นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนเมษายน 2551 ซึ่งจัดเก็บได้ 127,092 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 909 ล้านบาท และในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 - เมษายน 2551) จัดเก็บได้ 762,490 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8,595 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนเมษายน 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,092 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 909 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้า ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 2,849 2,277 และ 1,060 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.8 5.4 และ 15.7 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลประกอบการของธุรกิจ ตลอดจนการบริโภคและการลงทุนยังมีทิศทางที่ดีนอกจากนี้ยังเป็นผลจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ
ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้
ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,491 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.2 เป็นผลจากมาตรการทางภาษีที่ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมของสถาบันการเงิน และการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ การนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจยังต่ำกว่าเป้าหมาย 5,541 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.0 เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง นำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง 41,437 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.4 เนื่องจากปีที่แล้วมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. งวดที่ 1 และ 2 จำนวน 19,422 ล้านบาท ขณะที่ปีนี้ได้จัดสรรไปแล้วทั้งสองงวดเป็นจำนวน 21,248 ล้านบาท เมื่อเดือนมกราคมและมีนาคม 2551 ที่ผ่านมา
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — เมษายน 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 762,490 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,595 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.3) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรและกรมศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นสาเหตุหลัก
ผลการจัดเก็บรายได้จำแนกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 567,082 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 17,294 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.7) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 14,782 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น และบริษัทต่างๆเริ่มมีดำเนินงานที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,826 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 เป็นผลจากการนำเข้าและการบริโภคที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายเป็นผลจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ย และการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงิน ตลอดจนการปรับลดอัตราภาษีในส่วนของอสังหาริมทรัพย์
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 172,487 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยต่ำกว่าเพียง 160 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.6 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6,172 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7) เนื่องจากภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษีเมื่อปลายปีงบประมาณที่แล้ว ตลอดจนการรณรงค์ในการเลิกสูบบุหรี่ทำให้การบริโภคขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้
ส่วนภาษีน้ำมัน และภาษีสุราจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 1,171 และ 781 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 และ 3.6 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 57,173 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5,533 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.1) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 5,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551) มูลค่านำเข้าในรูปดอลล่าร์ สรอ. และเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 26.4 และ 16.4 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 65,966 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 14,044
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.6 (แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 28.6) เป็นผลจากบริษัททีโอทีฯ และบริษัท กสท โทรคมนาคมฯ ยังไม่นำส่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการการสื่อสาร (ชดเชยภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม) นอกจากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง ยังนำส่งรายได้
ต่ำกว่าเป้าหมาย
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 42,001 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,342 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.9)
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
แม้ว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 จะสูงกว่าประมาณการ 8,595 ล้านบาท แต่ผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรในช่วง 5 เดือนหลังของปีงบประมาณ 2551 ตลอดจนการนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจที่มีแนวโน้มจะต่ำกว่าเป้าหมาย กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีนี้ต่ำกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ (1.495 ล้านล้านบาท) เพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1.0 ซึ่งไม่กระทบต่อฐานะการคลังของรัฐบาลแต่อย่างใด
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2551 8 พฤษภาคม 51--
1. เดือนเมษายน 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,092 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 909 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้า ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 2,849 2,277 และ 1,060 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.8 5.4 และ 15.7 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลประกอบการของธุรกิจ ตลอดจนการบริโภคและการลงทุนยังมีทิศทางที่ดีนอกจากนี้ยังเป็นผลจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ
ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้
ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,491 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.2 เป็นผลจากมาตรการทางภาษีที่ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมของสถาบันการเงิน และการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ การนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจยังต่ำกว่าเป้าหมาย 5,541 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.0 เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง นำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง 41,437 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.4 เนื่องจากปีที่แล้วมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. งวดที่ 1 และ 2 จำนวน 19,422 ล้านบาท ขณะที่ปีนี้ได้จัดสรรไปแล้วทั้งสองงวดเป็นจำนวน 21,248 ล้านบาท เมื่อเดือนมกราคมและมีนาคม 2551 ที่ผ่านมา
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — เมษายน 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 762,490 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,595 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.3) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรและกรมศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นสาเหตุหลัก
ผลการจัดเก็บรายได้จำแนกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 567,082 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 17,294 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.7) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 14,782 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น และบริษัทต่างๆเริ่มมีดำเนินงานที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,826 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 เป็นผลจากการนำเข้าและการบริโภคที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายเป็นผลจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ย และการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงิน ตลอดจนการปรับลดอัตราภาษีในส่วนของอสังหาริมทรัพย์
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 172,487 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยต่ำกว่าเพียง 160 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.6 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6,172 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7) เนื่องจากภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษีเมื่อปลายปีงบประมาณที่แล้ว ตลอดจนการรณรงค์ในการเลิกสูบบุหรี่ทำให้การบริโภคขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้
ส่วนภาษีน้ำมัน และภาษีสุราจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 1,171 และ 781 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 และ 3.6 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 57,173 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5,533 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.1) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 5,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551) มูลค่านำเข้าในรูปดอลล่าร์ สรอ. และเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 26.4 และ 16.4 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 65,966 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 14,044
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.6 (แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 28.6) เป็นผลจากบริษัททีโอทีฯ และบริษัท กสท โทรคมนาคมฯ ยังไม่นำส่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการการสื่อสาร (ชดเชยภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม) นอกจากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง ยังนำส่งรายได้
ต่ำกว่าเป้าหมาย
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 42,001 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,342 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.9)
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
แม้ว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 จะสูงกว่าประมาณการ 8,595 ล้านบาท แต่ผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรในช่วง 5 เดือนหลังของปีงบประมาณ 2551 ตลอดจนการนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจที่มีแนวโน้มจะต่ำกว่าเป้าหมาย กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีนี้ต่ำกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ (1.495 ล้านล้านบาท) เพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1.0 ซึ่งไม่กระทบต่อฐานะการคลังของรัฐบาลแต่อย่างใด
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2551 8 พฤษภาคม 51--