ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 5, 2024 14:01 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ประมาณการ

ประจำ ไตรมาสที่ 2/2567

THAILAND?S ECONOMIC

OUTLOOK

Quarter 2/2024

สารบัญ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

บทสรุปผู้บริหาร ประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2567 ...................................................................... 2

Executive Summary Thailand?s Economic Projections for 2024 ..................................... 5

สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ................................................................ 9

ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ..................................................................................... 28 Thailand's Key Economic Indicators

ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators) ............................................................... 37 ภาคการคลัง

รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2567

(ตุลาคม 2566 ? มีนาคม 2567) ................................................................................................... 41 ภาคการเงิน

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาส 1 ปี 2567 .............................................................. 48 บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ: Macroeconomic Analysis Briefings

การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย - อินเดีย (Trade,Investment and Tourism of Thailand ? India) ................................................................................................. 56

ส่องแรงงานไทย ปี 2566 มีสัดส่วนยังไง ค่าจ้างเท่าไร ยังไหวไหม ................................................. 67

เหลียวหลัง แลหน้าเศรษฐกิจ MSME ............................................................................................ 73

ทุเรียนไทย: โอกาส ความเสี่ยง ในยุคที่คู่แข่งพร้อมท้าชิง ............................................................... 83

2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

2

บทสรุปผู้บริหาร ประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2567

?เศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากปี 2566 ที่ขยายตัวได้

ร้อยละ 1.9 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นสำคัญ

รวมถึงบทบาทสนับสนุนของนโยบายการคลังในช่วงที่เหลือของปี?

เศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9 ถึง 2.9) ขยายตัวจากปี 2566 ที่ขยายร้อยละ 1.9 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง เป็นสำคัญ รวมถึงบทบาทสนับสนุนของนโยบายการคลังในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ คาดว่าภาคการท่องเที่ยว ในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 35.7 ล้านคน ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี ส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ประชาชน ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ทำให้คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.2 ถึง 4.2) ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 ถึง 4.0) สำหรับการส่งออกสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8 ถึง 2.8) โดยคาดว่าการส่งออกสินค้าจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 ถึง 3.9) โดยมีสินค้าทุนขยายตัวเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการลงทุนภาคเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ การคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ปรับลดลงเมื่อเทียบกับครั้งที่แล้ว ของกระทรวงการคลัง ณ เดือน มกราคม 2567 ที่ร้อยละ 2.8 เนื่องจาก 1) การส่งออกสินค้าที่หดตัวมากกว่าที่คาดการณ์โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 2) การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคง หดตัวซึ่งสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI) โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์และหมวดชิ้นส่วนและแผงวงจรในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 3) ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและปรากฏการณ์เอลนีโญ และ 4) ภาคการคลังที่ยังคงใช้การเบิกจ่ายตามงบประมาณตามปี 2566 ไปพลางก่อน

ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1 ถึง 1.1) ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าอาหารบางกลุ่ม อีกทั้งราคาสินค้าในหมวดพลังงานที่ลดลงจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะกลับมาเกินดุล 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP

ในช่วงต่อจากนี้เม็ดเงินจากงบประมาณปี 2567 จะเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเร่งขึ้นได้ในช่วงที่เหลือของปี 2567 สำหรับ ในระยะยาว การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน กระทรวงการคลังมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับ 1) ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) มุ่งมั่นในการบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะอย่างรับผิดชอบ และ 2) การยกระดับศักยภาพ ของเศรษฐกิจไทย (Potential GDP) มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศในระดับภูมิภาคและระดับหมู่บ้าน โดยต่อยอดจากวิสัยทัศน์ 8 ด้านภายใต้กรอบนโยบาย Ignite Thailand ของรัฐบาล โดยการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็น

3

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

3

ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมและอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ด้วยการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในด้านการผลิตและเทคโนโลยี รวมทั้งการส่งเสริมแรงงานที่มีทักษะผ่านการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกอบรมสายอาชีพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตของประเทศต่อไป การสนับสนุนประเด็นที่สำคัญเหล่านี้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง ก้าวสู่การเป็นผู้นำในเวทีระดับภูมิภาคในอนาคต

นอกจากนี้ หากเม็ดเงินจากโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet สามารถเริ่มมีการใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อและสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี (กรณีประชาชนใช้จ่ายเม็ดเงินส่วนใหญ่ภายในสิ้นปี 2567)

อย่างไรก็ตาม ยังควรติดตามปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความขัดแย้ง ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและอิหร่านที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานให้ปรับตัวสูงขึ้น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) 2) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลัก และปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และ 3) การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย โดยเฉพาะประเทศจีนจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์

4

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

4

ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 (ณ เดือนเมษายน 2567) 2566 2567f เฉลี่ย ช่วง

ผลการประมาณการ

1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)

1.9

2.4

1.9 ถึง 2.9

2) อัตราการขยายตัวของการบริโภค

- การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)

7.1

3.5

3.0 ถึง 4.0

- การบริโภคภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)

-4.6

1.9

1.4 ถึง 2.4

3) อัตราการขยายตัวของการลงทุน

- การลงทุนภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)

3.2

3.7

3.2 ถึง 4.2

- การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)

-4.6

0.6

0.1 ถึง 1.1

4) อัตราการขยายตัวของปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละ)

2.1

4.0

3.5 ถึง 4.5

5) อัตราการขยายตัวของปริมาณนำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละ)

-2.2

2.8

2.3 ถึง 3.3

6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

17.0

14.4

13.1 ถึง 15.7

- มูลค่าสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ)

-1.7

2.3

1.8 ถึง 2.8

- มูลค่าสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ)

-3.1

3.4

2.9 ถึง 3.9

7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

7.0

9.3

6.7 ถึง 11.9

- ร้อยละของ GDP

1.4

1.8

1.3 ถึง 2.3

8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละ)

1.2

0.6

0.1 ถึง 1.1

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละ)

1.3

0.8

0.3 ถึง 1.3

สมมติฐานหลัก

สมมติฐานภายนอก

1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละ)

3.2

3.1

2.6 ถึง 3.6

2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล)

81.9

86.0

81.0 ถึง 91.0

สมมติฐานด้านนโยบาย

3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ)

34.8

36.0

35.5 ถึง 36.5

4) รายจ่ายภาคสาธารณะ (ล้านล้านบาท)

3.99

4.08

4.03 ถึง 4.13

5) จำนวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน)

28.2

35.7

35.2 ถึง 36.2

5

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

5

Executive Summary Thailand?s Economic Projections for 2024

Thailand?s Economic Projections for 2024

?Thai economy will expand by 2.4 percent in 2024,accelerating from 1.9 percent expansion in 2023. The growth in 2024 is primarily attributed to the boost of the tourism sector, in addition to the supportive role of fiscal policy measures

throughout the remainder of this year?

?The Thai economy is projected to expand by 2.4 percent (within the range of 1.9 to 2.9 percent) in 2024.? The growth is underpinned by the sustained expansion of the tourism sector and the supportive measures of fiscal policy throughout the remainder of the year. The international tourists are anticipated to reach 35.7 million tourists (increase by 26.7 percent) which will benefit the tourism industry and associated sectors. This positive outlook is set to bolster employment and household income, thereby bolstering business confidence. Private investment is projected to rise 3.7 percent (within the range of 3.2 to 4.2 percent), while private consumption is forecasted to increase 3.5 percent (within the range of 3.0 to 4.0 percent). Export value of goods in USD is expected to increase 2.3 percent (within the range of 1.8 to 2.8 percent), with a recovery anticipated in the latter half of the year. Import value of goods in USD is forecasted to expand 3.4 percent (within the range of 2.9 to 3.9 percent), primarily due to capital goods signaling the upward trend in private investment.

The economic projection has been revised downward compared to the projection at January 2024, which stood at 2.8 percent. The adjustment is attributed to 4 main factors which are 1) Exports have contracted more than anticipated, particularly in the industrial sector during the first quarter of 2024. 2) Manufacturing industry continues to contract, as evidenced by the Manufacturing Production Index (MPI), notably in the automotive and electronics sectors during the first quarter of 2024. 3) The agricultural sector has been impacted by drought and the El Ni?o phenomenon. 4) The fiscal sector persists in utilizing expenditure allocations according to the budget of 2023, causing a delay in economic stimulation.

Regarding to Thailand?s economic internal stability, it remains at a robust level. The headline inflation rate is projected to be 0.6 percent (within the range of 0.1 to 1.1 percent), driven by adjustments downwards in prices of certain food items. Additionally, prices within the energy sector have decreased due to government measures that target to ease the rising cost of living. In terms of external stability, the service balance is expected to be surplus resulting from an increase in international tourists, leading to the current account balance potentially returning to a surplus of 9.3 billion USD, equivalent to 1.8 percent of GDP.

6

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

6

The Ministry of Finance Spokesperson mentioned that the upcoming period will benefit from the expedite of the fiscal 2024 budget which will drive economic activity and potentially accelerating growth for the rest of the year. Looking towards long-term economic development, the Ministry maintains a clear vision focusing on two key aspects: 1) Fiscal sustainability: Committed to prudent fiscal management, the Ministry emphasizes responsible government spending and managing public debt levels. 2) Elevating Thailand's economic potential: The focus is on regional and community-level development, building upon the eight pillars outlined in the government's Ignite Thailand policy framework. This involves promoting Thailand as a center for innovation and high-value industries by attracting foreign direct investment in production and technology sectors. Additionally, there is an emphasis on enhancing skilled labor through education reform and vocational training, thereby improving the country's manufacturing capabilities. Supporting these key initiatives is expected to foster sustained and stable economic growth in Thailand, positioning the nation as a regional leader in the future.

Furthermore, in case that the Digital Wallet Scheme can commence disburstment in the fourth quarter of 2024, it could significantly boost purchasing power and potentially lead the Thai economy to expand to 3.3 percent, assuming that the majority spendings are made within the end of 2024.

However, Thailand?s economic outlook could be influenced by several factors, and the following factors that should be closely monitored: 1) Global geopolitical tensions that escalate in various regions of the world could pose limitations and have repercussions on Thailand's economic growth in the near future. For instance, the heightened tensions between Israel and Iran could impact energy prices, leading to adjustments. Additionally, strategic competition between China and the United States. 2) The fluctuation in the global financial markets due to more restrictive monetary policies of Thailand?s major trading partners and financial institutions, particulary in the United States and the European Union. 3) The economic recovery in Thailand?s major trading partners, particularly China economy situation and its real estate issues.

7

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

7

Major Economic Assumptions and Thailand?s Economic Projections for 2024

2023 2024f as of Apr 2024 Avg Range

Projections

1) GDP Growth Rate (percent y-o-y)

1.9

2.4

1.9 to 2.9

2) Real Consumption Growth (percent y-o-y)

- Real Private Consumption (percent y-o-y)

7.1

3.5

3.0 to 4.0

- Real Public Consumption (percent y-o-y)

-4.6

1.9

1.4 to 2.4

3) Real Investment Growth (percent y-o-y)

- Real Private Investment (percent y-o-y)

3.2

3.7

3.2 to 4.2

- Real Public Investment (percent y-o-y)

-4.6

0.6

0.1 to 1.1

4) Export Volume of Goods and Services (percent y-o-y)

2.1

4.0

3.5 to 4.5

5) Import Volume of Goods and Services (percent y-o-y)

-2.2

2.8

2.3 to 3.3

6) Trade Balance (USD billion)

17.0

14.4

13.1 to 15.7

- Export Value of Goods in USD (percent y-o-y)

-1.7

2.3

1.8 to 2.8

- Import Value of Goods in USD (percent y-o-y)

-3.1

3.4

2.9 to 3.9

7) Current Account (billion U.S.)

7.0

9.3

6.7 to 11.9

- Percentage of GDP

1.4

1.8

1.3 to 2.3

8) Headline Inflation (percent y-o-y)

1.2

0.6

0.1 to 1.1

Core Inflation (percent y-o-y)

1.3

0.8

0.3 to 1.3

Major Assumptions

1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners (percent y-o-y)

3.2

3.1

2.6 to 3.6

2) Dubai Crude Oil Price (USD per Barrel)

81.9

86.0

81.0 to 91.0

3) Exchange Rate (THB per USD)

34.8

36.0

35.5 to 36.5

4) Public Expenditure (Trillion THB)

3.99

4.08

4.03 to 4.13

5) Number of foreign tourists (Million)

28.2

35.7

35.2 to 36.2

8

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

8

9

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

9

สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567

1.

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 15 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินภาพรวมอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทย 15 ประเทศ ในปี 2567 คาดว่า จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1 (YoY) เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 2.8 (YoY) เนื่องจากการปรับดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน เป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับผลประมาณการโดยสำนักเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเศรษฐกิจคู่ค้าภาพรวม มีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดยกิจกรรมภาคการผลิตเริ่มกลับมาฟื้นตัวควบคู่กับกิจกรรมภาคบริการที่ยังคงขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ ยังมีทิศทางการฟื้นตัวการค้าและการส่งออกที่เริ่มปรับดีขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ในปีนี้ได้ อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อของประเทศสำคัญต่าง ๆ และทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างใกล้ชิด รวมทั้ง สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าพลังงาน

ในระยะต่อไป ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1) ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้แก่ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังรวมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในพื้นที่อื่น ๆ เช่น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและการค้าระหว่างประเทศ 2) สถานการณ์การเลือกตั้งของหลายประเทศที่สำคัญในปี 2567 ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อินเดีย ซึ่งอาจส่งผลต่อความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเงินและการค้าระหว่างประเทศในระยะต่อไป 3) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ของประเทศคู่ค้าหลักที่อาจยึดเยื้อและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป 4) สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศสำคัญที่มีทิศทางชะลอลง เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังอ่อนแอ รวมทั้ง สถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่อาจฟื้นตัวได้ช้าจากปัจจัยกดดัน ด้านอสังหาริมทรัพย์และหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งทิศทางที่อ่อนแอลง ของเศรษฐกิจประเทศสำคัญดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน รวมทั้งการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลกในปี 2567 ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงในระยะต่อไปที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในปี 2567 ได้แก่ 1) ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้แก่ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ สถานการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ยังรวมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในพื้นที่อื่น ๆ เช่น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีน และสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและการค้าระหว่างประเทศ สำหรับการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดงของกบฏฮูติยังเป็นอีกปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง 2) สถานการณ์การเลือกตั้งของหลายประเทศที่สำคัญในปี 2567 ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อินเดีย และอินโดนีเซีย อาจส่งผลต่อความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเงินและการค้าระหว่างประเทศในระยะต่อไป 3) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

10

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

10

และ 4) สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศสำคัญที่มีทิศทางชะลอลง เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังอ่อนแอ รวมทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่อาจฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดจากปัจจัยกดดัน ด้านอสังหาริมทรัพย์และหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ซึ่งทิศทางที่อ่อนแอลงของเศรษฐกิจประเทศสำคัญดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2567

11

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

11

ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 15 ประเทศ (ร้อยละ)

ที่มา: รวบรวมและประมาณการโดย สศค.

1.1 เศรษฐกิจสหรัฐฯ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.2 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม)

? เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) และเป็นการขยายตัว ที่ร้อยละ 1.6 เมื่อคำนวนแบบ Annualized rate เป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่หดตัวในช่วงครึ่งแรก ของปี 2565 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมาจากการบริโภคสินค้า เป็นสำคัญ โดยการใช้จ่ายด้านบริการยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับการลงทุนที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยได้และการใช้จ่ายภาครัฐได้ชะลอตัวลง ประกอบกับการส่งออกชะลอตัวลงอย่างมาก และการนำเข้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ล่าสุดผล การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) ระหว่างวันที่ 2 - 1 พฤษภาคม 2567 มีมติเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.00 - 5.25 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบประมาณ 16 ปี และนับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 10 นับตั้งแต่เดือน มีนาคม 2565

? ในปี 2567 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (เพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อน) ชะลอลงจากปี 2566 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหลายสำนัก ที่ได้ปรับคาดการณ์ GDP เพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุหลักมาจาก ปี 2566 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวดีกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เป็นผลมาจากประเทศคู่ค้าหลักเรียงตามสัดส่วนการส่งออกปี 2566 2565 2566 2566 2567 ทั้งปี 2567F Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 15 ประเทศ (79.4%) 3.41 2.89 3.15 3.25 3.42 3.17 N.A. 3.09

1. สหรัฐฯ (17.2%)

1.9

1.7

2.4

2.9

3.1

2.5 3.0 2.3

2. จีน (12.0%)

3.0

4.5

6.3

4.9

5.2

5.2 5.3 4.7

3. ญี่ปุ่น (8.7%)

0.9

2.6

2.3

1.6

1.2

1.9 -0.2 0.9

4. ยูโรโซน (6.6%)

3.5

1.3

0.6

0.1

0.1

0.5 0.4 0.7

5. ออสเตรเลีย (4.3%)

3.8

2.5

2.1

2.1

1.5

2.1 N.A. 1.5

6. มาเลเซีย (4.2%)

8.9

5.5

2.8

3.1

2.9

3.6 4.2 4.5

7. เวียดนาม (3.9%)

8.0

3.4

4.3

5.5

6.7

5.0 5.7 5.8

8. ฮ่องกง (3.9%)

-3.7

2.8

1.6

4.2

4.3

3.3 2.7 2.7

9. สิงคโปร์ (3.6%)

3.8

0.5

0.5

1.0

2.2

1.1 2.7 2.4

10. อินเดีย (3.6%)

6.5

6.2

8.2

8.1

8.4

7.7 N.A. 6.8

11. อินโดนีเซีย (3.5%)

5.3

5.0

5.2

4.9

5.0

5.0 5.1 5.0

12. ฟิลิปปินส์ (2.8%)

7.1

6.4

4.3

6.0

5.5

5.5 5.7 6.1

13. เกาหลีใต้ (2.1%)

2.6

0.9

0.9

1.4

2.2

1.4 3.4 2.2

14. ไต้หวัน (1.7%)

2.6

-3.5

1.4

2.1

4.9

1.3 6.5 3.2

15. สหราชอาณาจักร (1.4%)

4.3

0.3

0.3

0.2

-0.2

0.1 0.2 0.8

12

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

12

การจ้างงานและการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งเกินคาด ณ สิ้นปี 2566 อย่างไรก็ดี ปี 2567 มีแนวโน้มการขยายตัวต่ำกว่าปี 2566 เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการใช้จ่ายของภาครัฐ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2566 ตลอดจนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟดที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้สูงนานเกินกว่าคาดการณ์ (CME fed watch ณ เมษายน 2567 คาดว่าจะเริ่มลดลงในเดือนกันยายน 2567 จำนวน 1 ครั้ง จากเดิมเมื่อเดือนมกราคม 2567 คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย จำนวน 5 ครั้ง เริ่มต้นในเดือนมีนาคม 2567) ส่งผลให้การใช้จ่ายผู้บริโภคและการลงทุนภาคธุรกิจชะลอลง ทั้งนี้ มีปัจจัยเสี่ยง ที่ต้องติดตาม ได้แก่ การดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดที่อาจนานกว่าที่คาดการณ์หากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และความผันผวนของตลาดการเงินจากสถานการณ์การสู้รบของอิสราเอลและอิหร่าน ความเสี่ยงที่จะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Downgrade) จากปริมาณหนี้สาธารณะที่ไม่สะท้อน ความยั่งยืนททางกลางคลังในระยะปานกลาง ความเสี่ยงจากสภาพคล่องในธนาคารขนาดกลาง - เล็กจากผลของดอกเบี้ยสูง รวมทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน 2567

1.2 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย: สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.0 ของมูลค่าส่งออกสินค้า)

? เศรษฐกิจของจีนในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ที่ผ่านมา มีทิศทางปรับดีขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการผลิตและภาคบริการที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 50.3 จุด และดัชนี PMI ภาคบริการ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 51.6 จุด อีกทั้งมูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 พลิกกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.2 ตามทิศทางการฟื้นตัวของการค้าระหว่างประเทศและอุปสงค์สินค้าโลก อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเครื่องชี้วัดอุปสงค์ภายในประเทศ พบว่า ยอดค้าปลีก ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 8.3 สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อของจีนที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.0 ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางจีน (PBOC) ที่ตั้งเอาไว้ร้อยละ 3.0 ด้านอัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 บ่งชี้ถึงการจ้างงานภายในประเทศที่ยังคงอ่อนแอ

? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับดีขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 โดยได้แรงหนุนจากมาตรการสนับสนุนสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์และรัฐบาลท้องถิ่น การเพิ่มการขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้ง มาตรการ Free Visa เพื่อส่งเสริมนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวในประเทศ อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไป เศรษฐกิจจีนยังเผชิญความไม่แน่นอนและแรงกดดันจากปัญหาหนี้ที่สูงขึ้นและความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนปัจจัยเชิงโครงสร้างในระยะยาว เช่น ปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อการเติบโต อีกทั้งปัจจัยภายนอกยังได้รับแรงกดดันจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์กับสหรัฐที่รุนแรง นำไปสู่มาตรการกีดกันด้านเทคโนโลยี รวมทั้ง ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากจีนไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งนี้ รัฐบาลจีนเปิดเผยรายงานการทำงานของรัฐบาล (Government Work Report) ในวันที่ 5 มีนาคม 2567 โดยระบุว่า จีนได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สำหรับปี 2567 ไว้ที่ประมาณร้อยละ 5.0

13

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

13

1.3 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 8.7 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม)

? เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ปีก่อน หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าหลังจากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลายตัวส่งสัญญาณหดตัวในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 67 อาทิ อัตราการว่างงาน เดือนมีนาคม 2567 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เท่ากับเดือนก่อนหน้า สูงสุดนับจาก เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคการผลิต (Final) เดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ 49.6 (ต่ำกว่า 50) โดยกิจกรรมโรงงานยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) (final) เดือน มีนาคม 2567 หดตัวร้อยละ -6.2 ต่อปี คำสั่งซื้อเครื่องมือกล (Machine Tool Orders) เดือนเมษายน 2567 หดตัวร้อยละ -11.6 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.8 ต่อปี จากอุปสงค์ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ล้วนหดตัวลง เป็นต้น

? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี (ซึ่งคาดว่าจะมีพิจารณาปรับตัวเลขอีกครั้งในการประมาณการรอบหน้า) โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญแรงกดดัน ด้านราคาจากสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็น 2 ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการค้าเป็นอย่างมาก จึงทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยการส่งออกเหล็กและเคมีภัณฑ์ราคาถูกจากจีนอาจตัดราคาผู้ผลิตในญี่ปุ่น และการลดภาษีในสหรัฐฯ อาจส่งผลให้เงินเฟ้อในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มอย่างมากที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก หากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของค่าจ้างและเงินเฟ้อจากราคาค่าบริการ

1.4 เศรษฐกิจยูโรโซน 20 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย: สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 6.6 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม)

? เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าหลังจากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจยูโรโซน โดยรวมมีทิศทางปรับดีขึ้น สะท้อนจากเครื่องชี้สำคัญด้านอุปทาน ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 46.4 จุด ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 43.9 จุด อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุด สะท้อนถึงภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซนที่ยังคงหดตัว ด้านดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการเฉลี่ยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 48.4 จุด โดยดัชนีกลับมาอยู่สูงกว่าระดับ 50.0 จุด บ่งชี้การฟื้นตัวของภาคบริการ เมื่อพิจารณาเครื่องชี้ที่สำคัญ ด้านอุปสงค์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ -15.5 จุด จากไตรมาสก่อนหน้า ที่ระดับ -16.6 จุด สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจปรับดีขึ้น ทางด้านยอดค้าปลีกเฉลี่ยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 หดตัวร้อยละ -0.27 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.80 ทางด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานเฉลี่ยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ 6.5 ของกำลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสถานการณ์เงินเฟ้อในประเทศที่ปรับลดลง เช่นเดียวกันกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับลดลงในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปัจจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่าสถานการณ์เงินเฟ้อของยูโรโซนยังคงมีทิศทางที่ลดลงต่อเนื่อง

14

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

14

? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี (คงจาก การประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนมกราคม 2567) ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจยูโรโซนในระยะต่อไป คาดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะค่อยทยอยปรับดีขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุนจากรายได้ที่แท้จริงและการบริโภคที่เริ่มปรับดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อ ที่เริ่มลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในต่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ของสหภาพยุโรป ตามกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะยาว (Multiannual Financial Frameworks: MFF) ของสหภาพยุโรปในช่วงปี 2564 - 2570 รวมถึงงบประมาณเพิ่มเติมจากแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้ง สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง เช่น สถานการณ์สู้รบระหว่างอิสลาเอลและฮามาส และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าพลังงานและการติดขัดของห่วงโซ่อุปทาน

1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.0 ของมูลค่าการส่งออกรวม)

? เศรษฐกิจอาเซียนไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องสะท้อนจากตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจของ 5 ประเทศ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน 2) เศรษฐกิจประเทศฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็น การขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการบริโภคภาครัฐที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.6 จากหดตัวที่ร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และการส่งออกที่ขยายตัวทำให้การค้าสุทธิขยายตัวร้อยละ 7.1 ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่ระดับปกติในช่วงร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 4 ซึ่งจะส่งเสริมการบริโภคในประเทศให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต 3) เศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซียไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.11 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.04 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -0.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการใช้จ่ายของภาครัฐสำหรับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอนในเดือนมีนาคม 2567 ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซีย โดยช่วยหักล้างผลกระทบจากยอดส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงในปี 2566 4) เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเศรษฐกิจฝั่งอุปสงค์ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการส่งออก ภาคการบริโภคภาคเอกชน และภาคการลงทุนเป็นสำคัญ ในส่วนของเศรษฐกิจฝั่งอุปทานได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการก่อสร้าง ภาคเหมืองแร่และเหมืองหิน และภาคบริการเป็นสำคัญ 5) เศรษฐกิจประเทศสิงคโปร์ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัว ที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี (หดตัวร้อยละ -2.4 ต่อไตรมาส) โดยคาดว่าสิงคโปร์จะได้รับประโยชน์จากแนวโน้ม การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของสหรัฐฯ และการขยายตัวที่แข็งแกร่งเกินคาดในจีน รวมถึงความต้องการด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังคงเผชิญความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ

15

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

15

จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลางหรือสงครามยูเครน และนโยบายการเงิน ที่แตกต่างกันทั่วโลก

? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจอาเซียนจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่ง โดยคาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ไม่เปลี่ยนแปลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน โดยเศรษฐกิจเวียดนามยังมีปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ ได้แก่ การลงทุนจากภาคเอกชนต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ การบริโภค การท่องเที่ยว และการส่งออกที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของเวียดนาม ที่จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2567 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้าเท่ากับการประมาณการครั้งก่อนหน้า ถือเป็นการขยายตัวได้ ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนมาจากการส่งออกของฟิลิปปินส์ที่สามารถขยายตัว ได้ค่อนข้างมากอย่างต่อเนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัว ขณะเดียวกันเศรษฐกิจยังได้รับแรงสนับสนุนจาก อุปสงค์ภายในประเทศที่เข้มแข้งจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลกลาง เพื่อเร่งลดช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ นอกจากนี้ ยังคาดว่าธนาคารกลางของฟิลิปปินส์จะดำเนินนโยบายการเงินในทิศทางที่ผ่อนคลายลงในช่วงครึ่งหลัง ของปี 2567 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อกลับมาสู่ในสภาวะปกติ เศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงจากการประมาณการเดือนมกราคม 2567 โดยเศรษฐกิจมาเลเซียยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศอันสะท้อนจากยอดค้าปลีกที่ขยายตัวต่อเนื่อง การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจากจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และการฟื้นตัว ของภาคอุตสาหกรรมจากผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งแผน NIMP2030 ที่ส่งเสริมการลงทุน ในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมาเลเซียยังได้รับปัจจัยกดดันจากการส่งออกที่ยังคงชะลอตัวลง อันเนื่องจากการชะลอตัวของอุปสงค์โลก รวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อของประเทศ คู่ค้าที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมไปถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจสิงคโปร์คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี เท่ากับประมาณการในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากภาคการผลิตและภาคการเงินมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่คาดว่าจะผ่อนคลายลง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 2567 ยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากภาคการผลิตในไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับตัวลดลง และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ฟื้นตัวได้ดีดังคาด นอกจากนี้การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปี 2567 อาจชะลอตัวลง เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ไม่เปลี่ยนแปลงจาก การประมาณการเดือนมกราคม 2567 โดยธนาคารอินโดนีเซียมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เพื่อลดรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์และการควบคุมเงิน นอกจากนี้ ภาคการส่งออกของอินโดนีเซียยังคงหดตัว อย่างต่อเนื่อง และการปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออก ดุลบัญชีเดินสะพัด และรายได้ของรัฐบาล ซึ่งอาจะเป็นแรงกดดันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย อย่างไรก็ดี ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารยังมีแนวโน้มเติบโตดี รวมถึงการสานต่อนโยบายรัฐบาล ของนายโจโก วีโดโด ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน อาจเป็นปัจจัยในการสนับสนุนเศรษฐกิจ

16

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

16

ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน (%)

ที่มา: CEIC รวบรวมโดย สศค.

1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.0 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม)

? ในไตรมาส 1 ปี 2567 ภาพรวมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอินเดีย) ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร เป็นแบบผสม ซึ่งมีทั้งประเทศที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขยายตัวชะลอลง และหดตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเศรษฐกิจฮ่องกงกลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวได้ร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกสินค้าและบริการที่ดีขึ้น ตลอดจนการบริโภคภาคเอกชนและรายจ่ายการลงทุนที่เพิ่มขึ้น และเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับปกติ ทางด้านเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ไตรมาส 1 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.4 (หรือหดตัวร้อยละ -7.0 ต่อไตรมาส) โดยการส่งออกกลับมาขยายตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2567 และอัตราเงินเฟ้อ มีแนวโน้มชะลอตัวลง เศรษฐกิจไต้หวันไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 4 โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้น เศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี จากการขยายตัวของภาคอุตสากรรมและการผลิตรถยนต์ ส่วนเศรษฐกิจออสเตรเลีย อินเดีย ยังคงรอ การแถลงตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ซึ่งเศรษฐกิจออสเตรเลียมีแนวโน้ม ที่จะขยายตัวชะลอลง โดยเป็นช่วงที่ออสเตรเลียกำลังฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ภาคการค้าระหว่างประเทศสุทธิถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ขับเคลื่อนการเติบโต โดยการนำเข้าที่ลดลง เป็นผลมาจากการที่ชาวออสเตรเลียจับจ่ายสินค้าต่างประเทศน้อยลง มีส่วนช่วยเพิ่มการเติบโตของ GDP ถึงร้อยละ 0.7 ด้านอินเดียยังคงอยู่บนทิศทางการขยายตัว โดยได้แรงหนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐจำนวนมากในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 นโยบายด้านภาษีแบบใหม่ และนโยบายส่งเสริมภาคการผลิตเพื่อให้อินเดียก้าวขึ้นมาเป็นฐานการผลิต 3.3

2.6

9.7

3.7

5.7

8.9

8.1

3.8

5.3

7.6

3.6

5.0

1.1

5.0 5.6

4.5

5.8

2.4

5.0

6.1

0.0

2.0

4.0

6.0

8.0

10.0

12.0

มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

GDP Growth (%)

2564 2565 2566 2567f

17

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

17

ของโลก อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์เลือกตั้งทั่วไปในช่วงไตรมาส 2 ปี 2567 เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายประชานิยมเป็นหลัก ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่นโยบายส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นตัวตัดสินทิศทางเศรษฐกิจอินเดียในปี 2567

ภาพที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร)

ที่มา: CEIC รวบรวมโดย สศค.

? ในปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน รวมถึงออสเตรเลียจะยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 เนื่องจากเศรษฐกิจออสเตรเลียยังคงมีแรงกดดันจากค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงซึ่งยังคงส่งผลต่ออุปสงค์ ประกอบกับ เศรษฐกิจออสเตรเลียในอนาคตอาจมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจจีนที่คาดว่าจะชะลอตัว อย่างไรก็ดี การเติบโตของการจ้างงานค่อย ๆ คลี่คลายลง สอดคล้องกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ส่วนเศรษฐกิจฮ่องกงคาดว่า จะสามารถขยายตัวได้ดี เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำ ขณะที่แรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นต่อการบริโภค การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และการค้าภายนอก ลดลงตามลำดับจากการสิ้นสุดของวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น อีกทั้ง ฮ่องกงจะได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงนโยบายการตุ้นการบริโภคและการท่องเที่ยวภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และต้นทุนทางการเงินที่สูง ทำให้การลงทุนยังคงถูกจำกัดเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่กำลังดำเนิน ขณะที่ เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย จากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจไต้หวันยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากการส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงยอดค้าปลีกที่ยังคงขยายตัว เช่นเดียวกันกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าสู่ไต้หวัน ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการบริโภคภายในประเทศ สำหรับภาคอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจไต้หวันยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมไปถึงความขัดแย้ง 6.5

5.6

9.4

4.3

6.6

8.7

-3.7

3.8

6.5

2.6 2.6

4.3

3.3

2.1

7.7

1.30 1.31

0.1

2.7

1.5

6.8

2.2

3.2

0.8

-6.0

-4.0

-2.0

0.0

2.0

4.0

6.0

8.0

10.0

12.0

ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร

GDP Growth (%)

2564 2565 2566 2567f

18

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

18

ทางภูมิรัฐศาสตร์และแนวนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลใหม่ที่เป็นปัจจัยกดดันการค้ากับประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 1

2. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และดัชนีค่าเงินบาท

?ในปี 2567 คาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงจากปีก่อนหน้า โดยเฉลี่ยทั้งปีที่ 36.00 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หรืออ่อนค่าลงร้อยละ -3.4 จากค่าเฉลี่ยปีก่อนหน้า และดัชนีค่าเงินบาทปี 2567 จะอ่อนค่าลงร้อยละ -2.7 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เป็นสำคัญ? (ภาพที่ 3)

ภาพที่ 3 สมมติฐานค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และดัชนีค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2567

? ในปี 2567 ค่าเฉลี่ยเงินบาทคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 35.50 ? 36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือคิดเป็นการอ่อนค่าลงที่ร้อยละ -3.4 จากค่าเฉลี่ยปี 2566 ซึ่งเป็นการปรับการประมาณการให้อ่อนค่าลงจากครั้งก่อน ที่ร้อยละ 35.31 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีสาเหตุหลักมาจาก ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ค่าเงินบาทมีความผันผวนและอ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรกเฉลี่ยที่ 35.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และ QTD (1 - 17 พฤษภาคม 2567) เฉลี่ยอยู่ที่ 36.76 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากกระแสเงินทุนไหลออกทั้งในตลาดทุนและตลาดพันธบัตร นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มี การปรับการคาดการณ์ โดยลดจำนวนครั้งที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2567 จากเมื่อเดือนมกราคม 2567 ที่คาดว่าจะปรับลด จำนวน 6 ครั้ง และเริ่มปรับลดในเดือนมีนาคม ที่ลดเหลือ จำนวน 3 ครั้ง เมื่อต้นเดือนเมษายน 2567 และเหลือ 2 ครั้งหลังจากสถานการณ์ระหว่างอิสราเอลและอิหร่านในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยจะเริ่มปรับลดของการประชุมในเดือนกันยายน 2567 นอกจากนี้ ภายใต้ การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีเสถียรภาพในปี 2567 อาจจะยังมีความท้าทายในภาพรวม ของเศรษฐกิจโลกในระยะสั้นที่ต้องติดตาม รวมถึงความไม่แน่นอนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารกลางสหรัฐฯ และความเสี่ยงของสถานการการสู้รบระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน เป็นสำคัญ

? ในปี 2567 กระทรวงการคลังคาดว่า ดัชนีค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงจากปี 2566 โดยเฉลี่ยทั้งปี 2567 จะอยู่ที่ระดับ 108.19 จุด อ่อนค่าลงร้อยละ -2.7 จากค่าเฉลี่ยปี 2566 ภายใต้การเติบโต ทางเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีเสถียรภาพ ในปี 2567 อาจจะยังมีความท้าทายในภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ในระยะสั้นที่ต้องติดตาม รวมถึงความไม่แน่นอนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ 35.29 35.31

33.94

32.32

31.05 31.30

32.00

35.07

34.81

36.00

28.00

29.00

30.00

31.00

32.00

33.00

34.00

35.00

36.00

37.00

2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567F

Average

THB/USD

110.16

100.66

105.48

109.75

116.69 115.68

110.64

107.93

111.24

108.19

90.00

95.00

100.00

105.00

110.00

115.00

120.00

125.00

2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567F

Average

NEER

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวบรวมโดย สศค.

หมายเหตุ: ดัชนีค่าเงินบาท จากการคำนวณของ สศค.

19

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

19

ที่ผ่านมาค่าเงินบาทมีความผันผวนและอ่อนค่าลงต่อเนื่องในช่วงช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เนื่องจากกระแสเงินทุนไหลออกทั้งในตลาดทุนและตลาดพันธบัตร ตลอดจนสถานการณ์การสู้รบระหว่างอิหร่าน และอิสราเอลที่ได้ส่งผลต่อกระทบอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงเดือนเมษายน 2567 ส่งผลให้ค่าเงินบาท มีแนวโน้มอ่อนค่าลงมากกว่าสกุลเงินอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์สหรัฐยูโร ดอลลาร์ออสเตรเลีย หยวน และดอลลาร์ฮ่องกง อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทยังมีทิศทางการอ่อนค่าลงใกล้เคียงกับหลายสกุลเงิน ได้แก่ ปอนด์สเตอร์ลิง รูปีอินเดีย เปโซฟิลิปปินส์ วอนเกาหลี ริงกิตมาเลเซีย รูเปียะห์อินโดนีเซีย ดอลลาร์ไต้หวัน ด่องเวียดนาม และมีทิศทางแข็งค่ามากกว่า เยน ทั้งนี้ ค่าเงินบาทมีโอกาส จะแข็งค่าขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 จากแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

3. ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

3.1 สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบ

สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในเดือนเมษายน 2567 เคลื่อนไหวในกรอบแคบที่ช่วง 86 ? 92 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมีแนวโน้มสูงในช่วงครึ่งเดือนแรก เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางตึงเครียด จากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ก่อให้เกิดความกังวลต่อการปิดช่องแคบฮอร์มุส ที่เป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งน้ำมันดิบสูงถึงวันละ 21 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของปริมาณการขนส่งน้ำมันทั่วโลก ซึ่งจะทำให้อุปทานน้ำมันดิบตึงตัวขึ้น อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านยังคงอยู่ในวงจำกัด และการโจมตีตอบโต้ของทั้ง 2 ฝ่ายมุ่งหวังเพื่อหวังผลเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ทำให้ราคาน้ำมันราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวและปรับลดลง จากความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางปรับลดลง ขณะที่สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงดำเนินการต่อเนื่อง โดยยูเครนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นรัสเซียอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงกลั่น น้ำมันของรัสเซียหยุดดำเนินการบางส่วนชั่วคราว ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อกำลังการกลั่นน้ำมันของรัสเซียประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้รัสเซียส่งออกน้ำมันลดลง ซึ่งสอดคล้องการควบคุมอุปทานภายใต้ข้อตกลงในการลดกำลังการผลิตของ OPEC+

สำหรับปัจจัยพื้นฐาน สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ประเมินว่าปริมาณน้ำมันคงคลังของโลกจะลดลง -0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในไตรมาส 2 ปี 2567 เนื่องจากการลดกำลัง การผลิตของกลุ่ม OPEC+ อย่างต่อเนื่อง และความต้องการน้ำมันที่สูงขึ้น (เนื่องจากฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ในซีกโลกเหนือ และภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด) ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกตึงตัวขึ้น

20

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

20

ภาพที่ 4 การผลิตและการบริโภคเชื้อเพลิงเหลวของโลก

ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA)

ทั้งนี้ EIA คาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจะเริ่มเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2568 โดยคาดว่า OPEC+ จะกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้งเมื่อมาตรการลดกำลังการผลิตหมดลง อีกทั้ง ยังมีการผลิตของกลุ่ม Non-OPEC ที่เติบโตขึ้น นำโดยสหรัฐอเมริกา กายอานา บราซิล และแคนาดา

โดย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม สำนักเลขาธิการ OPEC มีการประกาศขยายเวลาในการลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจรวม -2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ของกลุ่มประเทศ OPEC+ ถึงในไตรมาส 2 ปี 2567 นำโดยประเทศ ซาอุดิอาระเบียที่ -1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน รัสเซียที่ -0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน รองลงมาเป็น อิรัก UAE คูเวต ตามลำดับ ทั้งนี้ การประชุม OPEC+ ครั้งต่อไปคือครั้งที่ 37 จะจัดขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ณ เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งน่าติดตาม เนื่องจากเป็นการประชุมเต็มรูปแบบที่จะส่งสัญญานต่อตลาดน้ำมันช่วงครึ่งหลังของปี

ภาพที่ 5 กราฟอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันดิบ

ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA)

21

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

21

โดยอุปสงค์การบริโภคปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงเหลวทั่วโลกในปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 102.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ +0.9 ขณะที่อุปทานการผลิตปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงเหลวทั่วโลกปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 102.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ +0.8เมื่อเทียบกับปี 2566 ส่งผลให้อุปทานผลิตปิโตรเลียม และเชื้อเพลิงเหลวทั่วโลกต่ำกว่าอุปสงค์ที่ -0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ภาพที่ 6 น้ำมันคงคลังของสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ OECD

ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA)

สำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐ (EIA) ประเมินว่าปริมาณน้ำมันในคลังน้ำมันสำรองลดลง โดยเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีล่าสุด ในช่วงปี 2567

3.2

คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2567

สศค. คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 86 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่ร้อยละ 5.0 เป็นผลมาจาก

1)

ด้านอุปทาน ปรับลดลงจากการลดกำลังการผลิตของประเทศซาอุดิอาระเบียและกลุ่ม OPEC+

โดยสมัครใจที่ -2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ที่ขยายเวลาถึงไตรมาส 2 ปี 2567

2) ด้านอุปสงค์ ในภาพรวมอุปสงค์น้ำมันดิบโลกเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ดีกว่าคาด ส่งผลให้ความต้องการบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบในปี 2567 ดังนี้

(1) สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ความขัดแย้งของอิหร่านและอิสราเอล หากสถานการณ์แพร่วงกว้างสู่ระดับความขัดแย้งระดับภูมิภาค อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันดิบ ในตะวันออกกลาง ที่คิดเป็นประมาณหนึ่งในสามของน้ำมันทั่วโลก

(2) สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในพื้นที่อื่น อาจทำให้เกิดวิกฤตพลังงานขาดแคลนและส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นได้

22

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

22

(3) สภาวะเอลนีโญ (El Nino) ที่คาดว่าจะทำให้ทั่วโลกอาจมีความร้อนเฉลี่ยที่สูงขึ้น กระทบต่อความต้องการใช้พลังงาน และอาจกระทบต่อปริมาณน้ำมันไบโอดีเซลให้ลดลงทำให้ราคาเพิ่มขึ้น และส่งผ่านผลกระทบมายังราคาน้ำมันดิบให้สูงขึ้น

(4) ผลกระทบจากการลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งพลังงานจากฟอสซิล เช่น การเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้นในประเทศสหรัฐฯ และยุโรป

ภาพที่ 7 คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2566 ของ สศค.

ที่มา: ประมาณการโดย สศค.

4. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

ภาคการท่องเที่ยวของไทยมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยปี 2567 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 พฤษภาคม 2567 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยแล้ว 13.7 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับภาคการท่องเที่ยวของไทย 6.6 แสนล้านบาท ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากนักท่องเที่ยวชาวจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย และรัสเซีย ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าในไตรมาส 1 ที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า นักท่องเที่ยวเที่ยวจีนมีการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากผลของมาตรการยกเว้นวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน และเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยไตรมาส 1 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้ามามากเป็นอันดับ 1 แม้ว่าการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนยังคงฟื้นตัวต่ำกว่าระดับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง (คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา 7.0 ล้านคน) นอกจากนั้น มาตรการยกเว้นวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย ไต้หวัน และคาซัคสถาน ก็มีส่วนช่วยให้นักท่องเที่ยวจากประเทศดังกล่าวเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลยังได้มีการต่อ

23

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

23

อายุมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางนักท่องเที่ยวชาวอินเดียและไต้หวัน ต่อเนื่องจากมาตรการระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 - 10 พฤษภาคม 2567 โดยการต่ออายุมาตรการดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม - 11 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งถือเป็น การกระตุ้นการท่องเที่ยวเนื่องจากมาตรการดังกล่าวจะอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวอินเดีย และไต้หวันในการเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง ก็มีแนวโน้วฟื้นตัวดีเช่นกัน

จากสถานการณ์การการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น จึงคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 35.7 ล้านคน (เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ ครั้งก่อนที่คาดการณ์ไว้ที่ 33.5 ล้านคน) ขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 เมื่อเทียบกับปี 2566 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ 1.59 ล้านล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 29.2 (ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.48 ล้านล้านบาท) ตามการปรับเพิ่มประมาณการนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อคนต่อทริปของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยภาพรวมอยู่ที่ 44,600 บาท/คน/ทริป ซึ่งถือว่ายังในระดับต่ำกว่าช่วง Pre covid-19 ที่อยู่ที่ 47,895 บาทต่อคนต่อทริป

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตามที่สำคัญ เช่น (1) การฟื้นตัวของเที่ยวบินและความเชื่อมั่น รวมทั้งเศรษฐกิจจีนที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น (2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (3) มาตรการเกี่ยวกับวีซ่าในกับนักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ขณะเดียวกันรัฐบาลของประเทศอื่น ๆ เริ่มใช้นโยบายยกเว้นวีซ่าเช่นกัน ทำให้เกิดการแข่งขันที่มากขึ้น (4) การฟื้นตัวของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ลดลงตามพฤติกรรม ของที่เปลี่ยนแปลงของนักท่องเที่ยวและการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวในเมืองหลัก

ภาพที่ 8 คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ปี 2567 (ล้านคน)

ที่มา: ประมาณการโดย สศค.

24

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

24

5. รายจ่ายภาคสาธารณะปี 2567

?ปี 2567 รายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 4,083,510 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี (ตารางที่ 2) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น (1) การบริโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 3,054,640 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี และ (2) การลงทุนภาครัฐบาล คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 1,028,870 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี?

5.1 รายจ่ายของรัฐบาล

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 3,480,000 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 3,211,396 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายที่ร้อยละ 92.3 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ สามารถเบิกจ่ายได้ 2,756,757 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 99.5 (2) รายจ่ายลงทุน สามารถเบิกจ่ายได้ 454,639 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.9 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตรา การเบิกจ่ายที่ร้อยละ 64.0 ขณะที่รายจ่ายเหลื่อมปีสามารถเบิกจ่ายได้ 148,927 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -14.4 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 93.0

ในส่วนของการเบิกจ่ายรายจ่ายนอกงบประมาณจากเงินกู้ โดยในปี 2567 มีพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 2,111 ล้านบาท โดยมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการจัดหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 สำหรับบริการประชากร ในประเทศไทย และโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น

ตารางที่ 2 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลปีงบประมาณ 2567

(หน่วย: ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2566 ปีงบประมาณ 2567 คาดการณ์ ม.ค 2567

1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2+1.3)

3,704,190

3,735,915

1.1 รายจ่ายงบประมาณรวม (1.1.1+1.1.2+1.1.3)

3,262,393

3,360,323

1.1.1 รายจ่ายประจำ

2,610,245

2,756,757

1.1.2 รายจ่ายลงทุน

478,190

454,639

รายจ่ายรัฐบาลประจำปี (1.1.1)+(1.1.2)

3,088,435

3,211,396

อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ

97.0

92.3

1.1.3 รายจ่ายเหลื่อมปี

173,958

148,927

1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ

1.2.1 พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563

1.2.2 พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 2564

53,777

197

53,580

2,111

-

2,111

1.3 รายจ่ายกองทุนนอกงบประมาณ

388,020

373,481

ที่มา: สศค.

25

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

25

5.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

การเบิกจ่ายงบประมาณของ อปท. ในปีงบประมาณ 2567 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 625,267 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -1.5 ต่อปี โดยการดำเนินงานของ อปท. จะอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายอำนาจให้แก่ อปท. โดยมีเป้าหมายให้ อปท. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดบริการสาธารณะในระดับพื้นที่ (Area) และสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปรายได้ของ อปท. เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น และก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังของท้องถิ่น

ตารางที่ 3 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่าย อปท. ในปีงบประมาณ 2567 (หน่วย: ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2566 ปีงบประมาณ 2567 คาดการณ์ ณ เม.ย. 2567

รายจ่ายท้องถิ่น

634,719

625,267

ที่มา: กองนโยบายการคลัง (กนค.) คำนวณโดยกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (กศม.) สศค.

5.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

ในปีงบประมาณ 2567 คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 246,614 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -2.8 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 95.0 ของวงเงินรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยมีมาตรการการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตาม กรอบงบประมาณลงทุนรัฐวิสาหกิจอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรอบระหว่างปีตามความเห็นภายใต้อำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตารางที่ 4 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2567 (หน่วย: ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2566 ปีงบประมาณ 2567 คาดการณ์ ณ เม.ย. 2567

รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ

253,787

246,614

ที่มา: กนค. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คำนวณโดย กศม.

5.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ

สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายภาคสาธารณะปีงบประมาณดังกล่าว ทำให้คาดว่า ในปีงบประมาณ 2567 จะเบิกจ่ายได้ 4,607,796 ล้านบาท

26

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

26

ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2567

(หน่วย: ล้านบาท) ปีงบประมาณ 2566 ปีงบประมาณ 2567 คาดการณ์ ณ เม.ย. 2567

1. รายจ่ายรัฐบาล

3,704,190

3,735,915

2. รายจ่ายท้องถิ่น

634,719

625,267

3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ

253,787

246,614

รายจ่ายภาคสาธารณะรวม

4,592,696

4,607,796

ที่มา: คำนวณโดย กศม.

5.5 สรุปสมมติฐานรายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติ

จากสมมติฐานรายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบงบประมาณข้างต้น สามารถนำมาประมาณการเป็นรายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติ (System of National Accounts: SNA) ที่ลงสู่ระบบเศรษฐกิจจริงได้ว่า ในปี 2567 คาดว่ารายจ่ายสาธารณะรวมอยู่ที่ 4,083,510 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี โดยแบ่งเป็น (1) รายจ่ายการบริโภคภาครัฐบาล 3,054,640 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี และ (2) รายจ่ายการลงทุนภาครัฐบาล 1,028,870 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี

ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายภาคสาธารณะตามระบบบัญชีประชาชาติ ปี 2567

(หน่วย: ล้านบาท) ปี 2566 ปี 2567 คาดการณ์ ณ เม.ย. 2567

1. การบริโภคภาครัฐบาล

2,983,053

3,054,640

อัตราการขยายตัว

-3.1

2.4

2. การลงทุนภาครัฐบาล

1,011,028

1,028,870

อัตราการขยายตัว

-4.1

1.8

รายจ่ายภาคสาธารณะรวม

3,994,081

4,083,510

อัตราการขยายตัว

-3.4

2.2

ที่มา: คำนวณโดย กศม.

27

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

27

28

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

28

ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567

? สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9 ถึง 2.9)

ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว

ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นสำคัญ รวมถึงบทบาทสนับสนุนของนโยบายการคลังในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ คาดว่า

ภาคการท่องเที่ยวในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน

35.7 ล้านคน ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี ส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง

เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ประชาชน ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ทำให้คาดว่าการลงทุน

ภาคเอกชนจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.2 ถึง 4.2) ขณะที่การบริโภค

ภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 ถึง 4.0) สำหรับการส่งออก

สินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8 ถึง 2.8) โดยคาดว่าการส่งออกสินค้า

จะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี

(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 ถึง 3.9) โดยมีสินค้าทุนขยายตัวเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการลงทุนภาคเอกชน

ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ การคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ปรับลดลงเมื่อเทียบกับครั้งที่แล้ว

ของกระทรวงการคลัง ณ เดือน มกราคม 2567 ที่ร้อยละ 2.8 เนื่องจาก 1) การส่งออกสินค้าที่หดตัว

มากกว่าที่คาดการณ์โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 2) การผลิตภาคอุตสาหกรรม

ยังคงหดตัว ซึ่งสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI)

โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์และหมวดชิ้นส่วนและแผงวงจรในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 3) ภาคการเกษตร

ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและปรากฏการณ์เอลนีโญ และ 4) ภาคการคลังที่ยังคงใช้การเบิกจ่าย

ตามงบประมาณตามปี 2566 ไปพลางก่อนในด้านเสถียรภาพภายในประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยคาดว่า

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1 ถึง 1.1) ตามการปรับตัวลดลง

ของราคาสินค้าอาหารบางกลุ่ม อีกทั้งราคาสินค้าในหมวดพลังงานที่ลดลงจากมาตรการช่วยเหลือค่าครอง

ชีพของภาครัฐ ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะเกินดุลตามการเพิ่มขึ้น

ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะกลับมาเกินดุล

9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP

ภาพที่ 9 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา: สศค.

หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ

4.2 4.2 2.1 2.8

-6.1

1.6 2.5 1.9 2.4

-10

0

10

2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f

ณ ม.ค. 67 ณ เม.ย. 67

Gross Domestic Product CVM (%YOY)

ร้อยละ

29

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

29

1. การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่

? สำหรับในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ ขยายตัว

ที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการบริโภคภาคเอกชน

ในไตรมาส 1 ของปี 2567 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายหมวดบริการที่ขยายตัว

ในระดับสูงร้อยละ 13.7 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มบริการ

ทางการเงินที่ขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 42.7 ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.7 นับเป็น

อัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 45 ไตรมาส ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และกลุ่มไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน

ขยายตัวร้อยละ 3.3 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า และการใช้จ่ายในหมวดสินค้า

คงทนลดลงร้อยละ 6.8 นับเป็นการหดตัวมากสุดในรอบ 10 ไตรมาส ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อ

ยานพาหนะร้อยละ 13.9 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ

57.2 สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส

? สำหรับในปี 2567 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ คาดว่าจะขยายตัว

ที่ร้อยละ 3.5 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 ถึง 4.0) ชะลอลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.1

ต่อปี ในปี 2566 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึงการดำเนิน

มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐ และมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนเป็นต้น

ภาพที่ 10 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา: สศค.

หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ

2. การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่

? ในไตรมาส 1 ปี 2567 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่หดตัวร้อยละ -2.1

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวที่ร้อยละ -3.0 ในไตรมาส 4 ปี 2566

3.1 3.3

4.6

4.0

-0.8

0.6

6.2

7.1

3.5

-2

0

2

4

6

8

2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f

ณ ม.ค. 67 ณ เม.ย. 67

Real Private Consumption (%YOY)

ร้อยละ

30

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

30

โดยปัจจัยหลักเป็นผลมาจาก ค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ -7.6 และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคม

ที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ -10.7 ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว

ร้อยละ 1.9

? ในปี 2567 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.9

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.4 ถึง 2.4) จากการขยายตัวตามกรอบวงเงิน

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ

9.3 และกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปี

ก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.8 รวมไปถึงมาตรการการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567

ภาพที่ 11 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ ปี 2567

ที่มา: สศค.

หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ

3. การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี ชะลอจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0

โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการลงทุนด้านก่อสร้างที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน

ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยการก่อสร้างอาคารประเภทไม่ใช่ที่อยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 18.9 เพิ่มขึ้นจาก

ไตรมาสก่อนที่ขยายร้อยละ 9.8 เนื่องจากการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 35.1 เพิ่มขึ้น

จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 21.6 ขณะที่การก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 3.0

เพิ่มจากไตรมาสก่อนที่ลดลงร้อยละ -4.8 อาคารที่อยู่อาศัย ขยายตัวร้อยละ 1.6 และการก่อสร้างอื่น ๆ

ลดลงร้อยละ -2.9 ในส่วนด้านการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.5

ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยเป็นผลมาจากการลงทุนในสินค้าเกี่ยวกับ

คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคาร เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็น

จำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากบทบาททางเทคโนโลยีที่เพิ่มสูงขึ้นในสังคม ส่งผลให้อุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้อง

เป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้น ขณะที่การลงทุนในหมวดยานพาหนะลดลง จากการลดลงของกลุ่มยานยนต์

ตามยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งรถโดยสาร รถบรรทุก และรถจักรยานยนต์ที่ลดลง เนื่องจากสถาบันการเงิน

1.4

0.3

2.7

1.6 1.4

3.7

0.1

-4.6

1.9

-6

-4

-2

0

2

4

6

2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f

ณ ม.ค.67 ณ เม.ย.67

Real Public Consumption (%YOY)

ร้อยละ

31

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

31

มีมาตรการให้สินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น

สำหรับทั้งปี 2567 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี

(ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.2 ถึง 4.2) โดยมีปัจจัยบวกมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

โดยเฉพาะภาคการบริการในด้านการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดี รวมทั้ง

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบ

ได้แก่ ปัญหาภาระหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ส่งผลให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อย

สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย

โดยเฉพาะประเทศจีนจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์

ภาพที่ 12 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา: สศค.

หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ

4. การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่

? ในไตรมาส 1 ปี 2567 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่หดตัวร้อยละ -27.7

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ -20.1 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ปัจจัยสำคัญ

มาจากความล่าช้าในการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 ส่งผลให้การลงทุน

รัฐบาลลดลงร้อยละ -46.0 การลงทุนของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ -2.8

? ในปี 2567 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่คาดว่าจะขยายตัวขึ้นที่ร้อยละ 0.6

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1 ถึง 1.1) โดยคาดว่าจะได้รับปัจจัย

สนับสนุนจากมาตรการการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567 และการลงทุนภาครัฐ

ภายหลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี 2567 ที่มีผลบังคับใช้ นับตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2567

3.0 3.2

4.3

2.6

-8.1

2.9

4.7

3.2 3.7

-10

-5

0

5

10

2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f

Ipณ a มs. คo.f 6 J7AN'67 Ip

Real Private Investment (%YOY)

ร้อยละ

ณ เม.ย. 67

32

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

32

ภาพที่ 13 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริงแบบปริมาณลูกโซ่ ปี 2567

ที่มา: สศค.

หมายเหตุ: f หมายถึงประมาณการ

5. มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ

? ในไตรมาส 1 ปี 2567 มูลค่าการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 69,592 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โดยกลับมาหดตัว ที่ร้อยละ -1.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ

4.6 สำหรับการหดตัวในไตรมาสดังกล่าวมาจากกลุ่มสินค้าในหมวดสำคัญ อาทิ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ยาง

ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ เครื่องจักร

และอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์และปิโตรเลียม เป็นต้น ขณะที่กลุ่มสินค้าในหมวดสำคัญที่ขยายตัว อาทิ ข้าว

ยางพาราอาหารสัตว์ คอมพิวเตอร์ เหล็กและเหล็กกล้า อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น ทั้งนี้

ในมิติตลาดคู่ค้าหลักพบว่า การส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าหลักบางกลุ่มตลาดลดลงโดยเฉพาะตลาดจีน (หดตัว

ร้อยละ -5.1) ตลาดญี่ปุ่น (หดตัวร้อยละ -9.0) อาเซียน 5 (หดตัวร้อยละ -5.2) และอินเดีย (หดตัวร้อยละ

-3.4) ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ตลาดสหภาพยุโรปไม่รวม UK ตลาดออสเตรเลีย ตลาด

ซาอุดิอาระเบีย และตลาดกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีการขยายตัวในไตรมาสดังกล่าว

? ในปี 2567 สศค. คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวชะลอตัวที่

ร้อยละ 2.32 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8 ถึง 2.8) โดยมีสาเหตุมาจากการลดลงของมูลค่าการส่งออก

ในไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มการฟื้นตัวของการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2567 ภายใต้ข้อจำกัด

จากการฟื้นตัวที่ล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ของภาคการผลิตอุตสาหกรรม รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เผชิญกับ

ความไม่แน่นอนและมีการขยายตัวต่ำจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ แม้ว่าการส่งออกบริการ

มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

1 ฐานข้อมูลดุลการชำระเงินของ ธปท.

2 มูลค่าการส่งออกสินค้าตามระบบดุลการชำระเงิน (BOP basis) (คำนวณโดย สศค.)

3.1

-1.3

2.8

0.1

5.2

3.5

-3.9 -4.6

0.6

-6

-4

-2

0

2

4

6

2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f

ณ ม.ค.67 ณ เม.ย.67

Real Public Investment (%YOY)

ร้อยละ

33

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

33

ภาพที่ 14 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: สศค.

หมายเหตุ: อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้า คิดจาก USD Term ตามระบบดุลการชำระเงิน

6. มูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ

? ในไตรมาส 1 ปี 2567 มูลค่านำเข้าสินค้ามีมูลค่า 67,982 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น การขยายตัวชะลอตัวที่ร้อยละ 3.23 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.1 โดยสินค้าอุปโภคบริโภค หดตัวร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน อาทิ ยานยนต์ ยาและเวชภัณฑ์ เป็นสำคัญ วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง หดตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน อาทิ เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ วัสดุที่ทำด้วยโลหะ เป็นสำคัญ ในขณะที่สินค้าทุน และสินค้านำเข้าอื่น ๆ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 24.0 และร้อยละ 46.0 ตามลำดับ

? ในปี 2567 สศค. คาดว่ามูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.44 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 ถึง 3.9) โดยเป็นการปรับลดลงเล็กน้อยจากการประมาณการ ในครั้งก่อนจากแนวโน้มการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวชะลอตัวลงตามการฟื้นตัวของการค้าโลกเป็นสำคัญ 2

3 ฐานข้อมูลดุลการชำระเงินของ ธปท.

4 มูลค่าการนำเข้าสินค้าตามระบบดุลการชำระเงิน (BOP basis) (คำนวณโดย สศค.) 4.2

9.5 7.5

-3.3

-6.5

19.2

5.4

-1.7

2.3

-10

-5

0

5

10

15

20

25

2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f

Xg as of JAN'67 Xg

ร้อยละ

ประมาณการ ณ ม.ค. 67

ประมาณการ ณ เม.ย. 67

34

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

34

ภาพที่ 15 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: สศค.

หมายเหตุ: อัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้า คิดจาก USD Term ตามระบบดุลการชำระเงิน

7. ดุลบัญชีเดินสะพัด

? ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เกินดุลทั้งสิ้น 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่ดุลการค้าตามระบบดุลการชำระเงินเกินดุลทั้งสิ้น 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ที่เกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการส่งออกที่เกินดุลลดลง และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นตามราคาเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ทางด้านดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลครั้งแรกในรอบ 15 ไตรมาสก่อนหน้าที่ขาดดุลติดต่อกันต่อเนื่อง จากรายรับจากภาคการท่องเที่ยว ที่ทยอยขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และประกอบกับดุลเงินโอนเกินดุลเพิ่มขึ้นเล็กนอยตามการโอนเงินกลับ ของคนไทยในต่างประเทศ

ภาพที่ 16 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด

ที่มา: ธปท. รวบรวมและคาดการณ์โดย สศค.

4.0

13.2 13.7

-5.6

-13.6

27.7

14.0

-3.1

3.4

-20

-10

0

10

20

30

2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f

Mg as of JAN'67 Mg

-8.8

11.6

27.8

43.4 44.0

28.5

38.3

20.9

-10.3 -15.7

7.0 9.3

-25.0

-5.0

15.0

35.0

2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567f

bn USD

ร้อยละ

ประมาณการ ณ ม.ค. 67

ประมาณการ ณ เม.ย. 67

35

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

35

? ในปี 2567 คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลทั้งสิ้น 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 7.4 ถึง 12.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 1.3 ถึง 2.3 ของ GDP) เกินดุลต่อเนื่องจากปี 2566 โดยคาดว่าดุลการค้าตามระบบดุลการชำระเงินจะเกินดุลทั้งสิ้น 14.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลลดลงจากปี 2566 โดยมีมูลค่า การส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้า ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2567 มูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จะหดตัวที่ร้อยละ -15.0 ที่ในขณะที่การส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 10.6 อย่างไรดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวชะลอตัวลง ที่อาจส่งผลต่อภาคการส่งออก สำหรับด้านดุลบริการ รายได้ และเงินโอนคาดว่าจะขาดดุลที่ 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ประเมินว่ารายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 35.7 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี

8. ประมาณการเงินเฟ้อในปี 2566

? เงินเฟ้อทั่วไปไทย เดือนเมษายน 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (YoY) ซึ่งเป็นการสูงขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 7 เดือน โดยสาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก ประกอบกับการสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และราคาผักและผลไม้สดที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและภาวะขาดแคลนน้ำ และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกอัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 (YoY) โดยเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 4 เดือน (มกราคม - เมษายน) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ -0.5 และ 0.4 ตามลำดับ

ภาพที่ 17 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน รายเดือน

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ สรุปโดย สศค.

? เมื่อดูองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลง (Contribution YoY) พบว่าหมวดยานพาหนะ และน้ำมันเชื้อเพลิง หมวดอาหารสำเร็จรูป เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.2 และ 0.1 ขณะที่หมวดไฟฟ้าน้ำประปา เป็นปัจจัยลบที่ทำให้เงินเฟ้อลดลงที่ร้อยละ -0.2

2.7

0.5

0.2 0.4

0.9

0.3

-0.3 -0.4

-0.8

-1.1

-0.8

-0.5

0.2

1.7 1.7 1.5

1.3

0.9 0.8 0.6 0.7 0.6 0.6 0.5 0.4 0.4

-2.0

-1.0

0.0

1.0

2.0

3.0

เม.ย. 66

พ.ค. 66

มิ.ย. 66

ก.ค. 66

ส.ค. 66

ก.ย. 66

ต.ค. 66

พ.ย. 66

ธ.ค. 66

ม.ค. 67

ก.พ. 67

มี.ค. 67

เม.ย. 67

Headline Inflation Core Inflation

36

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

36

ภาพที่ 18 Contribution Current Month องค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ เดือนเมษายน 2567

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ สรุปโดย สศค.

? ทั้งนี้ สศค. ได้พิจารณาข้อมูลสถานการณ์เงินเฟ้อไทยล่าสุดร่วมกับแบบจำลองเงินเฟ้อ Bottom-up

Model เพื่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อไทยในปี 2567 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย

ทั้งปี 2566 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.6 และ 0.8 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ปัจจัยเสี่ยงด้านอุปทาน

ที่คลี่คลายลงทำให้ราคาสินค้าโดยรวมเคลื่อนไหวในระดับทรงตัว 2) แนวโน้มราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย

ทั้งปี 2567 อยู่ที่ 86 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 82 ดอลลาร์

สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ภายใต้ความไม่แน่นอนสูง 3) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการฟื้นตัว

จากภาคการท่องเที่ยว และ 4) ความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศ จากความเสี่ยงของปรากฏการณ์เอลนีโญ

ที่อาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรลดลงและราคาสูงขึ้น

? นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก

ที่อาจกระทบต่อราคาน้ำมันดิบโลกและสินค้าโภคภัณฑ์โลก ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง

อาจส่งผลให้อุปสงค์โลกชะลอตัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในปี รายปี

ที่มา: สศค. (คาดการณ์ ณ เดือนเมษายน 2566)

หมายเหตุ: F หมายถึงประมาณการ

-0.04

0.1

-0.2

0.0

0.0

0.2

0.0

0.0

0.0

0.0

0.0

0.2

-0.25 -0.15 -0.05 0.05 0.15 0.25

อาหารและเครื่องดื่ม

หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

การบันเทิง การศึกษา และศาสนา

ตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

หมวดเคหสถาน

พาหนะ ขนส่ง และการสื่อสาร

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป

อาหารสด อาหารสาเร็จรูป ค่าเช่า

ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปา อื่นๆ (หมวดเคหสถาน) ค่าโดยสารสาธารณะ

ยานพาหนะและน้ามันเชื้อเพลิง อื่นๆ (หมวดพาหนะขนส่ง)

Contribution Current Month (YoY)

1.1 0.7

-0.8

1.2

6.1

0.7 0.5 0.3 1.2 0.6 0.2

2.5

1.3 0.8

-2

0

2

4

6

8

2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567F

Headline Inflation Core Inflation

37

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

37

ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายเดือน 2566 2566 2567 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 ก.พ. มี.ค. YTD ภาวะเศรษฐกิจภายนอก

ราคาน้ำมันดิบ Dubai (ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล)/7

82.0

80.3

77.7

86.8

89.7

81.6

81.2

84.7

81.6

อัตราดอกเบี้ย Federal Fund (%)/7

5.25?5.50

4.75-5.00

5.00?5.25

5.25?5.50

5.25?5.50

5.25?5.50

5.25?5.50

5.25?5.50

5.25?5.50 ด้านอุปสงค์ การบริโภคภาคเอกชน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (%YoY)/1

-1.7

0.5

?2.7

?6.4

1.9

0.9

5.7

0.2

0.9

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%YoY)/13

10.3

2.3

17.2

10.5

13.0

-15.3

-20.1

-24.8

-15.3

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%YoY)/12

4.6

13.5

6.6

0.3

?2.3

-10.2

-10.0

-17.5

-10.2

ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภค ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY)/14

-0.7

?0.8

?4.3

?0.1

2.5

-0.7

10.4

-9.0

-0.7

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวม (ระดับ)/5

56.7

52.7

55.8

57.1

61.0

63.2

63.8

63.0

63.2 การลงทุนภาคเอกชน

ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY)/14

3.8

?4.7

1.2

3.6

16.5

16.6

27.1

12.0

16.6

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%YoY)/13

-17.3

?10.2

?12.8

?22.9

?23.3

-29.7

-29.4

-32.8

-29.7

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม (%YoY)/1

-2.4

19.3

?5.1

0.4

?17.5

?11.5

?15.4

-13.5

?11.5

ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%YoY)/14

1.2

?3.3

3.9

5.0

?0.4

?9.1

?7.7

?11.8

?9.1

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (%YoY)/4

0.1

2.2

?1.2

?0.2

?0.2

-1.1

?1.1

-1.2

?1.1 การค้าระหว่างประเทศ

มูลค่าการส่งออก (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ); ระบบศุลกากร/4

284.6

71.2

71.6

71.9

69.9

71.0

23.4

25.0

71.0

(%YoY) /4

?1.0

?3.3

?5.2

?0.5

5.8

-0.2

3.6

-10.9

-0.2

ราคาสินค้าส่งออก (%YoY)/4

1.2

2.0

0.3

1.1

1.4

1.3

1.3

1.6

1.3

ปริมาณการส่งออก (%YoY)/14

?2.1

?5.1

?5.4

?1.6

4.4

-1.5

2.3

-12.2

-1.5

มูลค่าการนำเข้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ระบบศุลกากร/4

289.8

72.7

73.5

71.4

72.1

75.5

23.9

26.1

75.5

(%YoY)/4

?3.7

?0.7

?7.7

?10.7

5.8

3.8

3.2

5.6

3.8

ราคาสินค้านำเข้า (%YoY)/4

?0.8

2

?3.1

?1.7

?0.5

-1.1

-1.6

0.1

-1.1

ปริมาณการนำเข้า (%YoY)/14

?2.9

?2.6

?4.7

?9.2

6.3

5.0

4.8

5.5

5.0

ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ); ระบบศุลกากร/4

?5.2

?1.5

?1.9

0.5

?2.3

-4.5

-0.5

-1.2

-4.5

Thailand's Key Economic Indicators

38

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

38

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายเดือน 2566 2566 2567 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 ก.พ. มี.ค. YTD ด้านอุปทาน ภาคการเกษตร

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (%YoY)/6

0.7

2.2

1.2

1.2

?1.0

?4.9

?5.9

?4.6

?4.9

ดัชนีราคาสินค้าเกษตร (%YoY)/6

?2.0

?1.2

?5.3

?1.6

0.1

5.6

5.5

7.4

5.6

รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (%YoY)/14

?2.1

?2.5

?5.4

?0.8

?0.6

1.1

0.0

2.8

1.1

การจ้างงานภาคเกษตร (%YoY)/3

1.1

1.6

?0.2

2.0

1.0

5.2p

-5.7

-4.7

-5.2 ภาคอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%YoY)/9

-3.8

?2.1

?4.9

?5.3

?2.9

-2.9

-2.8

n.a.

