ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 31, 2024 14:52 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 51/2567 วันที่ 30 พฤษภาคม 2567
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค1
(Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI)
ประจาเดือนพฤษภาคม 2567
"ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือนพฤษภาคม 2567 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ
ใน 6 เดือนข้างหน้าที่ยังขยายตัวได้ แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการ โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์"
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือนพฤษภาคม 2567 จากการประมวลผลข้อมูลการสารวจ ภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสานักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทาดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า ?ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือนพฤษภาคม 2567 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่ยังขยายตัวได้ แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการ โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 82.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาคบริการ จากมาตรการส่งเสริม พัฒนา และประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ ประกอบกับมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐผ่านโครงการลงทะเบียน เพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 และความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น จากอุปสงค์และคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรม ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับยางพารา และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทางด้าน ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)2 พบว่ายังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ที่ระดับ 85.9 สาหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 76.2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความเชื่อมั่นในภาคบริการและภาคการลงทุน จากการจัดกิจกรรมสนับสนุน การท่องเที่ยวภายในพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงปลายปีที่ผ่านพ้นฤดูมรสุมแล้ว รวมถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ผ่านสถาบันการเงินต่าง ๆ ของภาครัฐ แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลต่อความผันผวนของราคาพลังงาน และทิศทางเศรษฐกิจโลก ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 74.7 สะท้อนความเชื่อมั่น ในภาคบริการ จากการจัดงานเทศกาล งานประเพณี และการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
1 หมายเหตุ
ก. ขอขอบคุณกรมบัญชีกลาง และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทาดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI)
ข. การอ่านค่าดัชนี RSI (ช่วง 0-100)
ดัชนี > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน?
ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ชะลอกว่าปัจจุบัน?
ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ทรงตัว?
2 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา
- 2 -
ในช่วงปลายปีที่จะเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยวของภาคเหนือ และภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น จากอุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจานวนโรงงานอุตสาหกรรมและปริมาณ การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัว โดยคาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตทางการเกษตรป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น แต่ยังต้องติดตามประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งอาจส่งผลต่อภาคการผลิต และการส่งออกของไทย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 71.8 สะท้อนถึง ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ จากแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ และภาคเอกชน และนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล จะช่วยให้มีจานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และภาคเกษตรกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น จากราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดที่อยู่ในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนภาคเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ที่แปรปรวนและปัญหาภัยแล้ง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 71.7 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการและภาคเกษตรกรรม จากมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ รวมถึงมาตรการของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนภาคเกษตรกรรมและกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชน ทั้งนี้ ยังต้องติดตามปัญหาสภาพอากาศที่ร้อนและฝนทิ้งช่วงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตภาคการเกษตร ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 70.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม จากแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดความขัดแย้ง ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารได้ ประกอบกับรัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนเกษตรกร อาทิ มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาผลผลิตทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามโอกาสเกิดภัยแล้งและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และสาหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 67.3 สะท้อน ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการและภาคการลงทุนตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นสาคัญ
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจาเดือนพฤษภาคม 2567
กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
67.3
82.9
71.8
76.2
70.4
74.7
71.7
85.9
ดัชนีแนวโน้มรายภาค
1) ภาคเกษตร
63.6
80.3
73.7
72.9
74.9
68.9
74.0
82.1
2) ภาคอุตสาหกรรม
62.3
83.5
66.1
74.4
70.9
77.1
68.3
87.7
3) ภาคบริการ
75.6
87.9
77.9
85.5
67.1
80.4
77.6
90.4
4) ภาคการจ้างงาน
67.2
79.4
70.4
72.3
69.1
71.9
67.5
83.5
5) ภาคการลงทุน
67.7
83.1
71.0
75.7
69.7
75.1
71.2
85.8
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254


          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