม.ค. 2567
1. รายจ่ายรัฐบาล 3,704,190 3,732,496
2. รายจ่ายท้องถิ่น 634,719 625,267
3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ 253,787 267,925
รายจ่ายภาคสาธารณะรวม 4,592,696 4,625,688
ที่มา: คำนวณโดย กศม.
5.5 สรุปสมมติฐานรายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติ
จากสมมติฐานรายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบงบประมาณข้างต้น สามารถนำมาประมาณการ
เป็นรายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติ (System of National Accounts: SNA) ที่ลงสู่
ระบบเศรษฐกิจจริงได้ว่า ในปี 2566 รายจ่ายสาธารณะรวมอยู่ที่ 4,043,680 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -1.9
ต่อปี โดยแบ่งเป็น (1) รายจ่ายการบริโภคภาครัฐบาล 2,998,100 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี
29
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
29
และ (2) รายจ่ายการลงทุนภาครัฐบาล 1,045,580 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ขณะที่ ปี 2567
คาดว่ารายจ่ายสาธารณะรวมอยู่ที่ 4,143,190 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยแบ่งเป็น
(1) รายจ่ายการบริโภคภาครัฐบาล 3,052,190 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี และ (2) รายจ่าย
การลงทุนภาครัฐบาล 1,091,000 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี
ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติ ปี 2567
(หน่วย: ล้านบาท)
ปี 2566
คาดการณ์ ณ ม.ค. 2567
ปี 2567
คาดการณ์ ณ ม.ค. 2567
1. การบริโภคภาครัฐบาล 2,998,100 3,052,190
อัตราการขยายตัว -2.7 1.8
2. การลงทุนภาครัฐบาล 1,045,580 1,091,000
อัตราการขยายตัว 0.4 4.3
รายจ่ายภาคสาธารณะรวม 4,043,680 4,143,190
อัตราการขยายตัว -1.9 2.5
ที่มา: คำนวณโดย กศม.
30
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
30
31
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
31
ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567
? สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 ถึง 2.0)
ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 ถึง 2.0) ชะลอลง
จากปี 2565 ที่ขยายร้อยละ 2.5 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจาก
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI) โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์
และคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งปี 2566 หดตัวที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.8 ถึง -1.3) ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ
ของไทยขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -3.1 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ - 2.2 ถึง -1.7) ในส่วนของสถานการณ์
ค่าเงินบาทในปี 2566 พบว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวนโดยอ่อนค่าในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566
และแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง
สหรัฐฯ ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจจีนและนโยบายการเงินผ่อนคลายของญี่ปุ่น โดยค่าเงินบาท
ต่อดอลลาร์สหรัฐ ปี 2566 เฉลี่ยที่ 34.81 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ย ปี 2565 ที่ร้อยละ
0.7 นอกจากนั้น ยังพบว่าตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรของไทยในปี 2566 ที่ผ่านมา มีกระแสเงินทุน
ของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดทุนไทยสุทธิ -3.3 แสนล้านบาทเป็นผลจากกระแสเงินทุนสุทธิ
ของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกจากทั้งตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทย ที่ -1.9 และ 1.4 แสนล้านบาท
ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่องตลอดทั้งปี
สำหรับในปี 2567 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 ถึง 3.3) โดยปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะยังสามารถ
ขยายตัวได้ และภาคการท่องเที่ยวคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามา
ในประเทศไทยจำนวน 33.5 ล้านคนขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวจาก
ประเทศจีนและมาเลเซียเป็นสำคัญ และมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1.48
ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ต่อปี ส่งผลดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น
คาดว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลงเล็กน้อยตามอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจ
ประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวชะลอตัวลง ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.7 ถึง 4.7 และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี
(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5) ในขณะที่รายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลคาดว่าจะ
เบิกจ่ายได้คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายที่ร้อยละ 99.5 และ 64.0 ตามลำดับ รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายอัตราลดลงจาก
ปีก่อนหน้าเนื่องจากความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความขัดแย้ง
ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโต
ของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ สถานการณ์สู้รบ
ระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานให้ปรับตัวสูงขึ้น และความยืดเยื้อ
ของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน 2) สถานการณ์การเลือกตั้งผู้นำของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น
ประเทศสหรัฐฯ ประเทศรัสเซีย และประเทศอินเดีย เป็นต้น ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบายระหว่าง
ประเทศของไทย 3) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด
ของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
และ 4) สถานการณ์เศรษฐกิจของจีน ที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย
32
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
32
ภาพที่ 8 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา: สศค.
หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ
1. การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่
? สำหรับในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ ขยายตัว
ที่ร้อยละ 7.4 ต่อปี ขยายตัวขึ้นชะลอลงจากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการบริโภคภาคเอกชน
ในไตรมาส 3 ของปี 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายหมวดบริการที่ขยายตัว
ในระดับสูงร้อยละ 35.4 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มบริการ
ทางการเงินที่ขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 7.9 ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.5 นับเป็น
อัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 37 ไตรมาส ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
ที่ไม่มีแอลกอฮอล์การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 3.6 นับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุด
ในรอบ 5 ไตรมาส ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 0.3 ตามการชะลอตัวของการใช้จ่าย
กลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ
55.2 สูงสุดในรอบ 16 ไตรมาส รวมทั้งปี 2566 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ
7.1 เทียบกับร้อยละ 6.2 ในปี 2565
? สำหรับในปี 2567 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ คาดว่าจะขยายตัว
ที่ร้อยละ 3.3 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.8 ถึง 3.8) ชะลอลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.1
ต่อปี ในปี 2566 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการ
สนับสนุนการใช้จ่ายและบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐ
33
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
33
ภาพที่ 9 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา: สศค.
หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ
2. การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่
? ในไตรมาส 4 ปี 2566 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่หดตัวร้อยละ -3.0
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวที่ร้อยละ -5.0 ในไตรมาส 3 ปี 2566 โดยเป็น
ผลมาจากรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 8.0 และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงิน
สำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ 14.1 โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ลดลง อย่างไรก็ตาม ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 2.5 จากการขยายตัวร้อยละ 0.2
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556
? ในปี 2566 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ในปี 2566 หดตัวที่ร้อยละ -4.6
เมื่อเทียบกับการขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 ใน ปี 2565
? ในปี 2567 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.4
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4 ถึง 2.4) ตามวงเงินงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยวงเงินรายจ่ายประจำ 2.77
ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นงจากปีก่อนร้อยละ 7.8 ทั้งนี้ คาดว่ารายจ่ายประจำในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
จะเบิกจ่ายได้ 2.76 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.6 หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 99.5
ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ
34
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
34
ภาพที่ 10 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ ปี 2567
ที่มา: สศค.
หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ
3. การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากด้านการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักร
ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการลงทุน
ในหมวดยานพาหนะอื่นจากการนำเข้าเรือ และหมวดเครื่องใช้สำนักงาน ที่ขยายตัวจากการนำเข้าสินค้า
กลุ่มคอมพิวเตอร์ และกลุ่มซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และการลงทุนหมวดเครื่องจักรเครื่องมืออุตสาหกรรม
และหมวดยานยนต์ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การลงทุนด้านก่อสร้างในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ
3.4 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ขยายตัวร้อยละ 1.7
ชะลอจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 เนื่องจากพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทุกประเภทชะลอตัว
ทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล เทศบาลและอบต. นอกจากนี้การก่อสร้างอาคารประเภทไม่ใช่ที่อยู่อาศัย
ขยายตัวร้อยละ 9.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายร้อยละ 9.2 เนื่องจากการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม
ขยายตัวร้อยละ 21.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 19.1 ขณะที่การก่อสร้างอาคาร
เพื่อการพาณิชย์ ลดลงร้อยละ -4.8 และการก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ -3.9
ในภาพรวมทั้งปี 2566 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ซึ่งมีปัจจัยมาจากการขยายตัวของหมวด
เครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 3.8
เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนทั้งปี 2566 เพิ่มขึ้นจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและไม่ใช่ที่อยู่อาศัย
รวมทั้งโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในปี 2566 (มกราคม
- ธันวาคม) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 68 นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) และแนวโน้มการลงทุนในระยะ
6 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน
สำหรับทั้งปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.7
ถึง 3.7) โดยมีปัจจัยบวกมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศโดยเฉพาะภาคการบริการ
2.7 2.7
1.6 1.4
3.7
0.1
-4.6
1.4
-6
-4
-2
0
2
4
6
2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f
Cg as of OCT'66 Cg
ร้อยละ
35
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
35
ในด้านการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดี รวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ
ที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบ ได้แก่ ปัญหาภาระหนี้สิน
ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก
ภาพที่ 11 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา: สศค.
หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ
4. การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่
? ในไตรมาส 4 ปี 2566 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่หดตัวร้อยละ -20.1
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวร้อยละ -3.4 ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ตามการลงทุน
ของรัฐบาลที่ลดลงร้อยละ -33.5 จากการลดลงร้อยละ -3.5 ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ปัจจัยหลักมาจาก
ความล่าช้าในการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ขณะที่การลงทุน
ของรัฐวิสาหกิจยังคงขยายตัวร้อยละ 7.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการลดลงที่ร้อยละ -3.3 ในไตรมาสที่ 3
ปี 2566
? ในปี 2566 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ในปี 2566 หดตัวที่ร้อยละ -4.6
เมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ -3.9 ใน ปี 2565
? ในปี 2567 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่คาดว่าจะขยายตัวขึ้นที่ร้อยละ 3.1
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 ถึง 4.1) ตามวงเงินงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยวงเงินรายจ่ายลงทุน 7.10 แสน
ล้านบาท เพิ่มขึ้นงจากปีก่อนร้อยละ 9.47 ทั้งนี้ คาดว่ารายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะเบิกจ่ายได้
4.55 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.4 หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 64.0 ของวงเงิน
งบประมาณรายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ดี การประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567
อาจทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณเกิดความล่าช้า
3.5
4.3
2.6
-8.1
2.9
4.7
3.2 3.2
-10
-8
-6
-4
-2
0
2
4
6
2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f
Ip as of OCT'66 Ip
36
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
36
ภาพที่ 12 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ ปี 2567
ที่มา: สศค.
หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ
5. มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ
? ในไตรมาส 4 ปี 2566 มูลค่าการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 68,822 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ที่ร้อยละ 4.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
จากการขยายตัวของกลุ่มสินค้าในหมวดสำคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา ผลไม้อื่น ๆ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลัง เครื่องดื่ม อาหารสัตว์ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์โลหะ กลุ่มยานยนต์
โดยเฉพาะชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องใช้ในห้องน้ำ
และเครื่องสำอาง ทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป เป็นต้น ทั้งนี้ ในมิติตลาดคู่ค้าพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลัก
ส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 10.2) ตลาดจีน (ขยายตัวร้อยละ 0.4)
ตลาดอาเซียน 9 (ขยายตัวร้อยละ 4.6) ตลาดออสเตรเลีย (ขยายตัวร้อยละ 18.4) ตลาดฮ่องกง (ขยายตัว
ร้อยละ 25.8) และตลาดอินเดีย (ขยายตัวร้อยละ 1.3) ขณะที่การส่งออกไปยังกลุ่มส หภาพยุโรป
สหราชอาณาจักร และตะวันออกกลาง หดตัวในไตรมาสดังกล่าว
? ในภาพรวมทั้งปี 2566 (มกราคม - ธันวาคม 2566) มูลค่าการส่งออกสินค้ามีมูลค่า
280,209 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวร้อยละ
5.4 ในปีก่อนหน้า โดยสินค้าส่งออกที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารสัตว์
เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี เป็นต้น ขณะที่ สินค้าส่งออกสำคัญที่ยังคง
ขยายตัวดีในช่วงดังกล่าว อาทิ ข้าว ทุเรียน ผลไม้อื่น ๆ น้ำตาล เครื่องดื่ม คอมพิวเตอร์ แผงวงจรรวม
และชิ้นส่วน ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มยานยนต์ เครื่องประดับ เป็นต้น
? ในปี 2567 สศค. คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จะกลับมาขยายตัว
ที่ร้อยละ 4.23 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.7 ถึง 4.7) ตามแนวโน้มการค้าโลกและเศรษฐกิจ
2 ฐานข้อมูลดุลการชำระเงินของ ธปท.
3 มูลค่าการส่งออกสินค้าตามระบบดุลการชำระเงิน (BOP basis) (คำนวณโดย สศค.)
5.4
2.8
0.1
5.2
3.5
-3.9 -4.6
3.1
-6
-4
-2
0
2
4
6
2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f
Ig as of OCT'66 Ig
ร้อยละ
37
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
37
ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่คาดว่าจะพื้นตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ในปี 2567 การส่งออกยังมี
ความท้าทายต่อข้อจำกัดการเติบโตจากหลายปัจจัย อาทิ ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค
เศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์
ภายในประเทศ รวมถึงการดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อของธนาคารกลาง
ในประเทศสำคัญ แม้คาดว่าจะมีทิศทางผ่อนคลายมากขึ้น แต่หากยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนที่ยังคงสร้าง
แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มเติม อาจส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในระดับที่สูงยาวนานกว่าคาดได้ เป็นสำคัญ
ภาพที่ 13 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา: สศค.
หมายเหตุ: อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้า คิดจาก USD Term ตามระบบดุลการชำระเงิน
6. มูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ
? ในไตรมาส 4 ปี 2566 มูลค่านำเข้าสินค้ามีมูลค่า 65,370 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น
การขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสที่ร้อยละ 6.14 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้า
ที่หดตัวร้อยละ -10.7 โดยการนำเข้าในไตรมาสดังกล่าวที่กลับมาขยายตัวมาจากทุกหมวดสำคัญนำโดย
สินค้าทุน ขยายตัวร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน อาทิ คอมพิวเตอร์ อากาศยาน เรือ แท่น
และรถไฟ เป็นสำคัญ สินค้าอุปโภคบริโภค ขยายตัวร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อาทิ
อาหารเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์นม ยานพาหนะ โทรศัพท์มือถือ เป็นสำคัญ สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง
ขยายตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า
น้ำมันดิบ เป็นสำคัญ
? ในภาพรวมทั้งปี 2566 (มกราคม - ธันวาคม 2566) มูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า
263,237 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าหมวด
วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และหมวดสินค้านำเข้าอื่น ๆ ที่หดตัว อาทิ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์
4 ฐานข้อมูลดุลการชำระเงินของ ธปท.
4.4
7.5
-3.3
-6.5
19.2
5.4
-1.7
4.2
-10
-5
0
5
10
15
20
25
2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f
Xg as of OCT'66 Xg
ร้อยละ
38
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
38
ปิโตรเคมี วัสดุที่ทำด้วยโลหะ ทองคำ (ไม่รวมทองรูปพรรณ) สินค้านำเข้าเบ็ดเตล็ด เป็นสำคัญ
? ในปี 2567 สศค. คาดว่ามูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.05
(โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5) ตามทิศทางการฟื้นตัวของการส่งออกที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น
จากปีก่อนหน้า
ภาพที่ 14 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา: สศค.
หมายเหตุ: อัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้า คิดจาก USD Term ตามระบบดุลการชำระเงิน
7. ดุลบัญชีเดินสะพัด
? ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เกินดุลทั้งสิ้น 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยที่ดุลการค้าตามระบบดุลการชำระเงินเกินดุลทั้งสิ้น 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่
เกินดุล 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการส่งออกที่ลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ทางด้านดุล
บริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลอยู่ที่ -1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขาดดุลลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า
จากรายรับจากภาคการท่องเที่ยวที่ทยอยขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และประกอบกับดุลเงินโอนเกินดุลเพิ่มขึ้น
เล็กนอย ตามการโอนเงินกลับของคนไทยในตางประเทศ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่ต้นปี 2566
เกินดุลทั้งสิ้น 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
5 มูลค่าการนำเข้าสินค้าตามระบบดุลการชำระเงิน (BOP basis) (คำนวณโดย สศค.)
4.6
13.7
-5.6
-13.6
27.7
14.0
-3.1
4.0
-20
-10
0
10
20
30
2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f
Mg as of OCT'66 Mg
ร้อยละ
39
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
39
ภาพที่ 15 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่มา: ธปท. รวบรวมและคาดการณ์โดย สศค.
? ในปี 2567 คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลทั้งสิ้น 10.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 7.4 ถึง 12.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หรือประมาณร้อยละ 1.3 ถึง 2.3 ของ GDP) เกินดุลต่อเนื่องจากปี 2566 โดยคาดว่า ดุลการค้าตามระบบ
ดุลการชำระเงินจะเกินดุลทั้งสิ้น 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลลดลงจากปี 2566 โดยมีมูลค่า
การนำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2567 มูลค่า
นำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ที่เพิ่มตามการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัว
ที่ร้อยละ 4.2 ประกอบกับยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว
ชะลอตัวลง ที่อาจส่งผลต่อภาคการส่งออก สำหรับด้านดุลบริการ รายได้ และเงินโอนคาดว่าจะขาดดุลที่
-5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ประเมินว่ารายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2567 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 33.5 ล้านคน
ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี
8. ประมาณการเงินเฟ้อในปี 2566
? เงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปี 2566 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ
1.2 และ 1.3 ตามลำดับ จากราคาข้าวสารเจ้า อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ที่ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุน
วัตถุดิบ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร น้ำมันพืช (ตามอุปทานที่เพิ่มมากขึ้น) รวมถึงราคาน้ำมัน
เชื้อเพลิงที่ปรับลดลง (ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก และมาตรการของภาครัฐ)
? เมื่อดูองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลง (Contribution YoY Current Year) หมวดสินค้า
ที่ส่งกระทบต่อเงินเฟ้อ พบว่า สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2566 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2 นั้น
มาจากหมวดอาหารสด หมวดอาหารสำเร็จ และหมวดเคหสถาน (ค่าไฟฟ้า) เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เงินเฟ้อ
เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.5 0.5 และ 0.2 ตามลำดับ หมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยลบ
ที่ทำให้เงินเฟ้อลดลงที่ร้อยละ -0.3 ขณะที่หมวดสินค้าอื่นยังทรงตัวหรือมีการเปลี่ยนแปลงราคาที่เล็กน้อย
40
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
40
ภาพที่ 16 Contribution Current Year องค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ ปี 2566
? เงินเฟ้อทั่วไปไทย เดือนมกราคม 2567 ลดลงร้อยละ -1.1 (YoY) ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4
และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน จากการลดลงของราคาสินค้าหมวดพลังงานเป็นหลัก (ตามมาตรการช่วยเหลือ
ค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร และการลดราคา
ค่ากระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนบางส่วน) รวมถึงกลุ่มอาหารสดที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง สำหรับราคาสินค้า
และบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ และมีสินค้าที่ราคาปรับขึ้น ได้แก่ กระดาษชำระ บุหรี่ สุรา
เป็นต้น หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 (MoM)
ภาพที่ 17 กราฟแสดงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน รายเดือน
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ สรุปโดย สศค.
0.5 0.5
0.2 0.1
0.1
-0.3
0.0
0.0
0.0
0.1
0.0
1.2
-0.4 -0.2 0.0 0.2 0.4 0.6 0.8 1.0 1.2 1.4
อาหารและเครื่องดื่ม
หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
การบันเทิง การศึกษา และศาสนา
ตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
หมวดเคหสถาน
พาหนะ ขนส่ง และการสื่อสาร
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
อาหารสด อาหารสาเร็จรูป ค่าเช่า
ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปา อื่นๆ (หมวดเคหสถาน) ค่าโดยสารสาธารณะ
ยานพาหนะและน้ามันเชื้อเพลิง อื่นๆ (หมวดพาหนะขนส่ง)
Contribution Current Year (YoY) 2023
5.0
3.8
2.8 2.7
0.5 0.2 0.4
0.9
0.3
-0.3 -0.4
-0.8 -1.1
3.0
1.9 1.7
1.7 1.5 1.3
0.9 0.8 0.6 0.7 0.6 0.6 0.5
-2.0
-1.0
0.0
1.0
2.0
3.0
4.0
5.0
6.0
ม.ค. 66
ก.พ. 66
มี.ค. 66
เม.ย. 66
พ.ค. 66
มิ.ย. 66
ก.ค. 66
ส.ค. 66
ก.ย. 66
ต.ค. 66
พ.ย. 66
ธ.ค. 66
ม.ค. 67
Headline Inflation Core Inflation
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ สรุปโดย สศค.
41
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
41
? เมื่อดูองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลง (Contribution YoY) พบว่า หมวดยานพาหนะ
และน้ำมันเชื้อเพลิง และหมวดอาหารสด เป็นปัจจัยลบที่ทำให้เงินเฟ้อลดลงที่ร้อยละ -0.6 และ -0.6
ตามลำดับ ขณะที่หมวดอาหารสำเร็จรูปยังเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.2
ภาพที่ 18 Contribution Current Month องค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ เดือนมกราคม 2567
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ สรุปโดย สศค.
? ทั้งนี้ สศค. ได้พิจารณาข้อมูลสถานการณ์เงินเฟ้อไทยล่าสุดร่วมกับแบบจำลองเงินเฟ้อ Bottom-up
Model เพื่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อไทยในปี 2567 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย
ทั้งปี 2566 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.0 และ 1.1 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ปัจจัยเสี่ยงด้านอุปทาน
ที่คลี่คลายลงทำให้ราคาสินค้าโดยรวมเคลื่อนไหวในระดับทรงตัว 2) แนวโน้มราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี
2567 อยู่ที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 88 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาร์เรล ภายใต้ความไม่แน่นอนสูง โดยอาจกระทบต่อเงินเฟ้อไทยไม่มาก เนื่องจากมีมาตรการช่วยเหลือ
ด้านพลังงานของภาครัฐอยู่ อาทิ มาตรการควบคุมราคาน้ำมันดีเซล มาตรการลดค่าไฟฟ้า เป็นต้น
3) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว อาจทำให้อุปสงค์
ภายในประเทศขยายตัวขึ้น และ 4) ความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศ จากความเสี่ยงของปรากฏการณ์
เอลนีโญที่อาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรลดลงและราคาสูงขึ้น อาทิ ราคาผัก ผลไม้
และข้าวสาร เป็นต้น
? นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก
ที่อาจกระทบต่อราคาน้ำมันดิบโลกและสินค้าโภคภัณฑ์โลก ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกต่อภาวะถดถอย
อาจส่งผลให้อุปสงค์โลกชะลอตัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้
-0.6
0.2
-0.2
0.0
0.0
-0.6
0.0
0.0
0.0
0.1
0.0
-1.1
-1.2 -1.0 -0.8 -0.6 -0.4 -0.2 0.0 0.2 0.4
อาหารและเครื่องดื่ม
หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
การบันเทิง การศึกษา และศาสนา
ตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
หมวดเคหสถาน
พาหนะ ขนส่ง และการสื่อสาร
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
อาหารสด อาหารสาเร็จรูป ค่าเช่า
ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปา อื่นๆ (หมวดเคหสถาน) ค่าโดยสารสาธารณะ
ยานพาหนะและน้ามันเชื้อเพลิง อื่นๆ (หมวดพาหนะขนส่ง)
Contribution Current Month (YoY)
42
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
42
ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในปี รายปี
ที่มา: สศค. (คาดการณ์ ณ เดือนเมษายน 2566)
หมายเหตุ: F หมายถึงประมาณการ
1.1 0.7
-0.8
1.2
6.1
0.7 1.2 1.0 0.5 0.3 0.2
2.5
1.3 1.1
-2
0
2
4
6
8
2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567F
Chart Title
Headline Inflation Core Inflation
ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐาน รายปี
43
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
43
ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายเดือน 2565 2566 2566
Q1 Q2 Q3 Q4 พ.ย. ธ.ค.
ภาวะเศรษฐกิจภายนอก
ราคาน้ำมันดิบ Dubai
(ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล)/7
96.0 82.0 80.3 77.7 86.8 89.7 82.8 77.2
อัตราดอกเบี้ย Federal Fund (%)/7 4.25 - 4.50 5.25 - 5.50 4.75 - 5.00 5.00 - 5.25 5.25 - 5.50 5.25 - 5.50 5.25 - 5.50 5.25 - 5.50
ด้านอุปสงค์
การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (%YoY)/1 6.4 -1.5 0.5 -2.7 -6.4 2.6 3.2 -1.4
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%YoY)/13 8.4 10.8* 2.4 17.2 10.5 n.a. 21.2 n.a.
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่
(%YoY)/12
12.0 4.6 13.5 6.6 0.3 4.4 -3.6 -7.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภค
ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY)/14
-1.8 -0.7 -0.8 -4.3 -0.1 2.5 7.9 -9.1
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวม
(ระดับ)/5
43.9 56.7 52.7 55.8 57.1 60.2 60.9 62.0
การลงทุนภาคเอกชน
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ
(%YoY)/14
-1.5 3.8 -4.7 1.2 3.6 16.5 24.6 1.7
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%YoY)/13 15.2 -18.3* -10.2 -12.8 -22.9 n.a. -22.8 n.a.
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม
(%YoY)/1
13.4 -2.4 19.3 -5.1 0.4 -17.5 -1.2 -41.2
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%YoY)/14 -2.5 1.2 -3.3 3.9 5.0 -0.4 -0.3 -4.4
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (%YoY)/4 5.7 0.1 2.2 -1.2 -0.2 -0.2 -0.3 -0.4
การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการส่งออก (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ);
ระบบศุลกากร/4
287.4 284.6 71.2 71.6 71.9 69.9 23.5 22.8
(%YoY) /4 5.7 -1.0 -3.3 -5.2 -0.5 5.8 4.9 4.7
ราคาสินค้าส่งออก (%YoY)/4 4.2 1.2 2.0 0.3 1.1 1.4 1.3 1.4
ปริมาณการส่งออก (%YoY)/14 1.5 -2.1 -5.1 -5.4 -1.6 4.4 3.5 3.2
มูลค่าการนำเข้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ระบบศุลกากร/4
301 289.8 72.7 73.5 71.4 72.1 25.9 21.8
(%YoY)/4 12.8 -3.7 -0.7 -7.7 -10.7 5.8 10.1 ?3.0
ราคาสินค้านำเข้า (%YoY)/4 11.1 -0.8 2.0 -3.0 -1.7 -0.5 -0.6 -0.7
ปริมาณการนำเข้า (%YoY)/14 1.5 -2.8 -2.6 -4.7 -9.2 6.3 10.8 -2.3
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ);
ระบบศุลกากร/4
-13.6 -5.2 -1.5 ?1.9 0.5 -2.3 -2.4 1.0
ด้านอุปทาน
ภาคการเกษตร
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (%YoY)/6 1.5 -0.3 2.3 0.5 -0.6 -2.2 -2.8 -2.4
Thailand's Key Economic Indicators
44
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
44
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายเดือน 2565 2566 2566
Q1 Q2 Q3 Q4 พ.ย. ธ.ค.
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร (%YoY)/6 11.6 -2.1 -1.2 -5.3 -1.6 0.1 -1.0 0.2
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (%YoY)/14 6.9 -3.0 -2.5 -6.1 -2.6 -1.8 -3.3 -1.2
การจ้างงานภาคเกษตร (%YoY)/3 -0.6 1.2 1.2 -0.1 2.0 n.a. 5.8 -3.3
ภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%YoY)/9 0.4 -5.0 -3.7 -5.5 -6.2 n.a. -4.7 n.a.
มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ
(%YoY)/4
8.2 -9.7 -5.0 -12.5 -18.4 -0.6 0.2 -5.9
ปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ
(%YoY)/14
3.1 -11.8 -7.5 -14.1 -20.2 -3.2 -2.5 -8.1
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%)/9 62.8 59.4* 63.8 57.7 58 n.a. 57.9 n.a.
การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม (%YoY)/3 4.9 0.3 0.8 1.4 0.1 n.a. -1.5 -3.8
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)/8 89.3 92.6 96 93.9 91.2 89.4 90.9 88.8
ภาคบริการ
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ (ล้านคน)/10 11.07 28.15 6.53 6.44 7.09 8.10 2.64 3.26
(%YoY)/14 2,486.1 154.4 1,237.4 311.4 97.9 49.1 53.2 45.5
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (%YoY)/10 182.4 23.9* 36.0 24.9 18.2 n.a. 13.5 n.a.
การจ้างงานภาคบริการ (%YoY)/3 6.8 2.8 3.9 2.8 1.3 n.a. 1.9 6.1
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ)/2 35.0 34.8 33.9 34.5 35.2 36.5 35.5 35.0
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2 -15.7 n.a. 2 -2.5 3.3 0.7 -1.2 n.a.
ทุนสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2 216.6 224.5 224.5 218.2 211.8 210.9 219.1 224.5
ฐานะซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ
(พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2
29.2 30.1 27.1 30.5 29.8 30.1 30.3 30.1
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ
อัตราการว่างงาน (%)/3 1.3 1.0 1.0 1.1 1.0 0.8 0.8 0.8
สัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานสะสม
ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม.33 (%)
2.05 1.74 1.75 2.06 2.04 1.84 1.91 1.74
ดัชนีราคาผู้ผลิต (%YoY)/4 10.4 -2.4 0.7 -5.0 -3.4 -2.3 -2.1 -0.8
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%YoY)/4 6.08 1.23 3.88 1.14 0.52 -0.31 -0.44 -0.83
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%YoY)/4 2.5 1.27 2.23 1.51 0.76 0.66 0.58 0.58
หนี้สาธารณะต่อ GDP (%)/1 61 n.a. 61.3 61.7 62.1 62.1 61.9 n.a.
45
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
45
เครื่องชี้ภาคการคลัง FY2565
FY2566 FY2567
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 พ.ย. ธ.ค. FY/YTD
รายจ่ายปีปัจจุบัน
(พันล้านบาท)
2,932.6 982.2 709.7 742.1 654.3 910.1 193.0 265.2 910.1
%YoY -2.6% -0.1% 17.1% 9.3% -1.4% -7.3% -22.6% 2.3% -7.3%
รายจ่ายประจำ
(พันล้านบาท)
2,516.70 858.7 600.5 625.2 525.6 859.1 181.7 254.4 859.1
%YoY ?2.6% -3.1% 16.5% 9.5% -3.4% 0.0% -11.4% 9.4% 0.0%
รายจ่ายลงทุน
(พันล้านบาท)
415.9 123.4 109.2 116.8 128.6 51.0 11.3 10.8 51.0
%YoY ?2.9% 27.3% 20.0% 7.8% 7.7% -58.6% -74.4% -59.4% -58.6%
รายจ่ายปีก่อน
(พันล้านบาท)
213.6 58.9 44.5 27.9 42.5 53.5 20.9 17.2 53.5
%YoY 8.7% -22.0% -22.7% -12.2% -12.6% -9.1% -10.9% -18.4% -9.1%
รายจ่ายรวม (พันล้านบาท) 3,146.3 1,041.1 754.2 770 696.8 963.7 213.9 282.5 963.7
%YoY ?1.9% -1.7% 13.6% 8.3% -2.1% -7.4% -21.6% 0.7% -7.4%
ที่มา: 1/ กระทรวงการคลัง
2/ ธปท.
3/ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
4/ กระทรวงพาณิชย์
5/ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
6/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
7/ Reuters
8/ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
9/ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
10/ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
11/ กรมจัดเก็บประกอบด้วยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร
12/ กรมการขนส่งทางบก
13/ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
14/ คำนวณโดย สศค.
46
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
46
$
$
$
$
$
ภาคการคลัง
47
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
47
ภาคการคลัง
รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลัง ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2567
(ตุลาคม 2566 ? ธันวาคม 2566)
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
? พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 กำหนดวงเงินงบประมาณ
รายจ่ายจำนวน 3,480,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 18.28 ของ GDP6 โดยเป็นการจัดทำ
งบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) จำนวน 693,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ
3.64 ของ GDP ลดลงจากปีงบประมาณ 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ -0.29 โดยแบ่งออกเป็น รายจ่ายประจำ
2,532,826 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 130,287 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.42 รายจ่ายลงทุน
717,722.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 28,242 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.10 และรายจ่ายชำระคืน
ต้นเงินกู้ 118,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณปีที่แล้ว 18,320 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.32
? ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ต.ค. 66 ? ธ.ค. 66) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ
จำนวน 623,384 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,621 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ
0.3 แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.6 สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรวมสามารถเบิกจ่ายได้
ทั้งสิ้น 963,782 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 77,356 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -7.4
ต่อปี โดยรายจ่ายปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 910,192 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 72,015 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ -7.3 ต่อปี หรือเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 28.6 ส่งผลให้
ดุลเงินงบประมาณขาดดุล จำนวน 341,130 ล้านบาท
? หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวน 11,084,577 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 61.34 ของ GDP ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะคงค้างยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ สะท้อนได้จาก
(1) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ในประเทศถึงร้อยละ 98.60 จึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำ
และ (2) หนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือเป็นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 84.78 ทำให้มีความเสี่ยง
ด้านการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ เนื่องจากรัฐบาลสามารถออกขายพันธบัตรใหม่เพื่อชำระหนี้เดิมที่ครบกำหนด
ชำระได้ นอกจากนี้ หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน
ร้อยละ 70 ของ GDP
6 ผลิตภัณฑม์ วลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2567 เท่ากับ 19, 022,200 ล้านบาท ที่มา งบประมาณโดยสังเขป
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงบประมาณ
48
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
48
ผลการดำเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566)
1. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาล
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566)
รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิได้ จำนวน 623,384 ล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการ แต่ต่ำกว่าช่วง
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ -2.6 ทั้งนี้ ผลการจัดเก็บรายได้ แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
กรมสรรพากร
กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 457,329 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 10,994 ล้านบาท
หรือร้อยละ 2.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.4 โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ
ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ 230,868 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 9,597 ล้านบาท
หรือร้อยละ 4.3 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.3 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าจัดเก็บ
สูงกว่าประมาณการ 5,694 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -3.9 ขณะที่
ภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,903 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.1 และสูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.7
กรมสรรพสามิต
กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 124,605 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 18,860 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ -13.1 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 โดยภาษีที่จัดเก็บต่ำกว่าประมาณการ
ที่สำคัญ ได้แก่ (1) ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จัดเก็บได้ 40,495 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ
10,921 ล้านบาท หรือร้อยละ -21.2 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 56.5 เนื่องจากมีการปรับลด
อัตราภาษีน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินในอัตรา 2.5 และ 1 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนมีการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลในอัตรา 5 บาท/ลิตร (2) ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 23,252
ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,347 ล้านบาท หรือร้อยละ -15.8 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
-16.7 เนื่องจากมีการบริโภครถกระบะ และรถอเนกประสงค์ที่มีพื้นฐานและดัดแปลงมาจากรถกระบะ
(Pick-Up Passenger Vehicle: PPV) ที่ผลิตในประเทศต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ (3) ภาษียาสูบ จัดเก็บได้
12,578 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,440 ล้านบาท หรือร้อยละ -16.2 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ -8.9 เนื่องจากการชะลอซื้อแสตมป์ยาสูบจากบริษัทนำเข้ายาสูบ และ (4) ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้
21,415 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,074 ล้านบาท หรือร้อยละ -4.8 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ -7.4 เนื่องจากการบริโภคเบียร์ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้
49
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
49
กรมศุลกากร
กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวม 30,205 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 995 หรือร้อยละ 3.4
เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนกว่าสมมติฐานขณะที่ใช้จัดทำประมาณการ ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสูงกว่า
ประมาณการ แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -19.6 เนื่องจากปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการนำส่ง
รายได้อากรย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี 7,606 ล้านบาท หากไม่รวมรายได้พิเศษ รายได้จะสูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.8
ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 ในรูปดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าปีก่อน
ร้อยละ 5.8 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินบาทสูงกว่าปีก่อนหน้าร้อยละ 2.2 โดยสินค้าที่จัดเก็บอากรขาเข้า
สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ยานบกและส่วนประกอบ (2) เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ (3) ผลิตภัณฑ์
ทางเภสัชกรรม (4) เครื่องจักรและเครื่องใช้กล และ (5) พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก
รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้รวมทั้งสิ้น 63,680 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,783 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 11.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งนำส่งรายได้
เหลื่อมมาจากปีงบประมาณ 2566
หน่วยงานอื่น
หน่วยงานอื่นจัดเก็บรายได้รวม 39,917 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 556 ล้านบาท หรือร้อยละ
-1.4 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -38.1 จากการจัดเก็บรายได้ของ (1) ส่วนราชการอื่น จัดเก็บ
รายได้รวม 33,037 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,156 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 เนื่องจากมาตรการ
ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival: VOA)
เพื่อการท่องเที่ยว และค่าต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมต่ำกว่าประมาณการเป็นสำคัญ และต่ำกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -46.5 เนื่องจากฐานการจัดเก็บในปีก่อนหน้าอยู่ในระดับสูงจากรายได้พิเศษ
รวม 28,617 ล้านบาท หากไม่รวมรายได้พิเศษ รายได้จะต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -0.4
(2) กรมธนารักษ์ จัดเก็บรายได้รวม 6,880 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 600 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.6
และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 157.8 เนื่องจากค่าเช่าที่ราชพัสดุของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด
(มหาชน) ที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการ
50
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
50
ตารางที่ 7 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566)
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2566
เปรียบเทียบปีนี้กับประมาณการ
ตามเอกสารงบประมาณ
(ต.ค. 65 - ธ.ต. 66)
เปลี่ยนแปลง
ร้อยละต่อปี
จำนวน
เปลี่ยนแปลง
ร้อยละ
1. กรมสรรพากร 457,329 2.4 10,994 2.5
2. กรมสรรพสามิต 124,605 6.4 -18,860 -13.1
3. กรมศุลกากร 30,205 -19.6 995 3.4
รวมรายได้ 3 กรมจัดเก็บ 612,139 1.8 -6,871 -1.1
4. รัฐวิสาหกิจ 63,680 5.2 6,783 11.9
5. หน่วยงานอื่น 39,917 -38.1 -556 -1.4
รวมรายได้จัดเก็บ (Gross) 715,736 -1.5 -664 -0.1
หัก 92,352 6.7 -2,265 -2.4
รวมรายได้สุทธิ (Net) 623,384 -2.6 1,621 0.3
ที่มา: สศค. กระทรวงการคลัง
2. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 (ตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566)
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในปีงบประมาณ 2567 (ต.ค. 66 ? ธ.ค. 66) เท่ากับ 963,782 ล้านบาท
ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 77,356 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -7.4 ประกอบด้วย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน
เบิกจ่ายได้จำนวน 910,192 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 28.6 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ
ปีงบประมาณ 2567 (3,185,000 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 72,015 ล้านบาท หรือร้อยละ -7.3
และ (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้จำนวน 53,590 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่าย ร้อยละ 33.5 ของวงเงิน
รายจ่ายปีก่อน (189,882 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 5,341 ล้านบาท หรือร้อยละ -9.1 ต่อปี ทั้งนี้
รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 910,192 ล้านบาท ประกอบด้วย (1.1) รายจ่ายประจำ เบิกจ่ายได้จำนวน 859,136
ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 34.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน
378 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.04 ต่อปี และ (1.2) รายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายได้จำนวน 51,056 ล้านบาท
คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 72,393
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -58.6 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการ
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย
รัฐวิสาหกิจ สำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
และหน่วยงานภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี เบิกจ่ายต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
51
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
51
ตารางที่ 8 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2567 ? ธันวาคม 2566)
ประเภทรายจ่าย
(หน่วย: ล้านบาท)
วงเงิน
งบประมาณ
รายจ่าย
ปีงบประมาณ
2567
(ต.ค. 66 - ธ.ค. 66)
เปลี่ยนแปลง
ร้อยละต่อปี
ร้อยละต่อวงเงิน
งบประมาณ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 3,185,000 910,192 -7.3 28.6
1.1 รายจ่ายประจำ 2,522,812 859,136 0.04 34.1
1.2 รายจ่ายลงทุน 662,188 51,056 -58.6 7.7
2. รายจ่ายปีก่อน 160,131 53,590 -9.1 33.5
3. รายจ่ายรวม (1+2) 3,345,131 963,782 -7.4 28.8
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และ สศค. กระทรวงการคลัง
3. ฐานะการคลังในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566)
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566
- ธันวาคม 2566) พบว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 622,652 ล้านบาท และมีการเบิกจ่าย
งบประมาณรวมทั้งสิ้น 963,782 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 341,130 ล้านบาท
และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 8,310 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำน วน
349,440 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุล
ด้วยการออกพันธบัตร จำนวน 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล)
ขาดดุลจำนวน 329,440 ล้านบาท และส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 มีจำนวน 209,616 ล้านบาท
52
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
52
ตารางที่ 9 ฐานะการคลังในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566)
(หน่วย:ล้านบาท)
ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ
2567
ปีงบประมาณ
2566
จำนวน
เปลี่ยนแปลง
ร้อยละต่อปี
1. รายได้ 622,652 639,549 -16,897 -2.6
2. รายจ่าย 963,782 1,041,138 -77,356 -7.4
3. ดุลเงินงบประมาณ -341,130 -401,589 60,459 15.1
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -8,310 -71,409 63,099 88.4
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -349,440 -472,998 123,558 26.1
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 20,000 221,105 -201,105 -91.0
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -329,440 -251,893 -77,547 -30.8
8. เงินคงคลังต้นงวด 539,056 624,019 -84,963 -13.6
9. เงินคงคลังปลายงวด 209,616 372,126 -162,510 -43.7
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และ สศค. กระทรวงการคลัง
4. หนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวน 11,084,577 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 61.34 ของ GDP โดยเป็น (1) หนี้รัฐบาลจำนวน 9,726,709 ล้านบาท (2) หนี้รัฐวิสาหกิจจำนวน
1,073,854 ล้านบาท (3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 202,268
ล้านบาท และ (4) หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐจำนวน 81,747 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะคงค้าง
ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ สะท้อนได้จาก (1) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ในประเทศถึงร้อยละ 98. 60
ของหนี้สาธารณะคงค้าง (2) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ระยะยาวแบ่งตามอายุคงเหลือร้อยละ 84.78
ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง
ที่ไม่เกินร้อยละ 70.0 ของ GDP
53
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
53
ตารางที่ 10 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน
ธันวาคม 2566
% of GDP
(หน่วย: ล้านบาท)
1. หนี้รัฐบาล 9,726,709 53.82
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ 1,073,854 5.94
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 202,268 1.12
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 81,747 0.45
หนี้สาธารณะรวม 11,084,477 61.34
ที่มา: สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง
หมายเหตุ: สัดส่วนต่อ GDP คำนวณโดย สบน.
54
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
54
ภาคการเงิน
55
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
55
ภาคการเงิน
รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาส 4 ปี 2566
? ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 1 ปีของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ
1.65 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ
7.17 ต่อปี (ภาพที่ 20) ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง7 ณ เดือน
มกราคม 2567 อยู่ที่ร้อยละ 2.76 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงอยู่ที่ร้อยละ 8.27 ต่อปี
? ในช่วงปลายปี 2566 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงไม่มี
การปรับเปลี่ยน ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (คณะกรรมการฯ) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567
มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกและการผลิต เนื่องจากอุปสงค์โลกและเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า
รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างกระทบการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวมากกว่า
ที่ประเมินไว้ แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ ด้านอัตรา
เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยมีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้ คณะกรรมการฯ
ประเมินว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากแรงส่งจากภาคต่างประเทศ
ที่น้อยลงและผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง แต่การบริโภคยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย
ยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงินซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ
สำหรับการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว
ภาพที่ 20 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.
? ยอดคงค้างสินเชื่อในสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน8 (Credit of Depository Institutions)
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 21 และภาพที่ 22) โดยสถาบัน
การเงินที่รับฝากเงินมียอดคงค้างของสินเชื่อจำนวน 20.62 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.5
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)
นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่าสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์มีการหดตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่
สินเชื่อในสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ทางด้านยอดคงค้างเงินรับฝากในสถาบัน
7 คำนวณโดยนำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ย หักอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน
8 ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
-10.0
-8.0
-6.0
-4.0
-2.0
0.0
2.0
4.0
6.0
8.0
10.0
Jan
Feb
Mar
Apr
May
Jun
Jul
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
Jan
Feb
Mar
Apr
May
Jun
Jul
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
Jan
Feb
Mar
Apr
May
Jun
Jul
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
Jan
Feb
Mar
Apr
May
Jun
Jul
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
Jan
Feb
Mar
Apr
May
Jun
Jul
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
Jan
Feb
Mar
Apr
May
Jun
Jul
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
Jan
Feb
Mar
Apr
May
Jun
Jul
Aug
Sep
Oct
Nov
Dec
Jan
2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 2024
Deposit Rate (fixed 12 months) MLR Real Deposit Rate Real MLR
56
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
56
การเงินที่รับฝากเงิน (Deposit in Depository Institutions) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 ขยายตัวตัวเร่งขึ้น
จากไตรมาสก่อนหน้า มียอดคงค้างของเงินฝากจำนวน 24.91 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ
1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผล
ทางฤดูกาล) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เงินรับฝากในธนาคารพาณิชย์มีการขยายตัวในอัตรา
ที่ชะลอลง ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น
ภาพที่ 21 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน ภาพที่ 22 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค. ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.
? หากพิจารณาตามประเภทของสถาบันการเงินพบว่ายอดคงค้างสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 23) โดยธนาคารพาณิชย์มียอด
คงค้างสินเชื่อจำนวน 13.15 ล้านล้านบาท หดตัวชะลอลงร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น
การหดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะเดียวกันยอดเงิน
รับฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 24) โดยธนาคารพาณิชย์มี
ยอดเงินรับฝากคงค้างจำนวน 17.08 ล้านล้านบาท ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
หรือคิดเป็นการขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
ภาพที่ 23 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์ ภาพที่ 24 เงินรับฝากในธนาคารพาณิชย์
ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค. ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.
? เมื่อพิจารณาตามประเภทสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาม 2566 พบว่า
สินเชื่อธุรกิจขยายตัวชะลอลง ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัวเร่งขึ้น (ภาพที่ 25) โดยสินเชื่อที่ให้แก่
ภาคธุรกิจ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 36.0 ของสินเชื่อรวม หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
57
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
57
หรือคิดเป็นการขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.02 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่
สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 64.0 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.0
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -0.22 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผล
ทางฤดูกาลแล้ว)
ภาพที่ 25 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.
? ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ยอดคงค้างสินเชื่อธุรกิจในธนาคารพาณิชย์หดตัวเร่งขึ้น
จากไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อสาธารณูปโภคหดตัวเร่งขึ้น และสินเชื่อกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มพาณิชย์
กลุ่มบริการหดตัวชะลอลง ขณะที่สินเชื่อกลุ่มก่อสร้าง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเร่งขึ้น และสินเชื่อ
กลุ่มธุรกิจการเงินขยายตัวชะลอลง (ภาพที่ 26 และภาพที่ 27) โดยยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มสาธารณูปโภค
ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของสินเชื่อรวม หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -3.02 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
และยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.3 ของสินเชื่อธุรกิจ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ
-5.51 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มพาณิชย์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.3 ของสินเชื่อ
ธุรกิจ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -2.69 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกลุ่มสินเชื่อกลุ่มบริการ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 8.0 ของสินเชื่อรวม หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อ
กลุ่มก่อสร้าง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.07 จากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน และยอดคงค้างสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึ้น
ที่ร้อยละ 1.97 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มธุรกิจการเงิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
38.3 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 7.82 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ยอดคงค้าง
สินเชื่อกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 4.4 ของสินเชื่อธุรกิจ หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -12.73 จากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
58
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
58
ภาพที่ 26 สินเชื่อแยกตามภาคส่วนธุรกิจ ภาพที่ 27 การขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจ
ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค. ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.
? ในไตรมาส 4 ปี 2566 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภค
บริโภคในธนาคารพาณิชย์หดตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 28
และภาพที่ 29) โดยยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์
และจักรยานยนต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.5 ของสินเชื่ออุปโภคบริโภค
หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -0.41 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดคงค้าง
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.9 ของสินเชื่ออุปโภค
บริโภค ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.29 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่
ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิต ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 4.4 ของสินเชื่ออุปโภค
บริโภค ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้อง
กับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ขยายตัวในช่วงเวลาดังกล่าว
(ภาพที่ 30) นอกจากนี้ ยอดคงค้างสินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ ซึ่งมีสัดส่วน
ร้อยละ 24.2 ของสินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.05
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาพที่ 29 การขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการอุปโภค ภาพที่ 30 การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค. ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.
? สำหรับหนี้ภาคครัวเรือน ณ ไตรมาส 3 ปี 2566 มียอดคงค้างอยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท
ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 90.9 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 90.8 ต่อ GDP ขณะที่ GDP ณ ราคาปัจจุบันที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน ทั้งนี้ หากไม่รวมสินเชื่อที่ครัวเรือนกู้เพื่อไปใช้ในการประกอบธุรกิจ ยอดหนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ 13.31
ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 74.7 ของ GDP
ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 26 โครงสร้างสินเชื่อ
เพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์
Real
Estate and
Land
49.9%
Cars and motorcycle
21.5%
Credit Card
4.4%
Other
24.2%
59
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
59
ภาพที่ 31 ระดับหนี้ภาคครัวเรือนและอัตราส่วนต่อ GDP
ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 32 อัตราการขยายตัวของสินเชื่อและหนี้ครัวเรือน (%YoY)
ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.
หมายเหตุ: การหา Growth ของหนี้ครัวเรือนและ Nominal GDP จะใช้ข้อมูลบวกกันย้อนหลัง 4 ไตรมาส แล้วนำมา
คำนวณหา Growth
? หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีการขยายตัวชะลอลงในเกือบทุกหมวด โดยสินเชื่อ
เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.6 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน สำหรับสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพและสินเชื่อเพื่อซื้อหรือเช่าซื้อยานยนต์ขยายตัวชะลอลงเช่นกัน
ที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 และร้อยละ 0.5
ตามลำดับ
3.34%
4.0%
-10.0%
-5.0%
0.0%
5.0%
10.0%
15.0%
20.0%
25.0%
30.0%
2007
2008
2009
2010
2011
2012
2013
2014
2015
2016
2017
2018
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
2019 2020 2021 2022 2023
%yoy หนี้ครัวเรือนรวม %yoy GDP
60
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
60
ภาพที่ 33 อัตราการเติบโตของหนี้ภาคครัวเรือนแต่ละประเภท (%YoY)
ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.
? สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 2566
ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 3 ปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.88 ของสินเชื่อรวม ขณะที่ เงินให้สินเชื่อ
กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ของหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 2566 ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน อยู่ที่ร้อยละ 6.86
ของสินเชื่อรวม และยังถือว่ายังคงอยู่ในระดับสูงและมากกว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ประมาณ
2.39 เท่า โดยหากพิจารณาเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษของหนี้ครัวเรือนแยกตามประเภท พบว่า SM
รถยนต์มีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 14.29 ของสินเชื่อรวม ขณะที่ สัดส่วน SM ของหนี้ครัวเรือนประเภท
ที่อยู่อาศัย ส่วนบุคคลอื่น ๆ และบัตรเครดิต อยู่ที่ร้อยละ 4.96 ของสินเชื่อรวม ร้อยละ 4.66 และร้อยละ
4.22 ตามลำดับ
ภาพที่ 34 สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
และเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ต่อสินเชื่อรวม (ร้อยละ)
ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.
5.0
0.6
4.8
-1.9
4.8
0.3
3.5
-2.4
5.1
1.2
3.1
-0.5
5.2
-0.3
2.0
-1.4
5.0
-0.3
0.8
-2.3
4.9
1.0 0.5
-3.5
4.6
0.2 0.2
-3.7
-6.0
-4.0
-2.0
0.0
2.0
4.0
6.0
Q1/65 Q2/65 Q3/65 Q4/65 Q1/66 Q2/66 Q3/66
3.2% 2.9%
7.4% 6.9%
0.0%
2.0%
4.0%
6.0%
8.0%
Q1/2?
Q2/2?
Q3/2?
Q4/2?
Q1/2?
Q2/2?
Q3/2?
Q4/2?
Q1/2?
Q2/2?
Q3/2?
Q4/2?
Q1/2?
Q2/2?
Q3/2?
Q4/2?
Q1/2?
Q2/2?
Q3/2?
Q4/2?
Q1/2?
Q2/2?
Q3/2?
Q4/2?
NPL หนี้ครัวเรือน SM หนี้ครัวเรือน
61
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
61
ภาพที่ 35 สัดส่วนเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ของหนี้ครัวเรือน
ต่อสินเชื่อรวม แยกตามประเภท (ร้อยละ)
ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.
? กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ยอดคงค้างสินเชื่อในสถาบันรับฝากเงินมีแนวโน้ม
ขยายตัวเร่งขึ้น โดยสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้น ประกอบกับยอดคงค้างเงินฝากในสถาบัน
รับฝากเงินขยายตัวเร่งขึ้น ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่
กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ประเมินว่า
การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอลงเป็นผลมาจากปัจจัยต่างประเทศและปัญหาเชิงโครงสร้าง
ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีแรงส่งต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมาย
อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ
การเงินในระยะยาว อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้าจากปัจจัย
วัฏจักรเศรษฐกิจและปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะพิจารณาให้
เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมี
เงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ซึ่งมีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง
กว่าเกณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) เดือนธันวาคม 2566 ยังคงอยู่ในระดับสูง
ที่ร้อยละ 20.12 สูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดที่ร้อยละ 11.0 อีกทั้งยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ
(Non-performing: NPL หรือ Stage 3) ไตรมาสที่ 4 ปี 66 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 492.8 พันล้านบาท คิดเป็น
สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวม ที่ร้อยละ 2.66 โดยเป็นการลดลงจากสินเชื่อธุรกิจหลักจากการบริหารจัดการ
คุณภาพหนี้และการกลับมาชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ
SMEs ขนาดเล็กทีได้รับแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น และครัวเรือนบางกลุ่มที่ยังมีฐานะการเงิน
เปราะบางจากรายได้ที่ฟื้นตัวช้า ซึ่งอาจส่งผลให้ NPL ทยอยปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหาร
จัดการได้และไม่เกิด NPL
4.96%
14.29%
4.22% 4.66%
0.00%
5.00%
10.00%
15.00%
20.00%
ที่อยู่อาศัย รถยนต์ บัตรเครดิต ส่วนบุคคลอื่น ๆ
Q1/2565 Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565 Q1/2566 Q2/2566 Q3/2566 Q4/2566
62
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
62
บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ:
Macroeconomic Analysis Briefings
63
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
63
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยและแนวทางการบริหารจัดการหนี้ครัวเรือน9
บทสรุปผู้บริหาร
? หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ประชาชนมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้สัดส่วนหนี้
ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้น
อย่างมาก อย่างไรก็ดี ระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP มีแนวโน้มปรับดีขึ้นในช่วงระยะเวลาต่อมา ปัจจุบันอยู่ที่
ร้อยละ 90.9 ต่อ GDP (16.2 ล้านล้านบาท)
? หากพิจารณาเทียบกับต่างประเทศ พบว่า ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่มีระดับหนี้ครัวเรือน
ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในบางประเทศ เช่น ฮ่องกง มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ
GDP ที่เพิ่มสูงกว่าประเทศไทย ขณะที่สถานการณ์หนี้ครัวเรือนล่าสุดในอีกหลายประเทศ สัดส่วนหนี้
ครัวเรือนต่อ GDP ก็ยังมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เช่น เกาหลีใต้และญี่ปุ่น สะท้อนถึงสถานการณ์
ภาคการเงินของครัวเรือนในประเทศดังกล่าวที่เปราะบางเพิ่มสูงขึ้น
? ตามผลการศึกษา The Real Effects of Household Debt in Short and Long-run โดย Lombardi et al.
(2017) จากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ได้วิเคราะห์ผลกระทบของระดับหนี้ครัวเรือน
ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการบริโภคใน 54 ประเทศ ระหว่างปี 1990 ถึง 2015 พบว่า การสะสมของหนี้
ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในที่สุดจะฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยผลกระทบจะรุนแรงขึ้น
หลังจากร้อยละ 60 ในขณะที่การเติบโตของ GDP จะแย่ลงหลังจากเกินระดับร้อยละ 80 โดยรวมแล้ว นอกจากนี้
ยังมีงานศึกษาอื่น ๆ ที่สนับสนุนงานศึกษาของ BIS อาทิ การศึกษาเรื่อง Sectoral Debt and Global Dollar
Cycles in Developing Economies โดย Han et al. (2024) จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และยัง
รวมไปถึงงานศึกษาของไทย โดย Muthitacharoen et al. (2015) และ Suwanik และ Peerawattanachart (2018)
? สำหรับแนวทางการบรรเทาปัญหาหนี้ครัวเรือนที่น่าสนใจจากกรณีศึกษาของต่างประเทศ พบว่า
ในกลุ่มประเทศนอร์ดิกที่มีมาตรการบรรเทาปัญหาหนี้ครัวเรือนหลาย ๆ ประการ อาทิ การกำหนดสัดส่วน
LTV LTI และ DTI เพื่อควบคุมระดับความเสี่ยงของลูกหนี้ การทำ Stress Test เพื่อป้องกันความเสี่ยง
ของผู้ให้กู้ ขณะที่มาตรการบรรเทาปัญหาหนี้ครัวเรือนของเกาหลีใต้ จะมีทั้งในด้านการจัดตั้งกองทุน
เพื่อปรับโครงสร้างหนี้อสังหาริมทรัพย์ การจัดตั้งองค์กรเพื่อให้คำปรึกษาการบริหารจัดการหนี้
? ในส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยในปัจจุบัน รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลัง
ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยสำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้
ในระบบรัฐบาลได้เตรียมแนวทางช่วยเหลือที่แตกต่างกันตามสาเหตุของปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับ
ลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมี
การประกาศ ?การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ? เป็นวาระแห่งชาติ โดยจะมีการบูรณาการหลายภาคส่วน
เข้ามาทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และกระทรวงการคลัง เพื่อไม่ให้ประชาชนกลับไปอยู่ในวงจรหนี้สินนอกระบบอีก
9 ผู้เขียน นายธนพล กาลเนาวกุล เศรษฐกรชำนาญการ นายกิตติคุณ ชุมวรฐายี เศรษฐกรปฏิบัติการ และนายจิรัฐการ รอดภัยปวง
เศรษฐกร กศม. สศค. ขอขอบคุณ ดร.พิสิทธ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค และ ดร. ปาริฉัตร คลิ้งทอง ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจการเงินและต่างประเทศ ที่ช่วยให้
ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำบทความนี้ อนึ่ง บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน ไม่ได้สะท้อนความคิดเห็นของหน่วยงาน
64
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
64
? ในระยะต่อไป การดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน จะต้องมีการบูรณาการ
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแก้หนี้เดิมให้กลับสู่ระดับที่ยั่งยืน (หรือต่ำกว่าร้อยละ 80
ของ GDP) เพื่อไม่ให้ระดับหนี้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ในระยะยาว และต้องทำให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ในอนาคตลดลง ทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน
ควบคู่ไปกับดำเนินการในด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักรู้ทางการเงินให้แก่ครัวเรือน
เพื่อไม่ให้เกิดการใช้จ่ายและการก่อหนี้ที่เกินตัว ตระหนักถึงความสำคัญของการออมและการลงทุน
รู้จักวางแผนการเงินและบริหารความเสี่ยง 2) การสร้างรายได้เพิ่มให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่ม
ความมั่นคงให้กับชีวิต และ 3) การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) นอกจากนี้ รัฐบาลยังควรมี
การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพใหญ่ของประเทศ ให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในระดับที่เหมาะสมและต่อเนื่อง ผ่านการส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
1. บทนำ
หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในช่วง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ประชาชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาทางการเงิน ไม่สามารถหา
รายได้หรือรายได้ลดลงอย่างมากจนไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต จึงต้องมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น ส่งผลใ ห้
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ในช่วงเวลา
ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมากอยู่ที่ระดับร้อยละ 95.5 ต่อ GDP ปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกันกับหลายประเทศ
ทั่วโลก อย่างไรก็ดี ระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP มีแนวโน้มปรับดีขึ้นในช่วงระยะเวลาต่อมาภายหลัง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว
และประชาชนสามารถกลับมาประกอบอาชีพ หารายได้ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
สำหรับสถานการณ์ของหนี้ครัวเรือนล่าสุดในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2566 พบว่า หนี้ครัวเรือนของไทย
อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.9 ของ GDP ซึ่งถึงแม้จะมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากสถานการณ์
เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่สัดส่วนดังกล่าวยังถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ครัวเรือนที่ประสบ
ปัญหาหนี้ มีการผิดนัดชำระหนี้ ล้มละลาย และถูกยึดทรัพย์สินก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน สะท้อนจาก
สัดส่วนหนี้เสีย (Non-performing Loan: NPL) และหนี้จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention
Loan : SM) ของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันที่ยังมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทิศทางของ NPL และ SM ที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางในภาคการเงินของระบบ
ธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากหากเกิดหนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง ก็อาจส่งผลกระทบต่อ
เสถียรภาพของระบบการเงินและส่งผลต่อเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
อย่างยาวนาน หากไม่ได้รับการแก้ไขให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโต
ทางเศรษฐกิจ เนื่องจากครัวเรือนที่มีหนี้สินสูงจะใช้จ่ายน้อยลง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยัง
ประชาชนในสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรมที่อาจเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน
ปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้ เป็นต้น
ดังนั้น การที่รัฐบาลมีความพยายามในการลดระดับหนี้ครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน การชะลอ
การเพิ่มขึ้นของ NPL และ SM จึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังต่อไป และทุกภาคส่วนต้องให้
ความสำคัญและให้ความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้การลดระดับหนี้
ครัวเรือนของไทยเข้าสู่ระดับที่ยั่งยืนได้โดยเร็ว ในบทความนี้ จะประกอบไปด้วยเนื้อหา 5 ส่วน ได้แก่
1) นิยามและสถานการณ์หนี้ครัวเรือนล่าสุด 2) การศึกษาผลกระทบของหนี้ครัวเรือนต่อระบบเศรษฐกิจ
3) มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยในปัจจุบัน 4) การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของต่างประเทศ
65
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
65
และ 5) ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐและครัวเรือน
ในการพิจารณานำไปแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ต่อไป
2. นิยามและสถานการณ์หนี้ครัวเรือนล่าสุด
2.1 นิยามหนี้ครัวเรือน
นิยามของหนี้ครัวเรือนโดยทั่วไป ซึ่งกำหนดโดย ธปท. จะหมายถึงเงินที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมแก่
บุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ภายในประเทศ โดยบุคคลธรรมดานั้นอาจนำเงินที่กู้ยืมไปใช้จ่ายต่าง ๆ
หรือเพื่อประกอบธุรกิจ โดยข้อมูลหนี้ครัวเรือนจะครอบคลุมเฉพาะเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่ ธปท.
เก็บข้อมูลได้ จึงไม่รวมหนี้นอกระบบ ขณะที่ สำหรับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ตามนิยามของ ธปท.จะคำนวณจาก
เงินที่ภาคครัวเรือนกู้ยืมหารด้วยผลรวมของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปี (QGDP) 4 ไตรมาส
ย้อนหลัง โดยเริ่มนับจากไตรมาสที่อ้างถึง
2.2 โครงสร้างหนี้ครัวเรือนของไทยในปัจจุบัน
การเป็นหนี้ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด หากหนี้ดังกล่าวประชาชนสามารถนำไปจับจ่ายใช้สอย
เพื่อซื้อทรัพย์สินหรือประกอบธุรกิจโดยไม่เกินความสามารถ เป็นหนี้ที่จะก่อให้เกิดการหมุนเวียน
ของเศรษฐกิจ รวมทั้ง เพิ่มจำนวนเงินในระบบทั้งประเทศ ซึ่งในการจำแนกหนี้อาจสามารถแบ่งออกเป็น
2 ประเภท ได้แก่ 1) หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ (Non-productive loan) หรือหนี้พึงระวัง คือ หนี้ที่อาจ
ไม่สร้างรายได้ในอนาคต เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในกิจกรรมบางอย่างแล้วหมดไป เช่น หนี้อุปโภคบริโภค
สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต และ 2) หนี้ที่สร้างรายได้ (Productive loan) หรือหนี้ดี คือ
หนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อนำไปลงทุนในกิจกรรมที่สามารถก่อให้เกิดรายได้เพิ่มมูลค่า หรือสร้างผลตอบแทน
ในอนาคต ตัวอย่างของหนี้ที่สร้างรายได้ เช่น สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
สำหรับโครงสร้างของหนี้ครัวเรือนในระบบของไทย จะพบว่าหนี้ครัวเรือนในระบบของไทย
บางส่วน เป็นหนี้ที่สร้างรายได้ (Productive Loan) หรือหนี้ที่ดี ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนหนี้ครัวเรือน
เพื่อซื้อทรัพย์สิน ได้แก่ เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ มีสัดส่วนร้อยละ 33.8 เพื่อซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์
ร้อยละ 11.2 ซึ่งรถยนต์และจักรยานยนต์ยังสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพสร้างรายได้อีกด้วย
เช่น รถแท็กซี่ จักรยานยนต์เพื่อส่งสินค้า และยังมีการก่อหนี้เพื่อการประกอบธุรกิจและเพื่อการศึกษา
โดยตรงอีกร้อยละ 17.8 และร้อยละ 4.2 ดังนั้น เมื่อรวมหนี้เพื่อสะสมทรัพย์สินและเพื่อการประกอบ
อาชีพและการศึกษาแล้วจะมีสัดส่วนในโครงสร้างหนี้ครัวเรือนไทยถึงกว่าร้อยละ 67.0 ของหนี้
ครัวเรือนทั้งหมด นอกจากนี้ หนี้ครัวเรือนประมาณร้อยละ 45.0 หรือเกือบครึ่ง เป็นหนี้ที่มี
หลักประกัน เช่น บ้าน รถ สะท้อนว่า ครัวเรือนบางส่วนก่อหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สินไม่ใช่เพื่อการบริโภค
66
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
66
ภาพที่ 36 เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์
และจำแนกตามประเภทหนี้ที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน
ที่มา: ธปท. คำนวณโดย สศค.
2.3 ระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในระบบของไทย สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP พบว่า
ยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยหนี้ครัวเรือนในระบบปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 95.5 ในช่วงการแพร่
ระบาดของโควิด-19 ปี 2563 - 2564 และค่อย ๆ ปรับตัวจนถึงปัจจุบัน อยู่ที่ร้อยละ 90.9 ต่อ GDP
(16.2 ล้านล้านบาท) และคาดว่า ในอนาคตจะค่อยทยอยปรับลดลงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลัง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการดำเนินมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ของภาครัฐ สำหรับ
ข้อมูลหนี้ครัวเรือนนอกระบบ ในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลสถิติทางการ อย่างไรก็ดี
จากสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2566 (6 เดือนแรก) สำรวจโดยสำนักงานสถิติ
แห่งชาติ ได้ประเมินเอาไว้ว่า จำนวนหนี้สินในระบบสูงกว่าจำนวนหนี้สินนอกระบบ 81.6 เท่า (จำนวน
หนี้สินในระบบเฉลี่ย 205,809 บาท และจำนวนหนี้สินนอกระบบเฉลี่ย 2,522 บาท ตามลำดับ)
ภาพที่ 37 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทย (ร้อยละต่อ GDP)
ที่มา: ธปท. คำนวณโดย สศค.
ซื้ออสังหาริมทรัพย์,
33.79%
ซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์หรือ
การศึกษา, รถจักรยานยนต์, 11.17%
4.21%
บัตรเครดิต,
2.83%
อุปโภคบริโภคส่วน
บุคคล, 19.28%
สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้
การกากับของธปท. (PLR),
5.15%
สินเชื่ออื่น,
5.13%
ธุรกิจ, 17.83%
เงินให้กู้ยืมเพื่อ
ซื้อหลักทรัพย์,
0.61%
หนี้ที่มี
หลักประกัน
45.0
หนี้ที่ไม่มี
หลักประกัน
55.0
84.0%
82.5%
82.7%
82.7%
82.6%
83.0%
84.1%
84.6%
88.3%
91.2%
94.2%
95.5%
94.2%
94.2%
94.7%
93.8%
92.8%
91.5%
91.4%
90.7%
90.8%
90.9%
0%
20%
40%
60%
80%
100%
2016
2017
2018
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
2019 2020 2021 2022 2023
67
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
67
หากพิจารณาเมื่อเทียบกับต่างประเทศ พบว่า ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่มีระดับหนี้
ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยบางประเทศมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือน
ต่อ GDP ที่เพิ่มสูงกว่าประเทศไทยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นประเทศฮ่องกง ที่ในช่วงก่อนสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโควิด-19 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าไทย แต่หลังจากสถานการณ์
โควิด-19 เป็นต้นมา หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและสูงกว่าไทยนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ขณะที่
อีกหลายประเทศสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ก็ยังมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เช่น เกาหลีใต้
และญี่ปุ่น สะท้อนถึงสถานการณ์ภาคการเงินของครัวเรือนในประเทศดังกล่าวที่เปราะบางเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของต่างประเทศล่าสุด ยังมีบางประเทศที่มีระดับหนี้ครัวเรือนสูง
กว่าประเทศไทย เช่น ออสเตรเลีย (ร้อยละ 116.1) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 104.5) แคนาดา (ร้อยละ 101.5)
ฮ่องกง (ร้อยละ 94.5) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 93.1) และนิวซีแลนด์ (ร้อยละ 91.5)
ภาพที่ 38 ระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ
ตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2560 - ไตรมาส 3 ปี 2566 (ร้อยละต่อ GDP)
ที่มา: CEIC และ ธปท. รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 39 ระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ
ณ ไตรมาส 3 ปี 2566 (ร้อยละต่อ GDP)
ที่มา: CEIC และ ธปท. รวบรวมโดย สศค.
30
80
130
6/2017
10/2017
2/2018
6/2018
10/2018
2/2019
6/2019
10/2019
2/2020
6/2020
10/2020
2/2021
6/2021
10/2021
2/2022
6/2022
10/2022
2/2023
6/2023
Australia South Korea Canada
Netherlands New Zealand Hong Kong SAR (China)
Sweden United Kingdom Thailand
68
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
68
2.4 สถานการณ์ NPL และ SM ของหนี้ครัวเรือน
ในช่วงเวลาปกติที่ หากการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนมีความสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของรายได้
ประชากรและปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การก่อหนี้จะมีส่วนช่วยในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจาก
ครัวเรือนสามารถก่อหนี้เพื่อไปใช้เป็นเงินในการประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ก่อให้เกิดเงิน
หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี หากการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนมีความไม่สอดคล้องกับการ
เพิ่มขึ้นของรายได้ ก็อาจส่งผลต่อการชำระหนี้และกลายเป็นหนี้เสียในที่สุด ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้มีการจัดเงินให้สินเชื่อจำแนกตามระยะเวลาการค้างชำระออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) Non-
Performing Loans (NPLs) คือ หนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน และ 2) Special Mention (SM) คือ
หนี้ที่มีการค้างชำระเกิน 30 วันแต่ยังไม่เกิน 90 วัน
สำหรับสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 2566 ปรับเพิ่มขึ้น
เล็กน้อยจากไตรมาสที่ 3 ปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.88 ของสินเชื่อรวม ขณะที่เงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็น
พิเศษ (SM) ของหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 2566 ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน อยู่ที่ร้อยละ 6.86 ของสินเชื่อ
รวม และยังถือว่ายังคงอยู่ในระดับสูงและมากกว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ประมาณ 2.39 เท่า
โดยหากพิจารณาเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษของหนี้ครัวเรือนแยกตามประเภท พบว่า SM รถยนต์มี
สัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 14.29 ของสินเชื่อรวม ขณะที่ สัดส่วน SM ของหนี้ครัวเรือนประเภทที่อยู่
อาศัย ส่วนบุคคลอื่น ๆ และบัตรเครดิต อยู่ที่ร้อยละ 4.96 ร้อยละ 4.66 และร้อยละ 4.22 ของสินเชื่อรวม
ตามลำดับ ทั้งนี้ ยอดหนี้ SM ในกลุ่มรถยนต์ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น จำเป็นที่รัฐบาล
จะต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้ง อาจต้องมีมาตรการเพิ่มเติมหากจำเป็น เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เงินให้สินเชื่อในกลุ่มดังกล่าวกลายเป็น NPL
ภาพที่ 40 สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM)
ของหนี้ครัวเรือน ต่อสินเชื่อรวม (ร้อยละ)
ที่มา: ธปท. คำนวณโดย สศค.
3.2% 2.9%
7.4%
6.9%
0.0%
2.0%
4.0%
6.0%
8.0%
Q1/2561
Q2/2561
Q3/2561
Q4/2561
Q1/2562
Q2/2562
Q3/2562
Q4/2562
Q1/2563
Q2/2563
Q3/2563
Q4/2563
Q1/2564
Q2/2564
Q3/2564
Q4/2564
Q1/2565
Q2/2565
Q3/2565
Q4/2565
Q1/2566
Q2/2566
Q3/2566
Q4/2566
NPL หนี้ครัวเรือน SM หนี้ครัวเรือน
69
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
69
ภาพที่ 41 สัดส่วนเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ของหนี้ครัวเรือนต่อสินเชื่อรวม
จำแนกตามประเภท (ร้อยละ)
ที่มา: ธปท. คำนวณโดย สศค.
3. การศึกษาผลกระทบของหนี้ครัวเรือนต่อระบบเศรษฐกิจ
The real effects of household debt in short and long-run โดย Lombardi et al. (2017)
จากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ได้วิเคราะห์ผลกระทบของระดับหนี้ครัวเรือน
ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการบริโภคใน 54 ประเทศ ระหว่างปี 1990 ถึง 2015 พบว่า หนี้ครัวเรือน
ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยกระตุ้นการบริโภคและการเติบโตของ GDP ในระยะสั้น โดยเฉพาะภายในปีแรก เป็นเพราะ
การเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายขึ้นช่วยให้ครัวเรือนใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี
การสะสมของหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในที่สุดจะฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
จากการศึกษา พบว่า สำหรับทุก ๆ ร้อยละ 1 ที่เพิ่มขึ้นของอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP การเติบโตของ GDP
ระยะยาวจะลดลงประมาณร้อยละ 0.1
นอกจากนี้ ผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตจะเด่นชัดขึ้นเมื่ออัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เกินระดับ
หนึ่ง สำหรับอุปโภคบริโภค ผลกระทบจะรุนแรงขึ้นหลังจากร้อยละ 60 ในขณะที่การเติบโตของ GDP จะแย่ลง
หลังจากเกินระดับร้อยละ 80 โดยรวมแล้ว การศึกษาของ BIS แสดงให้เห็นภาพผลกระทบของหนี้ครัวเรือน
แม้ว่าหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจะสามารถสร้างแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจชั่วคราวได้ แต่ผลที่ตามมาในระยะ
ยาวก็ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินและการเติบโตที่ยั่งยืน เพราะหากลูกหนี้จำนวนมาก
ชำระหนี้ไม่ได้พร้อม ๆ กัน ก็อาจกระทบฐานะการเงินของเจ้าหนี้ เกิดปัญหาหนี้เสียในวงกว้างจนกลายเป็นวิกฤต
สอดคล้องกับผลการศึกษาเรื่อง Sectoral Debt and Global Dollar Cycles in Developing
Economies โดย Han et al. (2024) จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งได้ศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างพลวัตของหนี้รายสาขา (sectoral debt) กับการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบของวัฏจักรเงิน
ดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 52 ประเทศในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ( Emerging Market Economies)
และกลุ่มประเทศชายขอบ (Frontier Market Economies) ระหว่างปี 2005 ถึง 2001 ซึ่งพบว่าหนี้
ภาคครัวเรือนในระดับสูงส่งผลให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลง และเมื่อพิจารณากลุ่มประเทศที่มีรายได้
ต่อหัวระหว่าง 7,000 ถึง 15,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย พบว่าหนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์
ที่ซับซ้อนกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของหนี้ครัวเรือนจาก
สถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้นอกระบบต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ผลการศึกษากรณี
ต่างประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับงานศึกษาของไทย โดย Muthitacharoen et al. (2015) และ Suwanik
4.96%
14.29%
4.22% 4.66%
0.00%
5.00%
10.00%
15.00%
20.00%
ที่อยู่อาศัย รถยนต์ บัตรเครดิต ส่วนบุคคลอื่น ๆ
Q1/2565 Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565 Q1/2566 Q2/2566 Q3/2566 Q4/2566
70
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
70
และ Peerawattanachart (2018) ได้ศึกษาข้อมูลหนี้ครัวเรือนของไทย และพบว่าผลกระทบเชิงลบ
ของการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้ครัวเรือนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว
นอกจากผลกระทบในทางเศรษฐกิจแล้ว ธปท. (2023) ระบุว่า การเป็นหนี้เรื้อรังของประชาชน
อาจลุกลามไปสู่ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ เช่น ปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้ ปัญหาการก่ออาชญากรรม จนทำให้
ชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาหนี้จะทวี
ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากรายได้ของครัวเรือนลดลงตามจำนวนคนทำงานหารายได้ อย่างไรก็ดี
การเป็นหนี้จะเป็นประโยชน์ได้ หากหนี้ดังกล่าวประชาชนสามารถนำไปจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อทรัพย์สิน
หรือประกอบธุรกิจโดยไม่เกินความสามารถ เป็นหนี้ที่จะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ รวมทั้ง เพิ่มจำนวนเงิน
ในระบบทั้งประเทศ หากพิจารณาในเชิงโครงสร้างของหนี้ครัวเรือนในระบบของไทย จะพบว่าหนี้ครัวเรือน
ของไทยบางส่วน เป็นไปเพื่อสะสมความมั่งคั่งโดยการซื้อทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถ (ร้อยละ 45.0) เพื่อการประกอบ
ธุรกิจ (ร้อยละ 17.8) และเพื่อการศึกษา (ร้อยละ 4.2) ซึ่งหนี้ที่ก่อขึ้นดังกล่าวจะมีส่วนช่วยสร้างรายได้
และยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนในอนาคต
4. มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบันรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลัง ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งในระบบ
และนอกระบบ โดยสำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้ในระบบ รัฐบาลได้เตรียมแนวทางช่วยเหลือที่แตกต่างกัน
ตามสาเหตุของปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม ได้แก่
4.1 กลุ่มที่ 1 คือ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 กลุ่มนี้จะได้รับการช่วยเหลือให้หลุดพ้น
จากการเป็นหนี้เสีย หรือได้รับการพักชำระหนี้เพื่อผ่อนปรนภาระเป็นการชั่วคราว แบ่งแนวทาง
การช่วยเหลือออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ลูกหนี้รายย่อย ซึ่งส่วนใหญ่มีหนี้เสียกับธนาคารออมสิน
และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รัฐบาลได้กำหนดให้ธนาคารทั้งสองแห่งติดตาม
ทวงถามหนี้ตามสมควร และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้กลุ่มนี้ เพื่อให้ไม่เป็นหนี้เสียอีกต่อไป 2) ลูกหนี้
SMEs สถาบันการเงินของรัฐจะเข้าไปช่วยเหลือผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้
SMEs ที่อยู่กับแบงค์รัฐ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เป็นระยะเวลา 1 ปี
4.2 กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมากจนเกินศักยภาพในการชำระ
คืนหนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มข้าราชการ ครู ตำรวจ ทหาร ที่มักจะมีหนี้กับสถาบันการเงิน
และกลุ่มที่เป็นหนี้บัตรเครดิต จะได้รับการช่วยเหลือผ่าน 3 แนวทางด้วยกัน แนวทางแรก คือการลดดอกเบี้ย
สินเชื่อไม่ให้สูงจนเกินไป เพราะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ประจำและถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แนวทางที่สอง จะต้อง
โอนหนี้ทั้งหมดไปไว้ในที่เดียว เช่น ที่สหกรณ์ เพื่อให้การตัดเงินเดือนนำมาชำระหนี้ทำได้สะดวก และสอดคล้องกับ
รายได้ของลูกหนี้ แนวทางสุดท้าย คือบังคับใช้หลักเกณฑ์การตัดเงินเดือน ให้ลูกหนี้มีเงินเดือนเหลือ
เพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี
4.3 กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน ทำให้การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง เช่น เกษตรกร
ลูกหนี้เช่าซื้อ และลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กลุ่มนี้จะได้รับการช่วยเหลือ โดยการพักชำระหนี้
เป็นการชั่วคราว การลดดอกเบี้ย หรือลดเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดให้ต่ำลง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้
ของลูกหนี้ สำหรับลูกหนี้เกษตรกร รัฐบาลได้มีโครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรแล้ว โดยพักทั้งหนี้เงินต้น
และดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งโครงการนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมการพักหนี้กว่า 1.5 ล้านราย เป็นต้น
4.4 กลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้างเป็นระยะเวลานาน กลุ่มนี้จะโอนไปยังบริษัทบริหาร
สินทรัพย์ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินของรัฐ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งจะทำให้การปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้เป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น
71
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
71
ภาพที่ 42 แนวนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขหนี้ในระบบให้กับประชาชนแต่ละกลุ่ม
ที่มา: สศค.
สำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ รัฐบาลได้ประกาศ ?การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ?
เป็นวาระแห่งชาติ โดยจะมีการบูรณาการหลายภาคส่วนเข้ามาทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ
และกระทรวงการคลัง เพื่อไม่ให้ประชาชนกลับไปอยู่ในวงจรหนี้สินนอกระบบอีก โดยภาครัฐจะรับ
บทบาทเป็นตัวกลางสำคัญในการไกล่เกลี่ยพร้อมกันทั้งหมด ดูแลทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างเป็นธรรม
ตั้งแต่ต้นกระบวนการจนถึงการปิดหนี้ การทำสัญญาที่หลายครั้งไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย มีดอกเบี้ย
ที่ไม่เป็นธรรม และกระบวนการทวงหนี้ที่ใช้ความรุนแรง ต้องจัดให้ทำสัญญาที่เป็นธรรมและเป็นไปตาม
กฎหมาย
ทั้งนี้ ในส่วนของบทบาทของกระทรวงการคลังในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ จะมีการดำเนินการ
ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้ลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อในระบบ ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยถูกต้อง
ตามกฎหมาย นอกจากสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์แล้ว สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน
และ ธ.ก.ส. มีโครงการสินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ระยะเวลาการกู้ยืมนาน
2) การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นหนี้นอกระบบซ้ำอีก โดยธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. มีจุดบริการให้
คำปรึกษาหนี้นอกระบบ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้ร่วมกับหน่วยงานอื่นจัดทำแผนปฏิบัติการ
ด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน และ 3) การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพ
และการหารายได้ของลูกหนี้ โดย ธ.ก.ส. มีโครงการฟื้นฟูศักยภาพในการประกอบอาชีพ เน้นเทคโนโลยี
นวัตกรรม เพิ่มรายได้ ขณะที่ ธนาคารออมสิน มีโครงการปั้นงาน ปั้นเงิน และหลักสูตรอบรม Online เสริม
ทักษะ พัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้
5. การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของต่างประเทศ
5.1 ประเทศเกาหลีใต้
ประเทศเกาหลีใต้ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูง โดยในไตรมาสที่ 3
ปี 2566 มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 104.5 ต่อ GDP โดยหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย และหนี้ส่วนบุคคล
ดังนั้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนจึงถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่รัฐบาลเกาหลีใต้ให้ความสนใจ
ในปี 2556 ประธานาธิบดี ปัก กึน เฮ ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน
ภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือนของผู้มีรายได้น้อย ทำให้มีการจัดตั้ง ?กองทุนความสุข
72
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
72
แห่งชาติ? หรือ The National Happiness Fund เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีรายได้น้อยและมีปัญหาหนี้
มาเป็นเวลานานให้สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือของรัฐบาลในการปรับโครงสร้างหนี้ โดยผู้ที่จะได้รับ
ความช่วยเหลือจะต้องมีคุณสมบัติ ได้แก่ 1) มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 990,000 วอน (ประมาณ 30,000 บาท)
และ 2) มีปัญหาในการชำระหนี้มาเป็นเวลาเกิน 10 ปี โดยมีการประมาณการณ์ว่าโครงการนี้จะสามารถ
จัดการหนี้ครัวเรือนให้กับลูกหนี้ชาวเกาหลีใต้ได้กว่า 2.84 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้กว่า 6.2 ล้านล้านวอน
(ประมาณ 2 แสนล้านบาท)
เนื่องจากหนี้เพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนที่สูงมากต่อหนี้รวมทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม 2564
รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัยมูลค่า 30 ล้านล้านวอน (ประมาณ 8 แสนล้านบาท)
เพื่อให้ครัวเรือนได้ปรับโครงสร้างสินเชื่อจากสินเชื่อบ้านที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นสินเชื่อที่มีอัตรา
ดอกเบี้ยคงที่ที่ร้อยละ 3 สำหรับที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 400 ล้านวอน (11 ล้านบาท) ของครอบครัวที่มี
รายได้ปีละไม่เกิน 70 ล้านวอน (1.8 ล้านบาท) นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับ
การควบคุมอัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value: LTV) รวมไปถึงข้อกำหนด
เกี่ยวกับอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (Debt to Income: DTI) เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อบ้านที่เพิ่มขึ้น
สำหรับในฝั่งสถาบันการเงินยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราส่วนปริมาณสินเชื่อต่อยอดเงินฝาก (Loan-to-
Deposit Ratio: LDR) ที่ช่วยควบคุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งหลังจากมี
การใช้ข้อกำหนดนี้ พบว่า LDR มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 100 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 เนื่องจากเงินทุน
ระยะสั้นของธนาคารลดลงและเงินฝากเพิ่มขึ้น
ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ (Bank of Korea: BOK) ได้จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ
เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนเพื่อศึกษาสถานการณ์ของหนี้ครัวเรือนและกำหนดนโยบายที่มี
ประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของภาคธนาคาร BOK ก็ได้แนะนำให้
ภาคธนาคารมีการวิเคราะห์และประเมินหาจุดเปราะบางในภาคสถาบันการเงินจากสถานการณ์วิกฤติ
(Stress Test) และมีการพัฒนาและปรับปรุงแบบจำลองสำหรับการทำ stress test อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ BOK ยังแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเ งินทั้งใน
และต่างประเทศผ่านการจัดประชุมเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจมหภาค (The
Macroeconomic and Financial Stability Meetings) และการประชุมกับที่ปรึกษาด้านการบริหาร
จัดการหนี้ครัวเรือนเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงทางการเงินภายในและภายนอกประเทศ
และหารือเพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเสถียรภาพภาคการเงินร่วมกัน
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่งคั่งทางการเงินให้กับคนรุ่นใหม่ รัฐบาลได้มีนโยบาย
สนับสนุนให้ธนาคารเปิดรับฝากเงินในบัญชีที่มีชื่อว่า ?Youth Leap Saving Account? สำหรับให้ผู้ที่มี
อายุ 19 ? 34 ปี ที่มีรายได้ไม่เกินปีละ 60 ล้านวอน (ประมาณ 1.4 ล้านบาท) ได้ฝากเงินในบัญชีเดือนละ
7 แสนวอน (ประมาณ 20,000 บาท) ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 เป็นเวลา 5 ปี เพื่อให้มีเงินสะสมสิ้นงวดที่
50 ล้านวอน
5.2 ประเทศในกลุ่มนอร์ดิก (ประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวีเดน)
ประเทศในกลุ่มนอร์ดิก โดยเฉพาะประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวีเดนถือเป็นประเทศที่มีสัดส่วน
หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ใกล้เคียงกับประเทศไทย คืออยู่ที่ร้อยละ 89.10 และ 87.05 ต่อ GDP ตามลำดับ
(ประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 90.90 ต่อ GDP) โดยหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย ดังนั้น
แนวทางการบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจึงเน้นไปที่การควบคุมหนี้เพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย
แต่จะมีแนวทางการออกนโยบายที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
73
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
73
1) ประเทศนอร์เวย์ เน้นการออกนโยบาย Macroprudential เพื่อควบคุมความร้อนแรงของภาค
อสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย การควบคุมอัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value:
LTV) ให้เข้มงวดขึ้น โดยควบคุมการปล่อยกู้ไม่เกินร้อยละ 85 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะกู้ รวมไปถึง
การกำหนดให้ผู้กู้ยังต้องมีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ (Debt to Income: DTI) ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้
ยังรวมถึง การกำหนดอัตราการชำระเงินต้นขั้นต่ำ โดยเฉพาะผู้กู้ที่ได้รับสัดส่วน LTV ที่สูง เพื่อให้ผู้กู้มี
การชำระเงินต้นในระดับที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดระดับหนี้โดยรวมได้
2) ประเทศสวีเดน เน้นการออกนโยบาย Macroprudential ร่วมกับมาตรการทางการคลัง เช่น
การกำหนดอัตราการให้สินเชื่อต่อรายได้ (Loan to Income: LTI) การกำหนดอัตราการชำระเงินต้นขั้นต่ำ
การกำหนดให้ธนาคารทำ Stress Test เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารสามารถผ่านพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจ
หรือ Shock ได้ แต่ในขณะเดียวกันเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงที่อยู่อาศัยก็มีมาตรการเพื่อส่งเสริมการเข้าถึง
ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในราคาไม่แพงเกินไป อันจะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้เพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยได้
อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ในปัจจุบันสวีเดนมีมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย
ซึ่งทางองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้มีคำแนะนำให้สวีเดนยกเลิก
มาตรการลดหย่อนอย่างค่อยไปค่อยไป พร้อม ๆ กับการปฏิรูปภาษีฐานทรัพย์สินให้สามารถจัดเก็บภาษี
ตามมูลค่าสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และบรรเทาปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง
6. ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน
6.1 ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนเชิงนโยบาย
ในระยะต่อไป การดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน จะต้องมี
การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแก้หนี้เดิมให้กลับสู่ระดับที่ยั่งยืน (หรือต่ำกว่า
ร้อยละ 80 ของ GDP) เพื่อไม่ให้ระดับหนี้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและการขยายตัว
ของเศรษฐกิจในระยะยาว และต้องทำให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ในอนาคตลดลง ทั้งในภาคเกษตร
ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน นอกจากนี้ ควรดำเนินการในด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย
1) สร้างความตระหนักรู้ทางการเงินให้แก่ครัวเรือน เพื่อไม่ให้เกิดการใช้จ่ายและการก่อหนี้ที่เกินตัว
ตระหนักถึงความสำคัญของการออมและการลงทุน รู้จักวางแผนการเงินและบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้
กระทรวงการคลังมีแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565 - 2570 สำหรับเป็นกรอบ
นโยบายและกลไกการบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางการเงินของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุน
การแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน
2) สร้างรายได้เพิ่มให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคง โดยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ เพื่อให้แรงงานมีรายได้มากขึ้น ลดการก่อหนี้เพิ่มได้ทางหนึ่ง
3) เพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยส่งเสริม
การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานชั้นสูงเพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างตามความสามารถในการปฏิบัติงาน
ให้แรงงานมีรายได้สูงขึ้น ในขณะเดียวกันกิจการเองก็ยังได้รับผลผลิตสอดคล้องกับค่าจ้าง มีกำไร ธุรกิจ
เติบโตต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังดำเนินการยกระดับทักษะ (Up-Skill) รองรับเศรษฐกิจใหม่ และพัฒนา
หลักสูตรเพื่อผลิตและยกระดับทักษะเยาวชนไทย ให้เป็นแรงงานคุณภาพที่มีฝีมือตรงตามความต้องการ
ของตลาดแรงงาน
นอกจากนั้น ควรส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพใหญ่ของประเทศ ให้ประเทศ
มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมและต่อเนื่อง ผ่านการส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย ลดต้นทุนของการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการลงทุน
74
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
74
จากต่างประเทศ ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน ให้แรงงานมีทักษะการทำงานที่ตรงกับความต้องการ
ของตลาด และทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งส่งเสริม
การท่องเที่ยว และดูแลค่าสาธารณูปโภคไม่ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นภาระแก่ครัวเรือน เช่น ค่าไฟฟ้า
ราคาน้ำมัน เช่นที่รัฐบาลกำลังช่วยอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาหนี้ให้กับประชาชน จะดำเนินการในแต่ละด้านดังกล่าวไปพร้อม ๆ กัน
และอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วย เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ลดภาระหนี้ให้กับครัวเรือน
พร้อมกับสร้างรายได้ให้ครัวเรือนอย่างมั่นคงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของครัวเรือนเอง จะนำมาซึ่งการสร้าง
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศอีกด้วย
6.2 ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของประชาชน
การก่อหนี้ของภาคประชาชนโดยส่วนใหญ่แล้ว มีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับ
รายจ่าย ไม่สามารถหารายได้มาสนองความจำเป็นทางด้านค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอย่างพอเพียง
และขาดการวางแผนทางด้านการเงินและการบริการจัดการหนี้สินที่ดีจนก่อให้เกิดปัญหาหนี้สิน นอกจากนี้
ยังรวมไปถึงทัศนคติและพฤติกรรมทางการเงินของบุคคลที่มีต่อการบริโภคนิยมทำให้เกิดความต้องการ
บริโภคเกินจำเป็นและมากกว่าความสามารถในการสร้างรายได้ สำหรับในบทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอ
วิธีการปลดหนี้ 3 รูปแบบ โดยอ้างอิงแนวทางการบริหารจัดการหนี้ของ Primeway Federal Credit
Union พร้อมข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนี้
1) วิธีการชำระหนี้แบบเกล็ดหิมะ (Snowflake Method) สามารถเทียบได้กับเกล็ดหิมะในพายุ
หิมะตามชื่อ โดยเกล็ดหิมะไม่ได้มีความหมายมากนักเมื่อตกลงมาจากท้องฟ้า แต่เมื่อนำมารวมกันแล้ว
พวกมันจะมีผลกระทบอย่างมาก ในทำนองเดียวกัน ลูกหนี้ที่ใช้กลยุทธ์เกล็ดหิมะจะนำเงินออมเล็ก ๆ น้อย ๆ
ใดก็ตามที่พวกเขาได้รับในแต่ละวันมาใช้กับแผนการชำระหนี้ของตน ในที่สุดแล้ว การสะสมการชำระเงิน
จำนวนเล็กน้อยเหล่านี้จะส่งผลให้สามารถปลดหนี้ได้ทั้งหมด โดยข้อดีของวิธีการนี้ คือ มีความยืดหยุ่น
เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดสำหรับการชำระหนี้ตายตัว แต่ผลลัพธ์อาจมีจำกัด เนื่องจากอาจไม่ช่วยแก้ปัญหา
หนี้ที่มีขนาดใหญ่
2) วิธีการชำระหนี้แบบลูกบอลหิมะ (Snowball Method) วิธีนี้จะมีการกำหนดแผนการชำระ
หนี้ที่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากวิธีการชำระหนี้แบบเกล็ดหิมะ โดยวิธีการชำระหนี้แบบลูกบอลหิมะ ลูกหนี้จะจัดลำดับ
ความสำคัญของหนี้ตามจำนวนเงินที่ค้างชำระจากน้อยไปมาก จากนั้นลูกหนี้จะมุ่งเน้นไปที่การชำระหนี้ที่มี
ขนาดเล็กที่สุดก่อน ขณะเดียวกันก็ชำระหนี้อื่น ๆ ทั้งหมดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อหนี้ก้อนแรกหมดลงแล้ว
ย้ายไปมุ่งเน้นหนี้ก้อนที่มีขนาดใหญ่กว่าถัดไปเรื่อย ๆ จนกว่าลูกหนี้จะปลดหนี้โดยสมบูรณ์ วิธีดังกล่าว
มีข้อดี คือ มีแผนการชัดเจน ช่วยให้มีเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ วิธีนี้ยังเหมาะกับผู้มีรายได้
จำกัด ช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกหนี้มีความพยายามในการชำระหนี้ อย่างไรก็ดี ยังมีข้อเสีย คือ อาจใช้เวลา
ในการชำระหนี้ที่มีทั้งหมดนานกว่าการชำระหนี้แบบหิมะถล่ม เพราะปล่อยหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงเอาไว้
3) วิธีการชำระหนี้แบบหิมะถล่ม (Avalanche Method) จะใช้แนวทางตรงกันข้ามกับ
การจัดการหนี้จากวิธีลูกบอลหิมะ แทนที่จะจัดลำดับความสำคัญของหนี้จากจำนวนเงินที่น้อยที่สุดไปหา
มากที่สุด วิธีนี้มุ่งเน้นไปที่การชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน จากนั้นค่อยจัดการกับหนี้ที่มีอัตรา
ดอกเบี้ยที่น้อยกว่าถัดลงมา ทั้งนี้ วิธีการชำระหนี้แบบหิมะถล่มถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์จัดการหนี้ที่มี
ประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง เนื่องจากสามารถลดจำนวนเงินที่ลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยได้อย่างมากและทำให้การลด
หนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี วิธีการดังกล่าว ลูกหนี้ต้องมีวินัยและควบคุมตนเอง
75
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
75
ตารางที่ 11 เปรียบเทียบรายละเอียดวิธีการปลดหนี้ 3 รูปแบบ ข้อดีและข้อเสีย
วิธีการ รายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย
1. วิธีการชำระหนี้แบบเกล็ด
หิมะ (Snowflake Method)
เปรียบการปลดหนี้เหมือนเกล็ด
หิมะเล็ก ๆ ที่ค่อย ๆ สะสม
จนกลายเป็นหิมะทับถม
เกล็ดเงินเล็ก ๆ จากการประหยัด
แต่ละวัน เมื่อมารวมกันก็มี
ผลกระทบมาก
? ยืดหยุ่น ไม่มีกำหนดการ
ชำระเงินที่ตายตัว
? ช่วยให้ใส่ใจการใช้จ่ายมาก
ขึ้น แม้กับยอดเงินเล็กน้อย
? ผลกระทบจำกัด ไม่ช่วย
ปลดหนี้ก้อนใหญ่ ๆ ได้เร็ว
? ขาดการวางแผนหรือ
ระเบียบที่ชัดเจน อาจ
ส่งผลเสียต่อการจัดการหนี้
ในระยะยาว
2. วิธีการชำระหนี้แบบลูกบอล
หิมะ (Snowball Method)
จัดลำดับหนี้ตามยอดเงินจาก
น้อยไปมาก โดยมุ่งปลดหนี้
ขนาดเล็กก่อนชำระหนี้ก้อนอื่น
จ่ายหนี้เล็กจนหมดแล้วจึงไปหนี้
ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นถัดไป
? มีแผนการชัดเจน ช่วยให้มี
เป้าหมายและแนวทาง
ที่ชัดเจน
? เหมาะกับผู้มีรายได้จำกัด
? เพิ่มแรงจูงใจ การเห็นหนี้
เล็ก ๆ หมดไปทีละราย
กระตุ้นให้สู้กับหนี้ก้อน
ที่ใหญ่กว่า
? เสียค่าใช้จ่ายมากกว่า
เพราะชำระขั้นต่ำกับหนี้
ดอกเบี้ยสูง
? ใช้เวลานานกว่า เพราะปล่อย
หนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงเอาไว้
3. วิธีการชำระหนี้แบบหิมะ
ถล่ม (Avalanche Method)
มุ่งเน้นปลดหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน
แล้วค่อย ๆ ปลดหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ
? คุ้มค่า ช่วยลดดอกเบี้ย
ได้มากที่สุด
? รวดเร็ว ปลดหนี้ดอกเบี้ยสูง
ก่อน
? ต้องมีวินัยมาก เนื่องจาก
การพลาดชำระหนี้ดอกเบี้ย
สูงอาจส่งผลเสียหาย
ค่อนข้างมาก
? ขาดแรงจูงใจ ผลลัพธ์ไม่ชัดเจน
เหมือนวิธีการชำระหนี้
แบบลูกบอลหิมะ
ที่มา: Primeway Federal credit Union รวบรวมโดย สศค.
7. บทสรุป
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 80 ต่อ GDP ซึ่งเป็นระดับ
ที่สูงกว่าเกณฑ์ที่การศึกษาของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ หรือ BIS ที่ระบุเอาไว้ว่า
จะมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การเป็นหนี้เรื้อรังของประชาชนอาจลุกลามไปสู่
ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ เช่น ปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้ ปัญหาการก่ออาชญากรรม อีกทั้งเมื่อไทยเข้าสู่
สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาหนี้จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ผนวกกับ
ความร่วมมือและความพยายามในการแก้ไขปัญหาของภาคประชาชน จึงมีความสำคัญในการลดระดับหนี้
ครัวเรือนของไทยอย่างยิ่งยืน
หากพิจารณาในหลายๆ ประเทศ พบว่า ต่างก็มีอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูง
และรัฐบาลของแต่ละประเทศต่างก็ถือว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาสำคัญต่อเศรษฐกิจ และมีแนวทาง
การบรรเทาปัญหาหนี้ครัวเรือนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศนอร์ดิกที่มีมาตรการบรรเทาปัญหาหนี้
ครัวเรือนหลาย ๆ ประการ ทั้งการกำหนดสัดส่วน LTV LTI และ DTI เพื่อควบคุมระดับความเสี่ยง
ของลูกหนี้ การทำ Stress Test เพื่อป้องกันความเสี่ยงของผู้ให้กู้ รวมไปถึงการส่งเสริมการเข้าถึงที่อยู่อาศัย
ราคาถูกของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งหมดนี้เป็นผลให้ระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของประเทศกลุ่มนี้ลดลง
อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มาตรการบรรเทาปัญหาหนี้ครัวเรือนของเกาหลีใต้ ทั้งในด้านการจัดตั้ง
กองทุนเพื่อปรับโครงสร้างหนี้อสังหาริมทรัพย์ การจัดตั้งองค์กรเพื่อให้คำปรึกษาการบริหารจัดการหนี้ ก็ถือเป็น
แนวทางที่น่าสนใจสำหรับประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการหนี้ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
76
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
76
สำหรับกรณีของประเทศไทย ในปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้
ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยสำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้ในระบบ รัฐบาลได้เตรียมแนวทางช่วยเหลือ
ที่แตกต่างกันตามสาเหตุของปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม สำหรับการแก้ไข
ปัญหาหนี้นอกระบบ รัฐบาลได้ประกาศ ?การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ? เป็นวาระแห่งชาติ โดยจะมี
การบูรณาการหลายภาคส่วนเข้ามาทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และกระทรวงการคลัง เพื่อไม่ให้ประชาชน
กลับไปอยู่ในวงจรหนี้สินนอกระบบอีก ขณะที่ สำหรับแนวทางการบริหารจัดการหนี้ครัวเรือนของประชาชน
ผู้เขียนได้เสนอวิธีการบริหารจัดการหนี้ 3 รูปแบบ ได้แก่ วิธีการชำระหนี้แบบเกล็ดหิมะ (Snowflake
Method) วิธีการชำระหนี้แบบลูกบอลหิมะ (Snowball Method) และวิธีการชำระหนี้แบบหิมะถล่ม
(Avalanche Method) พร้อมข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี เพื่อเป็นแนวทางการปรับใช้ของประชาชน
ทั้งนี้ การเป็นหนี้ไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป หนี้ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจเพื่อช่วย
บรรลุคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นโดยการบริหารรายจ่ายในปัจจุบันและรายได้ในอนาคต การปล่อยกู้แก่ลูกหนี้
ที่มีสุขภาพการเงินดีจะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้มากขึ้น โดยลูกหนี้สามารถนำเงินที่ได้ไปลงทุน
จับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อทรัพย์สินหรือหมุนเวียนในธุรกิจโดยไม่เกินความสามารถในการชำระคืน อันจะ
ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ รวมทั้ง เพิ่มจำนวนเงินในระบบทั้งประเทศ บทความนี้มุ่งหวังให้
ผู้อ่านตระหนักถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปัจจุบัน และระมัดระวังในการก่อหนี้ครัวเรือนเท่าที่จำเป็น
ไม่ก่อหนี้เกินตัว และมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการหนี้ในระยะสั้นและยาว เพื่อให้สามารถมีสุขภาพ
การเงินที่ดีและบริหารจัดการหนี้ได้อย่างยั่งยืน
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2566 (6 เดือนแรก).
[ออนไลน์]. 2566. แหล่งที่มา: https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/qC
[19กุมภาพันธ์ 2567]
ภาษาอังกฤษ
Bank of Korea. (2017) Macroprudential frameworks, implementation and relationship with
other policies in Korea. [online] Available from: https://www.bis.org/publ/bppdf/
bispap94p.pdf
[Accessed 18 February 2024]
BBC. (2017) ?Happiness Fund? to help pay debts for up to 1.6m Koreans. [online] Available
from: https://www.bbc.com/news/business-42177172/
[Accessed 17 February 2024
European Systematic Risk Board. (2021) Notification template for borrower-based measures.
[online] Available from:
https://www.esrb.europa.eu/pub/pdf/other/Esrb.notification230202_BBM_NO~c70a730a75.en.pdf
[Accessed 17 February 2024]
Government of Norway. (2023) The lending regulation. [online] Available from:
https://www.regjeringen.no/en/topics/the-economy/finansmarkedene/the-lendingregulation/
id2950571/
77
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
77
[Accessed 18 February 2024].
Han, B., Ahmed, R., Aizenman, J., Jinjarak, Y. (2024) Sectoral Debt and Global Dollar
Cycles in Developing Economies. [online] Available from:
https://www.imf.org/en/Publications/WP/Issues/2024/02/16/Sectoral-Debt-and-
Global-Dollar-Cycles-in-Developing-Economies-544447
[Accessed 19 February 2024].
Lombardi, M., Mohanty, M., Shim, I. (2017) The real effects of household debt in the
short and long run. [online] Available from: https://www.bis.org/publ/work607.htm
[Accessed 19 February 2024].
Muthitacharoen, A., Nuntramas, P., & Chotewattanakul, P. (2015). Rising Household Debt:
Implications for Economic Stability. [online] Available from:
https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/research-andpublications/
seminars/symposium/2557/paper4-2557.pdf
[Accessed 19 February 2024].
Primeway Federal Credit Union. Making Sense of Debt Management: Snowflake, Snowball,
and Avalanche. [online] Available from: https://www.primewayfcu.com/blog/debtmanagement-
snowflake-snowballavalanche#:~:text=The%20Snowflake%20Method
&text=In%20the%20same%20way%2C%20debtors,result%20in%20total%20debt%
20relief.
[Accessed 19 February 2024]
Suwanik, S., & Peerawattanachart, K. (2018). Household Debt in SEACEN Economies. In M.
T. Punzi (Ed.), Household Debt in SEACEN Economies. [online] Available from:
https://www.researchgate.net/profile/Suparit-Suwanik/publication/340939649_
HOUSEHOLD_DEBT_IN_SEACEN_ECONOMIES_THAILAND/links/5ea66bf145851553fab
2d5de/HOUSEHOLD-DEBT-IN-SEACEN-ECONOMIES-THAILAND.pdf
[Accessed 19 February 2024].
78
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
78
การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีต่อ GDP
โดยใช้ตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) เปรียบเทียบระหว่างรายจ่ายเงินโอน
ให้ประชาชนทั่วไปและเงินโอนให้ผู้มีรายได้น้อย10
บทสรุปผู้บริหาร
? ตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) คือ เครื่องมือในการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้
จ่ายรัฐบาล (หรือการลดอัตราภาษี) ว่าเงินที่รัฐบาลใช้ในการดำเนินนโยบายการคลังก่อให้เกิด มูลค่าทาง
เศรษฐกิจเป็นกี่เท่าของเงินตั้งต้น
? ทั้งนี้ หากใช้แนวคิดตัวคูณทางการคลังในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่าย
ภาครัฐที่มีต่อ GDP ภายใต้การคำนวณแบบเศรษฐกิจเปิด (Open Economy) อ้างอิงหลักการคำนวณ
ตามคู่มือการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP โดยตัวคูณทางการคลัง (Fiscal
Multipliers) สำนักงบประมาณของรัฐสภา พบว่า ตัวคูณทางการคลังของรายจ่ายเงินโอนให้ประชาชน
ทั่วไปมีค่า 0.94 เท่า ขณะที่รายจ่ายเงินโอนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเท่ากับ 1.31 เท่า
การคำนวณตัวคูณทางการคลังในบทความฉบับนี้ เป็นเพียงการคำนวณผลกระทบต่อ GDP
ตามแบบจำลองอย่างง่ายของ Keynes โดยอาศัยหลักการคำนวณที่ประยุกต์จากคู่มือการวิเคราะห์
ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP โดยตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multipliers) สำนักงบประมาณ
ของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปี 2564 โดยนำมาปรับเปลี่ยนวิธีการอธิบาย
และปรับปรุงข้อมูลให้มีความสมบูรณ์เป็นปัจจุบันมากขึ้น
ตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) คือ การวิเคราะห์การใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นนั้น
(หรือการลดอัตราภาษี) จะก่อให้เกิด GDP ในระบบเศรษฐกิจเท่าใด ซึ่งตัวคูณทางการคลังจะมี
ความแตกต่างกันไปตามค่าความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to
Consume: MPC) และความโน้มเอียงในการนำเข้าหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Import:
MPM) ของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รายละเอียด ดังนี้
1. แนวคิดการคำนวณตัวคูณทางการคลัง
1.1 ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Consume:
MPC) ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบปิด (Closed Economy)
John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เขียนทฤษฎีแนวคิดทฤษฎี
การบริโภค อธิบายโดยสรุปได้ว่า รายได้ที่ใช้จ่ายได้หรือรายได้หลังหักภาษี (Disposable Income)
ของบุคคล จะถูกแบ่งออก 2 ส่วน คือ เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนหนึ่งและการออมอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้น
เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจะถูกใช้จ่ายเพื่อบริโภค อีกส่วนหนึ่งจะเป็นเงินออม โดยนักเศรษฐศาสตร์ได้ใช้
ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น
10 ผู้เขียน : ดร. นรพัชร์ อัศววัลลภ ผู้อำนวยการส่วนนวัตกรรมข้อมูลเศรษฐกิจและงานวิจัย และ ดร. กวิน เอี่ยมตระกูล
เศรษฐกรชำนาญการ ขอขอบคุณนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำหรับคำแนะนำ อนึ่ง
บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ได้สะท้อนความเห็นของหน่วยงาน
79
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
79
(Marginal Propensity to Consume: MPC) เป็นเครื่องมือในการวัดค่าของการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้ 1 หน่วย ทั้งนี้ พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนจะมี
ความแตกต่างกันไปตามระดับรายได้ กล่าวคือ MPC ของผู้มีรายได้สูงจะมีค่าต่ำกว่า MPC ของผู้มีรายได้
น้อย เนื่องจาก ผู้มีรายได้น้อยนั้นการจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของตัวเองและครอบครัว
ย่อมมีความสำคัญและจำเป็นมากกว่าการออมและการลงทุน ในทางตรงกันข้ามผู้มีรายได้สูงจะบริโภคลดลง
และออมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตนเองและครอบครัวมีปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอต่อการดำรงชีพแล้ว
หากใช้หลักความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น ในกรณีของผู้มีรายได้น้อยนั้นย่อมมี
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าคนที่มีรายได้สูง จากการคำนวณ MPC โดยอาศัยข้อมูลการสำรวจภาวะ
เศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน (Household Socio-Economic Survey: SES) ล่าสุดปีครึ่งปี พ.ศ. 2566
ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และทำการแบ่งครัวเรือนตามลำดับของรายได้ประจำเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนจาก
น้อยไปมาก ออกเป็น 5 กลุ่ม เท่า ๆ กัน โดยแต่ละกลุ่ม จะมีจำนวนครัวเรือนเป็นร้อยละ 20 ของครัวเรือน
ทั้งหมด โดยกำหนดให้ค่า MPC คำนวณจากรายได้หลังหักภาษี (Disposable Income Income)
ของครัวเรือนซึ่งเป็นรายได้ที่หักภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ และค่าบริการทางการเงินและค่าธรรมเนียม
ขณะที่รายจ่ายคำนวณเฉพาะรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค11
ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยที่สุด (Quintile 1) มีค่า MPC เท่ากับ 0.76
แปลว่า หากครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 100 บาทจะทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้น 76 บาท แต่สำหรับ
ครัวเรือนรายได้มากที่สุด (Quintile 5) MPC มีค่า 0.42 แสดงว่าหากครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 100 บาท
ก็จะบริโภคเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอยู่ที่ 42 บาท เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเมื่อประชาชนมีรายได้มากขึ้น สัดส่วน
รายได้ที่นำไปใช้บริโภคจะลดลง รายละเอียดดังภาพที่ 43
ภาพที่ 43 ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น
(Marginal Propensity to Consume: MPC) จำแนกตามระดับรายได้
ค่า MPC
ที่มา: ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ครึ่งปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดย สศค.
11 การวิเคราะห์สมการความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน สศค. ใช้วิธีควอนไทล์ (Quantile Regression)
โดยกำหนดช่วงของข้อมูลที่ค่าเฉลี่ยหรือ Percentile ที่ 50 ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวเหมาะกับการทำวิเคราะห์ข้อมูลที่มีการแจกแจก
มีลักษณะไม่สมมาตร (Asymmetric) และมีค่าผิดปกติ (Outlier) จำนวนมาก
80
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
80
1.2 ความโน้มเอียงในการนำเข้าหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Import: MPM)
ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economy) ภาคการค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญ
โดยการบริโภคของประชาชนนั้น นอกจากจะได้มาจากการผลิตในประเทศแล้ว ยังสามารถนำเข้าสินค้า
เพื่อมาบริโภคได้เช่นกัน โดยเมื่อประชาชนในประเทศสั่งสินค้านำเข้ามาจะต้องชำระค่าสินค้า ทำให้เกิด
ส่วนรั่วไหลที่ไม่ก่อให้เกิด GDP ขึ้น ถ้าต้องการพิจารณาว่าเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะทำให้ปริมาณ
สินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นเท่าใด ค่าที่ได้นี้เรียกว่าความโน้มเอียงในการนำเข้าสินค้าหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal
Propensity to Import : MPM) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานศึกษาฉบับนี้ คือ เมื่อรายได้
ของประชาชนเพิ่มขึ้น ประชาชนจะเพิ่มการบริโภคสินค้าและบริการ โดยบางส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ
ซึ่งมีสูตรดังนี้
?????? =
???
???
?
???
???
= ?????? ?
???
???
(1)
เมื่อ
???
???
= การเปลี่ยนแปลงของการบริโภค เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของรายได้ หรือค่า MPC
???
???
= การเปลี่ยนแปลงของการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภค เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของบริโภค
ในกรณีของประชาชนทั่วไป จากการวิเคราะห์ด้วยตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ปี พ.ศ. 2558
พบว่า สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคเท่ากับ 0.22 ขณะที่กรณีประชาชนผู้มีรายได้น้อย
การคำนวณสัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคจะพิจารณาจากรายการสินค้าที่ผู้ถือบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐซื้อในร้านธงฟ้าประชารัฐ โดยงานศึกษาของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า
ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนใหญ่ซื้อข้าวสารสูงถึงร้อยละ 25.2 ของค่าใช้จ่าย รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์
ซักผ้าและของใช้ประจำวันที่มีสัดส่วนร้อยละ 13.8 และ 12.1 ตามลำดับ รายละเอียดดังภาพที่ 44 ทั้งนี้
หากพิจารณาสัดส่วนการนำเข้าสินค้า (Import Content) ของสินค้าผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อในร้านธง
ฟ้าประชารัฐ ผ่านการวิเคราะห์ด้วยตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต พบว่า อาหารแห้ง ผลิตภัณฑ์ซักผ้า
และของใช้ในชีวิตประจำวัน มีสัดส่วนการนำเข้าสูงเป็น 3 ลำดับแรก โดยมีสัดส่วนการนำเข้าที่ร้อยละ 41.2
34.2 และ 29.8 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลทั้งสองชุดมาคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก จะได้ค่าสัดส่วน
การนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเท่ากับ 0.16 รายละเอียดดังตารางที่ 12
ดังนั้น ผลการวิเคราะห์จึงชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคของผู้ถือบัตรสวัสดิการ
แห่งรัฐต่ำกว่า สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคของประชาชนทั่วไป
81
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
81
ภาพที่ 44 สัดส่วนรายการสินค้าที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อในร้านธงฟ้าประชารัฐ
ที่มา: โครงการกิจกรรมยกระดับศักยภาพร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐในการติดตาม
ผลการดำเนินโครงการธงฟ้าประชารัฐ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 12 ความโน้มเอียงในการนำเข้าหน่วยที่เพิ่มขึ้นของผู้ถือบัตรสวัสดิการใช้ซื้อสินค้าในร้านธงฟ้า
ประชารัฐ
รายการสินค้า สัดส่วนรายการสินค้าที่ผู้ถือบัตร
สวัสดิการใช้ในร้านธงฟ้าประชารัฐ
สัดส่วนการนำเข้า
(Import Content)
สัดส่วนการนำเข้า
ต่อการบริโภค
ข้าวสาร 25.2% 0.7% 0.002
ผลิตภัณฑ์ซักผ้า 13.8% 34.2% 0.047
ของใช้ประจำวัน 12.1% 29.8% 0.036
เครื่องดื่ม 10.8% 18.5% 0.020
ไข่ 9.6% 1.1% 0.001
เครื่องปรุงอาหาร 8.6% 9.4% 0.008
น้ำมันพืช 7.6% 20.2% 0.015
อาหารแห้ง 5.8% 41.2% 0.024
เนื้อสัตว์ 4.0% 2.5% 0.001
ผักและผลไม้ 2.5% 8.0% 0.001
สัดส่วนการนำเข้าต่อการบริโภคเฉลี่ย 0.16
ที่มา: ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ล่าสุดปี 2558 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คำนวณโดย สศค.
ข้าวสาร, 25.2%
ผลิตภัณฑ์ซักผ้า,
13.8%
ของใช้ประจาวัน,
12.1%
เครื่องดื่ม, 10.8%
ไข่, 9.6%
เครื่องปรุงอาหาร,
8.6%
น้ามันพืช, 7.6%
อาหารแห้ง, 5.8%
เนื้อสัตว์, 4.0% ผักและผลไม้, 2.5%
82
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
82
อย่างไรก็ดี การใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตในการวิเคราะห์สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภค
ต่อการบริโภคเพียงอย่างเดียว อาจไม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่
ประเทศเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเนื่องจากมีการจัดทำตารางดังกล่าวทุก 5 ปี และข้อมูล
ล่าสุดคือ ปี พ.ศ. 2558 ดังนั้น ในการคำนวณ MPM คณะผู้เขียนจึงคำนวนจากผลคูณระหว่าง MPC กับ
สัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภคและการเปลี่ยนแปลงการบริโภค (
???
???
)
ทั้งนี้ ในการคำนวณสัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภคและการเปลี่ยนแปลง
การบริโภค (
???
???
) ของประชาชนทั่วไป สศค. จะใช้ข้อมูลเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2556
- ไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2566) เพื่อไม่ให้ข้อมูลมีความความผันผวนมากเกินไป โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้น จึงคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient) ระหว่าง
บริโภคและการนำเข้าเพื่อการบริโภคได้เท่ากับ 0.15 รายละเอียดดังตารางที่ 13
อย่างไรก็ดี วิธีการคำนวณสัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภค
และการเปลี่ยนแปลงการบริโภค (
???
???
) ของประชาชนทั่วไป มีข้อจำกัดคือไม่สามารถจำแนกตามกลุ่ม
รายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ดังนั้น หากใช้สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภค
ที่คำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตของประชาชนทั่วไปที่ 0.22 และสัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภค
ต่อการบริโภคผู้มีรายได้น้อยที่ 0.16 จะอยู่ที่ร้อยละ 72.7 (0.16/0.22) ทำให้สัดส่วนระหว่าง
การเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภคและการเปลี่ยนแปลงการบริโภค (
???
???
) ของผู้มีรายได้น้อย
เท่ากับ 0.11
ตารางที่ 13 การบริโภคภาคเอกชนและการการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภค 10 ปีย้อนหลัง
(ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2556 - ไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2566)
หน่วย : ล้านบาท
ไตรมาส/ปี การบริโภคภาคเอกชน การนำเข้าเพื่อการบริโภค
4 / 2556 1,679,148 195,182
1 / 2557 1,662,983 188,094
2 / 2557 1,783,911 190,925
??? ??? ???
1 / 2566 2,444,749 337,040
2 / 2566 2,626,891 323,055
3 / 2566 2,652,374 334,854
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างบริโภคและการนำเข้าเพื่อการบริโภค 0.15
ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ธปท. คำนวณโดย สศค.
2. การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีต่อ GDP
2.1 กรณีเงินโอนให้ประชาชนทั่วไป
เมื่อภาครัฐเพิ่มรายจ่ายเงินโอนให้แก่ประชาชนทั่วไป การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการโอน
อำนาจซื้อจากรัฐบาลไปสู่ประชาชน ความต้องการสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายจะยังไม่เพิ่มขึ้น และ GDP
83
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
83
ยังคงเดิม ต่อมาเมื่อประชาชนเพิ่มระดับการใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการได้รับเงินโอนจากรัฐบาล จะส่งผลให้
ระดับการบริโภค การนำเข้า และ GDP เพิ่มสูงขึ้นในที่สุด (อาศัยสมมติฐานว่าการซื้อสินค้าและบริการนั้น
เป็นอุปสงค์ใหม่หรือ New Demand ในระบบเศรษฐกิจ ตามสัดส่วน MPC และ MPM ที่กำหนด) ทั้งนี้
การเพิ่มรายจ่ายเงินโอนดังกล่าว จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในรอบการหมุนเวียน การใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
รอบที่ 1 ภาครัฐเพิ่มรายจ่ายเงินโอนแก่ประชาชนทั่วไป ความต้องการสินค้าและบริการ
ขั้นสุดท้ายไม่เพิ่มขึ้น GDP ยังคงเดิม
รอบที่ 2 ประชาชนทั่วไปที่ได้รับเงินโอนจากภาครัฐในรอบก่อนหน้า จะบริโภคและนำเข้า
เพิ่มขึ้น ตามสัดส่วน MPC และ MPM ทำให้มีเงินไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นและ GDP เพิ่มสูงขึ้น
รอบที่ 3 การที่ประชาชนใช้จ่าย และผลักดันให้ GDP สูงขึ้นในรอบก่อนหน้า จะทำให้รายได้
ประชาชนทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ประชาชนจึงบริโภคและนำเข้าเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน MPC
และ MPM ทำให้มีเงินไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น และ GDP เพิ่มสูงขึ้น
รอบถัดไป: เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในรอบที่ 3 อย่างไรก็ดี
ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) ตั้งแต่รอบที่ 10 มีแนวโน้ม (Converge) เข้าสู่ 0
ทั้งนี้ สามารถสรุปการหมุนเวียนของเงินและการใช้จ่ายในรอบต่าง ๆ ของรายจ่ายเงินโอนให้
ประชาชนทั่วไป รายละเอียดดังตารางที่ 14
ตารางที่ 14 การหมุนเวียนของเงินและการใช้จ่ายในรอบต่าง ๆ กรณีโอนเงินให้ประชาชนทั่วไป
รอบ ?C ?I ?G ?X ?M ?GDP ผลการแทนค่า
1
1
-
2 a
ab a(1-b) 0.48
3 a 2(1-b)
a2(1-b)b a2(1-b)2 0.23
4 a3(1-b)2
a3(1-b)2b a3(1-b)3 0.11
5 a4(1-b)3
a4(1-b)3b a4(1-b)4 0.06
??. ?.. ?. ??. ?.. ?.. ?? ??
ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) 0.94
ที่มา: ประยุกต์จากคู่มือการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP โดยตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multipliers)
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
หมายเหตุ: สมมติฐานในการคำนวณ ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) กรณีรายจ่ายเงินโอนให้ประชาชนทั่วไป
มีรายละเอียดดังนี้
? ค่า MPC ของประชาชนทั่วไป หรือ a เท่ากับ 0.57 (คำนวณจากข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม
ของครัวเรือนครึ่งปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
? ค่า ???
???
ของประชาชนทั่วไป หรือ b เท่ากับ 0.15 ทำให้ค่า MPM ของประชาชนทั่วไป เท่ากับ 0.57*0.15 =
0.09 (คำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตล่าสุดปี 2558 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อมูลจาก ธปท.)
? ? คือ การเปลี่ยนแปลง, ?GDP = ?C + ?I+ ?G+ ?X- ?M
? GDP ในที่นี้เป็นเพียง GDP ที่สอดคล้องกับแบบจำลองอย่างง่ายของเคนส์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์
อาจเปลี่ยนแปลงไป หากสมมติฐาน แบบจำลอง และวิธีการคำนวณเปลี่ยนแปลงไป
84
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
84
ภายใต้สมมุติฐาน MPC และ MPM ที่กล่าวมาข้างต้น หากการคำนวณดำเนินต่อไปหลาย ๆ
รอบสามารถคำนวณค่าตัวคูณทางการคลัง กรณีรายจ่ายโอนเงินให้ประชาชนทั่วไป ได้เท่ากับ 0.94 เท่า
หมายความว่า เงิน 100 บาท จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 94 บาท
2.2 กรณีเงินโอนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย
เมื่อภาครัฐให้วงเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย เงินดังกล่าวจะโอนเงินจากรัฐบาล (Transfer) ไปสู่
ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ความต้องการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายจะยังไม่เพิ่มขึ้น และ GDP ยังคงเดิม
โดยเงินจะเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อผู้มีรายได้น้อยนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ โดยอาศัย
สมมติฐานว่าการซื้อสินค้าและบริการนั้นเป็นอุปสงค์ใหม่ (New Demand) ในระบบเศรษฐกิจ ตามสัดส่วน
MPC และ MPM ที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภค การนำเข้า และ GDP เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ รายจ่ายเงิน
โอนดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อรอบหมุนเวียนการใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
รอบที่ 1 ภาครัฐให้วงเงินแก่ผู้มีรายได้น้อย ถือเป็นเงินโอนจากรัฐบาลไปยังผู้มีรายได้น้อย
ความต้องการสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายจะยังไม่เพิ่มขึ้น GDP ยังคงเดิม
รอบที่ 2 ประชาชนผู้มีรายได้น้อยจับจ่ายซื้อสินค้าซึ่งจะเกิดจะบริโภคและนำเข้าตามสัดส่วน
MPC และ MPM ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ (GDP) ขึ้น
รอบที่ 3 เมื่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยใช้จ่าย และผลักดันให้ GDP สูงขึ้นในรอบก่อนหน้า ทำ
ให้รายได้ประชาชนทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จึงเกิดการบริโภคและนำเข้าเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน MPC
และ MPM ทำให้มีเงินไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจส่งผลให้ GDP เพิ่มสูงขึ้น
รอบถัดไป เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในรอบที่ 3 อย่างไรก็ดี
ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) ตั้งแต่รอบที่ 10 มีแนวโน้ม (Converge) เข้าสู่ 0
ทั้งนี้ สามารถสรุปการหมุนเวียนของเงินและการใช้จ่ายในรอบต่าง ๆ ของผู้มีรายได้น้อย
รายละเอียดดังตารางที่ 15
ตารางที่ 15 การหมุนเวียนของเงินและการใช้จ่ายในรอบต่าง ๆ ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
รอบ ?C ?I ?G ?X ?M ?GDP ผลการแทนค่า
1
1
-
2 a
c a(1-c) 0.68
3 ba(1-c)
dba(1-c) ba(1-c)(1-d) 0.33
4 b
2
a(1-c)(1-d)
db
2
a(1-c)(1-d) b
2
a(1-c)(1-d)
2
0.16
5 b
3
a(1-c)(1-d)
2
db
3
a(1-c)(1-d)
2
b
3
a(1-c)(1-d)
3
0.08
??. ?.. ?. ??. ?.. ?.. ?? ??
ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) 1.31
ที่มา: ประยุกต์จากคู่มือการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP โดยตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multipliers)
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
หมายเหตุ: สมมติฐานในการคำนวณ ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) มีรายละเอียดดังนี้
? ค่า MPC ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย หรือ a เท่ากับ 0.76 (คำนวณจากข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจ
และสังคมของครัวเรือนครึ่งปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
? ค่า MPC ของประชาชนทั่วไป หรือ b เท่ากับ 0.57 (คำนวณจากข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม
ของครัวเรือนครึ่งปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
85
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
85
? ค่า ???
???
ของผู้มีรายได้น้อย หรือ c เท่ากับ 0.11 ทำให้ค่า MPM ของผู้มีรายได้น้อย เท่ากับ 0.76*0.11
= 0.08 (คำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตล่าสุดปี 2558 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อมูลจาก ธปท.)
? ค่า ???
???
ของประชาชนทั่วไป หรือ d เท่ากับ 0.15 ทำให้ค่า MPM ของประชาชนทั่วไป เท่ากับ 0.57*0.15 =
0.09 (คำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตล่าสุดปี 2558 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย)
? ? คือ การเปลี่ยนแปลง, ?GDP = ?C + ?I+ ?G+ ?X- ?M
? GDP ในที่นี้เป็นเพียง GDP ที่สอดคล้องกับแบบจำลองอย่างง่ายของเคนส์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์
อาจเปลี่ยนแปลงไป หากสมมติฐาน แบบจำลอง และวิธีการคำนวณเปลี่ยนแปลงไป
ภายใต้สมมุติฐาน MPC และ MPM ที่กล่าวมาข้างต้น หากการคำนวณดำเนินต่อไปหลาย ๆ
รอบสามารถคำนวณค่าตัวคูณทางการคลัง กรณีเงินโอนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ได้เท่ากับ 1.31 เท่านั้น
หมายความว่า การที่ทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีรายได้หรือการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขึ้น 100 บาท
จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 131 บาท
86
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
86
สัญญาณเครื่องชี้การบริโภคที่หายไป : การทบทวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat)
Revisiting Real VAT and Unmasking Missing Signals in Consumption12
บทสรุปผู้บริหาร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการในแต่ละขั้นตอน
ของการผลิตและจำหน่าย โดยรัฐได้รับภาษีสุทธิจากผู้ประกอบการในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต
และจำหน่ายภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่มีความสำคัญในฐานะแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ และเป็น
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกด้วย
บทความนี้แสดงการปรับปรุงตัวชี้วัดภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง เหตุจากความสัมพันธ์กับตัวชี้วัด
การบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแอลง ทำให้ต้องดำเนินการปรับปรุง Deflator ใหม่ จากเดิมนั้นที่ใช้เพียง
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core Inflation) และดัชนีพลังงาน เป็นตัวปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ให้เป็น
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) โดยได้เพิ่มราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai Crude Oil) และดัชนีราคาสินค้า
นำเข้า (Import Price Index) เข้ามาเพื่อขจัดผลของราคาที่ส่งผลต่อภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงออกไป
จากผลการศึกษาของหลายหน่วยงานพบว่า ราคาน้ำมันดิบมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้า (Import Vat) โดยเมื่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่จัดเก็บจากการนำเข้าก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่าความสัมพันธ์
ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงและตัวชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนนั้นจะมีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น เมื่อใช้ค่า
Deflator ที่รวมราคาน้ำมันดิบเข้าไปด้วย
ผลลัพธ์จากการปรับปรุงตัวชี้วัดภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงโดยการเพิ่มดัชนีราคานำเข้าและราคา
น้ำมันดิบดูไบเข้าไปใน Deflator ช่วยให้สามารถขจัดผลกระทบของราคาน้ำมันดิบออกไปได้อย่างชัดเจน
ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงและตัวชี้วัดการบริโภคปรับตัวดีมากขึ้น ซึ่งทำให้
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงสามารถใช้ในการอธิบายการบริโภคได้ดีมากขึ้นเช่นกัน
1. บทนำ (Introduction)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญโดยใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ที่แท้จริง (Real Vat) ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคของทั้งสินค้าและบริการที่ผลิต
และจำหน่ายภายในประเทศและที่นำเข้า ตัวอย่างเช่น ปริมาณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น แสดงถึง
การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ในทางตรงกันข้ามหากปริมาณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ลดลง แสดงถึงการบริโภคภาคเอกชนที่หดตัวส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศหดตัว
โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ถูกจัดเก็บจากมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิต
และจำหน่าย โดยผู้เสียภาษีจะต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการในขั้นตอนการผลิต
และจำหน่ายก่อนหน้ามาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อในขั้นตอนการผลิตและจำหน่าย
ของตน ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตและจำหน่ายเป็นภาษีสุทธิ
ที่รัฐได้รับ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่มีความสำคัญในฐานะแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ เพราะเป็น
ภาษีที่มีลักษณะกว้างขวางครอบคลุมสินค้าและบริการทุกประเภท ส่งผลให้สามารถจัดเก็บรายได้จาก
ภาคส่วนต่าง ๆ ของเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
12 ผู้เขียน ดร.ยุทธภูมิ จารุเศร์นี ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประ มาณการเศรษฐกิจการคลัง และนายเมธาวี ชื่นบาล เศรษฐกร
ส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง กศม. สศค. ขอขอบคุณ ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
สำหรับคำแนะนำ อนึ่ง บทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ไม่ได้สะท้อนความเห็นของหน่วยงาน
87
ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567
87
ภาพที่ 45 โครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงและโครงสร้างของ Deflator แบบเดิม
ที่มา: รวบรวมโดยผู้จัดทำ
การปรับปรุง (Adjust) และพัฒนา (Develop) ตัวชี้วัดภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงมีสาเหตุจาก
ความสัมพันธ์กับตัวชี้วัดการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption) อ่อนแอลง เนื่องจากผลกระทบ
ของราคาน้ำมันดิบ (Crude Oil) ลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจาก
การนำเข้า (Import Vat) หดตัวค่อนข้างสูง และส่งผลต่อเนื่องไปยังภาษีมูลค่าเพิ่มโดยรวม (Vat) หดตัวลง
ด้วยเช่นกัน แม้ว่าภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศ (Consumption Vat) และดัชนีการบริโภค
ภาคเอกชน (Private Consumption) จะยังคงขยายตัวได้ดีก็ตาม ทำให้เกิดการความสัมพันธ์ที่ไม่
สอดคล้องกันระหว่างตัวแปรทั้งสอง ดังนั้นจึงได้ดำเนินการปรับปรุงภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ โดยจะเป็นการ
ปรับปรุงในตัว Deflator ที่จะใช้ในการปรับค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงที่จัดเก็บจากการนำเข้า (Import Vat)
เดิมใช้เพียงดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานและดัชนีพลังงานเป็นตัวปรับค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากที่เป็น Nominal
Level ให้เป็น Real Level โดยเพิ่มในตัวของราคาน้ำมันดิบดูไบและดัชนีราคาสินค้านำเข้ามาเป็น
ตัว Deflator เข้ามาปรับ Nominal Level ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าให้เป็น Real Level
เพื่อขจัดผลของราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าอื่นๆ ออกไป
ภาพที่ 46 โครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงและโครงสร้างของ Deflator แบบใหม่
ที่มา: รวบรวมโดยผู้จัดทำ
โดยรายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงตัวชี้วัดภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) ให้สามารถ
สะท้อนภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ดียิ่งขึ้น โดยดำเนินการคัดเลือก Deflator ใหม่ให้มีความเหมาะสม
ในการคำนวน เพื่อนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) และตัวชี้วัด
Nominal Consumption Vat
Nominal Import Vat
*Deflator
*ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน
*พลังงาน
RealVAT
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่แท้จริง (Real Vat)
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภค
(Consumption Vat)
Deflator
*ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI)
*ดัชนีราคาพลังงาน
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจาการนาเข้า
(Import Vat)
*ดัชนีราคานาเข้า (Import Price Index)
*ราคาน้ามันดิบดูไบ (Dubai Crude Oil)
88 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 88 การบริโภคภาคเอกชน (Consumption Indicators) ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์แบบการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression) เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสอง 2. ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) จากการศึกษาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ในช่วงปี 2556 - 2562 ประเทศไทยมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างราคาน้ำมันดิบกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจาก การนำเข้า โดยเมื่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) เท่ากับ 0.71 ซึ่งแสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ทั้งสองตัวแปรนั้นค่อนข้างสูง และจากการศึกษาของ ธปท. พบว่า ในช่วงปี 2562 - 2564 ประเทศไทยมี ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างราคาน้ำมันดิบกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้า โดยเมื่อราคา น้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) เท่ากับ 0.86 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองตัวแปรนั้น ค่อนข้างสูง จากการทบทวนงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงและตัวชี้วัด การบริโภคภาคเอกชนนั้นจะมีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น เมื่อใช้ค่า Deflator ที่รวมราคาน้ำมันดิบด้วย ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของ Afonso et al. (2013) พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง และยอดค้าปลีกในสหภาพยุโรปนั้นแข็งแกร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อใช้ค่า Deflator ที่รวมราคาน้ำมันดิบด้วย และงานวิจัยของ Calvo et al. (2015) พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มจริงและการใช้จ่าย ภาคครัวเรือนในเม็กซิโกนั้นปรับตัวดีขึ้นเช่นกันเมื่อใช้ค่า Deflator ที่รวมราคาน้ำมันดิบแล้ว ดังนั้น จากการศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยข้างต้น สรุปได้ว่า เมื่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าเพิ่มขึ้น และเมื่อใช้ราคาน้ำมันดิบเข้าไปใน Deflator ที่ใช้ในการปรับค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง พบว่าทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่แท้จริงและตัวชี้วัดการบริโภคปรับตัวดีขึ้น 3. ระเบียบวิธี (Methodology) 3.1 การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับ Model ที่ใช้ในการทดสอบจะเป็น สมการการถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย (Simple Linear Regression) ซึ่งเป็นสมการที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรอิสระ (Independent Variable) จำนวน 1 ตัวกับตัวแปรตาม (Dependent Variable) จำนวน 1 ตัว โดยตัวแปรในสมการ สามารถกำหนดได้ดังนี้ Y = a + bX Y คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) X คือ การบริโภคที่แท้จริง (Real Private Consumption) a คือ ค่าคงที่ (Y-intercept) b คือ สัมประสิทธิ์ถดถอย (Slope) โดยสมการการถดถอยเชิงเส้นแบบง่ายสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัว แปรอิสระได้ โดยตัวแปรตามสามารถอธิบายได้ด้วยตัวแปรอิสระและค่าคงที่ โดยค่าคงที่ ( a) แสดงถึงค่า 89 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 89 ของตัวแปรตามเมื่อตัวแปรอิสระมีค่าเท่ากับ 0 และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (b) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง ของตัวแปรตามเมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย 3.2 การคัดเลือก Deflator ที่เหมาะสม จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบว่าราคาน้ำมันดิบ (Crude Oil) มีผลกระทบต่อ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้า (Import Vat) อย่างมีนัยสำคัญ และจากการเปรียบเทียบสัดส่วน ระหว่างมูลค่าการจัดเก็บภาษีการนำเข้าน้ำมันดิบรายเดือนต่อมูลค่าการจัดเก็บภาษีจากการนำเข้า พบว่า มูลค่าการจัดเก็บภาษีการนำเข้าน้ำมันดิบมีสัดส่วนอยู่ราวร้อยละ 10 ของการจัดเก็บภาษีจากการนำเข้า ทั้งหมด ดังนั้นจึงกำหนดให้น้ำหนักของ Deflator ของราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 0.1 ส่วนผลกระทบของราคา สินค้าอื่น ๆ นอกจากราคาน้ำมันดิบกำหนดให้ถูกปรับค่าโดยดัชนีราคาสินค้านำเข้า ดังนั้นดัชนีราคาสินค้า นำเข้าจะกำหนดให้มีน้ำหนักใน Deflator ใหม่อยู่ที่ 0.9 ผลลัพธ์และการวิเคราะห์ (Results and Analysis) จากความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) และตัวชี้วัดการบริโภค (Consumption) ที่อ่อนแอนั้น มีสาเหตุจาก Deflator เดิมที่ใช้ปรับค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ให้เป็น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) ที่ใช้เพียงดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) และดัชนีพลังงาน เท่านั้น ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงยังไม่สามารถสะท้อนถึงการบริโภคเท่าที่ควร เนื่องจาก ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศ (Consumption Vat) และภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้า (Import Vat) การจะใช้เพียงดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานและดัชนีราคาพลังงานเป็น Deflator ในการปรับมูลค่าอาจจะไม่เพียงพอ เหตุเพราะ ประเทศไทยนั้นมีการนำเข้าน้ำมันดิบในสัดส่วนที่สูงมาก จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติพบว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันดิบถึงร้อยละ 90 เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัว สูงขึ้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์สงครามรัสเซีย - ยูเครนที่เริ่มต้นในปีต้นปี 2565 ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น ดังนั้นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยจึงเพิ่มขึ้นตามเช่นกัน จากตัวอย่างข้างต้น พบว่ามูลค่าการภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้า (Import Vat) ณ ช่วงเวลานั้นปรับเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญ โดยสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 3 ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้านั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง แปรผันตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้หากราค น้ำมันดิบ ในตลาดโลกปรับตัวลดลง จึงส่งผลให้ในช่วงเวลาต่อมาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหดตัวลง ตามเช่นกัน และยังส่งผลต่อเนื่องทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) เริ่มมีความสัมพันธ์ที่อ่อนแอ ต่อภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคภาคเอกชนในที่สุด 90 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 90 ภาพที่ 47 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) หลังปรับค่าแล้ว ที่มา: รวบรวมโดยผู้จัดทำ ดังนั้น เมื่อราคาของน้ำมันดิบในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงไป มูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บ จากการนำเข้า (Import Vat) ก็จะเปลี่ยนแปลงตามเช่นกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่งผลต่อมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยเป็นอย่างมาก และยังส่งผลกระทบต่อปริมาณการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้า (Import Vat) รวมถึงส่งผลต่อเนื่องไปยังการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรวม (Vat) อีกด้วย ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่อ่อนแอลงระหว่างตัวชี้วัดภาษีมูลค่าเพิ่มและการบริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะขจัดผลของราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้านำเข้าอื่น ๆ ออกไป จึงดำเนินการ ปรับปรุง Deflator ใหม่ ซึ่งจะนำข้อมูลในส่วนของ ราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai Crude Oil) และ ดัชนีราคา นำเข้า (Import Price Index : IMI) เพิ่มเข้ามาปรับปรุง Deflator ใหม่ที่จะนำมาใช้ในการปรับมูลค่า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้า (Import Vat) เพื่อขจัดผลของราคาน้ำมันดิบและสินค้าอื่น ๆ ออกไป จากการศึกษาพบว่าหลังจากดำเนินการปรับปรุง Deflator ใหม่ พบว่าการนำดัชนีราคานำเข้า (Import Price Index) และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai Crude Oil) เพิ่มเข้ามาในการจัดทำ Deflator เพื่อขจัดผลของราคาออกไป ช่วยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) สามารถใช้อธิบายการบริโภค (Consumption) ได้ดีมากขึ้น โดยสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 48 และภาพที่ 49 จากการเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคที่แท้จริง (Real Private Consumption) กับภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) แบบเดิมที่ยังไม่ได้ปรับค่ากับแบบที่ปรับค่าแล้ว เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพล็อตกราฟเส้นตรง (Linear) กราฟทั้งสองจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของระดับความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองที่เพิ่มขึ้น อย่างชัดเจน หลังจากดำเนินการปรับปรุง Deflator แล้ว และเมื่อนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาปรับค่าด้วย Deflator ใหม่ จะส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงสามารถอธิบบายการบริโภคภาคเอกชนได้ดีมากขึ้น โดยสะท้อนจากค่า R-Squared ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก R-Squared เท่ากับ 0.61 แสดงให้เห็นใน ภาพที่ 48 ที่จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงก่อนปรับค่ากับการบริโภคภาคเอกชน ที่แท้จริง จากนั้นเมื่อดำเนินการปรับค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงโดยใช้ Deflator ใหม่ จึงส่งผลให้ค่าสัมพันธ์ 101.2 102.9 93.4 40.0 50.0 60.0 70.0 80.0 90.0 100.0 110.0 120.0 130.0 140.0 Jun-20 Dec-20 Jun-21 Dec-21 Jun-22 Dec-22 Jun-23 Dec-23 Real Vat RVAT_Con Note: RVAT_Imp = Real Vat Import RVAT_Con = Real Vat Consumption Source: The Revenue Department RVAT_Im p Index sa 2019 = 100 91 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 91 กับการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น แสดงได้ดังภาพที่ 49 โดยค่า R-Squared ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.69 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระดับความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองปรับตัวดีขึ้น ภาพที่ 48 ความสัมพันธ์ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงกับการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงโดยวิธีการเดิม ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ: คำนวณโดย กศม. สศค. ภาพที่ 49 ความสัมพันธ์ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงกับการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงโดยวิธีการใหม่ ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ: คำนวณโดย กศม. สศค. y = 1651.2x + 230786 R = 0.6171 500,000 700,000 900,000 1,100,000 1,300,000 1,500,000 1,700,000 1,900,000 400.0 450.0 500.0 550.0 600.0 650.0 700.0 750.0 800.0 Real Vat REAL VAT เดิม VS RCP Real Private Consumption y = 2133.4x - 117221 R? = 0.6977 500,000 1,000,000 1,500,000 2,000,000 500.0 550.0 600.0 650.0 700.0 750.0 800.0 REAL VAT REAL VAT ใหม่ VS RCP Real Private Consumption 92 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 92 ภาพที่ 50 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง (Real Vat) และรูปแบบใหม่ (Real Vat Adjust) ที่มา: รวบรวมโดยผู้จัดทำ ภาพที่ 51 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงที่จัดเก็บจากการบริโภคแบบเดิม (Real Vat Consumption) และ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงที่จัดเก็บจากการบริโภคแบบใหม่ (Real Vat Consumption Adjust) ที่มา: รวบรวมโดยผู้จัดทำ 101.2 106.3 20.0 40.0 60.0 80.0 100.0 120.0 140.0 Jun-20 Dec-20 Jun-21 Dec-21 Jun-22 Dec-22 Jun-23 Dec-23 Real Vat Adjust Note: RVAT_Imp = Real Vat Import RVAT_Con = Real Vat Consumption Source: The Revenue Department Index sa 2019 = 100 Real Vat เดิม 102.9 103.0 20.0 40.0 60.0 80.0 100.0 120.0 140.0 Jun-20 Dec-20 Jun-21 Dec-21 Jun-22 Dec-22 Jun-23 Dec-23 RVAT_Cons_Adjus t Note: RVAT_Imp = Real Vat Import RVAT_Con = Real Vat Consumption Source: The Revenue Department Index sa 2019 = 100 RVAT_Cons_ เดิม 93 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 93 ภาพที่ 52 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงจัดเก็บจากการนำเข้าแบบเดิม (Real Vat Import) และ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงจัดเก็บจากการนำเข้าแบบใหม่ (Real Vat Import Adjust) ที่มา: รวบรวมโดยผู้จัดทำ สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion) การปรับปรุงภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงส่งผลให้สามารถวิเคราะห์การบริโภคภาคเอกชนได้ดีมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าการใช้ค่า Deflator แบบใหม่ ที่เพิ่มส่วนของราคาน้ำมันดิบดูไบและดัชนีราคาสินค้านำเข้า ช่วยให้สามารถประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงและตัวชี้วัดการบริโภคภาคเอกชน ได้แม่นยำยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ของการประเมินนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การวางนโยบาย ทางภาษี การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ และการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษี ต่อการบริโภคภาคเอกชนเป็นต้น อย่างก็ดี ควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ? การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มจริงและตัวชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนได้อย่างแม่นยำ ยิ่งขึ้น ควรใช้ค่า Deflator ที่รวมราคาน้ำมันดิบด้วย ? การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มจริงและตัวชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนควรใช้ ข้อมูลในระยะยาว เนื่องจากความสัมพันธ์นี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางเศรษฐกิจและสังคม ? ควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มจริง และตัวชี้วัดการบริโภคภาคเอกชน เช่น ระดับรายได้ของครัวเรือน อัตราดอกเบี้ย และนโยบายการเงิน เป็นต้น 93.4 104.6 20.0 40.0 60.0 80.0 100.0 120.0 140.0 160.0 180.0 Jun-20 Dec-20 Jun-21 Dec-21 Jun-22 Dec-22 Jun-23 Dec-23 RVAT_Imp_Adjust Note: RVAT_Imp = Real Vat Import RVAT_Con = Real Vat Consumption Source: The Revenue Department Index sa 2019 = 100 RVAT_Im_เดิม 94 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 94 บรรณานุกรม ? การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ (Data Analysis with Statistics) โดย ศาสตราจารย์ ดร. วีระพล เครือเทพ ? สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานการศึกษาผลกระทบของราคา น้ำมันดิบต่อเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ? ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่งประเทศไทย. ? Afonso, A., Furceri, D., & Jalles, J. (2013). The impact of VAT increases on consumption: A dynamic panel data analysis. Journal of Public Economics, 107(3), 429-447. ? Calvo, E., Garc?a-Verd?, A., & L?pez-Laborda, J. (2015). The impact of VAT increases on household consumption: Evidence from Mexico. Journal of International Economics, 96(2), 253-269. ? กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน (2567) ข้อเท็จจริง...คนไทยใช้น้ำมันแพง แต่มีการส่งออก น้ำมันดิบลดลง กรุงเทพมหานคร กระทรวงพลังงาน. 95 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 95 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง การผลิตและการค้าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของโลก13 บทสรุปผู้บริหาร ? อัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นสินค้าส่งออกสำคัญอโดยมีมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2566 มีการส่งออกมากเป็นอันดับ 3 ของไทย ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเกือบ 30 ,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และมีการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานประมาณ 1.3 ล้านคน ? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเป็น การผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายภายในประเทศ ? สถานการณ์การส่งออกและนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย โดยในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ อยู่ที่ 14,636.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ -2.83 จากปี 2565 และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.48 จากปี 2557 ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญ 5 ลำดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐฯ เยอรมนี อินเดีย และสหราชอาณาจักร สำหรับการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2566 มีมูลค่า 13,567.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.90 เมื่อจากปี 2565 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.87 จากปี 2557 ? ศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน คือไทยมีศักยภาพและภูมิปัญญาของช่างฝีมือ อีกทั้ง ความชำนาญและความประณีตในการผลิต ส่งผลให้ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิต ในประเทศไทย รวมทั้งมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุน ขณะที่ข้อจำกัดอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมต้นน้ำ ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ การขาดแคลนเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัยที่ใช้ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบก่อนการนำส่งเพื่อการเจียระไน 2) อุตสาหกรรมกลางน้ำ ขาดแคลนช่างฝีมือ และผู้ประกอบการรายย่อยขาดแคลนเงินทุน ในการจัดหาเครื่องจักร ผู้ประกอบการรายย่อยขาดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิต และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 3) อุตสาหกรรมปลายน้ำ ขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตลวดลายใหม่ ๆ เพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ และการขาดการพัฒนาทายาทช่างฝีมือ ? ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรมได้แก่ 1) อุตสาหกรรมต้นน้ำ ควรสนับสนุนการทำเหมืองแร่อย่างมีธรรมาภิบาลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อ สังคม และควรสนับสนุนเงินทุนสำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาอัญมณีที่มาจากห้องปฏิบัติการ 2) อุตสาหกรรมกลางน้ำ ควรมีการส่งเสริมการผลิตแรงงานที่มีทักษะ ควรกำกับดูแลคุณภาพและความปลอดภัย ของโรงงานอุตสาหกรรม และควรกำหนดมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการ SMEs และ 3) อุตสาหกรรมปลายน้ำ ควรมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ในการทำลวดลายให้ทันสมัย ตามเทรนด์โลก มีการพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ ตามยุคสมัยตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ รวมถึงควรหาตลาดใหม่ ๆ ผ่านการจัดและเข้าร่วมนิทรรศการต่าง ๆ ภายในประเทศ และต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งจัดทำหลักสูตรสำหรับผู้ที่สนใจในอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ เพื่อเพิ่มจำนวนคนในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของกลางน้ำและปลายน้ำ 13 ผู้เขียน นายณัฐพล ศรีพจนารถ ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค กศม. สศค. และนายธนสาร อิทธิสัมพันธ์ นักศึกษาฝึกงาน ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค อนึ่ง บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน ไม่ได้สะท้อนความคิดเห็น ของหน่วยงาน 96 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 96 1. บทนำ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมศักยภาพที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเป็นอุตสาหกรรมก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เกือบ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยคาดการณ์ว่ามีผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่อุปทานกว่า 37,000 ราย14 และมีการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานประมาณ 1.3 ล้านคน15 ซึ่งเป็นการจ้างงานอยู่ใน ภาคอุตสาหกรรม ประมาณ 55,000 คน ในโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 460 แห่งทั่วประเทศ16 อีกทั้งประเทศ ไทยยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับใน 10 อันดับแรกของโลก เนื่องด้วยประเทศไทยมีภูมิ ปัญญาการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีให้มีความสวยงามเพิ่มขึ้น อีกทั้งช่างฝีมือเจียระไนอัญมณี รวมถึง ช่างฝีมือผลิตเครื่องประดับมีทักษะความชำนาญเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนการค้าในประเทศ มี ความคึกคักจากแรงซื้อของคนในประเทศและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยปีละกว่า 40 ล้านคน17 รวมถึงนักธุรกิจต่างชาติที่เดินทางเข้ามาซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในไทย โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการค้า ในประเทศสูงเกือบเท่ากับมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าสูงตั้งแต่ อุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น การเผาพลอย การเจียระไนพลอย เป็นต้น อุตสาหกรรมกลางน้ำ เช่น การออกแบบการขึ้นรูป เป็นต้น และอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น ตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ สำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวของอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์โดยวางเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณี และเครื่องประดับโลก อย่างไรก็ดี การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ของโลก ยังคงมีข้อจำกัดที่สำคัญบางประการ ซึ่งจำแนกปัญหาอุปสรรคออกตามประเภทของกลุ่ม อุตสาหกรรม กล่าวคือ อุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ การขาด แคลนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยที่ใช้ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบก่อนการนำส่งเพื่อการเจียระไน เป็นต้น อุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) เช่น การขาดแคลนช่างฝีมือในหลายสาขา เช่น ช่างโกน พลอย ช่างแต่งพลอย ช่างเจียระไนพลอย ช่างขึ้นรูปต้นแบบ ช่างออกแบบ ช่างฝัง เป็นต้น การขาดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการผลิตอัญมณีและเครื่องปรับลวดลายใหม่ ๆ เพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีรสนิยมเปลี่ยนแปลง ไปตามยุคสมัย และการขาดการพัฒนาทายาทช่างฝีมือ อุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) เช่น ผู้ประกอบการรายย่อยขาดแคลนเงินทุนในการจัดหาเครื่องจักร เครื่องจักรในการผลิตของผู้ประกอบการ ยังไม่สามารถสู้คู่แข่งได้ ผู้ประกอบการรายย่อยขาดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิต และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐานสินค้าและแบรนด์ยังไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และช่องทางการจัด จำหน่ายที่จำกัด โดยยังไม่มีกลยุทธ์การจำหน่ายช่องทางตลาดดิจิทัลเท่าที่ควร รวมถึงในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยยังได้รับผลกระทบของยอดการสั่งซื้อที่ลดลงจากการแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ บทบาทการสนับสนุนของภาครัฐ ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่น การประชาสัมพันธ์กฎระเบียบและนโยบายภาครัฐที่ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนผู้ประกอบการไม่ทั่วถึง เป็นต้น ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของ โลก (The World?s Jewelry Hub) จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับไทยให้มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ของโลก เพื่อเสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เกี่ยวข้องต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป 14 ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ ปี พ.ศ. 2560 15 ข้อมูลกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ไม่ปรากฎปี 16 ข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2565 17 (ข้อมูลกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาปี พ.ศ. 2562) 97 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 97 2. โครงสร้างอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยเป็นอุตสาหกรรมครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เป็นการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายภายในประเทศ ปัจจุบันมีผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับที่จดทะเบียนอยู่ในระบบราว 2,200 ราย และอีกนับพันรายเป็น ธุรกิจในครัวเรือน สำหรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย จำแนกเป็น 1) อุตสาหกรรมเจียระไน แบ่งออกเป็นอุตสาหกรรมการเจียระไนพลอยสี และอุตสาหกรรม การเจียระไนเพชร 1.1) อุตสาหกรรมการเจียระไนพลอยสี การเจียระไนพลอยได้รับการพัฒนามานานในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเคยเป็น แหล่งพลอยที่มีคุณภาพและอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยกระจายอยู่ในหลายจังหวัด เช่น จังหวัด ตราด จันทบุรี และกาญจนบุรี เป็นต้น แรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนใช้เครื่องมือเครื่องจักร ผลิตอย่างง่ายไม่ซับซ้อน จึงใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก และช่างฝีมือไทยมีทักษะและความชำนาญในการเจียระไน พลอยสีเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก รวมถึงผู้ประกอบการมีเทคนิคในการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีด้วยการหุง หรือเผาพลอยด้วยความร้อน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของไทยที่ยังไม่มีประเทศใดสามารถทำได้ทัดเทียม ทั้งนี้ คาดว่า มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมเจียระไนพลอยสีเกือบ 20,000 คน โดยผู้ประกอบการเจียระไนพลอยสี และช่างฝีมือส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าพลอยสีอย่างกรุงเทพฯ จันทบุรี และตาก 1.2) อุตสาหกรรมเจียระไนเพชร การเจียระไนเพชรเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ใน การเจียระไนเพชรค่อนข้างซับซ้อน และใช้เทคโนโลยีสูง จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ประกอบกับมีต้นทุน ฝึกช่างเจียระไนใหม่ที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้อุตสาหกรรมเพชรเจียระไนไทยส่วนใหญ่เป็นของบริษัทต่างชาติ ที่ย้ายฐานการผลิตมาตั้งโรงงานในไทย อาทิ เบลเยียม อิสราเอล เป็นต้น เพื่ออาศัยแรงงานมีฝีมือของไทย แต่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าในประเทศของตนมาก รวมถึงใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมการลงทุน ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการจ้างงานช่างฝีมือเจียระไนเพชรกว่า 4,000 คน 2) อุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับ 2.1) อุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับแท้ การผลิตเครื่องประดับถือเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำที่สืบเนื่องมาจากอุตสาหกรรม การเจียระไนอัญมณี ประเทศไทยมีชื่อเสียงในการผลิตเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน โดยช่างฝีมือ ไทยมีความสามารถผลิตสินค้าด้วยความประณีตและสวยงามเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ส่งผลให้ไทย เป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินใน 2 อันดับแรกของโลกมานานนับทศวรรษ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เป็นขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกต่างประเทศและบางส่วนจำหน่ายในประเทศ จึงมี การผสมผสานระหว่างการผลิตสินค้าด้วยมือและใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีค่อนข้างสูง โดยทั่วไปมักผลิต สินค้าแบบรับช่วงผลิต (Sub-Contract) หรือการรับจ้างผลิตสินค้าตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง (Original Equipment Manufacturer: OEM) มีเพียงไม่กี่รายที่ผลิตสินค้าและจำหน่ายในแบรนด์ของตนเอง ขณะที่ ธุรกิจขนาดเล็กมีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับซึ่งมักจะผลิตสินค้าโดยใช้แรงงานมี ฝีมือและใช้เครื่องมือเครื่องจักรอย่างง่าย เน้นจำหน่ายสินค้าในประเทศ 98 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 98 2.2) อุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับเทียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับเทียมเป็นอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนถ่ายจากอุตสาหกรรม ขนาดเล็กที่เกิดขึ้นจากการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศให้กลายมาเป็น อุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น และมุ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งภาคอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องประดับเทียมได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเครื่องประดับเทียม มีความหลากหลายในด้านของรูปแบบและสีสัน ทำให้ผู้บริโภคในตลาดอัญมณีนิยมบริโภคเครื่องประดับ เทียมเพิ่มมากยิ่งขึ้น ภาพที่ 53 โครงสร้างอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ที่มา: รวบรวมโดยผู้จัดทำ 3. สถานการณ์การนำเข้า - ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวและมีมูลค่าเพิ่มสูงตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สินค้าอัญมณี และเครื่องประดับไทยเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในตลาดโลก และสินค้าส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะถูกส่งออกไป จำหน่ายในตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 3 - 4 ของประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องด้วยทักษะฝีมือแรงงานของไทยมีความชำนาญสูงทั้งการเจียระไนอัญมณีและผลิตเครื่องประดับ อีกทั้งผู้ประกอบการไทยเองมีการพัฒนาศักยภาพการผลิต การตลาด ตลอดจนได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ มาอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับไทย อุตสาหกรรมเจียระไน การเจียระไนพลอยสี การเจียระไนเพชร อุตสาหกรรมผลิต เครื่องประดับ เครื่องประดับแท้ เครื่องประดับเทียม 99 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 99 ภาพที่ 54 มูลค่าสินค้าส่งออก 10 อันดับแรก ปี 2556 ? 2566 ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจาก กรมศุลกากร สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย มีการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นจาก 10,080.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2557 เป็น 14,636.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.69 (เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24 ต่อปี) เมื่อหักมูลค่าทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปออก เพื่อสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ของอุตสาหกรรมที่ได้จากกระบวนการผลิตหรือจากฝีมือ พบว่า มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมมูลค่าทองคำ) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 7,281.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2557 เป็น 8,658.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.91 (เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.30 ต่อปี) ตลาดส่งออกที่สำคัญ 5 ลำดับแรก ได้แก่ (1) ฮ่องกง (2) สหรัฐฯ (3) อินเดีย (4) เยอรมนี และ (5) สหราชอาณาจักร สำหรับสินค้าที่มีความโดดเด่นของไทย คือ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับเทียม รวมทั้ง เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ขณะที่สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2566 ปรับตัวลดลงร้อย ละ -2.83 เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีมูลค่า 15,063.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าว ข้างต้นหักออกด้วยการส่งออก ทองคำ ที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,658.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.40 จากปีก่อนหน้า - 20,000 40,000 60,000 80,000 100,000 120,000 140,000 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยางพารา สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า น้ามันส้าเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 100 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 100 ภาพที่ 55 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557 - 2566)(ไม่รวมมูลค่าทองคำ) ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจาก กรมศุลกากร ภาพที่ 56 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในปี 2565 และปี 2566 ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจาก กรมศุลกากร สำหรับสถานการณ์การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนั้น เนื่องจากไทยขาดแคลน วัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่า จึงจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบ และโลหะมีค่าจากต่างประเทศ โดยสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ เพชร พลอยสี ทองคำ โลหะเงิน และแพลทินัม แหล่งนำเข้าสำคัญของไทย ได้แก่ (1) สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศในแถบแอฟริกา เป็นต้น โดยสถานการณ์ การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยมีการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น จาก 9,495.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2557 เป็น 13,567.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.87 (เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59 ต่อปี) ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ในปี 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ -18.90 เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีมูลค่า 16,728.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 7,281.52 7,186.11 6,968.10 7,109.79 7,612.95 8,095.91 4,851.81 6,166.73 7,987.46 8,658.11 6.8% -1.3% -3.0% 2.0% 7.1% 6.3% -40.1% 27.1% 29.5% 8.4% -80% -60% -40% -20% 0% 20% 40% 0 2,000 4,000 6,000 8,000 10,000 12,000 14,000 16,000 18,000 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ มูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคา YoY% U.S.A. India Hong Kong United Germany Kingdom Others มูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคา 2565 Hong Kong U.S.A. India Germany United Kingdom Others มูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคา 2566 101 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 101 ภาพที่ 57 มูลค่าการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557 - 2566) ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจาก กรมศุลกากร ภาพที่ 58 ตลาดนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในปี 2565 และปี 2566 ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจาก กรมศุลกากร ตารางที่ 16 สถิติการนำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (รายสินค้า) ปี 2566 ลำดับ การส่งออก มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วน (ร้อยละ) ลำดับ การนำเข้า มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วน (ร้อยละ) 1 ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป หรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป 5,978.77 40.85 1 ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป หรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป 7,920.17 58.38 2 เครื่องประดับแท้ 4,484.72 30.64 2 เพชร 1,770.30 13.05 3 พลอยสี 2,013.40 13.76 3 เครื่องประดับแท้ 1,549.07 11.42 4 เพชร 1,305.31 8.92 4 พลอยสี 1,190.29 8.77 9,495.89 9,912.28 8,611.30 15,080.80 15,800.00 12,154.82 8,073.61 12,600.87 16,728.65 13,567.14 -45.3% 9.9% -9.8% 68.9% -0.2% -25.9% -33.7% 57.8% 48.3% -18.9% -120% -70% -20% 30% 80% 0 5,000 10,000 15,000 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าการนาเข้า YoY% Switzerland Hong Kong Japan India Singapore Others มูลค่าการนาเข้า 2565 Switzerland Hong Kong India Singapore Thailand Others มูลค่าการส่งออก 2566 102 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 102 ลำดับ การส่งออก มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วน (ร้อยละ) ลำดับ การนำเข้า มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วน (ร้อยละ) 5 เครื่องประดับเทียม 304.61 2.08 5 เงินยังมิได้ขึ้นรูป หรือเงินกึ่งสำเร็จรูป 539.19 3.97 6 เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำ ด้วยโลหะมีค่า 154.91 1.06 6 อัญมณีสังเคราะห์ 205.67 1.52 7 อัญมณีสังเคราะห์ 154.13 1.05 7 ของอื่น ๆ ทาด้วยโลหะมีค่า 141.20 1.04 8 ของทำด้วยไข่มุก และรัตนชาติ 137.89 0.94 8 เครื่องประดับเทียม 96.96 0.71 9 ของอื่น ๆ ทาด้วยโลหะมีค่า 36.41 0.25 9 แพลทินัมยังมิได้ขึ้นรูป หรือแพลทินัมกึ่งสำเร็จรูป 74.06 0.55 10 ไข่มุก 33.40 0.23 10 ไข่มุก 41.47 0.31 อื่น ๆ 33.32 0.23 อื่น ๆ 38.78 0.29 รวม 14,636.88 100.00 รวม 13,567.14 100.00 ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หมายเหตุ: *ทองคำ หมายถึง ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป ภาพที่ 59 มูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557 - 2566) ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจาก กรมศุลกากร 4. การค้าอัญมณีและเครื่องประดับภายในประเทศ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ประเมินว่า มูลค่า การค้าอัญมณีและเครื่องประดับภายในประเทศมีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่าการส่งออก โดยมีผู้ประกอบการ ค้าปลีก และผู้ประกอบการค้าส่งเครื่องประดับที่อยู่ในระบบกว่า 2,200 ราย และนอกระบบอีกหลายพันราย 19,556.95 20,905.63 22,858.13 27,906.06 27,784.41 27,844.26 26,265.35 22,651.70 31,792.13 27,287.84 -31.49% 6.90% 9.34% 22.08% -0.44% 0.22% -5.67% -13.76% 40.35% -14.17% -100.00% -80.00% -60.00% -40.00% -20.00% 0.00% 20.00% 40.00% - 5,000.00 10,000.00 15,000.00 20,000.00 25,000.00 30,000.00 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ มูลค่าการค้าอัญมณี YoY% 103 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 103 ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นต้น สำหรับกลุ่มผู้ซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) ชาวไทยที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่นิยมซื้อทองรูปพรรณ 96.5% และบางส่วน ซึ่งเป็นผู้มีฐานะมั่งคั่งมักจะซื้อเพชร เครื่องประดับเพชร และทองคำแท่ง สำหรับการเก็บสะสมเป็นสินทรัพย์ และการเก็งกำไร 2) ชาวต่างชาติที่มาทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองไทย 3) นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยปีละกว่า 40 ล้านคน รวมถึงพ่อค้าชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาซื้อสินค้าและหิ้วกลับไปจำหน่ายในประเทศตน 4) ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองติดชายแดนไทยเดินข้ามพรมแดนมาซื้อเครื่องประดับในฝั่งไทย โดยเฉพาะทองรูปพรรณ 5. ขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย การประเมินขีดความสามารถในการแข่งขัน ศักยภาพ และความพร้อมของไทยสู่การเป็นศูนย์กลาง การค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลก สามารถสรุปปัจจัยส่งเสริมต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ 7 ปัจจัย ดังนี้ 5.1 ความสามารถในการเผาพลอย แม้ว่าปัจจุบันไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีเกือบทั้งหมดจากต่างประเทศ แต่จากการเป็น เจ้าของเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีด้วยความร้อน อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังไม่มีประเทศใด ทัดเทียม ทำให้พลอยก้อนจากทั่วโลกกว่าร้อยละ 80 ถูกส่งมาปรับปรุงคุณภาพที่ไทย และช่วยให้ประเทศ ไทยยังคงมีวัตถุดิบอัญมณีไหลเวียนเข้าออกอย่างต่อเนื่อง 5.2 แรงงานทักษะฝีมือสูง ไทยมีแรงงานเจียระไนพลอยสี เพชร และช่างฝีมือผลิตเครื่องประดับที่มีทักษะ ความชำนาญ และความประณีตในการผลิตค่อนข้างสูงเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก รวมถึงแรงงานใหม่สามารถฝึกสอน ได้ง่าย และพัฒนาทักษะฝีมือได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงนับเป็นจุดแข็งที่สำคัญและยังเป็นหนึ่งในปัจจัยดึงดูด ให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในไทย อาทิ Pandora Production Co.,Ltd. ซึ่งเลือกไทย เป็นฐานการผลิตเครื่องประดับเงินเพียงแห่งเดียวที่กระจายสินค้าไปทั่วโลก Rosy Blue Diamond Co., Ltd. ผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ของโลกสัญชาติเบลเยียม ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในหลายอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก และ Abbeycrest PLC บริษัทรายใหญ่สัญชาติอังกฤษ ซึ่งดำเนินธุรกิจออกแบบ ผลิต และจำหน่าย เครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน ตั้งฐานการผลิตอยู่ในจังหวัดลำพูน เป็นต้น 5.3 ผู้ประกอบการเชี่ยวชาญการค้าและปรับตัวได้ไว ผู้ประกอบการกิจการอัญมณีและเครื่องประดับไทยเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจและหมั่นพัฒนา ตนเองอยู่เสมอ ทั้งด้านการแสวงหาวัตถุดิบ การออกแบบ การผลิต และการตลาด รวมถึงความเอาใจใส่ ต่อลูกค้าทุกรายเสมือนเป็นญาติมิตรของตนเอง ซึ่งสร้างความประทับใจและช่วยคงความสัมพันธ์กับลูกค้า ได้เป็นอย่างดี 5.4 ความพร้อมด้านทำเลที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งเชื่อมโยงกับทุกภูมิภาคของโลก มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ สาธารณูปโภค และระบบการขนส่งที่ดี โดยไทยมีสนามบินในประเทศและนานาชาติหลายแห่ง รวมถึงระบบ ถนนที่เชื่อมโยงทุกจังหวัด จึงทำให้การเดินทางทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศสะดวก มีโรงแรม ที่พักหลากหลายระดับให้เลือกใช้บริการ อีกทั้งยังมีธรรมชาติที่งดงามและสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับโลก จำนวนมาก 104 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 104 5.5 