-2.9

มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY)/4

-9.7

?5.0

?12.5

?18.4

?0.6

4.7

6.5

-1.9

4.7

ปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY)/14

-11.8

?7.5

?14.1

?20.2

?3.2

3.1

4.7

?3.7

3.1

อัตราการใช้กำลังการผลิต (%)/9

59.6

64.2

58.6

58.4

57.4

59.5

59.8

n.a.

59.5

การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม (%YoY)/3

0.4

-0.1

1.8

1.0

3.5

1.4p

3.7

1.5

1.4

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)/8

92.6

96

93.9

91.2

89.4

91.0

90.3

92.4

91.0 ภาคบริการ

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ (ล้านคน)/10

28.15

6.53

6.44

7.09

8.1

9.37

3.35

2.98

9.37

(%YoY)/14

154.4

1,237.40

311.4

97.9

49.1

43.5

58.6

31.4

43.5

จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (%YoY)/10

22.7

36

24.9

18.2

14.3

8.6

9.1

9.9

8.6

การจ้างงานภาคบริการ (%YoY)/3

2.8

4.0

2.9

1.0

3.5

2.1p

1.8

2.4

2.1 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่างประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ)/2

34.8

33.9

34.5

35.2

35.7

35.7

35.9

36.0

35.7

ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2

6.6

3.5

?1.1

2.6

1.5

1.8*

2.0

n.a.

1.8*

ทุนสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2

224.5

224.5

218.2

211.8

224.5

252.9

251.8

223.4

223.4

ฐานะซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2

30.1

27.1

30.5

29.8

30.1

29.6

29.4

29.6

29.6 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ

อัตราการว่างงาน (%)/3

1.0

1.0

1.1

1.0

0.8

1.0

1.1

1.0

1.0

สัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานสะสมต่อจำนวนผู้ประกันตน ม.33 (%)

1.74

1.94

2.13

1.93

1.74

1.78

1.72

1.84

1.84

ดัชนีราคาผู้ผลิต (%YoY)/4

?2.4

0.7

?5.0

?3.4

?1.8

1.2

1.2

2.1

1.2

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%YoY)/4

1.23

3.88

1.14

0.52

?0.53

?0.78

?0.77

?0.47

?0.78

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%YoY)/4

1.27

2.23

1.51

0.76

0.60

0.44

0.43

0.37

0.44

หนี้สาธารณะต่อ GDP (%)/1

61.9

61.3

61.6

62.4

61.9

62.5

62.5

n.a.

62.5

39

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

39

เครื่องชี้ภาคการคลัง FY2566 FY2566 FY2567 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 ก.พ. มี.ค. FY/YTD

รายจ่ายปีปัจจุบัน (พันล้านบาท)

3,088.4

982.2

709.7

742.1

654.3

910.1

570.7

171.9

193.1

1,480.9

%YoY

5.3%

-0.1%

17.1%

9.3%

-1.4%

-7.3%

-19.6%

-29.4%

-22.2

-12.5%

รายจ่ายประจำ (พันล้านบาท)

2,610.2

858.7

600.5

625.2

525.6

859.1

529.5

158.7

178.2

1,388.6

%YoY

3.7%

-3.1%

16.5%

9.5%

-3.4%

0.0%

-11.8%

-23.9%

-11.3

-4.8%

รายจ่ายลงทุน (พันล้านบาท)

478.1

123.4

109.2

116.8

128.6

51.0

41.2

13.1

14.9

92.2

%YoY

15.0%

27.3%

20.0%

7.80%

7.7%

-58.6%

-62.2%

-62.2%

-68.6

-60.3%

รายจ่ายปีก่อน (พันล้านบาท)

173.9

58.9

44.5

27.9

42.5

53.5

36.4

11.2

12.2

90.0

%YoY

-18.6%

-22.0%

-22.7%

-12.2%

-12.6%

-9.1%

-18.1%

-13.1%

-25.0

-12.9%

รายจ่ายรวม (พันล้านบาท)

3,262.3

1,041.1

754.2

770.0

696.8

963.7

607.2

183.1

205.3

1,571.0

%YoY

3.7%

-1.7%

13.6%

8.3%

-2.1%

-7.4%

-19.5%

-28.6%

-22.4

-12.5%

ที่มา: 1/ กระทรวงการคลัง

2/ ธปท.

3/ สำนักงานสถิติแห่งชาติ

4/ กระทรวงพาณิชย์

5/ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

6/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

7/ Reuters

8/ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

9/ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

10/ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

11/ กรมจัดเก็บประกอบด้วยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร

12/ กรมการขนส่งทางบก

13/ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

14/ คำนวณโดย สศค.

40

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

40

ภาคการคลัง

41

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

41

ภาคการคลัง

รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2567

(ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

? พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 กำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 3,480,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 17.6 ของ GDP5 โดยเป็นการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) จำนวน 693,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.64 ของ GDP ลดลงจากปีงบประมาณ 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ -0.29 โดยแบ่งออกเป็น รายจ่ายประจำ 2,532,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 130,287 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.42 รายจ่ายลงทุน 717,722.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 28,242 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.10 และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 118,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณปีที่แล้ว 18,320 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.32

? ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 1,168,900 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 27,819 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -2.3 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 8,264 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรวมสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 1,571,030 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 224,393 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -12.5 ต่อปี โดยรายจ่ายปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 1,480,979 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 211,001 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -12.5 ต่อปี หรือเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 46.5 ส่งผลให้ ดุลเงินงบประมาณขาดดุล จำนวน 407,780 ล้านบาท

? หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีจำนวน 11,474,154 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.37 ของ GDP ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะคงค้างยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ สะท้อนได้จาก (1) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ในประเทศถึงร้อยละ 98.77 จึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำ และ (2) หนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือเป็นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 84.50 ทำให้มีความเสี่ยง ด้านการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ เนื่องจากรัฐบาลสามารถออกขายพันธบัตรใหม่เพื่อชำระหนี้เดิมที่ครบกำหนดชำระได้ นอกจากนี้ หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDP

5 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2567 เท่ากับ 19,022,200 ล้านบาท ที่มา งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงบประมาณ

42

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

42

ผลการดำเนินนโยบายการคลังในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)

1. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาล

ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 1,168,900 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 27,819 ล้านบาท หรือร้อยละ -2.3 แต่ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ผลการจัดเก็บรายได้ แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้

กรมสรรพากร

กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้รวม 930,110 ล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการ และสูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อน 14,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.6 โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ 466,206 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 12,201 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 และใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บในประเทศสูงกว่าประมาณการ 8,072 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจาก การนำเข้าสูงกว่าประมาณการ 4,128 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -4.9

กรมสรรพสามิต

กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้รวม 260,927 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 37,795 ล้านบาท หรือร้อยละ -12.7 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 23,231 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ (1) ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน จัดเก็บได้ 96,559 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 16,731 ล้านบาท หรือร้อยละ -14.8 เนื่องจากมีการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน6 / แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 78.7 เนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลในอัตรา 5 บาท/ลิตร (2) ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 40,003 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 14,622 ล้านบาท หรือร้อยละ -26.8 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -25.5 เนื่องจากปริมาณ รถกระบะและรถอเนกประสงค์ที่มีพื้นฐานและดัดแปลงมาจากรถกระบะ (Pick-Up Passenger Vehicle: PPV) ที่ชำระภาษีต่ำกว่าที่ประมาณการไว้เป็นสำคัญ และ (3) ภาษียาสูบ จัดเก็บได้ 26,844 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3,336 ล้านบาท หรือร้อยละ -11.1 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -12.2 เนื่องจากปริมาณการบริโภคยาสูบลดลง

กรมศุลกากร

กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวม 59,474 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,174 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนกว่าสมมติฐานที่ใช้ทำประมาณการ ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินบาท สูงกว่าประมาณการ แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -11.7 เนื่องจากปีก่อนมีรายได้พิเศษ จากการนำส่งรายได้อากรย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี 7,606 ล้านบาท หากไม่รวมรายได้พิเศษ รายได้จะใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

6 มาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 2.50 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 กันยายน - 31 ธันวาคม 2566

มาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันเบนซิน 1 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 - 31 มกราคม 2567

มาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 1 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 มกราคม - 19 เมษายน 2567

43

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

43

ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ และในรูปเงินบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.8 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ โดยสินค้าที่จัดเก็บอากรขาเข้าได้สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ยานบกและส่วนประกอบ (2) เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ (3) ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม (4) เครื่องจักรและเครื่องใช้กล และ (5) เครื่องหอม เครื่องสำอาง หรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกาย

รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้รวมทั้งสิ้น 81,859 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,331 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.4 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีการนำส่งรายได้เหลื่อมมาจากปีงบประมาณก่อนหน้าเป็นสำคัญ

หน่วยงานอื่น

หน่วยงานอื่นจัดเก็บรายได้รวม 84,179 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,447 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -21.4 จากการจัดเก็บรายได้ของ (1) ส่วนราชการอื่น จัดเก็บรายได้รวม 75,298 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,091 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.7 แต่ต่ำกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -25.4 เนื่องจากฐานการจัดเก็บในปีก่อนอยู่ในระดับสูงจากรายได้พิเศษรวม 31,525 ล้านบาท หากไม่รวมรายได้พิเศษ รายได้จะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.6 และ (2) กรมธนารักษ์ จัดเก็บรายได้รวม 8,881 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 356 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 และสูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.7 จากค่าเช่าที่ราชพัสดุของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการ

ตารางที่ 7 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2567

เปรียบเทียบปีนี้กับประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ

(ต.ค. 66 - มี.ค. 67)

เปลี่ยนแปลง ร้อยละต่อปี

จำนวน

เปลี่ยนแปลง ร้อยละ

1. กรมสรรพากร

930,110

1.6

6,944

0.8

2. กรมสรรพสามิต

260,927

9.8

-37,795

-12.7

3. กรมศุลกากร

59,474

-11.7

2,174

3.8

รวมรายได้ 3 กรมจัดเก็บ

1,250,511

2.5

-28,677

-2.2

4. รัฐวิสาหกิจ

81,859

3.1

6,331

8.4

5. หน่วยงานอื่น

84,179

-21.4

4,447

5.6

รวมรายได้จัดเก็บ (Gross)

1,416,549

0.7

-17,899

-1.2

หัก

215,603

0.8

8,221

4.0

รวมรายได้สุทธิ (Net)

1,168,900

0.7

-27,819

-2.3

ที่มา: สศค. กระทรวงการคลัง

44

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

44

2. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)

การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567) จำนวน 1,571,030 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 224,393 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -12.5 ประกอบด้วย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้จำนวน 1,480,979 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 46.5 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 (3,480,000 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 211,001 ล้านบาท หรือร้อยละ -12.5 และ (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้จำนวน 90,051 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่าย ร้อยละ 56.8 ของวงเงินรายจ่ายปีก่อน (158,458 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 13,392 ล้านบาท หรือร้อยละ -12.9 ต่อปี ทั้งนี้ รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,480,979 ล้านบาท ประกอบด้วย (1.1) รายจ่ายประจำ เบิกจ่ายได้จำนวน 1,388,682 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 55.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 70,609 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -4.8 ต่อปี และ (1.2) รายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายได้จำนวน 92,297 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 13.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 140,392 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -60.3 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี ที่เบิกจ่ายต่ำกว่า ช่วงเดียวกันปีก่อน

ตารางที่ 8 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)

ประเภทรายจ่าย

(หน่วย: ล้านบาท)

วงเงินงบประมาณรายจ่าย

ปีงบประมาณ

2567

(ต.ค. 66 - มี.ค. 67)

เปลี่ยนแปลง ร้อยละต่อปี

ร้อยละต่อวงเงิน

งบประมาณ

1. รายจ่ายปีปัจจุบัน

3,480,000

1,480,979

-12.5

46.5

1.1 รายจ่ายประจำ

2,687,303

1,388,682

-4.8

55.1

1.2 รายจ่ายลงทุน

792,697

92,297

-60.3

13.9

2. รายจ่ายปีก่อน

158,548

90,051

-12.9

56.8

3. รายจ่ายรวม (1+2)

3,638,548

1,571,030

-12.5

47.0

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และ สศค. กระทรวงการคลัง

3. ฐานะการคลังในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567) พบว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 1,163,250 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,571,030 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 407,780 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 16,883 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน 424,663 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตร จำนวน 260,350 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล)ขาดดุลจำนวน 164,313 ล้านบาท และส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีจำนวน 374,743 ล้านบาท

45

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

45

ตารางที่ 9 ฐานะการคลังในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)

(หน่วย: ล้านบาท)

ปีงบประมาณ

เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2567

ปีงบประมาณ2566

จำนวน

เปลี่ยนแปลง

ร้อยละต่อปี

1. รายได้

1,163,250

1,157,767

5,483

0.5

2. รายจ่าย

1,571,030

1,795,423

-224,393

-12.5

3. ดุลเงินงบประมาณ

-407,780

-637,656

229,876

36.1

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ

-16,883

-87,284

70,401

80.7

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)

-424,663

-724,940

300,277

41.4

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล

260,350

294,506

-34,156

-11.6

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)

-164,313

-430,434

266,121

61.8

8. เงินคงคลังต้นงวด

539,056

624,019

-84,963

-13.6

9. เงินคงคลังปลายงวด

374,743

193,585

181,158

93.6

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และ สศค. กระทรวงการคลัง

4. หนี้สาธารณะ

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีจำนวน 11,474,154 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 63.37 ของ GDP โดยเป็น (1) หนี้รัฐบาลจำนวน 10,087,188 ล้านบาท (2) หนี้รัฐวิสาหกิจจำนวน 1,072,822 ล้านบาท (3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 202,269 ล้านบาท และ (4) หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐจำนวน 111,875 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะคงค้าง ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ สะท้อนได้จาก (1) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ในประเทศถึงร้อยละ 98.77 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (2) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ระยะยาวแบ่งตามอายุคงเหลือร้อยละ 84.50 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง ที่ไม่เกินร้อยละ 70.0 ของ GDP

46

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

46

ตารางที่ 10 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567

หนี้สาธารณะคงค้าง

ณ สิ้นเดือน

มีนาคม 2567

% of GDP

(หน่วย: ล้านบาท)

1. หนี้รัฐบาล

10,087,188

55.71

2. หนี้รัฐวิสาหกิจ

1,072,822

5.93

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

202,269

1.12

4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

111,875

0.62

หนี้สาธารณะรวม

11,474,154

63.37

ที่มา: สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง

หมายเหตุ: สัดส่วนต่อ GDP คำนวณโดย สบน.

47

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

47

ภาคการเงิน

48

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

48

ภาคการเงิน

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาส 1 ปี 2567

? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 1 ปีของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.65 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 7.17 ต่อปี (ภาพที่ 20) ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง7 ณ เดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ร้อยละ 1.46 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงอยู่ที่ร้อยละ 6.98 ต่อปี

? ในปี 2567 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีโอกาสทยอยปรับตัวลดลง ตามกลไกการส่งผ่านของนโยบายการเงิน ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (คณะกรรมการฯ) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมทั้งมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ภาคการส่งออกยังมีแรงกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง ด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำจากปัจจัยด้านอุปทานและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ โดยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน รวมถึงเห็นว่านโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่ยังต้องติดตามความไม่แน่นอนของปัจจัยที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ทั้งนี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนขึ้น และจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้บ้าง

ภาพที่ 20 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์

ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.

? ยอดคงค้างสินเชื่อในสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน8 (Credit of Depository Institutions) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 21 และภาพที่ 22) โดยสถาบันการเงินที่รับฝากเงินมียอดคงค้างของสินเชื่อจำนวน 20.62 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)

7 คำนวณโดยนำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ย หักอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน

8 ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน

49

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

49

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่าสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์มีการหดตัว ในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่สินเชื่อในสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทางด้านยอดคงค้างเงินรับฝากในสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน (Deposit in Depository Institutions) ณ สิ้นเดือน มีนายน 2567 ขยายตัวตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า มียอดคงค้างของเงินฝากจำนวน 25.21 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เงินรับฝากในธนาคารพาณิชย์มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น

ภาพที่ 21 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน ภาพที่ 22 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค. ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.

? หากพิจารณาตามประเภทของสถาบันการเงินพบว่ายอดคงค้างสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2567 หดตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 23) โดยธนาคารพาณิชย์มียอด คงค้างสินเชื่อจำนวน 13.12 ล้านล้านบาท หดตัวชะลอลงร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะเดียวกันยอดเงินรับฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 24) โดยธนาคารพาณิชย์มียอดเงินรับฝากคงค้างจำนวน 17.29 ล้านล้านบาท ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)

ภาพที่ 23 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์ ภาพที่ 24 เงินรับฝากในธนาคารพาณิชย์

ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค. ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.

50

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

50

? เมื่อพิจารณาตามประเภทสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2567 พบว่าสินเชื่อธุรกิจขยายตัวชะลอลง ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัวเร่งขึ้น (ภาพที่ 25) โดยสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 36.0 ของสินเชื่อรวม หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 64.0 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)

ภาพที่ 25 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์

ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.

? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ยอดคงค้างสินเชื่อธุรกิจในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อกลุ่มบริการขยายตัวเร่งขึ้น และสินเชื่อกลุ่มก่อสร้างและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวชะลอลง ขณะที่สินเชื่อสาธารณูปโภคและกลุ่มธุรกิจการเงินหดตัวเร่งขึ้น และสินเชื่อกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพาณิชย์หดตัวชะลอลง (ภาพที่ 26 และภาพที่ 27) โดยยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มบริการ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.0 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.47 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มก่อสร้าง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.49 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสินเชื่อกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.8 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.99 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มสาธารณูปโภค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.5 ของสินเชื่อรวม หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -1.63 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และค้างสินเชื่อกลุ่มธุรกิจการเงิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.8 ของสินเชื่อธุรกิจ หดตัวเร่งขึ้น ที่ร้อยละ -5.23 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.9 ของสินเชื่อธุรกิจ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.97 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสินเชื่อกลุ่มพาณิชย์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.4 ของสินเชื่อธุรกิจ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -2.42 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 4.8 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.54 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

51

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

51

ภาพที่ 26 สินเชื่อแยกตามภาคส่วนธุรกิจ ภาพที่ 27 การขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจ

ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค. ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.

? ในไตรมาส 4 ปี 2566 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ในธนาคารพาณิชย์หดตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 28 และภาพที่ 29) โดยยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.3 ของสินเชื่ออุปโภคบริโภค หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -2.96 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.2 ของสินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.96 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิต ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 4.0 ของสินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.17 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ขยายตัวในช่วงเวลาดังกล่าว (ภาพที่ 30) นอกจากนี้ ยอดคงค้างสินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 24.5 ของสินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.46 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาพที่ 29 การขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการอุปโภค ภาพที่ 30 การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต

ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค. ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.

? สำหรับหนี้ภาคครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 2566 มียอดคงค้างอยู่ที่ 16.4 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.95 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.3 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 91. ต่อ GDP ขณะที่ GDP ณ ราคาปัจจุบันที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ทั้งนี้ หากไม่รวมสินเชื่อที่ครัวเรือนกู้เพื่อไปใช้ในการประกอบธุรกิจ ยอดหนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ 13.45ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 75.0 ของ GDP

ที่มา: ธปท./ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 28 โครงสร้างสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภค

52

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

52

ภาพที่ 31 ระดับหนี้ภาคครัวเรือนและอัตราส่วนต่อ GDP

ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 32 อัตราการขยายตัวของสินเชื่อและหนี้ครัวเรือน (%YoY)

ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค. หมายเหตุ: การหา Growth ของหนี้ครัวเรือนและ Nominal GDP จะใช้ข้อมูลบวกกันย้อนหลัง 4 ไตรมาส แล้วนำมา คำนวณหา Growth

? หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 มีการขยายตัวชะลอลงในเกือบทุกหมวด โดยสินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.3 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพขยายตัวชะลอลงเช่นกันที่ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ด้านสินเชื่อซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์หดตัวที่ร้อยละ -0.6

84.6%88.3%91.2%94.2%95.5%94.2%94.1%94.6%93.7%92.8%91.5%91.4%90.7%90.8%91.0%91.3%

69.0%72.1%74.5%76.9%77.9%76.8%76.7%77.1%76.3%75.6%74.6%74.8%74.2%74.5%74.6%75.0%

0.00%

20.00%

40.00%

60.00%

80.00%

100.00%

120.00%

0

2

4

6

8

10

12

14

16

18

20142015201620172018 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4

2019 2020 2021 2022 2023

ล้านล้านบาท % ต่อ GDP

หนี้ครัวเรือน

หนี้ครัวเรือนไม่รวมสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

หนี้ครัวเรือนต่อ GDP

หนี้ครัวเรือนไม่รวมสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพต่อ GDP

-10.0%

-5.0%

0.0%

5.0%

10.0%

15.0%

20.0%

25.0%

30.0%

2007 2009 2011 2013 2015 2017 Q1 Q3 Q1 Q3 Q1 Q3 Q1 Q3 Q1 Q3

2019 2020 2021 2022 2023

%yoy หนี้ครัวเรือนรวม %yoy GDP

53

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

53

ภาพที่ 33 อัตราการเติบโตของหนี้ภาคครัวเรือนแต่ละประเภท (%YoY)

ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.

? สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ของสินเชื่อรวม ขณะที่ เงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ของหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน อยู่ที่ร้อยละ 7.1 ของสินเชื่อรวม และยังถือว่ายังคงอยู่ในระดับสูงและมากกว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ประมาณ 2.4 เท่า โดยหากพิจารณาเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษของหนี้ครัวเรือนแยกตามประเภท พบว่า SM รถยนต์ มีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 14.5 ของสินเชื่อรวม ขณะที่สัดส่วน SM ของหนี้ครัวเรือนประเภท บัตรเครดิต ที่อยู่อาศัย ส่วนบุคคลอื่น ๆ และบัตรเครดิต อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ร้อยละ 5.1 ของสินเชื่อรวม และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ

ภาพที่ 34 สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ต่อสินเชื่อรวม (ร้อยละ)

ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.

