ฉบับที่ 13/2567 วันที่ 26 เมษายน 2567
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 1,163,250 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 1,571,030 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 260,350 ล้านบาท ส่งผลให้ เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 374,743 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)
หน่วย: ล้านบาท
ครึ่งแรก
เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ2567
ปีงบประมาณ2566
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
1,163,250
1,157,767
5,483
0.5
2. รายจ่าย (2.1 + 2.2)
1,571,030
1,795,423
(224,393)
(12.5)
2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน
1,480,979
1,691,980
(211,001)
(12.5)
2.2 รายจ่ายปีก่อน
90,051
103,443
(13,392)
(12.9)
3. ดุลเงินงบประมาณ
(407,780)
(637,656)
229,876
36.1
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
(16,883)
(87,284)
70,401
80.7
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
(424,663)
(724,940)
300,277
41.4
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
260,350
294,506
(34,156)
(11.6)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
(164,313)
(430,434)
266,121
61.8
8. เงินคงคลังต้นงวด
539,056
624,019
(84,963)
(13.6)
9. เงินคงคลังปลายงวด
374,743
193,585
181,158
93.6
หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 17 เมษายน 2567
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566
- 2 -
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนมีนาคม 2567 และในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)
ในเดือนมีนาคม 2567 รัฐบาลขาดดุลเงินสด จำนวน 8,357 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุล เงินงบประมาณ จำนวน 27,313 ล้านบาท และเป็นการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 18,956 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีจำนวน 374,743 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนมีนาคม 2567 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 178,043 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว โดยการนำส่งรายได้ของกรมสรรพสามิตสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาท/ลิตร ขณะที่ปีนี้มีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 1 บาท/ลิตร อย่างไรก็ดี การคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเป็นรายการหัก สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 205,356 ล้านบาท ต่ำกว่า เดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 59,254 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 22.4) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 193,141 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 22.2 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณ ปีก่อน จำนวน 12,215 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 25.0 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 1) 1.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 178,231 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 11.3 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอิสระของรัฐ เบิกจ่ายต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 14,910 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 68.6 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ และจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เบิกจ่ายต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น จำนวน 24,112 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 10,429 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 9,577 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 8,165 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 5,671 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 3,731 ล้านบาท เงินอุดหนุน ของกรมการปกครอง จำนวน 2,701 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,449 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 2,070 ล้านบาท และการเบิกจ่ายงบกลางรายการที่สำคัญ ได้แก่ เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 30,425 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 8,776 ล้านบาท เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ จำนวน 1,839 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 529 ล้านบาท เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 319 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 209 ล้านบาท - 3 - ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนมีนาคม 2567 หน่วย: ล้านบาท เดือนมีนาคม 2567 เปรียบเทียบ 2567 2566 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 193,141 248,317 (55,176) (22.2) 1.1 รายจ่ายประจำ 178,231 200,831 (22,600) (11.3) 1.2 รายจ่ายลงทุน 14,910 47,486 (32,576) (68.6) 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 12,215 16,293 (4,078) (25.0) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 205,356 264,610 (59,254) (22.4) ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ณ เดือนมีนาคม 2567 ขาดดุลจำนวน 8,357 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 27,313 ล้านบาท และการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 18,956 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเงินฝากของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สุทธิ จำนวน 20,233 ล้านบาท และเงินฝากคลังของกรมการแพทย์ สุทธิ จำนวน 2,288 ล้านบาท ทั้งนี้ มีการถอนเงินฝากคลัง ของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก สุทธิ 4,606 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 204,600 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุล จำนวน 196,243 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 374,743 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนมีนาคม 2567 หน่วย: ล้านบาท เดือนมีนาคม เปรียบเทียบ 2567 2566 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 178,043 176,789 1,254 0.7 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 205,356 264,610 (59,254) (22.4) 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 193,141 248,317 (55,176) (22.2) 2.2 รายจ่ายปีก่อน 12,215 16,293 (4,078) (25.0) 3. ดุลเงินงบประมาณ (27,313) (87,821) 60,508 68.9 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 18,956 11,753 7,203 61.3 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (8,357) (76,068) 67,711 89.0 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 204,600 33,000 171,600 520.0 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 196,243 (43,068) 239,311 555.7 8. เงินคงคลังต้นงวด 178,500 236,653 (58,153) (24.6) 9. เงินคงคลังปลายงวด 374,743 193,585 181,158 93.6 หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 17 เมษายน 2567 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566 - 4 - 2. ฐานะการคลังในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567) 2.