ฉบับที่ 43/2567 วันที่ 29 เมษายน 2567
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค1
(Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI)
ประจาเดือนเมษายน 2567
"ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือนเมษายน 2567
สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคตะวันออก
ภาคตะวันตก และภาคใต้ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคการท่องเที่ยวเป็นสาคัญ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ต่อปริมาณผลผลิตการเกษตร ความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์"
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือนเมษายน 2567 จากการประมวลผลข้อมูลการสารวจ ภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสานักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทาดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า ?ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือน เมษายน 2567 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคการท่องเที่ยวเป็นสาคัญ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ต่อปริมาณผลผลิตการเกษตร ความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 84.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าจะมีจานวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มมากขึ้น จากแนวทางการจัดงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุนที่เพิ่มขึ้น จากมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย รวมถึงมาตรการลดภาระค่าครองชีพและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)2 พบว่ายังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ระดับ 86.8 จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ทางบก เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดพื้นที่อุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของจังหวัด ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในภาคการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความเชื่อมั่นในภาคบริการที่ได้รับปัจจัยบวกจากการจัดกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในพื้นที่ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน และนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นสาคัญ และภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
1 หมายเหตุ
ก. ขอขอบคุณกรมบัญชีกลาง และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทาดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI)
ข. การอ่านค่าดัชนี RSI (ช่วง 0-100)
ดัชนี > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน?
ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ชะลอกว่าปัจจุบัน?
ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ทรงตัว?
2 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา
- 2 -
ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 76.4 สะท้อนความเชื่อมั่น ในภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าจะมีจานวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น จากการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นของทั้งไทยและต่างประเทศ และการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวที่มีต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดพังงาที่ได้รับรางวัล ?เมืองต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในประเทศไทย? เป็นปีที่สองติดต่อกัน และภาคอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวดีขึ้น จากอุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวเนื่องกับยางพารา ขณะที่ยอดคาสั่งซื้อและ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้น สะท้อนจากจานวนทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป และผลิตภัณฑ์ไม้ที่เพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 76.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ จากจานวนนักท่องเที่ยวและ การบริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงมีกาลังซื้อจากชาวกัมพูชาที่เดินทางเข้ามารักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการบริโภคและการส่งเสริมการท่องเที่ยว และภาคการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น ตามทิศทางภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 75.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ จากกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ รวมถึงมาตรการของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนนโยบายกระตุ้น การใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล และภาคอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัว ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ และภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงอาจส่งผลให้ประชาชนมีกาลังซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากการปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม จานวนทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรม และภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ที่ร้อนจัดที่อาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงปริมาณน้าที่อาจไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และสภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความผันผวน ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 72.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม จากแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัว และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนด้านพลังงาน และสาหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 70.7 สะท้อนความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการและภาคการลงทุนเป็นสาคัญ
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจาเดือนเมษายน 2567
กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
70.7
84.1
76.1
76.4
72.9
75.4
76.6
86.8
ดัชนีแนวโน้มรายภาค
1) ภาคเกษตร
55.0
80.9
70.0
68.3
76.0
70.6
69.5
82.9
2) ภาคอุตสาหกรรม
69.2
83.3
77.1
78.2
75.3
77.2
76.0
85.5
3) ภาคบริการ
82.3
90.9
82.3
85.5
70.5
81.2
86.6
93.2
4) ภาคการจ้างงาน
72.8
81.2
72.0
73.4
70.7
72.9
74.8
85.2
5) ภาคการลงทุน
74.4
84.4
78.9
76.7
72.0
75.1
75.9
87.3
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254 ที่มา: กระทรวงการคลัง