5.0

0.6

4.8

-1.9

4.8

0.3

3.5

-2.4

5.1

1.2

3.3

-0.5

5.2

-0.3

2.2

-1.4

5.0

-0.3

1.1

-2.3

4.8

1.0 0.8

-3.6

4.6

0.2 0.8

-3.8

4.3

-0.6

0.7

-6.0 -4.1

-4.0

-2.0

0.0

2.0

4.0

6.0

Q1/65 Q2/65 Q3/65 Q4/65 Q1/66 Q2/66 Q3/66 Q4/66

3.2% 3.0%

7.4% 7.1%

0.0%

2.0%

4.0%

6.0%

8.0%

Q1/2561

Q2/2561

Q3/2561

Q4/2561

Q1/2562

Q2/2562

Q3/2562

Q4/2562

Q1/2563

Q2/2563

Q3/2563

Q4/2563

Q1/2564

Q2/2564

Q3/2564

Q4/2564

Q1/2565

Q2/2565

Q3/2565

Q4/2565

Q1/2566

Q2/2566

Q3/2566

Q4/2566

Q1/2567

NPL หนี้ครัวเรือน SM หนี้ครัวเรือน

54

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

54

ภาพที่ 35 สัดส่วนเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ของหนี้ครัวเรือน ต่อสินเชื่อรวม แยกตามประเภท (ร้อยละ)

ที่มา: ธปท. ประมวลผลโดย สศค.

? กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ยอดคงค้างสินเชื่อในสถาบันรับฝากเงินมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง กับยอดคงค้างเงินฝากในสถาบันรับฝากเงินขยายตัวเร่งขึ้น คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนต่อเนื่อง จากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมทั้งมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐที่จะกลับมาเพิ่มขึ้น ในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ภาคการส่งออกยังมีแรงกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง ด้านอัตราเงินเฟ้อ อยู่ในระดับต่ำจากปัจจัยด้านอุปทานและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ โดยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับ ที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน รวมถึงเห็นว่านโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัด ในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่ยังต้องติดตามความไม่แน่นอนของปัจจัยที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำลง จากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนขึ้น และจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้บ้าง ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง โดยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 1 ปี 2567 กลับมาขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอาหาร ปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงในเกือบทุกพอร์ต ยกเว้นสินเชื่อรถยนต์ที่ยังคงหดตัว ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non-performing loan: NPL หรือ Stage 3) ไตรมาส 1 ปี 2567 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 502.6 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 2.74 เพิ่มขึ้นโดยหลักจากสินเชื่อธุรกิจ (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดชั้นเชิงคุณภาพ) และสินเชื่อที่อยู่อาศัย ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังบริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง สำหรับสัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (significant increase in credit risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ร้อยละ 6.13 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นลูกหนี้ที่ยังชำระหนี้ได้ตามสัญญา แต่ถูกจัดชั้นเชิงคุณภาพ สำหรับผล การดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยหลักจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานและค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลง

5.14%

14.49%

5.25% 4.77%

0.00%

10.00%

20.00%

ที่อยู่อาศัย รถยนต์ บัตรเครดิต ส่วนบุคคลอื่น ๆ

สัดส่วน SM หนี้ครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์

Q1/2565 Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565 Q1/2566 Q2/2566 Q3/2566 Q4/2566 Q1/2567

55

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

55

บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ:

Macroeconomic Analysis Briefings

56

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

56

การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย - อินเดีย (Trade, Investment and Tourism of Thailand - India)9

บทสรุปผู้บริหาร

?

การเศรษฐกิจอินเดียมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดการณ์ว่าจะก้าวขึ้นเป็นเศรษฐกิจอันดับ 3

ของโลกภายในปี 2570 ด้วยมูลค่า 3.42 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โครงสร้างเศรษฐกิจอินเดียพึ่งพา การบริโภคภาคเอกชนและภาคบริการเป็นหลัก ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับอินเดียกำลังเติบโตทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยอินเดียถือเป็นตลาดเป้าหมายหลักของไทย ในด้านการท่องเที่ยว

?

ด้านการค้าระหว่างไทยและอินเดีย พบว่า อินเดียเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 9 ของไทย ซึ่งมูลค่า

การค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีดุลการค้าเกินดุลกับอินเดียมาโดยตลอด และมีเป้าหมาย ที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ได้ 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2570 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ อัญมณีและทองคำ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์

?

ด้านการลงทุน ข้อมูลชี้ว่า อินเดียเป็นแหล่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอันดับที่ 23 ของไทย

ซึ่งทิศทางเงินลงทุนโดยตรงจากอินเดียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ขนาดการลงทุนก็ยังคงเล็ก เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย โดยมียอดคงค้างเงินลงทุนราว 1,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.36 ของเงินลงทุนสุทธิจากต่างประเทศทั้งหมด

?

ด้านการท่องเที่ยว อินเดียถือเป็นหนึ่งในตลาดเป้าหมายสำคัญ เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย

เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูงและจำนวนนักท่องเที่ยวคิดเป็นเป็นอันดับที่ 5 รองจากมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ โดยรัฐบาลไทยได้มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากอินเดีย อาทิ มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราหรือฟรีวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย

?

ในระยะต่อไป ด้วยศักยภาพของอินเดียที่มีจำนวนประชากรค่อนข้างมากและมีอัตราการขยายตัว

เร็วเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก ประเทศไทยควรมีนโยบายเชิงรุกในเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศอินเดีย โดยครอบคลุมมิติดังต่อไปนี้ ในด้านการค้า ควรทบทวนความตกลงการค้าเสรีให้มีความทันสมัยและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงเหล่านั้นผ่านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ การอำนวยความสะดวกด้านศุลกากร ตลอดจนจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน สำหรับด้านการลงทุน ควรสนับสนุนการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนจากภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ศึกษามาตรการสนับสนุน เฉพาะอุตสาหกรรม และพิจารณาร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนอกจากนี้ ในด้านการท่องเที่ยว ควรเชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยวและการแพทย์ภายใต้นโยบาย "Ignite Thailand" เพื่อดึงดูดรายได้จากนักท่องเที่ยว ชาวอินเดีย

9 ผู้เขียน นายรัชพล พงษ์ประเสริฐ เศรษฐกร กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขอขอบคุณ ดร.พิสิทธ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค และ ดร.ปาริฉัตร คลิ้งทอง ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจการเงินและต่างประเทศ ที่ช่วยให้ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำบทความนี้ อนึ่ง บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน ไม่ได้สะท้อนความคิดเห็นของหน่วยงาน

57

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

57

1. บทนำ

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศอินเดียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งภาคการเงินและภาครัฐที่มีเสถียรภาพมั่นคงแม้ว่าจะเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2566 อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจแซงหน้าสหราชอาณาจักรก้าวขึ้นเป็นลำดับที่ 5 ของโลก และคาดว่าจะเป็นลำดับดับที่ 3 ของโลก ภายในปี 2570 โดยมีมูลค่าสูงถึง 3.42 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน ในส่วนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ การบริโภคภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 63.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผู้บริโภคในเศรษฐกิจประเทศอินเดีย รองลงมาคือการลงทุนรวมคิดเป็นร้อยละ 36.8 การบริโภคภาครัฐร้อยละ 10.7 และสินค้าคงคลังร้อยละ 0.9 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกสุทธิติดลบที่ร้อยละ 2.3 โดยมีอัตราการเปิดประเทศ ที่ร้อยละ 53.1 ในขณะที่ด้านอุปทาน ภาคบริการมีบทบาทสำคัญที่สุดในโครงสร้างทางเศรษฐกิจอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 65.96 ของ GDP รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 19.36 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 14.68 ตามลำดับ ภาพที่ 36 โครงสร้างเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ของอินเดีย ปี 2566 ที่มา: Directorate-General of Budget, Accounting and Statistics, Executive Yuan และ CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 37 โครงสร้างเศรษฐกิจด้านอุปทานของอินเดีย ปี 2566

ที่มา: Directorate-General of Budget, Accounting and Statistics, Executive Yuan และ CEIC รวบรวมโดย สศค. การบริโภค

ภาคเอกชน, 63.4%

การลงทุนรวม,

36.8%

การบริโภคภาครัฐ, 10.7%

สินค้าคงคลัง, 0.9% การส่งออกสุทธิ, -2.3%

14.68%

19.36%

65.96%

ภาคเกษตรกรรม

ภาคอุตสาหกรรม

ภาคบริการ

58

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

58

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและอินเดียมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมถึงด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศอินเดียถือเป็นตลาดเป้าหมายหลักของไทยในด้าน การท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวอินเดียจัดอยู่ในกลุ่มที่มีศักยภาพด้านการใช้จ่ายสูง โดยในปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากอินเดียที่เดินทางมายังประเทศไทยนั้นมีจำนวนเป็นอันดับที่ 5 ในขณะที่ด้านการค้า และการลงทุนนั้น ได้มีการบังคับใช้ความตกลงการค้าเสรีไทย - อินเดีย (Thailand-India Free Trade Agreement: TIFTA) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - อินเดีย รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุน ของรัฐบาล แม้ว่าในปัจจุบันจะถือว่าเป็นตลาดรองก็ตาม แต่ก็มีแนวโน้มที่จะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดเป้าหมายหลักของประเทศไทยได้ในอนาคต

ในรายงานฉบับนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลการแลกเปลี่ยนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยและอินเดีย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถรับทราบถึงพัฒนาการความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในเชิงลึก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

2. ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและอินเดีย

ในปัจจุบัน อินเดียเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ในระดับสูง นอกจากนี้ พัฒนาการทางเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายระหว่างประเทศของอินเดีย มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลกกว่า 1.44 พันล้านคน ขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของโลกมีมูลค่าสูงถึง 3.42 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯและคาดว่าจะเป็นลำดับที่ 3 ภายในปี 2570 การเติบโตทางเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 6 - 7 ต่อปี ตลาดการบินคิดเป็นลำดับที่ 3 ของโลก และตลาดหุ้นคิดเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของอินเดียย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดเล็กและมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดซึ่งมีความเชื่อมโยงและพึ่งพาการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

2.1 ด้านการค้า

ความเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างไทยและอินเดียมีความสัมพันธ์มาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ การบังคับใช้ความตกลงการค้าเสรีไทย - อินเดีย (TIFTA) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - อินเดีย (AIFTA) มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2553 คิดเป็นมูลค่า 4,987.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 โดยสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ลวดทองแดง เป็นต้น ส่งผลให้การค้าของทั้งสองประเทศ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าการส่งออกของไทยไปอินเดียในปี 2566 ขยายตัวกว่า 4 เท่าจากปี 2550 ขณะที่มูลค่าการนำเขาสินค้าของไทยจากอินเดียขยายตัวถึง 3 เท่า ในปีเดียวกัน ทั้งนี้ ไทยมีการเกินดุลการค้าให้อินเดียมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2550 โดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าไทย - อินเดีย เป็น 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2570

59

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

59

ภาพที่ 38 มูลค่าสินค้าออก สินค้านำเข้า และดุลการค้าระหว่างไทยกับอินเดีย

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.

หากพิจารณารายละเอียดการค้าระหว่างไทยและอินเดียในปี 2566 พบว่า อินเดียเป็นแหล่งส่งออกสำคัญอันดับ 9 ของไทย ด้วยมูลค่าในปี 2566 อยู่ที่ 10,118.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 3.56 ของมูลค่าส่งออกรวมของไทยทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยไปยังอินเดียที่สำคัญ ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อัญมณีและเครื่องประดับ และเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนธันวาคม 2566 การส่งออกของไทยไปอินเดียหดตัวร้อยละ -3.94 อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกที่สำคัญ อาทิ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ยังคงขยายตัว ในระดับสูงที่ร้อยละ 15.08 เนื่องจากความต้องการในการนำเข้าวัตถุดิบในการก่อสร้างและการผลิต โดยได้แรงหนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐจำนวนมากในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 และนโยบายส่งเสริมภาคการผลิต เพื่อให้อินเดียก้าวขึ้นมาเป็นฐานการผลิตของโลก (Global Manufacturing Hub)

ตารางที่ 11 สินค้าส่งออกของไทยไปยังอินเดียที่สำคัญ

หมวดสินค้า มูลค่าปี 2566 (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วน ปี 2566 (ร้อยละ) อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) 2565 2566

1. เม็ดพลาสติก

1,122.80

11.10

13.61

-3.41

2. เคมีภัณฑ์

1,023.96

10.12

13.36

-6.12

3. ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์

818.01

8.08

77.71

-27.09

4. อัญมณีและเครื่องประดับ

714.76

7.06

76.04

-30.51

5. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

543.19

5.37

11.23

15.08

6. สินค้าอื่น ๆ

5,895.29

58.27

13.98

4.21

รวม

10,118.01

100.0

22.64

-3.94 ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค. 0.00

2,000.00

4,000.00

6,000.00

8,000.00

10,000.00

12,000.00

2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

2557

2558

2559

2560

2561

2562

2563

2564

2565

2566

ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

มูลค่าส่งออกไทยไปอินเดีย มูลค่านาเข้าไทยจากอินเดีย ดุลการค้า

60

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

60

ขณะที่ด้านการนำเข้า พบว่า อินเดียเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 14 ของไทย ด้วยมูลค่าในปี 2566 อยู่ที่ 5,926.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าปี 2566 ที่ร้อยละ 2.05 ของมูลค่านำเข้ารวมของไทยทั้งหมด โดยสินค้านำเข้าของไทยจากอินเดียที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และสินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนธันวาคม 2566 การนำเข้าของไทย จากอินเดียหดตัวร้อยละ -17.40

ตารางที่ 12 สินค้านำเข้าจากอินเดียมายังไทยที่สำคัญ หมวดสินค้า มูลค่าปี 2566 (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วน ปี 2566 (ร้อยละ) อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) 2565 2566

1.

เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง

และทองคำ

1,350.54

22.79

37.28

-28.74

2. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

861.12

14.53

-7.57

-20.23

3. เคมีภัณฑ์

537.32

9.07

4.63

-5.97

4. พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช

418.24

7.06

45.77

4.04

5. สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์

391.71

6.61

16.73

-32.55

6. สินค้าอื่น ๆ

2,367.95

39.95

4.26

-10.51

รวม

5,926.88

100.0

12.01

-17.40 ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.

2.2 ด้านการลงทุน

อินเดียเป็นแหล่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญอันดับที่ 23 ของไทย โดยจากข้อมูล ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มียอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่า 1,040.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของเงินลงทุนสุทธิจากต่างประเทศทั้งหมด

61

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

61

ภาพที่ 39 สัดส่วนแหล่งเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ ไตรมาส 3 ปี 2566

ที่มา: ธปท. รวบรวมโดย สศค.

ทั้งนี้ ระหว่างปี 2549 ถึง 2565 ยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงจากอินเดียมีความผันผวน อย่างมากโดยเฉพาะในปี 2551 ที่ยอดคงค้างลดลงถึงร้อยละ 60.31 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นการลงทุนโดยตรงสุทธิของอินเดียในไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนแตะ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2562 และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไป นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาแนวโน้มยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงของอินเดียเทียบกับประเทศคู่ค้าหลัก 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป พบว่า ขนาดการลงทุนโดยตรงสุทธิของอินเดียมีขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อเทียบกับอีก 4 ประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกประเทศอินเดียมีขนาดการลงทุนโดยตรงสุทธิใกล้เคียงกับประเทศจีน แต่ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ประเทศจีน มีการเพิ่มการลงทุนโดยตรงในประเทศไทยมากขึ้นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเทียบเท่ากับการลงทุนโดยตรงสุทธิของประเทศสหรัฐฯ

ภาพที่ 40 ยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงจากอินเดียเทียบกับประเทศคู่ค้าหลักของไทย ระหว่างปี 2549 ถึง 2565

ญี่ปุ่น, 30.05%

สิงคโปร์,

18.49%

สหภาพยุโรป,

11.84%

ฮ่องกง,

8.72%

สหรัฐอเมริกา, 6.55%

จีน, 4.79%

สหราชอาณาจักร, 2.82%

เยอรมนี, 1.96%

เกาหลีใต้, 1.54%

ไต้หวัน, 1.47%

มาเลเซีย, 1.35%

ออสเตรเลีย, 0.65%

อินเดีย, 0.36%

ฟิลิปปินส์, 0.07%

เวียดนาม, 0.01%

ประเทศอื่นๆ,

21.40%

-100

-50

0

50

100

150

200

250

0

200

400

600

800

1000

1200

25492550 2551 25522553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565

YoY (%)

ยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงจากอินเดีย

(ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

62

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

62

ที่มา: ธปท. คำนวณโดย สศค. ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย-อินเดีย ครั้งที่ 10 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในอินเดีย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม ยานยนต์ เทคโนโลยี และพลังงานแสงอาทิตย์และไฮโดรเจนสีเขียว ในทางกลับกัน ไทยได้เชิญชวนให้อินเดียเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น โครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งประเทศไทยเสนอว่าโครงการนี้สามารถเชื่อมโยงกับอินเดียทางทะเลและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล (BIMSTEC) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอินเดียแสดงความสนใจ แต่ขอเวลาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อน ในขณะที่โครงการเชื่อมถนนไฮเวย์สามฝ่าย (Trilateral Highway) อินเดียได้รายงานว่าได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนนในฝั่งของตนไปมากแล้ว ส่วนประเทศไทยได้รายงานว่าได้ดำเนินการ ในส่วนของตนเช่นกัน แต่ขณะนี้ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา ซึ่งส่งผลให้โครงการยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์ได้

2.3 ด้านการท่องเที่ยว

ตลาดอินเดียถือเป็นหนึ่งในตลาดเป้าหมายหลักของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย โดยนักท่องเที่ยวชาวอินเดียจัดอยู่ในกลุ่มที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูง ในปี 2566 จำนวนนักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทางมาไทยอยู่อันดับที่ 5 คิดเป็นจำนวน 1,628,542 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.79 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เดินทางแบบอิสระ (FIT) คิดเป็นสัดส่วกว่าร้อยละ 75.77 และเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก (First Visit) ถึงร้อยละ 62.17 นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ตลาดอินเดียเป็นตลาดนักท่องเที่ยวศักยภาพขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตดี ในปี 2567 นี้ ททท. จะมุ่งขยายตลาดเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ ได้แก่ กลุ่มสตรี ผู้สูงวัย Gen Z LGBTQIA+ รวมถึงกลุ่มความสนใจเฉพาะ อาทิ กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ กีฬาดำน้ำ ควบคู่ไปกับกลุ่มตลาดหลักของนักท่องเที่ยวอินเดียในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มครอบครัว คู่แต่งงานและฮันนีมูน กลุ่ม Millennial กลุ่ม Luxury กีฬากอล์ฟ และกลุ่มเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (Incentive) 13.0% 13.8% 13.4% 13.6% 13.2% 12.9% 13.6% 12.6% 12.5% 12.4% 10.6% 11.5% 11.3% 10.2% 9.7% 10.6% 11.6%

0.5% 0.4% 0.5% 0.5% 0.9% 1.2% 1.4% 1.9% 1.6% 1.7% 2.3% 2.6% 2.9% 3.5% 3.7% 0.1% 4.1% 4.3% 0.2% 0.1% 0.1% 0.2% 0.2% 0.2% 0.2% 0.2% 0.2% 0.2% 0.4% 0.4% 0.3% 0.3% 0.4% 0.4%

34.5% 33.7% 35.8% 33.5% 31.7% 30.0% 31.7% 34.6% 35.0% 35.1% 36.3% 34.9% 35.6% 33.5% 32.5% 31.7% 29.9%

11.4% 10.1% 9.7% 9.5% 9.2% 9.3% 9.6% 8.2% 7.9% 8.1% 7.5% 6.4% 6.7% 6.6% 6.2% 6.1% 6.4%

40.6% 41.7% 40.5% 42.8% 44.8% 46.4% 43.5% 42.5% 42.7% 42.5% 43.1% 44.3% 43.1% 45.9% 47.5% 47.1% 47.5%

0%

20%

40%

60%

80%

100%

2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565

สัดส่วนยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรง (%)

สหภาพยุโรป (ไม่รวม สหราชอาณาจักร) จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อื่น ๆ

63

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

63

ภาพที่ 41 สัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทย ปี 2566

ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวบรวมโดย สศค.

เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากอินเดียเทียบกับประเทศชั้นนำอื่นๆ ที่มาเยือนไทยในช่วงปี 2551 ถึง 2556 ซึ่งได้แก่ มาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พบว่าในช่วงต้นและกลาง ของช่วงเวลานี้ สัดส่วนนักท่องเที่ยวอินเดียยังคงอยู่ในช่วงท้าย แต่ต่อมาจำนวนนักท่องเที่ยวอินเดีย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2565 อินเดียสามารถแซงจีนและญี่ปุ่น ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซียได้สำเร็จ จากข้อมูลย้อนหลัง พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากอินเดียมีจำนวนเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวอินเดียลดลงอย่างฉับพลัน แต่ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา จำนวนนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเริ่มฟื้นตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องมาจากมาตรการผ่อนคลาย การควบคุม COVID-19 และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวจากอินเดียของรัฐบาลไทย อินโดนีเซีย, 2.71%

มาเลเซีย, 16.43%

ฟิลิปปินส์, 1.64%

สิงคโปร์, 3.65%

เวียดนาม, 3.67%

จีน, 12.51%

ฮ่องกง, 2.85%

ญี่ปุ่น, 2.86%

ไต้หวัน , 2.57% เกาหลีใต้, 5.90%

อินเดีย, 5.79%

ออสเตรเลีย, 2.44%

สหราชอาณาจักร, 2.90%

สหรัฐอเมริกา, 3.30%

สหภาพยุโรป,

8.22%

อื่น ๆ, 22.55%

64

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

64

ภาพที่ 42 สัดส่วนนักท่องเที่ยวอินเดียเทียบกับประเทศคู่ค้าหลักของไทยระหว่างปี 2551 ถึง 2566

ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวบรวมโดย สศค รัฐบาลไทยได้ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากอินเดียผ่านมาตรการยกเว้นการตรวจ ลงตรา (Visa Exemption) หรือ "ฟรีวีซ่า" แก่นักท่องเที่ยวชาวอินเดียที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ถึง 10 พฤษภาคม 2567 มาตรการนี้มุ่งหวังกระตุ้นการเดินทาง ของนักท่องเที่ยวต่างชาติมายังประเทศไทยในช่วงปลายปี 2566 และต้นปี 2567 ซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยคาดหวังว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ในทางกลับกันนายปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้มีการหารือกับรัฐบาลอินเดียในความเป็นไปได้ ที่อินเดียจะเปิด ?ฟรีวีซ่า? ให้แก่คนไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวไทย และอินเดียให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น โดยมาตรการฟรีวีซ่ายังสอดคล้องกับนโยบายปฏิบัติการตะวันออก (Act East Policy) ของอินเดียซึ่งมุ่งส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ กระตุ้นการเดินทางระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยนโยบายนี้มุ่งเน้นไปที่การวางให้อาเซียนเป็นศูนย์กลาง กระชับความร่วมมือกับอาเซียนทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ท่ามกลางสถานการณ์ที่ภูมิภาคนี้ได้รับความสนใจจากจีนซึ่งแสดงบทบาทเชิงรุกอย่างมาก นอกจากนี้ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา ได้มอบนโยบายและทิศทางการส่งเสริมตลาดอินเดีย 5 ข้อ ดังนี้

? ขยายวันพำนักและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยว: กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวอินเดียพำนักในไทยนานขึ้นและใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

? ส่งเสริมการจัดกิจกรรม (Event Marketing): เน้นการจัดกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น งานเทศกาลมหาสงกรานต์ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

? ผลักดันทำภาพยนตร์: ส่งเสริมให้มีการถ่ายทำภาพยนตร์อินเดียในประเทศไทย

? โปรโมตและส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองรอง: กระตุ้นการท่องเที่ยว ในเมืองรองของไทย 4.4% 4.2% 3.7% 3.4% 3.2% 3.0% 3.0% 2.8% 2.9% 3.0% 2.9% 2.8% 3.1%

8.5%

4.0% 3.3%

3.4% 4.2% 4.7% 4.6% 4.4% 3.9% 3.7% 3.5% 3.3% 4.0% 4.1% 4.9% 3.9%

2.1% 8.9%

5.8%

7.6% 6.9% 6.2% 5.7% 6.0% 5.7% 5.1% 4.5% 4.4% 4.3% 4.3% 4.5% 4.7%

4.8% 2.6%

2.9%

6.2% 4.4% 5.1% 5.2% 5.2% 4.9% 4.5% 4.5% 4.5% 4.8% 4.7% 4.7% 3.9%

2.9% 4.8%

5.9%

12.5% 12.4% 12.8% 13.0% 11.4% 11.4% 10.5% 11.4% 10.8% 9.8% 10.6% 10.7% 9.1% 1.4%

17.6%

16.4%

6.4%

5.8% 7.1% 8.9% 12.4% 17.4% 18.7%

26.7% 27.0% 27.6% 27.8% 27.9%

19.4%

5.2%

2.3% 12.5%

59.4% 62.1% 60.5% 59.2% 57.4% 53.8% 54.7%

46.6% 47.2% 46.5% 45.6% 44.4%

55.9%

75.1%

59.8%

53.2%

0%

10%

20%

30%

40%

50%

60%

70%

80%

90%

100%

2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566

สัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย (%)

สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย จีน อื่น ๆ

65

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

65

? กระตุ้นการท่องเที่ยว 365 วัน: มุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวไทยได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เสนอประเด็นเพิ่มเติม 5 ข้อ เพื่อขอความสนับสนุนจากภาครัฐ หวังเป็นโอกาสสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวอินเดียมาไทยให้ถึง 2 ล้านคนในปี 2567 ดังนี้

? ต่อขยายฟรีวีซ่า: ขยายระยะเวลาฟรีวีซ่าจากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 10 พ.ค. 67

? ขยายระยะเวลาวีซ่า: ขยายระยะเวลาวีซ่านักท่องเที่ยวจาก 6 เดือนเป็น 2 ปี

? อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวใหม่: อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ชาวอินเดียที่เดินทางมาไทยเป็นครั้งแรก

? ปลดล็อก Seat Capacity: ปลดล็อกปริมาณที่นั่งผู้โดยสารตามข้อตกลงการบินระหว่างไทยกับอินเดีย ? เพิ่มเที่ยวบินแอร์อินเดีย: พิจารณาอนุมัติเพิ่มความถี่เที่ยวบินแอร์อินเดียจากเส้นทางมุมไบ - กรุงเทพฯ จาก 1 เที่ยวบินต่อวัน เป็น 2 เที่ยวบินต่อวัน

3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระยะต่อไป

ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายเชิงรุกครอบคลุมทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว พร้อมทั้งดำเนินการเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ โดยนโยบายเหล่านี้จะเป็นการสานต่อและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและอินเดียในมิติทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ทั้งสองประเทศ

?

