ฉบับที่ 42/2567 วันที่ 29 เมษายน 2567
ผลประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567
?กระทรวงการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี เร่งขึ้น
จากปี 2566 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นสาคัญ รวมถึงบทบาทสนับสนุนของนโยบายการคลังในช่วงที่เหลือของปี?
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผล การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ว่า ?เศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 (ช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 1.9 ถึง 2.9) ขยายตัวจากปี 2566 ที่ขยายร้อยละ 1.9? โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นสาคัญ รวมถึงบทบาทสนับสนุนของนโยบายการคลังในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ คาดว่า ภาคการท่องเที่ยวในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจานวน 35.7 ล้านคน ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี ส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ประชาชน ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ทาให้คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.2 ถึง 4.2) ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 ถึง 4.0) สาหรับการส่งออกสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8 ถึง 2.8) โดยคาดว่าการส่งออกสินค้าจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง และมูลค่าการนาเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 ถึง 3.9) โดยมีสินค้าทุนขยายตัวเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการลงทุนภาคเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ การคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ปรับลดลงเมื่อเทียบกับครั้งที่แล้วของกระทรวงการคลัง ณ เดือน มกราคม 2567 ที่ร้อยละ 2.8 เนื่องจาก 1) การส่งออกสินค้าที่หดตัวมากกว่าที่คาดการณ์โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 2) การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวซึ่งสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI) โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์และหมวดชิ้นส่วนและแผงวงจร ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 3) ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและปรากฏการณ์เอลนีโญ และ 4) ภาคการคลัง ที่ยังคงใช้การเบิกจ่ายตามงบประมาณตามปี 2566 ไปพลางก่อน
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1 ถึง 1.1) ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าอาหารบางกลุ่ม อีกทั้งราคาสินค้าใน หมวดพลังงานที่ลดลงจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะกลับมาเกินดุล 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP
- 2 -
โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ในช่วงต่อจากนี้เม็ดเงินจากงบประมาณปี 2567 จะเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเร่งขึ้นได้ในช่วงที่เหลือของปี 2567 สาหรับในระยะยาว การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน กระทรวงการคลังมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับ 1) ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) มุ่งมั่นในการบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบ โดยคานึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะอย่างรับผิดชอบ และ 2) การยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทย (Potential GDP) มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศในระดับภูมิภาคและระดับหมู่บ้าน โดยต่อยอดจากวิสัยทัศน์ 8 ด้าน ภายใต้กรอบนโยบาย Ignite Thailand ของรัฐบาล โดยการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมและอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ด้วยการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในด้านการผลิตและเทคโนโลยี รวมทั้งการส่งเสริมแรงงานที่มีทักษะผ่านการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกอบรมสายอาชีพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตของประเทศต่อไป การสนับสนุนประเด็นที่สาคัญเหล่านี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง ก้าวสู่การเป็นผู้นาในเวทีระดับภูมิภาคในอนาคต
นอกจากนี้ หากเม็ดเงินจากโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet สามารถเริ่มมีการใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 จะช่วยเพิ่มกาลังซื้อและสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี (กรณีประชาชนใช้จ่ายเม็ดเงินส่วนใหญ่ภายในสิ้นปี 2567)
อย่างไรก็ตาม ยังควรติดตามปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจากัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและอิหร่านที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานให้ปรับตัวสูงขึ้น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ 2) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดาเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป และ 3) การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญของไทย โดยเฉพาะประเทศจีนจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3296 หรือ 3273 - 3 - ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 (ณ เดือน เมษายน 2567) 2566 2567f เฉลี่ย ช่วง ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ) 1.9 2.4 1.9 ถึง 2.9 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภค - การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ) 7.1 3.5 3.0 ถึง 4.0 - การบริโภคภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ) -4.6 1.9 1.4 ถึง 2.4 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุน - การลงทุนภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ) 3.2 3.7 3.2 ถึง 4.2 - การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ) -4.6 0.6 0.1 ถึง 1.1 4) อัตราการขยายตัวของปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละ) 2.1 4.0 3.5 ถึง 4.5 5) อัตราการขยายตัวของปริมาณนาเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละ) -2.2 2.8 2.3 ถึง 3.3 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 17.0 14.4 13.1 ถึง 15.7 - มูลค่าสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ) -1.7 2.3 1.8 ถึง 2.8 - มูลค่าสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ) -3.1 3.4 2.9 ถึง 3.9 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 7.0 9.3 6.7 ถึง 11.9 - ร้อยละของ GDP 1.4 1.8 1.3 ถึง 2.3 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละ) 1.2 0.6 0.1 ถึง 1.1 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละ) 1.3 0.8 0.3 ถึง 1.3 สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละ) 3.2 3.1 2.6 ถึง 3.6 2) ราคาน้ามันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 81.9 86.0 81.0 ถึง 91.0 สมมติฐานด้านนโยบาย 3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 34.8 36.0 35.5 ถึง 36.5 4) รายจ่ายภาคสาธารณะ (ล้านล้านบาท) 3.99 4.08 4.03 ถึง 4.13 5) จานวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน) 28.2 35.7 35.2 ถึง 36.2 ที่มา: กระทรวงการคลัง