พื้นที่การค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ ไทยมีย่านค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของต่างชาติหลายแห่ง โดยแหล่ง สำคัญ เช่น ศูนย์กลางการค้าพลอยสี (ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองจันทบุรี บริเวณย่านถนนตรีรัตน์ ถนนศรีจันทร์ และตรอกกระจ่าง จังหวัดจันทบุรี) ศูนย์กลางการค้าพลอยสี (ตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอด ย่านถนนประสาทวิถี จังหวัดตาก) และย่านการค้าในกรุงเทพฯ บริเวณถนนสีลม ถนนเจริญกรุง ถนนเยาวราช และถนนข้าวสาร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์การค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร เช่น ศูนย์ส่งเสริม อัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี และนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี (Gemopolis) อีกทั้งไทยยังมีงานแสดง สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนานาชาติ (Bangkok Gems and Jewelry Fair) ซึ่งจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และกันยายน 5.6 หน่วยงานเฉพาะทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับที่เข้มแข็ง สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ซึ่งเป็น หน่วยงานของรัฐบาล ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับไทยให้แข่งขันได้ในตลาดโลก ผ่านการรับประกันคุณภาพมาตรฐานสินค้า สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาคุณภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแบบครบวงจร และการให้บริการข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวในตลาดโลกแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงไทยยังมีสมาคม และชมรมเกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของภาคเอกชน เพื่อดำเนินกิจกรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรม 5.7 การส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ รัฐบาลไทยได้ให้การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยมา อย่างต่อเนื่องนานนับทศวรรษ โดยออกมาตรการส่งเสริมทั้งด้านภาษี การเงิน การตลาดทั้งใน และต่างประเทศ และลดขั้นตอนกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อทำให้การค้าเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น รวมถึง การร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด โดยเปิดรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขอุปสรรคการค้าต่าง ๆ อีกทั้งยังได้มอบหมายให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการอัญมณีและเครื่องประดับ ครอบคลุมทุกด้านอีกด้วย 6. มาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปัจจุบัน รัฐบาลได้กำหนดมาตรการเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมาเป็นลำดับ โดยออกมาตรการส่งเสริมทั้งด้านภาษี การเงิน การตลาดทั้งในและต่างประเทศ และลดขั้นตอนกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อทำให้การค้าเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น โดยมีมาตรการที่สำคัญ 6 มาตรการ ดังนี้ 6.1 มาตรการด้านภาษี เดิมทีอัตราภาษีนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยอยู่ระหว่างร้อยละ 0 - 10 และภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ร้อยละ 7 เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อให้มี สินค้าหลากหลายในประเทศเหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ รัฐบาลจึงได้ ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตอนที่ 71 จำนวน 32 ประเภทย่อย เช่น เครื่องเพชร พลอยและรูปพรรณ เครื่องทองหรือเครื่องเงิน เครื่องประดับที่ทำด้วยไข่มุก เป็นต้น ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา นอกจากนี้ เนื่องจากไทยจะต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีเป็นส่วนใหญ่ เพื่อดึงดูดให้มีวัตถุดิบอัญมณี ไหลเวียนเข้ามาในประเทศมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ที่นำวัตถุดิบอัญมณี (ที่ยังไม่เจียระไน) เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยผู้ซื้อจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของรายได้จากการขายอัญมณีทันทีที่มีการซื้อขายสินค้าพร้อมทั้งออกหนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่ายและใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ขายเพื่อใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร 18 อีกทั้งรัฐบาล 105 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 105 ยังยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีนำเข้า หรือขายอัญมณีและโลหะมีค่า (ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลา เดียม) ที่ยังมิได้ประกอบเป็นตัวเรือนสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม19 6.2 มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า ภาครัฐมุ่งยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมีการจัดทำ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่า (Hallmark) ได้แก่ ทองคำ แพลทินัมเงิน และโลหะมี ค่าอื่น ๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อ ป้องกันการฉ้อโกง และสร้าง ความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่จะได้สินค้าคุณภาพตรงตามมาตรฐาน 6.3 มาตรการด้านฝีมือแรงงาน ภาครัฐมุ่งยกระดับฝีมือแรงงาน โดยได้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือที่เหมาะสม สำหรับสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ประกอบด้วย ช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) มาตรฐานฝีมือ ระดับ 1 อัตรา 470 บาทต่อวัน ระดับ 2 อัตรา 645 บาทต่อวัน และระดับ 3 อัตรา 825 บาทต่อวัน ส่วนช่างเจียระไนพลอย ช่างหล่อเครื่องประดับ ช่างตกแต่งเครื่องประดับ และช่างฝังอัญมณีบนตัวเรือน เครื่องประดับ มาตรฐานฝีมือระดับ 1 อัตรา 465 บาทต่อวัน และระดับ 2 อัตรา 605 บาทต่อวัน20 เพื่อเป็น ขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับช่างฝีมือในอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยรักษาบุคลากรมีฝีมือไว้ได้ นับเป็น การลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในอุตสาหกรรมนี้ 6.4 มาตรการทางการเงิน ภาครัฐได้มีการดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา 6.5 มาตรการส่งเสริมด้านการตลาด ภาครัฐได้เชื่อมโยงอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเข้ากับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ด้วยการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด การจัดให้มีงานแสดงสินค้า Thailand Grand Sale การประชาสัมพันธ์สินค้าที่มีคุณภาพ ให้แก่นักท่องเที่ยวผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงการเสริมสร้างภาพลักษณ์การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลก โดยมีงาน ส่งเสริมการตลาดสำคัญในช่วงที่ผ่านมา เช่น งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (Bangkok Gems and Jewelry Fair) ครั้งที่ 6821 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 10 กันยายน 2566 ณ Hall 1 - 8 ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ และเทศกาลซื้ออัญมณีและเครื่องประดับไทย (Thailand Gems & Jewelry Fair 2023)22 ระหว่างวันที่ 22 - 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อิมแพคชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี เป็นต้น 18 พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 617) พ.ศ. 2559 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 618) พ.ศ. 2559 19 พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 20 ประกาศคณะกรรมการคาจาง เรื่อง อัตราคาจางตามมาตรฐานฝมือ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 29 ก.ย. 2565 21 เป็นเทศกาลประจำปี จัดขึ้นปีละ 2 ครั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และกันยายน 22 เป็นเทศกาลประจำปี จัดขึ้นทุกสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี 106 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 106 6.6 มาตรการส่งเสริมการลงทุน ภาครัฐได้กำหนดให้ชาวไทยและชาวต่างชาติสามารถขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุนประกอบ กิจการอัญมณีและเครื่องประดับได้จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือการนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร เช่น การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้น/ ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบ/วัสดุจำเป็น และสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร เช่น อำนวยความสะดวกนักลงทุนให้บริการนำเข้าช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการจากต่างประเทศ ผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e ? Expert System) เป็นต้น ตารางที่ 17 สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน ปี 2566 ประเภทกิจการ เงื่อนไข สิทธิประโยชน์ หมวด 7 สาธารณูปโภค การพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการ อุตสาหกรรม 7.2.3 นิคมอุตสาหกรรมเฉพาะทาง 7.2.3.3 กิจการนิคม หรือเขต อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 1. ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน 2. ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ไร่ 3. ต้องมีพื้นที่สำหรับการประกอบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอัญมณี และเครื่องประดับไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด 4. ต้องมีพื้นที่สำหรับการค้าขายอัญมณี และเครื่องประดับ 5. ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย ที่เหมาะสม 6. ต้องมีห้องประชุมและห้องแสดงสินค้า รวมทั้งศูนย์ธุรกิจ กลุ่ม A3 - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี โดยมีวงเงินยกเว้นเท่ากับมูลค่า เงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุน หมุนเวียน (ยกเว้นบางกิจการ ที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ โดยไม่กำหนดวงเงิน) - ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับ การผลิตเพื่อส่งออก หมวดอุตสาหกรรมเบา 9.9 กิจการผลิตอัญมณี และเครื่องประดับ หรือชิ้นส่วน รวมถึงวัตถุดิบและต้นแบบ กลุ่ม A4 - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยมีวงเงินยกเว้นเท่ากับมูลค่าเงิน ลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุน หมุนเวียน - ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับ การผลิตเพื่อส่งออก กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และเขตเศรษฐกิจ พิเศษสระแก้ว ประเภทอุตสาหกรรม เป้าหมายการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี - ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เพิ่มอีก 5 ปี - ผู้ประกอบการสามารถใช้แรงงาน ต่างชาติได้ ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, มกราคม 2566. 7. ปัญหาและข้อจำกัดของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก ยังคงมีข้อจำกัดที่สำคัญบางประการ ซึ่งจำแนกปัญหาอุปสรรคออกตามประเภทของกลุ่มอุตสาหกรรม 107 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 107 7.1 อุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) อุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) เกี่ยวข้องกับการค้นหาแหล่งแร่ การทำเหมืองแร่ เพชร พลอย และโลหะมีค่า การเผาพลอย การเจียระไนพลอย ปัญหาและข้อจำกัดของอุตสาหกรรมต้นน้ำ ที่สำคัญมี ดังนี้ 1) การขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ ภาวะสินแร่ที่ลดน้อยลงในปัจจุบัน ทำให้ประเทศไทย ต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศจำนวนมาก วัตถุดิบพลอยชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่จึงนำเข้ามา จากแหล่งอื่น ๆ ทั้งจากแหล่งในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า เวียดนาม กัมพูชา และแหล่งไกลออกไป เช่น ศรีลังกา มาดากัสการ์ เคนยา แทนซาเนีย โมซัมบิก ออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการต้องแบกรับ ความเสี่ยงด้านราคา และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถแข่งขันกับ ต่างประเทศได้ 2) การขาดแคลนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยที่ใช้ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบก่อน การนำส่งเพื่อการเจียระไน เช่น การเผาและหุงพลอย การเคลือบสี การอุดรอยแตก และปรับปรุงผิว อัญมณีให้เรียบเนียน การขัดผิวด้วยเลเซอร์ (Laser Polishing) เป็นต้น 7.2 อุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) อุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ อาทิ การออกแบบ การขึ้นรูปตัวเรือน หล่อโลหะ การเข้าตัวเรือน ฝังพลอย ขัดผิว เป็นต้น โดยการเผา (หุง) พลอย และการใส่ สารเคมีเจียระไน ปัญหาและข้อจำกัดของอุตสาหกรรมกลางน้ำที่สำคัญมี ดังนี้ 1) การขาดแคลนช่างฝีมือในการเจียระไน เช่น ช่างโกนพลอย ช่างแต่งพลอย ช่างเจียระไน พลอย ช่างขึ้นรูปต้นแบบ ช่างออกแบบ ช่างฝัง เป็นต้น และการขาดการพัฒนาทายาทช่างฝีมือ โดยแรงงาน เมื่อมีอายุมากขึ้นจะลาออกจากวงการ ขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้ให้ความสนใจในอุตสาหกรรมนี้เท่าที่ควร ทำให้ขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้และขาดแรงงานใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรม 2) การขาดเทคโนโลยีขั้นสูงในการเจียระไน และเครื่องจักรเจียระไน โดยเฉพาะเครื่อง เจียระไนเพชรที่มีความซับซ้อนและราคาสูง โดยส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐ ฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี และอังกฤษ เป็นต้น เครื่องจักรนำเข้าไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการเจียระไนได้เอง ขณะที่ รสนิยมและความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 3) ผู้ประกอบการรายย่อยขาดแคลนเงินทุนในการจัดหาเครื่องจักรเจียระไน ซึ่งส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถขยายกิจการเพื่อรองรับตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ 7.3 อุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) อุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องประดับ การออกแบบ การขึ้นรูป การตกแต่งตัวเรือน การใช้เครื่องจักรประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และการตลาด และธุรกิจ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การขนส่ง การประกันภัย เป็นต้น ปัญหาและข้อจำกัดของอุตสาหกรรมปลายน้ำที่สำคัญ มีดังนี้ 1) การขาดการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายที่ทันสมัย ผลิตภัณฑ์ มีลวดลายที่ไม่ตรงกับรสนิยมและสมัยนิยม ทำให้ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ไม่นิยมเครื่องประดับทอง เพชร พลอย 2) การขาดเครื่องจักรการผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนลวดลายใหม่ ๆ ที่ทันสมัยได้ ทำให้ไม่จูงใจ ผู้ซื้อเท่าที่ควร และผู้ประกอบการไม่สามารถเปลี่ยนแปลงลวดลายและการออกแบบจำเพาะที่กำหนด ในเครื่องจักรการผลิตที่นำเข้ามาได้เอง ทำให้สินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน ส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันกับ 108 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 108 คู่แข่งได้ โดยเฉพาะจีน และอินเดีย ซึ่งมีความได้เปรียบด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานและความพร้อมของวัตถุดิบ หลักหลายชนิด 3) การขาดการออกแบบผลิตภัณฑ์ในระดับราคาที่เอื้อมถึง เพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มี รสนิยมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะตลาดจีนที่มีอำนาจการซื้อสูง และมีจำนวนประชากรมาก ตลาด ซึ่งวัยรุ่นชาวจีนมีรสนิยมที่ชอบสินค้าที่การออกแบบ (Design) มากกว่าสินค้าที่มีมูลค่าสูง 4) การขาดการพัฒนาการออกแบบด้วยตนเอง การผลิตส่วนใหญ่ มักเป็นการผลิตสินค้าแบบ รับช่วงผลิต (Sub-Contract) หรือการรับจ้างผลิตสินค้า (OEM) ตามคำสั่งซื้อของผู้ว่าจ้างจากต่างประเทศ 5) การขาดการพัฒนาตราสินคา (Brand) มาตรฐานสินค้าและแบรนด์ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ในตลาดโลก และมีปญหาการลอกเลียนแบบ 6) ช่องทางการจัดจำหน่ายที่จำกัด โดยผู้ประกอบการยังไม่มีกลยุทธ์การจำหน่าย ผ่านช่องทางสื่อใหม่ ๆ รวมถึงการทำการตลาด และการโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะ ช่องทางโซเชียลมีเดีย เท่าที่ควร นอกจากนี้ บทบาทการสนับสนุนของภาครัฐ ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่น การประชาสัมพันธ์กฎระเบียบและนโยบายภาครัฐที่ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนผู้ประกอบการไม่ทั่วถึง การประชาสัมพันธ์เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ ความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าไทย และแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นย่านการค้าที่สำคัญไม่เพียงพอ เป็นต้น 8. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของโลกภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพัฒนาแนวทาง และกลยุทธ์ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปจนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ เพื่อให้ ภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรม โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระดับของอุตสาหกรรม ดังนี้ 8.1 ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) 1) ควรสนับสนุนการทำเหมืองแร่อย่างมีธรรมาภิบาล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Environmental, Social and Governance: ESG) โดยครอบคลุม ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แรงงานสัมพันธ์ โดยมีการควบคุมดูแลการใช้แรงงานในการขุดเหมืองแร่ ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน และมีการจัดสวัสดิการ แรงงานที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของแรงงานเด็ก ไม่ควรมีการใช้แรงงานเด็กไม่ว่ากรณีใด ก็ตาม ประเด็นคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกระบวนการผลิต การสร้างภาพลักษณ์ในการมีส่วนรับผิดชอบ ในการเสริมสร้างความยั่งยืนของโลก และประเด็นการทำธุรกิจอย่างเป็นธรรมและตามกรอบจริยธรรม 2) เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งเหมืองแร่สำหรับวัตถุดิบอัญมณีเหลืออยู่ไม่มากนัก และหากเหมืองแร่ที่มีอยู่ในปัจจุบันหมดลงจะทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้า วัตถุดิบอัญมณีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตนั้นสูงขึ้น ภาครัฐจึงควรมีการสนับสนุนเงินทุนสำหรับการทำวิจัยเพื่อพัฒนา เพชรและอัญมณีที่มาจากห้องปฏิบัติการ (Lab Grown Diamonds and Colored Gemstones) เพื่อสร้างโอกาสในการทำตลาด และเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ให้ความสำคัญประเด็นความยั่งยืน ทางสิ่งแวดล้อมและจริยธรรม 3) ควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการตรวจวิเคราะห์ การระบุที่มาหรือ แหล่งกำเนิดของอัญมณี เพื่อยกระดับความเชื่อมั่นการซื้อขายอัญมณีผ่านใบรับรอง ซึ่งจะช่วยเพิ่ม 109 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 109 ขีดความสามารถในการแข่งขัน และสามารถใช้ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงการทำเหมืองอย่างมีธรรมาภิบาล และควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดของอัญมณีที่ได้รับความนิยมในตลาด เช่น พลอยทับทิม พลอยเนื้ออ่อนสีแดงและสีน้ำเงิน พลอยไพลิน และพลอยมรกต เป็นต้น 8.2 ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) 1) ควรมีการส่งเสริมกระบวนการผลิตแรงงานที่มีทักษะเข้าสู่อุตสาหกรรมให้มากขึ้น และพัฒนาหลักสูตรแบบ Non-degree ที่สนับสนุนความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 2) ควรตรวจสอบคุณภาพของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสถานที่ในการทำงานเจียระไน ของแรงงานว่ามีลักษณะที่เหมาะสมถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ เช่น อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ การไหลเวียนอากาศที่เหมาะสม การใช้สารเคมี เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงการให้ความสำคัญของการผลิต ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม รวมถึงควรมีการกำกับดูแลให้สวัสดิการแรงงาน และการใช้แรงงาน ในภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 3) ควรมีการกำหนดมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Transformation Loan) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และโครงการ ค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสามารถจัดซื้อเครื่องจักร เจียระไน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อขยายกิจการได้ 4) ควรมีการให้ทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงและเครื่องเจียระไนเพชร เพื่อลดการพึ่งพาเครื่องเจียระไนเพชรต่างประเทศ 8.3 ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) 1) สำหรับการขยายฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ควรสนับสนุนและอบรมให้ความรู้ให้ผู้ผลิต เครื่องประดับในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มที่มีลวดลายที่ทันสมัย สามารถใส่ได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และร่วมโอกาสพิเศษต่าง ๆ 1.2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาที่เอื้อมถึง เนื่องจากการแขงขันในตลาดสวนใหญ่ ยังคงเป็นการแขงขันในสินคาที่มีราคาไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะตลาดจีนที่มีอำนาจการซื้อสูง และมีจำนวน ประชากรมาก ซึ่งวัยรุ่นชาวจีนมีรสนิยมที่ชอบสินค้าที่การออกแบบ (Design) มากกว่าสินค้าที่มีมูลค่าสูง 1.3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปรับเปลี่ยนรายละเอียด (Customize) ตามความชอบ ของลูกค้าได้ เช่น ลวดลายหรือสีที่ไม่เหมือนกัน ลวดลายที่แสดงตัวตนของลูกค้า เป็นต้น 1.4) การสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เช่น การออกแบบเว็บไซต์ให้ ลูกค้าสามารถเลือกชมและลองเครื่องประดับแต่ละแบบผ่านทางออนไลน์ได้ การพัฒนาเว็บไซต์ให้สามารถ รองรับการทำงานบนโทรศัพท์มือถือ ใช้งานง่าย สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและข้อมูลสินค้าที่อยู่ในรูป มัลติมีเดียต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality: VR) เข้ามาใช้ เป็นต้น 1.5) การผูกโยงเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ความหมายและเรื่องราวของพลอยแต่ละชนิด เรื่องราวของศาสนา ความเชื่อ และความศรัทธา เป็นต้น เชื่อมโยงเข้ากับผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้เกิดคุณค่า ทางใจที่สูงขึ้น คุณค่าทางใจที่สำคัญ เช่น เสริมโชคลาภ เสริมพลังให้ชีวิต เสริมสุขภาพ เป็นต้น 1.6) การทำการตลาดออนไลน์ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และเพื่อเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันของผู้ค้าในประเทศไทย เช่น การใช้เครื่องมือโฆษณาของ Google 110 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 110 และ Facebook การสตรีมบน YouTube การตลาดผ่าน Instagram Stories และ อินฟลูเอนเซอร (Influencer) เป็นต้น 1.7) การสร้าง Chatbot และ Live Chat เสนอความช่วยเหลือ ตอบคำถามทั่วไป และรับฟีดแบ็กจากลูกค้า 24 ชั่วโมง เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาสินค้า และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า 1.8) การบอกประวัติความเป็นมาและที่มาของวัตถุดิบ เช่น การคัดสรรวัตุดิบจากแหล่ง ธรรมชาติที่ดีที่สุดในโลก คุณค่าแห่งความหายากของวัตถุดิบธรรมชาติและมูลค่าที่จะไม่ลดลงในอนาคต การใช้กระบวนการผลิตที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความสามารถในการติดตาม กระบวนการต่าง ๆ ในการผลิตจนมาถึงมือผู้บริโภคได้ เป็นต้น 2) สำหรับการหาตลาดใหม่ๆ ควรมีการจัดนิทรรศการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัญมณีและ เครื่องประดับเพิ่มขึ้น ทั้งการจัดนิทรรศการภายในประเทศ และการให้ผู้ประกอบการไทยไปร่วมงาน นิทรรศการต่าง ๆ ในต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้าต่าง ๆ ทั่วโลกได้เห็นผลงานของชาวไทย โดยเรื่องที่ควร คำนึงถึงนอกจากผลิตภัณฑ์ที่แสดงออกมาถึงฝีมือของคนไทยแล้วนั้น บรรณจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง เช่นเดียวกัน เนื่องจากเทรนด์รักษ์โลกและสิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจ บรรณจุภัณฑ์ ที่แสดงออกถึงความรักษ์โลกจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าได้เช่นเดียวกัน 3) ควรมีการประชาสัมพันธ์กฎระเบียบและนโยบายภาครัฐที่ผู้ประกอบการสามารถใช้ ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง และควรประชมสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการใช้บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน โลหะมีค่า (Hallmark) เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นให้อุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับของไทย ในระยะยาว จะช่วยสร้างมาตรฐานการผลิตให้ดำเนินไปบนเกณฑ์เดียวกัน และสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยได้ต่อไป 9. บทสรุป บทความนี้ ชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ ต่อเศรษฐกิจไทย โดยเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมส่งออกที่ทำรายได้สูงสุดให้กับประเทศไทยมานานหลาย ทศวรรษ และมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังมีความพร้อมเพียงพอที่จะก้าวเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของภูมิภาคและของโลกได้ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ยังคงมีข้อจำกัดที่สำคัญบางประการ ซึ่งจำแนก ปัญหาอุปสรรคออกตามประเภทของกลุ่มอุตสาหกรรม กล่าวคือ อุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ การขาดแคลนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยที่ใช้ในขั้นตอน การเตรียมวัตถุดิบก่อนการนำส่งเพื่อการเจียระไน เป็นต้น อุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) เช่น การขาดแคลนช่างฝีมือในหลายสาขา เช่น ช่างโกนพลอย ช่างแต่งพลอย ช่างเจียระไนพลอย ช่างขึ้นรูป ต้นแบบ ช่างออกแบบ ช่างฝัง เป็นต้น การขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตอัญมณีและเครื่องปรับลวดลาย ใหม่ ๆ เพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีรสนิยมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และการขาดการพัฒนาทายาท ช่างฝีมือ อุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) เช่น ผู้ประกอบการรายย่อยขาดแคลนเงินทุนในการจัดหา เครื่องจักร เครื่องจักรในการผลิตของผู้ประกอบการยังไม่สามารถสู้คู่แข่งได้ ผู้ประกอบการรายย่อย ขาดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐานสินค้าและแบรนด์ ยังไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และช่องทางการจัดจำหน่ายที่จำกัด โดยยังไม่มีกลยุทธ์การจำหน่ายช่องทาง ตลาดดิจิทัลเท่าที่ควร โดยสรุป บทความนี้ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อ พัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับไทยตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ สำหรับอุตสาหกรรม 111 ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 1/2567 111 ต้นน้ำ (Upstream) ควรสนับสนุนการทำเหมืองแร่อย่างมีธรรมาภิบาล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Environmental, Social and Governance: ESG) ควรสนับสนุนเงินทุน สำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาอัญมณีที่มาจากห้องปฏิบัติการ ควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการระบุที่มาหรือแหล่งกำเนิดของอัญมณี สำหรับอุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) ควรมี การส่งเสริมการผลิตแรงงานที่มีทักษะ ควรกำกับดูแลคุณภาพและความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรม และควรกำหนดมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการ SMEs และสำหรับอุตสาหกรรม ปลายน้ำ (Downstream) ควรมีการพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่น ใหม่ เช่น ลวดลายที่ทันสมัย ระดับราคาที่เอื้อมถึง การสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ การทำการตลาดออนไลน์ผ่าน การสตรีมบน YouTube Instagram Stories และอินฟลูเอนเซอร (Influencer) การใช้เครื่องมือโฆษณาของ Google และ Facebook รวมถึงควรหาตลาดใหม่ ๆ ผ่านการจัด นิทรรศการต่าง ๆ ภายในประเทศ และการไปเข้าร่วมงานนิทรรศการต่าง ๆ ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ที่มา: กระทรวงการคลัง