ด้านการค้า ไทยควรเร่งรัดการเจรจาเพื่อทบทวนความตกลงการค้าเสรีไทย - อินเดีย (TIFTA)

และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - อินเดีย (AIFTA) ให้มีความทันสมัยและครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ที่ขยายตัวอย่างมากจากความต้องการในการนำเข้าวัตถุดิบในการก่อสร้างและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐจำนวนมาก เป็นต้น รวมถึงส่งเสริมการใช้ประโยชน์ จากความตกลงดังกล่าวให้มากขึ้นโดยการสื่อสารและให้ความรู้แก่ภาคธุรกิจ อำนวยความสะดวก ด้านศุลกากรและมาตรฐานสินค้า และสนับสนุนการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการขยายการค้า

?

ด้านการลงทุน ไทยควรสนับสนุนการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนภาคเอกชนเพื่อแสวงหาโอกาส

การลงทุนร่วมในอุตสาหกรรมเป้าหมาย พิจารณาออกมาตรการสนับสนุนเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมอินเดียที่สำคัญ เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษี การอนุญาตถือหุ้นข้ามชาติ จ้างแรงงานต่างชาติ และศึกษาแนวทางร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระเบียงเศรษฐกิจในไทยและอินเดีย

?

ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหนึ่งในมิติที่สำคัญที่สุดที่ไทยควรให้ความสำคัญกับอินเดีย เนื่องจาก

นักท่องเที่ยวอินเดียมีจำนวนมากเป็นอันดับต้น ๆ และมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 3,760 บาทต่อคนในปี 2565 หรือรวม 34,530 ล้านบาท นอกจากนโยบายภาครัฐที่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดอินเดียอย่างมากแล้ว ประเทศไทยควรเชื่อมโยงระหว่างศูนย์กลางการท่องเที่ยวและศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ ภายใต้นโยบาย Ignite Thailand เพื่อสามารถรับรายได้จากนักท่องเที่ยวอินเดียทั้งจากการท่องเที่ยว และการรักษาพยาบาล

66

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

66

4. บทสรุป

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและอินเดียในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ผ่านความพยายามของรัฐบาลทั้งสองในการยกระดับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยใช้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่าง ๆ นอกจากนี้ อินเดียยังเป็นแหล่งนักท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูง ซึ่งการดำเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับอินเดียในทุกมิติทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานและเพิ่มรายได้ รวมทั้งก่อให้เกิดผลประโยชน์ อย่างเป็นรูปธรรมในการยกระดับการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ ตลอดจนเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและโลกในอนาคต

67

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

67

ส่องแรงงานไทยปี 2566 มีสัดส่วนยังไง ค่าจ้างเท่าไหร่ ยังไหวไหม (สูงอายุหรือยัง)10

บทสรุปผู้บริหาร

?

บทความนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลแรงงานจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี พ.ศ.

2566 พบว่า ปี 2566 จำนวนผู้มีงานทำอยู่ที่ 40.09 เป็นแรงงานในระบบจำนวน 19.13 ล้านคน (ร้อยละ 47.7) และเป็นแรงงานนอกระบบจำนวน 20.96 ล้านคน (ร้อยละ 52.3) นอกจากนี้ ยังพบว่า แรงงานนอกระบบกว่าร้อยละ 55.4 เป็นแรงงานนอกระบบที่อยู่ในภาคเกษตร ขณะที่แรงงานในระบบส่วนใหญ่อยู่นอกภาคเกษตร โดยเฉพาะสาขาการผลิต (ร้อยละ 26.9 ของแรงงานในระบบ)

?

หากพิจารณาการกระจายตัวของแรงงานนอกระบบ จะเห็นได้ว่า แรงงานนอกระบบจะมี

สัดส่วนสูงที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาเป็นภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ และในมิติด้านค่าจ้าง หากพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่า ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานนอกระบบน้อยกว่าแรงงานในระบบทุกกิจกรรม อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของค่าจ้างแรงงานนอกระบบ มักสูงกว่าแรงงานในระบบในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ทั้งนี้ ในมิติด้านอายุ อายุมัธยฐานของแรงงานไทยอยู่ที่ 46 ปี โดยแรงงานภาคเกษตรมีอายุมัธยฐานมากที่สุด สูงถึง 52 ปี นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบยังมีอายุมัธยฐาน สูงกว่าแรงงานในระบบในภาพรวมถึง 12 ปี

?

ทั้งนี้ หากดูความเสมอภาคด้านรายได้ของแรงงานจากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียม

ของรายได้ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้แรงงานในระบบภาพรวมของประเทศ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลง ขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้แรงงานนอกระบบภาพรวมของประเทศ ภาคกลางและภาคใต้เพิ่มขึ้น

?

จากสถานการณ์แรงงานในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าการจ้างงานของแรงงานนอกระบบมีความเปราะบาง

ไม่ว่าจะเป็นมิติทั้งด้านค่าจ้างและอายุ แม้ว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของแรงงานนอกระบบจะต่ำกว่าแรงงานในระบบ การศึกษาฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์แรงงานนอกระบบ รวมไปโครงสร้างในมิติต่าง ๆ ของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นรายได้แรงงาน ความไม่เสมอภาคทางด้านรายได้ หรืออายุของแรงงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเสนอแนะนโยบายเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างแรงงานในทุกมิติ เพื่อจะช่วยให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมีความต่อเนื่องมากขึ้นจากปัญหาความไม่สมดุล ของโครงสร้างประชากรและแรงงานที่มีความท้าทายในอนาคต

1. สถานการณ์แรงงานปี 2566

ตามนิยามของสำนักงานสถิติแห่งชาติ แรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงานเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี2566 จำนวนผู้มีงานทำอยู่ที่ 40.09 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบ 19.13 ล้านคน (ร้อยละ 47.7)

10 ดร.นรพัชร์ อัศววัลลภ ดร.กวิน เอี่ยมตระกูล และนางสาวบุณฑริกา ชลพิทักษ์วงศ์ กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. อนึ่ง บทความนี้เป็นความคิดเห็นของคณะผู้เขียน มิได้สะท้อนกับความคิดเห็นขององค์กรที่ผู้เขียนสังกัดอยู่ในปัจจุบัน

68

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

68

และเป็นแรงงานนอกระบบ 20.96 ล้านคน (ร้อยละ 52.3) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศในอาเซียนก็มีสัดส่วนแรงงานนอกระบบที่สูงเช่นกัน อาทิ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีสัดส่วนแรงงานนอกระบบอยู่ที่ร้อยละ 90.4 อินโดนีเซียมีสัดส่วนแรงงานนอกระบบอยู่ที่ร้อยละ 80.2 และ เวียดนามมีสัดส่วนแรงงานนอกระบบอยู่ที่ร้อยละ 68.6 (ข้อมูล ณ ปี 2565) อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานนอกระบบเป็นประเด็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีการจ้างแรงงานนอกระบบจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานนอกระบบที่มีสัดส่วนใหญ่ในตลาดแรงงาน อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสภาวะทางสังคม นอกจากนี้ ยังพบว่า แรงงานนอกระบบกว่าร้อยละ 55.4 เป็นแรงงานนอกระบบที่อยู่ในภาคเกษตร ขณะที่แรงงานในระบบส่วนใหญ่อยู่นอกภาคเกษตร โดยเฉพาะสาขาการผลิต (ร้อยละ 26.9 ของแรงงานในระบบ) ดังตารางที่ 13

ตารางที่ 13 จำนวนและสัดส่วนผู้มีงานทำในและนอกระบบ ปี 2566 ผู้มีงานทำ 2566 (หน่วย : ล้านคน) แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ รวม

แรงงานภาคเกษตร

1.03 (5.4%)

11.62 (55.4%)

12.64 (31.5%)

การผลิต

5.15 (26.9%)

1.13 (5.4%)

6.27 (15.6%)

การก่อสร้าง

1.20 (6.3%)

0.94 (4.5%)

2.14 (5.3%)

การขนส่ง

0.91 (4.8%)

0.53 (2.5%)

1.44 (3.6%)

ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

1.28 (6.7%)

1.90 (9.1%)

3.18 (7.9%)

การค้า

3.34 (17.4%)

3.43 (16.3%)

6.76 (16.9%)

สาขาอื่น ๆ

6.23 (32.6%)

1.43 (6.8%)

7.66 (19.1%) รวม 19.13 (100.0%) 20.96 (100.0%) 40.09 (100.0%) ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน การกระจายตัวของแรงงานนอกระบบ จะเห็นได้ว่า แรงงานนอกระบบจะมีสัดส่วนสูงที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 76.4 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ 69.0 และภาคใต้ ร้อยละ 55.5 ส่วนกรุงเทพมหานครและภาคกลางมีแรงงานนอกระบบน้อยกว่าแรงงานในระบบ (ดังภาพที่ 1) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ แสดงให้เห็นว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แรงงานนอกระบบมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 54.3 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 51.0 ในปี 2565 และในปี 2566 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นร้อยละ 52.3

69

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

69

ภาพที่ 43 สัดส่วนของแรงงานนอกระบบ จำแนกตามภาค ปี 2566 ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

2. วิเคราะห์สถานการณ์ค่าจ้างและอายุของแรงงานในและนอกระบบ

จากงานศึกษาของธนาคารโลกร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ค่าจ้างของแรงงานทุกกลุ่มการศึกษาไม่ได้เติบโตมากนักในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยจากงานศึกษาพลวัตและความท้าทาย ของตลาดแรงงานไทย11 กล่าวว่า ค่าจ้างที่แท้จริงเฉลี่ยของไทยเติบโตมากในช่วงกลางทศวรรษ 1990s โดยเฉพาะค่าจ้างของแรงงานที่จบปริญญาตรีและอนุปริญญาที่เร่งขึ้นกว่ากลุ่มที่จบมัธยมศึกษาอย่างชัดเจน ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมเติบโต แรงงานจากภาคเกษตรจำนวนมากจึงย้ายเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ค่าจ้างที่แท้จริงเฉลี่ยของแรงงานทุกกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มที่จบปริญญาตรีได้ชะลอตัวลง ค่าจ้างของกลุ่มที่จบ STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) เองก็ไม่ได้เพิ่มสูงนัก ซึ่งต่างจากปรากฏการณ์ในหลาย ๆ ประเทศที่ความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีส่งผลให้มีความต้องการแรงงานทักษะสูงมากขึ้น และทำให้ค่าจ้างของแรงงานกลุ่มที่จบปริญญาตรีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นแปลว่า แม้อุปทานของแรงงานไทยที่จบปริญญาตรีจะเพิ่มจากร้อยละ 5.4 ในปี 2537 เป็นเพียงร้อยละ 20 ในปี 2565 แต่อุปสงค์ของแรงงานกลุ่มนี้กลับเพิ่มขึ้นน้อยกว่า

โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเองก็สะท้อนความจริงของสถานการณ์แรงงานไทย ดังที่การศึกษาของธนาคารโลกและธนาคารแห่งประเทศไทยศึกษาไว้ กล่าวคือ ค่าจ้างต่อเดือน12 ของแรงงานปี 2566 นั้น พบว่า ลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบได้รับค่าจ้างเฉลี่ย 8,295 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10.0 เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบในภาคอุตสาหกรรมได้รับค่าจ้างเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 8,996 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.0 รองลงมาเป็นภาคการบริการและการค้า ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 8,682 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.5 และภาคเกษตรกรรมได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่ำที่สุดอยู่ที่ 6,683 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้น จากปีก่อนร้อยละ 10.4 และเมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนระหว่างลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบ 44.5

23.6

31.0

62.8

75.5

55.5

76.4

69.0

37.2

24.5

0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100

ใต้

ตะวันออกเฉียงเหนือ

เหนือ

กลาง

กรุงเทพ

แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ

11 พลวัตและความท้าทายของตลาดแรงงานไทย ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ ธนาคารโลก นฎา วะสี สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ และคณะ

12สำหรับค่าจ้างหรือเงินเดือนของลูกจ้าง ซึ่งประกอบด้วยค่าจ้างที่ได้รับเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนแล้วนำมาคำนวณเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือนเฉลี่ยต่อเดือน

70

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

70

กับแรงงานในระบบ พบว่า แรงงานในระบบได้รับค่าจ้างเฉลี่ยมากกว่าแรงงานนอกระบบถึง 1.9 เท่า โดยแรงงานในระบบได้ค่าจ้างเฉลี่ย 15,932 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.9 ขณะที่แรงงานนอกระบบได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเพียง 8,295 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.0 (ดังตารางที่ 14) หากพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่า ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานนอกระบบน้อยกว่าแรงงานในระบบทุกกิจกรรม อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของค่าจ้างแรงงานนอกระบบ มักสูงกว่าแรงงานในระบบในทุกภูมิภาคของประเทศไทย (ดังภาพที่ 14) เช่นเดียวกันกับการจำแนกกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ

ตารางที่ 14 ค่าจ้างแรงงาน ปี 2566 เทียบปี 2565

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ แรงงานในระบบ (บาท) แรงงานนอกระบบ (บาท) การเปลี่ยนแปลง (%) 2566 2565 2566 2565 ในระบบ นอกระบบ

เกษตรกรรม

7,091

6,895

6,683

6,053

+2.8

+10.4

อุตสาหกรรม

14,431

14,385

8,996

8,033

+0.3

+12.0

บริการ

17,486

17,310

8,682

8,150

+1.0

+6.5 เฉลี่ยรวม 15,932 15,797 8,295 7,539 +0.9 +10.0 ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน ภาพที่ 45 อัตราการเติบโตของค่าจ้างของแรงงานในและนอกระบบ จำแนกตามภูมิภาค ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน

ค่าจ้าง

ในระบบ -0.7%

นอกระบบ +11.1%

ค่าจ้าง

ในระบบ -0.3%

นอกระบบ +6.2%

ค่าจ้าง

ในระบบ +4.8%

นอกระบบ +7.8%

ค่าจ้าง

ในระบบ -0.6%

นอกระบบ +3.3%

ค่าจ้าง

ในระบบ +3.6%

นอกระบบ +17.2%

71

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

71

หากมองในมิติด้านอายุของแรงงาน ลักษณะโครงสร้างทางประชากรของแรงงานนอกระบบ พบว่า แรงงานนอกระบบเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ ส่วนกลุ่มอายุของแรงงานนอกระบบแตกต่างกับแรงงานในระบบโดยเฉพาะกลุ่มอายุ 25 - 39 ปี มีผู้ทำงานในระบบมากกว่าแรงงานนอกระบบเกือบ 2 เท่า ส่วนกลุ่มอายุ 40 - 59 ปี และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีแรงงานนอกระบบมากกว่าแรงงานในระบบ โดยหากคิดอายุมัธยฐานของแรงงานไทยอยู่ที่ 46 ปี (รายละเอียดดังตารางที่ 15) โดยแรงงานภาคเกษตรมีอายุมัธยฐานมากที่สุด สูงถึง 52 ปี นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบยังมีอายุมัธยฐานสูงกว่าแรงงานในระบบในภาพรวมถึง 12 ปี ทั้งนี้ หากมองในประเทศอาเซียน พบว่า แรงงงานของประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีค่ามัธยฐานของอายุต่ำกว่าประเทศไทย มีเพียงประเทศเกาหลีใต้ที่มีอายุมัธยฐานสูงกว่าไทย อยู่ที่ 47 ปี

ตารางที่ 15 อายุมัธยฐาน (Median Age) ของแรงงาน ปี 2566 อายุเฉลี่ย (ปี) แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานรวม

เกษตรกรรม

45

53

52

อุตสาหกรรม

37

51

40

บริการ

40

47

43 รวม 39 51 46

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน

ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ของแรงงานในและนอกระบบ

ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (GINI Coefficient) ซึ่งธนาคารโลกใช้ในการวัดความเหลื่อมล้ำ ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ 110 ประเทศ โดยดัชนี GINI ที่นิยมใช้มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) GINI ด้านรายได้ และ 2) GINI ด้านรายจ่าย โดยค่าดัชนีดังกล่าวจะมีค่าระหว่าง 0 - 1 โดยหากค่าดัชนี GINI มีระดับต่ำ จะแสดงถึงการกระจายรายได้และรายจ่ายอยู่ในระดับดีกว่าค่า GINI ที่มีค่าสูง

ในกรณีของประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คำนวณดัชนี GINI จากข้อมูลรายได้ประจำของครัวเรือน เป็นประจำทุก 2 ปี ล่าสุดปี พ.ศ. 2564 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ ในปี พ.ศ. 2564 มีค่าอยู่ที่ 0.430 เพิ่มขึ้นจาก 0.429 ในปี พ.ศ. 2562 จากการเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและครอบคลุมประชากรในทุกกลุ่มชั้นรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ในด้านความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของแต่ละภูมิภาค พบว่า เกือบทุกภูมิภาคความเหลื่อมล้ำปรับตัวลดลง มีเพียงกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสูงขึ้นมาก

หากใช้ฐานข้อมูลระดับย่อย (Micro Data) ของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2566 และ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลทั่วไปของแรงงาน ได้แก่ อายุ อาชีพ ค่าจ้าง และชั่วโมงการทำงาน เป็นต้น ทั้งนี้ รายได้ของแรงงานคำนวณจากค่าจ้าง โบนัส ค่าล่วงเวลา และเงินอื่น ๆ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้แรงงานในระบบสูงกว่าแรงงานนอกระบบทั้งในภาพรวมและระดับภูมิภาค ขณะที่หากเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2566 และ พ.ศ. 2565 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้แรงงานในระบบภาพรวมของประเทศ ภาคกลางและภาค

72

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

72

ตะวันออกเฉียงเหนือลดลง ขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้แรงงานนอกระบบภาพรวมของประเทศ ภาคกลางและภาคใต้เพิ่มขึ้น รายละเอียดดังตารางที่ 16

ตารางที่ 16 สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (GINI Coefficient) ด้านรายได้แรงงาน ปี พ.ศ. 2566 เทียบกับ พ.ศ. 2565

2566 2565 ในระบบ นอกระบบ ในระบบ นอกระบบ

รวมทั้งประเทศ

0.327

0.229

0.332

0.221

กรุงเทพมหานคร

0.326

0.166

0.322

0.171

ภาคกลาง

0.280

0.222

0.292

0.204

ภาคเหนือ

0.357

0.175

0.356

0.207

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

0.351

0.171

0.371

0.212

ภาคใต้

0.372

0.278

0.371

0.213

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน

3. บทสรุป

จากสถานการณ์แรงงานในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าการจ้างงานของแรงงานนอกระบบมีความเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็นมิติทั้งด้านค่าจ้างและอายุ แม้ว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของแรงงานนอกระบบจะต่ำกว่าแรงงานในระบบ ดังนั้น การส่งเสริมให้แรงงานมีหลักประกันทางสังคมจะช่วยส่งเสริมภาวะทางสังคมให้มีเสถียรภาพที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแรงงานในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การที่แรงงานมีอายุมัธยฐานที่ค่อนข้างสูงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความสามารถในการผลิตของไทยในอนาคต ดังนั้น การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำงานเพิ่มขึ้นน่าจะสอดคล้องกับบริบทแรงงานในปัจจุบันของไทยที่มีอายุยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการสนับสนุนให้ทั้งผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและผู้สูงอายุมีการพัฒนาทักษะเพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานอยู่เสมอ ประการสุดท้ายการเปิดโอกาสให้คนต่างชาติเข้ามาทำงาน ในประเทศไทยอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ข้อจำกัดด้านแรงงานของไทยในขณะนี้ลดลง ซึ่งจะช่วยให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมีความต่อเนื่องมากขึ้นจากปัญหาความไม่สมดุลของโครงสร้างประชากรและแรงงานที่มีความท้าทายในอนาคต

73

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

73

เหลียวหลัง แลหน้าเศรษฐกิจ MSME ไทย13

บทสรุปผู้บริหาร

?

แม้ว่าธุรกิจ MSMEs จะเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก เงินลงทุนไม่สูง และการจ้างงานไม่มาก

แต่มีส่วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย สะท้อนจากขนาดเศรษฐกิจ MSMEs มีสัดส่วนร้อยละ 36.34 ของเศรษฐกิจไทย อีกทั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ MSMEs ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2566 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่า การขยายตัวของ GDP ทั้งประเทศที่ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี อีกทั้งธุรกิจ MSMEs ถือเป็นแหล่งสร้างรายได้และการจ้างงานที่สำคัญของประเทศ ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนและการกระจายรายได้ ไปทั่วประเทศ และช่วยลดการกระจุกตัวของธุรกิจที่อยู่เฉพาะเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ

?

สถานการณ์เศรษฐกิจ MSMEs ล่าสุดยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลข GDP

ของ MSMEs ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี ส่งผลให้ GDP ของ MSMEs ปี 2566 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจของ MSMEs ล่าสุด บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการ MSMEs มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMEs (SME Sentiment Index: SMESI) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจ MSMEs ในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 - 5.0 (ประมาณการ ณ เดือนพฤศจิกายน 2566)

?

ปัจจัยสนับสนุนที่ช่วยขับเคลื่อนของธุรกิจ MSMEs ในปี 2567 อาทิ การท่องเที่ยวมีแนวโน้ม

เติบโตอย่างต่อเนื่อง การลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการฟื้นตัวของภาคการส่งออก

?

อุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบ MSMEs แบ่งเป็นอุปสรรคภายใน ได้แก่ 1) ข้อจำกัดด้านเงิน

ลงทุน 2) ขาดองค์ความรู้ ทักษะด้านการผลิต การบริหารจัดการและด้านการแข่งขัน และ 3) มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับประกอบธุรกิจที่ซับซ้อน ขณะที่ปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง 2) ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และ 3) สภาพภูมิอากาศที่มีความแปรปรวน

?

