เศรษฐกิจไทย
เครื่องชี้เศรษฐกิจรายสัปดาห์
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี โดย
มีปัจจัยมาจากราคาสินค้าเกษตรสาคัญหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้ง
การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 67 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 62.1 โดยความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคได้รับปัจจัยจากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้าและ
ค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ที่
ชะลอตัว
? ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน เม.ย. 67 หดตัวที่ร้อยละ -9.4 ต่อปี
เนื่องจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมี
วันหยุดยาวต่อเนื่อง ทาให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างลดลง
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 67ขยายตัวที่ร้อยละ 3.7เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7
โดยได้รับปัจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น จากกรณีราคาสินค้าเกษตรสาคัญหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา กอปกับการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพจากภาครัฐ ส่งผลให้กาลังซื้อของประชาชนปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ยังคงเป็นปัจจัยกดดันต่อการบริโภคของประชาชนในระยะต่อไป
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 67ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 62.1จากระดับ 63.0ในเดือนก่อน โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคได้รับปัจจัยกดดันจากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้าและค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และประเด็นสงครามในตะวันออกกลางที่อาจยืดเยื้อบานปลาย จนอาจส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจไทยได้ อย่างไรก็ดี จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการที่ปรับตัวดีขึ้น การดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยี่ยวยาประชาชนของภาครัฐ โดยเฉพาะการปรับลดค่าไฟฟ้า ตลอดจนการยกเว้นวีซ่าของนักท่องเที่ยว ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะต่อไป
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน เม.ย. 67 หดตัวที่ร้อยละ -9.4 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
Cement Sales
ในเดือน เม.ย. 67 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการ ลดลงต่อเนื่อง 6 เดือน
เนื่องจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมีวันหยุดยาวต่อเนื่อง ทาให้
ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างลดลง ขณะที่ราคาปูนซีเมนต์ได้ปรับตัวลดลงจากปีก่อน
เครื่องชี้ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือนมี.ค. 67คิดเป็น 2.03เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย
โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน มี.ค. 67 อยู่ที่ 5.5.47 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)
ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน เม.ย. 67อยู่ที่ร้อยละ 2.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามตลาดคาดการณ์ โดยเพิ่มขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.8 ขณะที่ดัชนีราคาผลิตพื้นฐาน (core PPI) ออกมาที่ร้อยละ 2.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นไปตามที่ตลาดคาดเช่นกัน
อัตราเงินเฟ้อรายปีเดือน เม.ย. 67 ปรับตัวลดลงเป็นร้อยละ 3.4 ซึ่งไปตามที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะที่ Core inflation rate รายปีเดือน มี.ค. 67อยู่ที่ระดับต่าสุดในรอบ 3ปีที่ร้อยละ 3.6เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด
จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (5 -11 พ.ค. 67) อยู่ที่ 2.22 แสนราย คงที่จากสัปดาห์ก่อนหน้า และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.20 แสนราย ทั้งนี้ จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.1แสนราย
สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น
คาสั่งซื้อเครื่องมือกล (Machine Tool Orders) เดือน เม.ย.67หดตัวร้อยละ -11.6ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่หดตัวร้อยละ -3.8ต่อปี จากอุปสงค์ในประเทศและคาสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ล้วนหดตัวลง
GDP
ไตรมาสแรกปี 67 (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี หรือหดตัวตัวร้อยละ -1.6ต่อไตรมาส
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) (final) เดือน มี.ค.67 หดตัวร้อยละ -6.2 ต่อปี (ขยายตัวร้อยละ 4.4ต่อเดือน) 1.5ต่อปี ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.53ตั้งแต่ปี 2497ถึง 67
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.5
ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ร้อยละ 3.8
อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.2ของกาลังแรงงานรวม และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
ยูโรโซน
ไตรมาสที่ 2 ปี 67 (ประเมินครั้งที่ 2) ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.1และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 67 หดตัวร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันของการขยายตัวของยอดค้าปลีก และเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 65 เนื่องจากการใช้จ่ายเร่งตัวขึ้นในช่วงเดือนถือศีลอดเดือนรอมฎอนและก่อนการเฉลิมฉลองวันอีฎิ้ลฟ ตริ
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.72 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.75จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการนาเข้า เดือน เม.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -12.76จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อินโดนีเซีย
GDP
GDPไตรมาสที่ 11ปี 6767ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตัวเลขดังกล่าวนับเป็นอัตราการขยายตัวของ GDP ที่สูงที่สุดในรอบ 4ไตรมาส
ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 ตัวเลขดังกล่าวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 นับเป็นการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3อันเนื่องจากการขยายตัวของผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่และไฟฟ้าที่ขยายตัวชะลอลง
อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกาลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 4.83 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.85จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบ 11เดือน และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดที่คาดไว้ที่ร้อยละ 4.8
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการนาเข้า เดือน เม.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -6.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน เม.ย. 67 ขาดดุลที่ระดับ -19.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ระดับ -15.6พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อินเดีย
สิงคโปร์
การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ามัน (NODX) เดือน เม.ย.67 หดตัวร้อยละ -9.3 ต่อปี (ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อเดือน) หดตัวชะลอลงจากร้อยละ -20.8 ต่อปี ในดือนก่อนหน้า นับเป็นการหดตัวต่อปีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3จากการลดลงของการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์
ดุลการค้า เดือน เม.ย.67 เกินดุล 4,525.96ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ ดุลการค้าในสิงคโปร์เฉลี่ยอยู่ที่ 1,239.78ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ตั้งแต่ปี 07ถึงปี 67
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย.67 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี ต่าสุดนับจากต้นปี 67จากต้นทุนที่ลดลงในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์
อัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาลแล้ว) เดือน เม.ย.67อยู่ที่ร้อยละ 2.8เท่ากับเดือนก่อนหน้า
เกาหลีใต้
อัตราการว่างงาน ช่วง ม.ค. -มี.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 สูงสุดนับจากช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 66
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน มี.ค. 67 เกินดุลที่ระดับ 4.34 พันล้านยูโร ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 6.0พันล้านยูโร
อิตาลี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ ก.ย. 64อันเนื่องจากการลดลงของอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารเป็นสาคัญ
ฝรั่งเศส
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SETSETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkeiNikkei225 ญี่ปุ่น TWSETWSE(ไต้หวัน) และ Heng SengSeng(ฮ่องกง)เป็นต้น เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 67 ดัชนีป ดที่ระดับ 1,31,377.72จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 13-16 พ.ค. 67 อยู่ที่47,410.43 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 13 -16 พ.ค. 67 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 4,379.95ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-20ปี ปรับตัวลดลงในช่วง -8 ถึง -8 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลทั้งนี้ ระหว่างวันที่13 -16 พ.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 4,073.62ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 16พ.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ-55,713.79ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่1616พ.ค. 67เงินบาทป ดที่ 36.1717บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.032.03จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยนยูโรริงกิตดอลลาร์ไต้หวัน และดอลลาร์สิงคโปร์ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลเปโซ และวอน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ 1.56
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
Foreign
E xchange
16
May 24 1w %
chg 1m %
chg YTD %
chg Avg 22 %
chg Avg YTD
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง