ฉบับที่ 38/2567 วันที่ 23 เมษายน 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการฯ) ตามมติคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะกรรมการนโยบายฯ) ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 และมีมติเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบกรอบหลักการโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์: เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวและชุมชนมีความเข้มแข็ง ในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม
1.2 ความจาเป็น: ในปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.7 ต่อปี (ข้อมูลสานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ซึ่งเป็นระดับที่ต่ากว่าที่หลายหน่วยงานเคยประมาณไว้ โดยเป็นระดับที่ต่ากว่าศักยภาพ และมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเทียบ GDP ในไตรมาสที่ 4 กับ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ที่ขจัดผลของฤดูกาลแล้ว (Seasonally Adjusted) พบว่า GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 หดตัวร้อยละ 0.6 นอกจากนี้ ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในและนอกประเทศ เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การฟื้นตัวของรายได้ของประชาชน ที่ไม่เท่ากันตั้งแต่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และบั่นทอนกาลังซื้อของประชาชนและภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า โตต่า ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการอยู่ที่ร้อยละ 69 ดังนั้น รัฐบาลจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่ง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการฯ เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน โดยการดาเนินโครงการฯ ที่มีขอบเขตและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจในปัจจุบันย่อมส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมและช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังต้องมีความระมัดระวังและป้องกันความเสี่ยงทางด้านการคลังรวมถึงมีแนวทางในการช่วยลดผลกระทบดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ และประชาชนโดยรวม ตลอดจนรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด
1.3 กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน มีสัญชาติไทย ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน อายุเกิน 16 ปี ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
- 2 -
1.4 เงื่อนไขการใช้จ่าย:
(1) ระหว่างประชาชนกับร้านค้า: ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอาเภอ (878 อาเภอ) การชาระเงิน ต้องเป็นแบบพบหน้า (Face to Face) กาหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก
(2) ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า: ร้านค้าที่จะรับการใช้จ่ายจากประชาชนต้องเป็นร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กโดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก--ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ส่วนร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากร้านค้า ไม่มีการกาหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่และขนาดร้านค้า
1.5 ประเภทสินค้า: สินค้าทุกประเภทสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ ยกเว้นสินค้าที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ (Negative List) ซึ่งได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม บัตรกานัล บัตรเงินสด ทองคา เพชร พลอย อัญมณี น้ามันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สามารถพิจารณากาหนด Negative List เพิ่มเติมได้ โดยการใช้จ่าย ตามโครงการฯ ไม่รวมถึงบริการ
1.6 คุณสมบัติและเงื่อนไขร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ: ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้ (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) หรือ (2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ (3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax CIT) ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป
1.7 การจัดทาระบบ: พัฒนาและดาเนินการระบบ อาทิ การจัดทาเว็บไซต์ ระบบลงทะเบียนและตรวจสอบคุณสมบัติประชาชนและร้านค้า ระบบการใช้จ่าย ระบบการชาระเงิน ระบบตรวจสอบธุรกรรม โดยพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น ๆ ในลักษณะ Open Loop ด้วย
1.8 แหล่งเงิน: มีแนวทางเกี่ยวกับแหล่งเงินสาหรับการดาเนินโครงการฯ รวมเป็นเงิน 500,000 ล้านบาท ได้แก่ (1) เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จานวนประมาณ 152,700 ล้านบาท (2) การดาเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ จานวนประมาณ 172,300 ล้านบาท และ (3) การบริหารจัดการ เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จานวนประมาณ 175,000 ล้านบาท
1.9 ระยะเวลาการดาเนินโครงการ: เนื่องจากมีแนวทางการใช้แหล่งเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และ พ.ศ. 2568 ในการดาเนินโครงการฯ ดังนั้น จึงจะต้องมีการพิจารณาระยะเวลา ดาเนินโครงการฯ ให้สอดคล้องกับแหล่งเงินดังกล่าว โดยระยะเวลาดาเนินโครงการฯ จะต้องไม่เกินเดือนกันยายน 2569
1.10 การป้องกันการทุจริต: มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อกาหนดแนวทางและดาเนินการตรวจสอบ พิจารณา และวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทาที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการฯ การเรียกเงินคืน รวมถึงการดาเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่าง ๆ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรียังได้เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานผู้รับผิดชอบการดาเนินโครงการฯ ตามมติคณะกรรมการนโยบายฯ ในเรื่องต่าง ๆ อาทิ (1) กระทรวงพาณิชย์ รับผิดชอบกาหนดประเภทสินค้า ที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ (Negative List) เงื่อนไขเกี่ยวกับร้านค้าและวิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ (2) สานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกันพัฒนา และดาเนินการระบบสาหรับโครงการฯ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ ซึ่งรวมถึงการจัดทาเว็บไซต์ ระบบลงทะเบียนและตรวจสอบคุณสมบัติประชาชนและร้านค้า ระบบการใช้จ่าย ระบบการชาระเงิน ระบบตรวจสอบธุรกรรม และอื่น ๆ (3) คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทาที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ ซึ่งมีรองผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานอนุกรรมการ รับผิดชอบการตรวจสอบ วินิจฉัย การเรียกเงินคืน ร้องทุกข์ กล่าวโทษ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการฯ
- 3 -
นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายฯ จะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกากับการดาเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะอนุกรรมการกากับโครงการฯ) เพื่อกาหนดรายละเอียดการดาเนินโครงการฯ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการฯ ที่ไม่ขัดต่อกรอบหลักการต่าง ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบ และสอดคล้องกับระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย โดยประสานการดาเนินงานของหน่วยงานผู้รับผิดชอบการดาเนินโครงการฯ ในส่วนต่าง ๆ เพื่อให้การดาเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) เป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนสานักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนสานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นเลขานุการร่วม
2. เห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สานักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเงินในการดาเนินโครงการฯ
3. เห็นชอบมอบหมายให้คณะอนุกรรมการกากับโครงการฯ ที่จะจัดตั้งขึ้น ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรับทราบรายละเอียดโครงการฯ การลงทะเบียนโครงการฯ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อนึ่ง ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้เน้นย้าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดาเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ หากหน่วยงานใดมีประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องสามารถหารือไปยังสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้มีความชัดเจนก่อนดาเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ จะได้นาเสนอมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการต่อคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อให้สามารถผลักดันการดาเนินโครงการฯ ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะอนุกรรมการกากับโครงการฯ ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) เป็นประธาน จะได้เร่งพิจารณากาหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดาเนินโครงการฯ ที่จาเป็นเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบงานต่าง ๆ ในโครงการฯ ให้เป็นรูปธรรมได้ต่อไป เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายฯ มีนโยบายที่จะให้ประชาชนและร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และเริ่มใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567
ประชาชน vs ร้านค้า
ในพื้นที่อำ เภอ
และใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็ก
ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำ หนด
ร้านค้า vs ร้านค้า
ได้ทุกพื้นที่
และร้านค้าทุกขนาด
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท
ผ่าน DIGITAL WALLET
เหตุผลและความจำ เป็น
กลุ่มเป้าหมาย
เงื่อนไขการใช้จ่าย ประเภทสินค้า
การจัดทำ ระบบ
ประชาชนที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
สัญชาติไทย
ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน อายุเกิน 16 ปี
ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
สินค้าทุกประเภท
มอบหมายให้ DGA และ DES
พัฒนาและดำ เนินการระบบ
ระยะเวลาการดำ เนิน
โครงการฯ
แหล่งเงิน
การบริหาร
จัดการงบปี 67
175,000 ล้านบาท
งบปี 68
152,700 ล้านบาท
ผ่านหน่วยงานรัฐ
172,300 ล้านบาท
คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถ
ถอนเงินสดจากโครงการฯ
ลงทะเบียนเข้าร่วม
ภายในไตรมาส 3 ปี 67
เริ่มใช้จ่าย
ภายในไตรมาส 4 ปี 67
ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT)
หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT)
เฉพาะมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้ ร้านค้าจะถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่าย
ตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป
คณะกรรมการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำ ที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ
โดยมีรองผู้บัญชาการตำ รวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำ รวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน
ซึ่งจะมีหน้าที่หลักในการตรวจสอบ วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำ ผิดหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขของโครงการฯ หรือการกระทำ ที่อาจฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1 2 เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้าทายทั้งในและนอกประเทศ
เช่น ปัญหากำ ลังซื้อของประชาชน ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์
เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า เป็นต้น
เศรษฐกิจไทยโตต่ำ กว่าศักยภาพ
และมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบในอดีต
0.6
-0.6 Q3/66
GDP Q4/66
ปรับฤดูลกาล
ดังนั้น รัฐบาลจึงจำ เป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการฯ ไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน
จะพิจารณาให้สอดคล้องกับแหล่งเงิน
เช่น สร้าง Website
ระบบการลงทะเบียน
และตรวจสอบคุณสมบัติ
ระบบการใช้จ่าย
ระบบการชำ ระเงิน เป็นต้น
การป้องกันการทุจริต
ทั้งนี้ ต้องเป็นการซื้อขายแบบพบหน้ากัน
(Face to Face)
กรอบหลักการ
(คณะอนุกรรมการกำ กับการดำ เนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน digital wallet จะพิจารณากำ หนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติม)
ยกเว้น สินค้าอบายมุข น้ำ มัน เป็นต้น
และที่กระทรวงพาณิชย์จะกำ หนด
Negative List เพิ่มเติม
ไม่รวมบริการ
ที่มา: กระทรวงการคลัง