ข้อเสนอแนะทางนโยบายในการส่งเสริมและช่วยเหลือธุรกิจ MSMEs ได้แก่ 1) ด้านต้นทุน

ค่าใช้จ่าย และการกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น การควบคุมราคาสินค้าและวัตถุดิบ ไม่ให้ขึ้นลงอย่างผันผวน อย่างรวดเร็ว 2) ด้านการเพิ่มศักยภาพ และส่งเสริมธุรกิจ เช่น จัดอบรมเสริมความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ 3) ด้านภาระหนี้สิน และเงินทุน อาทิ ส่งเสริมแหล่งเงินทุนสำหรับ MSMEs เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4) ด้านแรงงาน อาทิ ส่งเสริมการจัดจ้างแรงงานที่มีทักษะ และการฝึกอบรมแรงงานให้มีทักษะเพิ่มขึ้น และ 5) ปรับปรุงด้านระเบียบและการดำเนินของหน่วยงานภาครัฐในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการประกอบการธุรกิจ MSMEs อาทิ เน้นการบริการประชาชนในรูปแบบ One Stop Service

13 ผู้เขียน: นางสาวกาญจนา จันทรชิต เศรษฐกรชำนาญการ และนายพงศธร รีชัยวิจิตรกุล เศรษฐกร กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. ขอขอบคุณนายณัฐพล ศรีพจนารถ ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สำหรับข้อแนะนำ อนึ่ง บทความนี้เป็นความคิดเห็น ของผู้เขียน ไม่ได้สะท้อนความคิดเห็นของหน่วยงาน

74

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

74

1. บทนำ (Introduction)

หลายคนคงเคยได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือธุรกิจ (Small and Medium Enterprises : SMEs) กันมาบ้างแล้วตามช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ รวมถึงสื่อจากช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง หรือบางคนอาจจะเป็นผู้ประกอบการ SMEs อยู่แล้ว หรือบางคนอาจจะอยากผันตัวเองมาประกอบธุรกิจ SMEs บ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่ได้เข้าใจถึงธุรกิจ SMEs อย่างลึกซึ้งมากนัก บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงความหมาย ของธุรกิจ SMEs ความสำคัญของ SMEs ต่อเศรษฐกิจไทย อีกทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจของธุรกิจ SMEs เป็นอย่างไร มีปัจจัยใดบ้างที่ช่วยสนับสนุนและกดดันต่อการประกอบธุรกิจ SMEs ของไทยในปี 2567 และแนวโน้มนโยบายภาครัฐที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้ขยายตัวได้อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจ SMEs บ้างไม่มากก็น้อย

2. ธุรกิจ MSMEs คืออะไรมีความสำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทย

2.1

ธุรกิจ MSMEs คืออะไร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่หลายคนเข้าใจนั้น ในนิยามของภาครัฐได้รวมกลุ่มวิสาหกิจรายย่อยเข้าไปด้วย โดยหมายถึงกลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดกลาง และขนาดย่อม (Micro Small and Medium Enterprises : MSMEs) คือ กลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) ขนาดย่อม (Small) และขนาดกลาง (Medium) ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562 และประกาศของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรื่อง การกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อย ได้ระบุไว้ว่าวิสาหกิจรายย่อย (Micro) ที่ดำเนินการไม่ว่า ด้านการผลิต หรือการบริการและการค้า จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท การจ้างงานไม่เกิน 5 คน สำหรับวิสาหกิจขนาดย่อม (Small) ด้านการผลิตจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท และการจ้างงานไม่เกิน 50 คน ขณะที่ด้านการบริการและการค้า จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท และการจ้างงานไม่เกิน 30 คน ส่วนวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) ด้านการผลิตจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท และการจ้างงาน ไม่เกิน 200 คน ขณะที่ด้านการบริการและการค้า จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท และการจ้างงาน ไม่เกิน 100 คน รายละเอียดตามภาพที่ 45

ภาพที่ 45 ลักษณะของวิสาหกิจ MSME ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

75

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

75

O โครงสร้างธุรกิจ MSMEs ล่าสุดในปี 2565 พบว่า ธุรกิจ MSMEs ในปี 2565 มีจำนวนอยู่ที่ประมาณ 3.19 ราย แบ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) อยู่ที่ 2.73 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 86.0 ของจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจ MSMEs ทั้งหมด กลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อม (Small) อยู่ที่ 4.17 แสนราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 13.0 ของจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจ MSMEs ทั้งหมด และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) อยู่ที่ 4.4 หมื่นราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.0 ของจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจ MSMEs ทั้งหมด กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ที่มีสัดส่วนสูงสุดที่ร้อยละ 28.0 24.0 และ 20.0 ของจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจ MSME ทั้งหมด ตามลำดับ ภาพที่ 46 จำนวนผู้ประกอบการ MSME ภาพที่ 47 จำนวนผู้ประกอบการ MSME แบ่งตามขนาดธุรกิจ แบ่งตามภูมิภาค

ที่มา: สสว. คำนวณโดยผู้เขียน

2.2 เหลียวหลังมองความสำคัญ MSMEs ต่อเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจ MSMEs ในช่วงที่ผ่านมา

O แม้ว่าธุรกิจ MSMEs จะเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก เงินลงทุนไม่สูงมากนัก และมีระดับการจ้างงาน

ไม่มาก แต่ได้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจไทย สะท้อนได้จากมูลค่าเศรษฐกิจของ MSMEs ในปี 2566 อยู่ที่ 3,953,265 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.34 ของเศรษฐกิจไทย (GDP) โดยรวม นอกจากนี้ ธุรกิจ MSMEs ถือเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานที่สำคัญของประเทศ ได้ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียน และการกระจายรายได้ไปทั่วประเทศ และช่วยลดการกระจุกตัวของธุรกิจที่อยู่เฉพาะพื้นที่เมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ

O สถานการณ์เศรษฐกิจ MSMEs ในช่วงที่ผ่านมาได้ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด นอกจากนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ MSMEs จะมีลักษณะ การขยายตัวที่สูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเป็นปกติหรือไม่เกิดภัยพิบัติ/โรคระบาด แต่หากเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ/โรคระบาดต่าง ๆ จะทำให้เศรษฐกิจของ MSMEs จะหดตัวมากกว่าการหดตัวของเศรษฐกิจไทย สะท้อนจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2562 (ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19) ขยายตัวเฉลี่ย ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี ส่วนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ MSMEs ในช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2562 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี ในขณะที่ในปี พ.ศ. 2563 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของ COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงร้อยละ -6.1 ต่อปี แต่เศรษฐกิจของ MSMEs หดตัวลงถึง

ขนาด Micro

86%

ขนาด S

13%

ขนาด M 1%

ตะวันออกเฉียงเหนือ

28%

กลาง

24%

กทม.

20%

ใต้

18%

ตะวันออก

10%

76

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

76

ร้อยละ -9.3 ต่อปี ภายหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง สถานการณ์เศรษฐกิจอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว พบว่าเศรษฐกิจไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2566 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี เศรษฐกิจของ MSMEs ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยปัจจัยหลัก ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของ MSMEs ขยายตัวสูงกว่าหรือหดตัวมากกว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวม ส่วนหนึ่งเป็น ผลมาจากลักษณะธุรกิจของ MSMEs ที่เป็นขนาดเล็กและขนาดกลาง ทำให้ได้รับปัจจัยสนับสนุนหรือแรงกดดันที่สูงเศรษฐกิจไทยโดยรวม

ภาพที่ 48 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจของ MSMEs

ที่มา: สสว. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน

3. สถานการณ์เศรษฐกิจของธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) และแนวโน้ม O สถานการณ์เศรษฐกิจของธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) สะท้อนจากตัวเลข GDP ของ MSMEs ขยายตัวได้สูงกว่า GDP ของประเทศ โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 GDP ของ MSMEs ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี ส่งผลให้ GDP ของ MSMEs ปี 2566 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยขยายตัวสูงกว่า GDP ของประเทศ ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี เมื่อจำแนกตามขนาดของ MSMEs จะพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ธุรกิจขนาด Micro ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ธุรกิจขนาด Small ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี และธุรกิจขนาด Medium ขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี เมื่อจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ พบว่า สาขาที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ สาขาด้านการสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ และสาขาการขายส่งและขายปลีก ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 44.0 19.3 และ 6.1 ตามลำดับ ขณะที่สาขาที่ชะลอตัว ได้แก่ สาขาการบริหารและบริการสนับสนุน การก่อสร้าง และการขนส่งและเก็บสินค้า ซึ่งชะลอตัวที่ร้อยละ -21.4 -17.1 และ -14.8 ตามลำดับ

ตารางที่ 17 อัตราการขยายตัวของ GDP ของ MSMEs

หน่วย : อัตราการขยายตัวร้อยละต่อปี 2563 2564 2565 2566 Q1/66 Q2/66 Q3/66 Q4/66 Q1/67 GDP ของ MSMEs -9.5 2.8 4.5 3.6 4.8 3.4 2.8 3.2 n.a.

GDP ประเทศ

-6.1

1.6

2.5

1.9

2.6

1.8

1.4

1.7

1.5 ที่มา: สศช. และ สสว. 3.4 4.2 4.2

2.1

-6.1

1.6 2.5 1.9

5.7 7.1

5.5

3.0

-9.3

2.7

4.4 3.6

2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566

RGDP RGDP MSME

77

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

77

ตารางที่ 18 อัตราการขยายตัวของ GDP ของ MSMEs รายสาขา

ที่มา: สสว. คำนวณโดย สศค.

O นอกจากนี้ จากเครื่องชี้เศรษฐกิจของ MSMEs พบว่าผู้ประกอบการ MSMEs มีความเชื่อมั่น ต่อภาวะเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี หรือค่าดัชนีฯ สูงกว่าระดับ 50.0 บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการ MSMEs มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMEs (SME Sentiment Index: SMESI) ในเดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ระดับ 54.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.0 (โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และทำให้ภาคบริการ โดยเฉพาะบริการด้านการท่องเที่ยว และภาคการค้า ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตภาคธุรกิจการเกษตรปรับตัวชะลอลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ในเดือนเมษายน 2567 ซึ่งสะท้อนผลในเดือนกรกฎาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 53.9 เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.2 โดยปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะ ด้านกำลังซื้อและกำไร จากภาคการผลิตเป็นหลักที่มีแนวโน้มขยายกำลังการผลิตจากปริมาณสินค้าคงคลัง ที่ลดลงมาก่อนหน้า ขณะที่ภาคการค้าและการบริการกลับมีแนวโน้มทรงตัว และภาคธุรกิจการเกษตรยังคงชะลอลงต่อเนื่อง

78

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

78

ภาพที่ 49 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า

ที่มา: สสว.

O สถานการณ์ด้านหนี้สินกิจการของผู้ประกอบการ SMEs ในไตรมาส 4 ในปี 2566 พบว่า มูลค่ายอดคงค้างของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ 2.8 แสนล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ที่อยู่ที่ 2.9 แสนล้านบาท (หรือคิดเป็นอัตราส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.4) โดยผู้ประกอบการ SMEs ที่มีปัญหาการชำระคืนหนี้ NPL จำนวน 2.68 หมื่นราย (หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 9.5) ขณะที่จำนวน SMEs ที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (TDR) มียอดสินเชื่อทรงตัวจากไตรมาสที่ 3 ปี 2566 อยู่ที่ 2.6 แสนล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 6.8 ของยอดสินเชื่อ SMEs ทั้งหมด)

O แลหน้ามองแนวโน้มเศรษฐกิจ MSME ในปี 2567

การคาดการณ์เศรษฐกิจ MSMEs ในปี 2567 นั้น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือ GDP MSMEs จะขยายตัว อยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 ? 5.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการขยายตัวต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว รวมถึงการขยายตัวของภาคการส่งออกที่มีทิศทางฟื้นตัว อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยกดดันจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสงครามรัสเซียและยูเครน สงครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาส หนี้ครัวเรือนของไทย ที่ยังสูง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง ที่ส่งผลต่อการกู้ยืมเงินของผู้ประกอบการ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่นับเป็นปัจจัยกดดันผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อรับมือ โดยเฉพาะเทรนด์ธุรกิจสีเขียว สู่ความยั่งยืน

4. อุปสรรค/ข้อจำกัดสำคัญของผู้ประกอบ MSMEs

ในปี 2567 ถือเป็นปีที่มีความท้าทายอย่างมากต่อการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะการประกอบธุรกิจของ MSMEs เนื่องจากธุรกิจของ MSMEs จะมีข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกองค์กร โดยอุปสรรค/ข้อจำกัดสำคัญของผู้ประกอบ MSMEs ดังนี้

79

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

79

4.1 อุปสรรคภายในองค์กรที่สำคัญของผู้ประกอบ MSMEs

O ด้านเงินลงทุน ผู้ประกอบการ MSMEs ส่วนใหญ่เป็นส่วนบุคคลและเป็นวิสาหกิจชุมชน

จึงมักจะมีข้อจำกัดในด้านเงินลงทุน นอกจากนี้ระบบการเงินและสถาบันการเงินไม่เอื้อต่อการจัดสรรเงิน

ลงทุนให้กับผู้ประกอบการ MSMEs ได้อย่างเพียงพอ รวมถึงผู้ประกอบการ MSMEs ยังขาดความรู้

ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจ และด้านการเงิน จึงทำให้เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนของภาครัฐที่ให้

การสนับสนุน

O ด้านการแข่งขัน ผู้ประกอบการ MSMEs เป็นธุรกิจที่มีขนาดย่อยและขนาดเล็ก เงินลงทุนไม่มาก

จึงมีข้อจำกัดด้านการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีเงินลงทุนสูงกว่า ภาระต้นทุนต่ำกว่า การบริหาร

จัดการที่ดีกว่า รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่จะมีองค์ความรู้ที่ทำให้ได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน

O ด้านทุนมนุษย์ ผู้ประกอบการ MSMEs ยังขาดองค์ความรู้ความสามารถทางการบริหารจัดการ

ธุรกิจที่ทันสมัยไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของพฤติกรรมผู้บริโภค อีกทั้งแรงงาน

และผู้ประกอบการยังขาดแคลนทุนทรัพย์และเวลาที่เพียงพอในการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะ

ของตน

O ด้านกฎระเบียบ ประเทศไทยมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับประกอบธุรกิจที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้อง

กับหลายหน่วยงาน ทำให้ผู้ประกอบการ MSMEs บางส่วนอาจไม่ทราบหรือทราบไม่คลอบคลุม ทำให้มี

โอกาสดำเนินธุรกิจอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายได้ นอกจากนี้หลายกระบวนการของแต่ละหน่วยงานต้องมี

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทำให้เป็นภาระและต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจ MSMEs รายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด

O ด้านความยืดหยุ่น ผู้ประกอบการ MSMEs ส่วนใหญ่เป็นส่วนบุคคลและเป็นวิสาหกิจชุมชน

เงินลงทุนมามาก ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ อาทิ การแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือภัยพิบัติต่าง ๆ

อาจทำให้หลายธุรกิจต้องปิดกิจการ เป็นต้น

4.2 อุปสรรคภายนอกองค์กรที่สำคัญของผู้ประกอบ MSMEs

1) หนี้ครัวเรือนส่งผลต่อกำลังซื้อและพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชน โดยหนี้ภาคครัวเรือน

ณ ไตรมาส 4 ปี 2567 มียอดคงค้างอยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 91.3 ของ GDP เพิ่มขึ้น

เล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 91.0 ของ GDP ซึ่งทั้งหนี้สินในภาคครัวเรือน และหนี้สิน

ของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSME) โดยเฉพาะในสาขาสำคัญที่ยังมีข้อจำกัด

ในการฟื้นตัวอยู่ มีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนดระยะเวลา และปัญหาหนี้

นอกระบบ ซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและเศรษฐกิจในระยะยาว

2) ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์

มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งความยืดเยื้อของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน สงครามอิสราเอล

และกลุ่มฮามาส รวมถึงสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เหล่านี้เป็นปัจจัยกดดันต่อการค้าระหว่าง

ประเทศ นอกจากนี้ ยังทำให้ราคาพลังงานหรือน้ำมันดิบยังคงตัวในระดับสูง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า

เกือบทุกประเภท ทั้งราคาวัตถุดิบ และต้นทุนการขนส่งที่ต้องปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกราคาพลังงาน

ในตลาดโลก รวมถึงค่าไฟฟ้า และส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของไทยและหลายประเทศทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมา

ตั้งแต่ปี 2565

3) สภาพภูมิอากาศที่มีความแปรปรวน โดยในช่วงเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยประสบ

ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่มีความแปรปรวนรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ สถานการณ์ภัยแล้งที่มี

ความรุนแรงในช่วงต้นปี ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องประกาศให้เกษตรกรลดการเพาะปลูกพืช

ที่ใช้น้ำมาก อาทิ ข้าว แล้วหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อาทิ มันสำปะหลัง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะขาดแคลนน้ำ

80

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

80

และส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตในสาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต้นน้ำ ตลอดจนอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ ในขณะที่ในช่วงปลายปี ประเทศไทยมักจะได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่าน ก่อให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้ตอนกลางเข้ามายังบริเวณใกล้เคียงกับประเทศไทย ก่อให้เกิดพายุต่าง ๆ ที่ทำให้ทั่วประเทศจะมีฝนตกชุกหนาแน่นและน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคการผลิตอีกครั้ง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ทำให้ผลผลิตและรายได้เกษตรกรหดตัวลง ซึ่งเมื่อผลผลิตลดลงทำให้สินค้าเกษตรราคาสูงขึ้น แต่ทว่าผลผลิตที่ลดลงจะส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนภาคเกษตรและแรงงาน รวมถึงในภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องต่อไป ซึ่งจากการที่ผลผลิตภาคการเกษตรและรายได้ที่ลดลง จะทำให้คนในภาคเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย เผชิญความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น

5. ปัจจัยสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ MSMEs ในปี 2567

1) การท่องเที่ยวมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้าประเทศไทย สะสมในช่วง 4 เดือนแรกปี 2567 จำนวน 12.13 ล้านคน คิดเป็นอัตรา การขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 39.0 ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากจีน มาเลเซีย รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย ตามลำดับ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศที่มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี ซึ่งจะก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผล ต่อกิจกรรมการผลิตและบริการอื่น ๆ ตามมาในพื้นที่

2) การลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรก ของปี 2567 รวมทั้งสิ้น 724 โครงการ คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงประมาณร้อยละ 94.0 เป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 31.0 ซึ่งการลงทุนที่เพิ่มขึ้น จะทำให้การจ้างแรงงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน Logistics และการคมนาคมขนส่ง ให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติและนักลงทุนชาวไทย ทำให้นักลงทุน เกิดความเชื่อมั่น สนใจลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

3) การฟื้นตัวของภาคการส่งออก โดยการส่งออกใน 4 เดือนแรกในปี 2567 ขยายตัวจาก ช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 1.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรที่ยังคงเป็น ที่ต้องการของตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการส่งออกไทยได้รับปัจจัยบวกจากภาคการผลิตโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทำให้การส่งออกสินค้าไปตลาดทวีปออสเตรเลีย สหรัฐฯ และอินโดจีน-4 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 21.3 13.4 และ 6.2 ต่อปี ตามลำดับ

6. เจาะลึกธุรกิจดาวรุ่งและธุรกิจดาวร่วงของผู้ประกอบการ MSMEs ในปี 2567

การพิจารณาดาวรุ่งและธุรกิจดาวร่วงของผู้ประกอบการ MSMEs ในปี 2567 จะพิจารณาจากธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตหรือขยายตัวสูง และธุรกิจที่มีแนวโน้มหดตัวหรือซบเซา โดยธุรกิจดาวรุ่ง และธุรกิจดาวร่วงในปี 2567 อาทิ

81

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

81

o ธุรกิจดาวรุ่งในปี 2567 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการค้าขาย

ออนไลน์ และธุรกิจบันเทิง อาทิ ธุรกิจอาหาร street food ธุรกิจที่พักแรม โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยว

ชุมชนที่สัมผัสกับวัฒนธรรมและประเพณี ธุรกิจเสริมความงาม ร้านเกม และการจัดคอนเสิร์ต เป็นต้น

o ธุรกิจดาวร่วงในปี 2567 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิต อาทิ ธุรกิจขายอุปกรณ์

อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจการผลิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดั้งเดิม ธุรกิจเครื่องจักรสาน เป็นต้น

7. ข้อเสนอแนะทางนโยบายในการส่งเสริมและช่วยเหลือธุรกิจ MSMEs

1) ด้านต้นทุน ค่าใช้จ่าย และการกระตุ้นการใช้จ่าย แม้แนวโน้มภาวะเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ปัญหา

ด้านต้นทุนยังเป็นปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการ MSME ดังนั้น การควบคุมราคาสินค้าและวัตถุดิบ การลด

ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า เป็นต้น และควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ขึ้นลงอย่างผันผวนอย่างรวดเร็ว

จะช่วยให้ผู้ประกอบการ MSME มีระยะเวลาในปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงของต้นทุน นอกจากนี้

ภาครัฐยังต้องหาเม็ดเงินใหม่ ๆ การลงทุนใหม่ ๆ เข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้น

ให้ประชาชนมีการใช้จ่ายมากขึ้น

2) ด้านการเพิ่มศักยภาพ และส่งเสริมธุรกิจ เป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการ MSMEs ต้องการความช่วยเหลือ

จากภาครัฐอย่างยิ่ง โดย MSMEs มีความต้องการองค์ความรู้ เช่น การจัดการการเงิน และการจัดการ

แรงงาน เป็นต้น และการส่งเสริมธุรกิจเข้าสู่ตลาดออนไลน์ เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบการใช้งานได้เพียง

เบื้องต้นเท่านั้น ทำให้สามารถเข้าถึงตลาดได้น้อย จึงต้องมีการผลักดันทั้งหน้าร้านและทางตลาดออนไลน์

เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น

3) ด้านภาระหนี้สิน และเงินทุน ผู้ประกอบการยังคงต้องการมาตรการช่วยเหลือในด้านการลดอัตรา

ดอกเบี้ยเงินกู้กับผู้ประกอบการ MSMEs รวมถึงส่งเสริมแหล่งเงินทุนสำหรับ MSMEs เช่น การสร้างกองทุน

เงินช่วยเหลือในแต่ละสาขาธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

สำหรับ MSMEs เพื่อลดต้นทุนในการกู้ยืม ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐได้ดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือ MSMEs

ผ่านมาตรการด้านการเงินและการคลัง เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะ

กิจของรัฐ (SFIs) โดยมาตรการที่สำคัญ อาทิ มาตรการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม

ขนาดย่อม (บสย.) ได้แก่ โครงการ PGS10 สำหรับ MSMEs ทั่วไป วงเงิน 53,250 ล้านบาท โดย ได้อนุมัติ

ค้ำประกันแล้ว 124,548 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 52,588 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2567)

นอกจากนี้ SFIs ยังมีมาตรการปรับอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน

เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางและลูกค้า MSMEs โดยได้เริ่มนโยบายแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567

เป็นต้นมา

4) ด้านแรงงาน ส่งเสริมการจัดจ้างแรงงานที่มีทักษะ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงาน

ของธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการเพิ่มทักษะให้กับแรงงาน ด้วยการจัดการฝึกอบรม

แรงงานที่ต้องการเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน และจัดอบรมในหลักสูตรวิชาชีพพื้นฐานต่าง ๆ สำหรับประชาชน

ที่เริ่มต้นจะประกอบธุรกิจ MSMEs

5) ปรับปรุงด้านระเบียบและการดำเนินของหน่วยงานภาครัฐในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยอำนวย

ความสะดวกต่อการประกอบการธุรกิจ MSMEs อาทิ เน้นการบริการประชาชนในรูปแบบ One Stop

Service

82

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

82

เอกสารอ้างอิง

กองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ?แนวทางการขับเคลื่อน MSMEs ด้วยการค้าบริการ. กุมภาพันธ์ 2567

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). รายงานสถานการณ์ MSMEsไตรมาสที่ 4 ปี 2567

[ออนไลน์]. 2567. แหล่งที่มา: https://www.sme.go.th/knowledge/รายงานสถานการณ์ MSMEs รายไตรมาส%28MSMEOutlook%29 [16 พฤษภาคม 2567]

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/2566 และภาพรวม ปี 2566

[ออนไลน์]. 2567. แหล่งที่มา https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13633&filename =socialoutlook_report [16 พฤษภาคม 2567]

83

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

83

ทุเรียนไทย: โอกาส ความเสี่ยง ในยุคที่คู่แข่งพร้อมท้าชิง14

บทสรุปผู้บริหาร

?

ทุเรียนเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่สำคัญในตลาดส่งออกไทย โดยความนิยมของทุเรียนทั่วโลก

เติบโตขึ้นมากกว่า 10 เท่าภายในทศวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากประเทศจีนมีความนิยมบริโภคทุเรียนสูงมาก ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการส่งออกทุเรียนไปจีน

?

การผลิตทุเรียนและราคาทุเรียนไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนจากข้อมูล

ดัชนีผลผลิตและดัชนีราคาทุเรียนหมอนทองคละ (ปรับฤดูกาล) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรสหกรณ์ ขณะที่ทิศทางราคามีการขยายตัวสูงขึ้นกว่าผลผลิตโดยเปรียบเทียบ สะท้อนถึงความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าผลผลิตที่ผลิตได้ ทำให้เกษตรกรและผู้ส่งออกสามารถขายทุเรียนได้ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

?

ภาพใหญ่ของตลาดทุเรียนไทยตลอดระยะเวลา 20 ปี พบว่ามูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยเติบโต

อย่างก้าวกระโดด ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 22 ต่อปี โดยมูลค่าการส่งออกส่วนใหญ่มาจากทุเรียนสด ขณะที่ทุเรียนแช่เย็นจนแข็งมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย สาเหตุหลักมาจากที่การส่งออกไปยังประเทศจีน มีระยะทางไม่ไกล นอกจากนี้ สัดส่วนมูลค่าการส่งออกทุเรียนต่อการส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง (ผลไม้ทั้งหมดที่ส่งออกจากประเทศไทย) มีสัดส่วนสูงขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน จากเดิมอยู่ในช่วงร้อยละ 20 ในปี 2003 ปรับมามีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 68.9 ในปี 2023

?

โอกาสในตลาดทุเรียนไทย ทุเรียนไทยถือเป็นเจ้าตลาดในการส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งผู้นำเข้าได้

ตระหนักถึงคุณภาพและคุ้นเคยกับทุเรียนไทยอยู่แล้ว จึงมีโอกาสในการเพิ่มมูลค่าทุเรียนโดยการนำเสนอสินค้าทุเรียนแปรรูปให้มีความหลากหลายมากขึ้น การสร้างตลาดใหม่ถือเป็นอีกโอกาสสำคัญของไทย โดยเฉพาะในตลาดที่มีระยะทางในการส่งออกไม่ไกลมาก ด้านการผลิต การสร้างสายพันธุ์ทุเรียนใหม่ โดยมุ่งเน้นลักษณะทุเรียนท้องถิ่นกับทุเรียนที่เป็นที่นิยมในการส่งออกเข้าด้วยกัน เพื่อลดต้นทุน ทนแล้ง ออกผลผลิตสูงขึ้น

?

ความเสี่ยงสำคัญในการส่งออกทุเรียนมาจากการพึ่งพาตลาดจากประเทศจีนอย่างมาก

หลายประเทศเริ่มสนใจและเข้ามามีบทบาทในการส่งออกทุเรียนมากขึ้น ผลกระทบจากโลกร้อนก็เป็น อีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญ โดยเอลนีโญที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ฝนน้อยและน้ำแล้ง

?

ทุเรียนไทยยังคงแข็งแกร่งในเวลาที่ตลาดส่งออกโลก แม้ว่ายังมีโอกาสในการพัฒนาหลายด้าน

แต่ต้องจับตาความเสี่ยงอย่างใกล้ชิดเช่นกัน นอกจากนี้ ประเทศไทยควรถอดบทเรียนที่เคยผิดพลาด ในการสูญเสียส่วนแบ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรสำคัญในอดีต สุดท้ายนี้ การพัฒนาทุเรียนไทย ให้ยั่งยืนต้องดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ สร้างความเข้มแข็งและยืดหยุ่นให้แก่เกษตรกรผู้ผลิต เช่น การผลักดันพระราชบัญญัติทุเรียนไทย ฉบับต่าง ๆ ที่พยายามกำกับดูแลทุเรียนอย่างครบวงจร รวมถึงต้องรักษาชื่อเสียงและคุณภาพของทุเรียนไทย เพื่อให้ทุเรียนไทยอยู่ในระดับเวทีโลกอย่างยั่งยืน

14 ผู้เขียน: นายชานน ลิมป์ประสิทธิพร เศรษฐกรชำนาญการ กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. ขอขอบคุณ ดร.ยุทธภูมิ จารุเศร์นี ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจมหภาค กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำหรับข้อแนะนำ อนึ่ง บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน ไม่ได้สะท้อนความคิดเห็นของหน่วยงาน

84

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

84

1. บทนำ

ทุเรียนเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่สำคัญในตลาดส่งออกไทย โดยความนิยมของทุเรียนทั่วโลกเติบโตขึ้นมากกว่า 10 เท่าภายในทศวรรษที่ผ่านมา จากเดิมที่เคยส่งออก 80,000 ตันต่อปีในปี 2003 ขยายตัวก้าวกระโดดที่ 870,000 ตันในปี 2022 สาเหตุหลักมาจากประเทศจีนมีความนิยมบริโภคทุเรียนสูงมาก ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการส่งออกทุเรียนไปจีน ทั้งนี้ ทุเรียนที่สร้างโอกาสให้เกษตรกร และผู้ส่งออกไทย มีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับความท้าทายทั้งจากคู่แข่งและสภาพอากาศโลก ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องหาแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

2. ตลาดการส่งออกและนำเข้าทุเรียนทั่วโลก

อ้างอิงจากฐานข้อมูลล่าสุดของ The Observatory of Economic Complexity (OEC) พบว่า ในปี 2022 ขนาดตลาดทุเรียนสดทั่วโลก มีมูลค่าราว 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเทศไทยเป็น ผู้ส่งออกหลักที่ร้อยละ 80.60 ฮ่องกงที่ร้อยละ 11.20 เวียดนามร้อยละ 7.18 มาเลเซียร้อยละ 0.89 และประเทศอื่น ๆ ร้อยละ 0.13 ตามลำดับ ดังภาพที่ 50

ภาพที่ 50 สัดส่วนมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดทั่วโลก ณ ปี 2022 ที่มา: The Observatory of Economic Complexity (OEC) จัดทำโดยผู้เขียน

ขณะที่ทางฝั่งผู้นำเข้าทุเรียนในปี 2022 ได้แก่ ประเทศจีน นำเข้าร้อยละ 92.70 ฮ่องกง นำเข้าร้อยละ 3.64 ประเทศอื่น ๆ นำเข้าร้อยละ 2.01 ไทเป ร้อยละ 0.95 และลาว ร้อยละ 0.70 ตามลำดับ ดังภาพที่ 51

85

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

85

ภาพที่ 51 สัดส่วนมูลค่าการนำเข้าทุเรียนสดทั่วโลก ณ ปี 2022

ที่มา: The Observatory of Economic Complexity (OEC) จัดทำโดยผู้เขียน

เนื่องจากประเทศจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ จึงทำให้มีบทบาทในการกำกับมาตรฐาน ในการส่งออกอย่างมาก โดยได้กำหนดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพ เช่น ต้องมีการทำ Phytosanitary Certificate เพื่อรับรองสุขอนามัยพืช มีการระบุประวัติการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ที่สามารถติตตามได้ และออกใบอนุญาตนำเข้าทุเรียนในจีน ซึ่งจุดนี้ถือเป็นหนึ่งในกำแพงสำคัญที่ทำให้ ผู้ส่งออกรายใหม่เข้าถึงได้ยาก ทำให้ไทยได้ประโยชน์เนื่องจากผู้ส่งออกมีใบรับรองอยู่แล้ว ทั้งนี้ ช่วงสองปี ที่ผ่านมา ประเทศอื่น ๆ เริ่มได้รับใบอนุญาตจากทางการจีนให้ส่งออกทุเรียนเข้าสู่จีนได้มากขึ้น

3. การผลิตและส่งออกทุเรียนของประเทศไทย

การผลิตทุเรียนและราคาทุเรียนไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนจากข้อมูลดัชนีผลผลิตและดัชนีราคาทุเรียนหมอนทองคละ (ปรับฤดูกาล) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรสหกรณ์ ขณะที่ทิศทางราคามีการขยายตัวสูงขึ้นกว่าผลผลิตโดยเปรียบเทียบ สะท้อนถึงความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าผลผลิตที่ผลิตได้ ทำให้เกษตรกรและผู้ส่งออกสามารถขายทุเรียนได้ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปี 2024 มีทิศทางราคาและผลผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงปี 2023 ซึ่งคาดว่าผลผลิตได้รับผลกระทบมาจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นจากเอลนีโญและด้านราคามาจากคู่แข่ง ที่เยอะขึ้นในตลาด ดังภาพที่ 52

86

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

86

ภาพที่ 52 ดัชนีผลผลิตและดัชนีราคาทุเรียนหมอนทองคละ (ปรับฤดูกาล) รายไตรมาส

ตั้งแต่ปี 2005 - 2024

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จัดทำโดยผู้เขียน

ภาพรวมการส่งออกทุเรียนสดของไทย 4 เดือนแรก ปี 2024 มีมูลค่ารวมที่ 1,134.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ -36.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การส่งออกทุเรียนแช่เย็น จนแข็งของไทย 4 เดือนแรก ปี 2024 มีมูลค่ารวมที่ 96.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ผลิตภัณฑ์ทุเรียนสดและแช่เย็นจนแข็งมีมูลค่ารวม 1,231.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคิดเป็นร้อยละ 65.65 ของสินค้าส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ทั้งหมดที่ส่งออกจากไทย โดยสินค้าทุเรียนส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศจีน

สำหรับภาพใหญ่ของตลาดทุเรียนไทยตลอดระยะเวลา 20 ปี พบว่ามูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 22 ต่อปี โดยมูลค่าการส่งออกส่วนใหญ่มาจากทุเรียนสด ขณะที่ทุเรียนแช่เย็นจนแข็งมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย สาเหตุหลักมาจากที่การส่งออกไปยังประเทศจีนมีระยะทางไม่ไกล ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งทุเรียนไปในรูปแบบแช่เย็นเพื่อยืดระยะ การขนส่งและกระจายสินค้า นอกจากนี้ สัดส่วนมูลค่าการส่งออกทุเรียนต่อการส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ผลไม้ทั้งหมดที่ส่งออกจากประเทศไทย) มีสัดส่วนสูงขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน จากเดิมอยู่ในช่วงร้อยละ 20 ในปี 2003 ปรับมามีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 68.9 ในปี 2023 ดังภาพที่ 53

ภาพที่ 53 มูลค่าการส่งออกทุเรียนสดและแช่เย็นจนแข็งเปรียบเทียบกับสัดส่วนการส่งออกทุเรียน

ต่อผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง รายปี ตั้งแต่ปี 2003 - 2024 (4 เดือนแรก)

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจาก กรมศุลกากร จัดทำโดยผู้เขียน

87

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

87

4. โอกาสในตลาดทุเรียนไทย

ทุเรียนไทยถือเป็นเจ้าตลาดในการส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งผู้นำเข้าได้ตระหนักถึงคุณภาพและคุ้นเคยกับทุเรียนไทยอยู่แล้ว ไทยจึงมีโอกาสดีมากในการเพิ่มมูลค่าทุเรียนโดยการนำเสนอสินค้าทุเรียนแปรรูปให้มีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงนำเสนอทุเรียนสายพันธุ์เฉพาะถิ่นสู่ตลาดส่งออกมากขึ้น ด้วยชื่อเสียง และขนาดตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน โอกาสที่จะทดลองสินค้าใหม่และเปิดใจรับมีสูงกว่าคู่แข่งที่กำลังต้องเร่งสร้างฐานลูกค้าอยู่มาก

การสร้างตลาดใหม่ถือเป็นอีกโอกาสสำคัญของไทย โดยเฉพาะในตลาดที่มีระยะทางในการส่งออก ไม่ไกลมาก เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง และอินเดีย ซึ่งการขยายสู่ตลาดใหม่ต้องใช้ความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์และดึงดูดให้ชาวต่างชาติเปิดใจลองทุเรียน ในจุดนี้ การประยุกต์ใช้ Soft power ผ่านสื่อบันเทิง เช่น ละครและเพลงอย่างที่เกาหลีใต้ได้ทำในการนำเสนอโซจูอาจเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยตัวอย่างที่ชัดเจนคือช่วงที่ MILLI สร้างปรากฏการณ์ ?ข้าวเหนียวมะม่วง? ให้ไทยในงาน Coachella ปี 2022

ด้านการผลิต ไทยยังมีโอกาสในการสร้างสายพันธุ์ทุเรียนใหม่ โดยมุ่งเน้นลักษณะทุเรียนท้องถิ่นกับทุเรียนที่เป็นที่นิยมในการส่งออกเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการลดต้นทุนการปลูกให้เกษตรกร ทนแล้งให้มากขึ้น รวมถึงออกผลผลิตสูงขึ้นกว่าพันธุ์เดิมที่เป็นอยู่ ควรมีการลงทุนวิจัยเมล็ดพันธุ์ สร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและเกษตรกรเพื่อให้ความรู้ใหม่และรักษาองค์ความรู้เดิมไม่ให้สูญหายไป

5. ความเสี่ยงในตลาดทุเรียนไทย

ความเสี่ยงสำคัญในการส่งออกทุเรียนมาจากการพึ่งพาตลาดจากประเทศจีนอย่างมาก เนื่องจากสัดส่วนการนำเข้าทุเรียนกว่าร้อยละ 90 ของโลกมาจากประเทศจีน หากอุปสงค์การบริโภค ของจีนมีการเปลี่ยนไปในทิศทางที่ลดลง หรือจีนสามารถผลิตเพื่อบริโภคในประเทศได้บางส่วนจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกทุเรียนโดยรวมของไทยให้ลดลงได้ ขณะที่การหาตลาดใหม่ในภาพรวมของโลกยังเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก เพราะทุเรียนถือเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม มีราคาแพง และไม่เป็นที่นิยมเท่ากับผลไม้เขตร้อน (Tropical Fruit) ชนิดอื่น เช่น กล้วย สับปะรด มะม่วง และอโวคาโด

นอกจากนี้ ตลาดทุเรียนเป็นตลาดสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง จึงทำให้หลายประเทศเริ่มสนใจ และเข้ามามีบทบาทในการส่งออกทุเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในอาเซียนที่มีภูมิประเทศเหมาะสมในการปลูกทุเรียน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเฉพาะเวียดนามที่ได้เปรียบ ในเรื่องผลผลิตที่มักออกสู่ตลาดในไตรมาสที่ 1 ทุกปี ทำให้ในระยะต่อไปจากนี้ อุปทานทุเรียนจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและอาจส่งผลต่อราคาทุเรียนให้ลดลงอย่างมากได้ เกิดการแย่งส่วนแบ่งตลาดในการส่งออกทุเรียน ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือเกิดการผลิตที่ล้นตลาด (Oversupply) กดราคาต่ำกว่าต้นทุนการปลูกทุเรียนที่สูง ส่งผลต่อเนื่องทำให้รายได้เกษตรกรลดลงและความสามารถในการชำระหนี้สินของเกษตรกรอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกผลไม้โดยรวมของประเทศไทยด้วย

ผลกระทบจากโลกร้อนก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญ โดยเอลนีโญที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ฝนน้อยและน้ำแล้ง โดยปกติทุเรียนจะสามารถทนทานต่ออุณหภูมิร้อนได้สูงถึง 46 องศาเซลเซียส แต่ด้วยอากาศที่ร้อนขึ้นและน้ำที่น้อยลงในเขื่อน ทำให้ต้นทุเรียนออกลูกน้อย ไม่ออกลูก รวมถึงบางกลุ่มมีการตายทั้งกิ่งหรือยืนตายต้น ทำให้เกษตรกรไม่มีผลผลิตเพียงพอ แม้ตลาดจะให้ราคาทุเรียนสูง

88

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

88

6. บทสรุปและข้อเสนอแนะ

ทุเรียนไทยยังคงแข็งแกร่งในเวลาที่ตลาดส่งออกโลก แม้ว่ายังมีโอกาสในการพัฒนาการส่งออกทุเรียนหลายด้าน แต่ต้องจับตาความเสี่ยงอย่างใกล้ชิดเช่นกัน โดยเฉพาะความเสี่ยงจากคู่แข่งจากประเทศในอาเซียนที่พยายามจะแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดทุเรียนจากประเทศจีน

นอกจากนี้ ประเทศไทยควรถอดบทเรียนที่เคยผิดพลาดในการสูญเสียส่วนแบ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรสำคัญในอดีต เช่น ข้าวและยางพารา เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและการสูญเสียตลาดให้กับประเทศอื่น ซึ่งการรักษาสัดส่วนการส่งออกเป็นความจำเป็นอันดับแรกที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน

สุดท้ายนี้ การพัฒนาทุเรียนไทยให้ยั่งยืนต้องดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ สร้างความเข้มแข็ง และยืดหยุ่นให้แก่เกษตรกรผู้ผลิต เช่น การผลักดัน พระราชบัญญัติทุเรียนไทย ฉบับต่าง ๆ ที่พยายามกำกับดูแลทุเรียนอย่างครบวงจร และสามารถเยียวยาเกษตรกรได้ในยามที่เกิดภัยธรรมชาติ ต้องมีการรักษาผลประโยชน์การส่งออกให้เกิดกับผู้ส่งออกและผู้ผลิตไทยอย่างแท้จริง รวมถึงต้องรักษาชื่อเสียงและคุณภาพของทุเรียนไทยเพื่อให้ทุเรียนไทยอยู่ในระดับเวทีโลกอย่างยั่งยืน

89

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

89

บรรณานุกรม

กรุงเทพธุรกิจ. (2024, May 17). ตลาดทุเรียนแดนมังกรร้อนแรง "ไทย" เสี่ยงหลุดแชมป์ส่งออกไปจีน. Bangkokbiznews. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1127360

ปัญญาวชิโรกุล, ณ., & ตรีวรรณไชย, ก. (n.d.). จับตาสถานการณ์ทุเรียนไทย.. เมื่อคู่แข่งรุก บุกตลาดจีน. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/regional-articles/reg-article-2023-05.html

Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). (2023). Durian Global Trade Overview 2023. https://openknowledge.fao.org/server/api/core/bitstreams/84bbf2cb-d119-48c2-b4f1-f22bf802a7af/content

Thairath. (2022, April 20). ปรากฏการณ์แร็ปเปอร์สาวมิลลิ กับการกิน ?ข้าวเหนียวมะม่วง.? www.thairath.co.th. https://www.thairath.co.th/news/politic/2371135

90

ประมาณการเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2567

90

คณะผู้จัดทำ

ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

พิสิทธิ์ พัวพันธ์: pisitp@mof.go.th

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค

พงศ์นคร โภชากรณ์: p_pochakorn@hotmail.com

ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการ เศรษฐกิจการคลัง ยุทธภูมิ จารุเศร์นี: iam5111@msn.com

ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ

ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค

ณัฐพล ศรีพจนารถ: kuhnju@gmail.com

ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจการเงินและต่างประเทศ ปาริฉัตร คลิ้งทอง : kparipari@gmail.com

ผู้อำนวยการส่วนนวัตกรรมข้อมูลเศรษฐกิจและงานวิจัย นรพัชร์ อัศววัลลภ: norabajra@fpo.go.th

ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจภูมิภาค

สิริกัลยา เรืองอำนาจ: sirigunlaya@yahoo.com

ภาคเกษตรกรรม

วรรณวิภา แสงสารพันธ์: wanwipa_s@fpo.go.th

ภาคการท่องเที่ยว

พิมพาภรณ์ สุทธหลวง: pimpapon2_403@hotmail.com

ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์

ศิวัจน์ จิรกัลยาพัฒน์: siwat.ji@gmail.com

เมธาวี ชื่นบาล: metarweecheunban@gmail.com ลภัส แจ่มแจ้ง: LAPUSJ@fpo.go.th

ด้านเสถียรภาพ

ศักดิ์สิทธิ์ สว่างศุข: saksit.ssuk@gmail.com วรรณวิภา แสงสารพันธ์: wanwipa_s@fpo.go.th

วาสนา บุญพุ่ม: wassana.bph@gmail.com

เศรษฐกิจรายภูมิภาค

สุธิรัตน์ จิรชูสกุล: suthirat@fpo.go.th กวิน เอี่ยมตระกูล: kawin.iamtrakul@gmai.com

ประกอบ สุริเยนทรากร: prakob.suriyentrakorn@gmail.com

อิทธิพัฒน์ ประภาประเสริฐ: ittipatp@fpo.go.th

กันตา ศุขสาตร: holykanta@gmail.com

บุณฑริกา ชลพิทักษ์วงศ์: boondharigac@fpo.go.th

ปภัช สุจิตรัตนันท์: papat19109@gmail.com กุสุมา จารุมณี: nookiezsoda@gmail.com ภูริตา ปราบสูงเนิน: phurida2542@gmail.com

ออกแบบหน้าปกและจัดรูปเล่ม

เสาวรส อนุพงษ์กุลกิจ: saowarosa@fpo.go.th

ภาคการคลัง ณัฏฐธิดา จันภักดี: fongnutdee@hotmail.com

ฐิตินันท์ เลิศกาญจนพร: thitinan.fpo@gmail.com ปิยพัชร ปรีหะจินดา: piyapatp214@gmail.com พงศธร รีชัยวิจิตรกุล: pongsathonr@fpo.go.th

ภาคการค้าระหว่างประเทศ

ธณัฐ พวงนวม: tanut1993@gmail.com

ตลาดน้ำมัน

ชานน ลิมป์ประสิทธิพร: chanonlim.non@gmail.com

วาสนา บุญพุ่ม: wassana.bph@gmail.com

เศรษฐกิจต่างประเทศ

ธนพล กาลเนาวกุล: thanaphonkarn@gmail.com

ศิวพร พรหมวงษ์: dr.siwaphon@gmail.com ญาณพัฒน์ สุขสำราญ: yanapat.ssr@gmail.com กิตติคุณ ชุมวรฐายี: kittikun.c@outlook.com

พุทธิสมบัติ ปานกุล: tongputtisombat@gmail.com จิรัฐกาล รอดภัยปวง: jirattakarnmoji@gmail.com รัชพล พงษ์ประเสริฐ: ratchapol.pon98@gmail.com

ภาคการเงิน

ญาณพัฒน์ สุขสำราญ: yanapat.ssr@gmail.com

อัตราการแลกเปลี่ยน

ศิวพร พรหมวงษ์: dr.siwaphon@gmail.com

ภาคอุตสาหกรรม

ศิวัจน์ จิรกัลยาพัฒน์: siwat.ji@gmail.com ภาคแรงงาน สมิทธ์ ชุติมา: smith208555@gmail.com

สำ นั กงานเศรษฐกิจการคลัง

กระทรวงการคลัง

ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท

เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 0 273 9020

โทรสาร 0 2298 5602

WWW.FPO.GO.TH

ที่มา: กระทรวงการคลัง


แท็ก thailand  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