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 1,163,250 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยการนำส่งรายได้ของกรมสรรพสามิต (ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน) และกรมสรรพากร สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาท/ลิตร ขณะที่ปีนี้มีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 2.5 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 กันยายน ? 31 ธันวาคม 2566 และ 1 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 มกราคม ? 19 เมษายน 2567 และน้ำมันเบนซิน 1 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ? 31 มกราคม 2567 นอกจากนี้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บในประเทศขยายตัวตามเศรษฐกิจ ประกอบกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นรายการหัก ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี รายได้ของหน่วยงานอื่นและกรมศุลกากรต่ำกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษรวม 39,131 ล้านบาท 2.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 1,571,030 ล้านบาท ต่ำกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 224,393 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 12.5) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 1,480,979 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 211,001 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.5 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 90,051 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 13,392 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.9 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 3) 2.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 1,388,682 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 55.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 2,521,745 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็น ร้อยละ 4.8 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการคลัง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เบิกจ่ายต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 92,297 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 13.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 663,255 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 60.3 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี เบิกจ่ายต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 147,216 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 121,130 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 94,841 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 50,926 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 49,647 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 45,323 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 45,058 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่น ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง จำนวน 35,620 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานประกันสังคม จำนวน 31,791 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 23,456 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง จำนวน 16,197 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 10,088 ล้านบาท งบลงทุนของ กรมชลประทาน จำนวน 9,148 ล้านบาท และการเบิกจ่ายงบกลางรายการที่สำคัญ ได้แก่ เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 190,506 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 53,348 ล้านบาท เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ จำนวน 36,965 ล้านบาท เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,951 ล้านบาท เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 1,930 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 817 ล้านบาท - 5 - ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 ? มีนาคม 2567) หน่วย: ล้านบาท ครึ่งแรก เปรียบเทียบ ร้อยละต่อวงเงินงบประมาณ ปีงบประมาณ 2567 ปีงบประมาณ2566 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 1,480,979 1,691,980 (211,001) (12.5) 46.5 1.1 รายจ่ายประจำ 1,388,682 1,459,291 (70,609) (4.8) 55.1 1.2 รายจ่ายลงทุน 92,297 232,689 (140,392) (60.3) 13.9 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 90,051 103,443 (13,392) (12.9) 56.8 3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,571,030 1,795,423 (224,393) (12.5) 47.0 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จำนวน 424,663 ล้านบาท โดยเป็น การขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 407,780 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 16,883 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการถอนเงินฝากคลังของภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม งวดที่ 10 - 12 ของปีงบประมาณ 2566 จำนวน 31,610 ล้านบาท ทั้งนี้ มีเงินฝากของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สุทธิ จำนวน 14,033 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 260,350 ล้านบาท ส่งผลให้ ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 164,313 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 374,743 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 ? มีนาคม 2567) หน่วย: ล้านบาท ครึ่งแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ2567 ปีงบประมาณ2566 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,163,250 1,157,767 5,483 0.5 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 1,571,030 1,795,423 (224,393) (12.5) 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,480,979 1,691,980 (211,001) (12.5) 2.2 รายจ่ายปีก่อน 90,051 103,443 (13,392) (12.9) 3. ดุลเงินงบประมาณ (407,780) (637,656) 229,876 36.1 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (16,883) (87,284) 70,401 80.7 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (424,663) (724,940) 300,277 41.4 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 260,350 294,506 (34,156) (11.6) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (164,313) (430,434) 266,121 61.8 8. เงินคงคลังต้นงวด 539,056 624,019 (84,963) (13.6) 9. เงินคงคลังปลายงวด 374,743 193,585 181,158 93.6 หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 17 เมษายน 2567 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3566 ที่มา: กระทรวงการคลัง