รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 14 มิ.ย. 67

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 20, 2024 13:34 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

Executive Summary

1 1

? ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ค. 67 หดตัวที่ร้อยละ -8.3

ต่อปี เนื่องจากจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ

จากปัญหาหนี้เสียจากกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับ

อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในเกณฑ์สูง

? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 67 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60.5

เนื่องจากความกังวลของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า และปัญหาค่า

ครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ รวมถึงเริ่มมีความกังวลต่อประเด็นทาง

ด้านการเมืองที่มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น และประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

โลก

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

3

ที่มา กรมการขนส่งทางบก

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 67ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60.5จากระดับ 62.1ในเดือนก่อน โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคได้รับปัจจัยกดดันจากความกังวลของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า และปัญหาค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ รวมถึงเริ่มมีความกังวลต่อประเด็นทางด้านการเมืองที่มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น และประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ส่งผลให้สร้างแรงกดดันต่อผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการที่ปรับตัวดีขึ้น การดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง 55จังหวัด และสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่านมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะต่อไป

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือนเม.ย. 67คิดเป็น 1.94 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน เม.ย. 67 อยู่ที่ 5.5.50 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)

ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ผลการประชุมคณะกรรมการกาหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ครั้งที่ 4/8ของปี 67มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ช่วงร้อยละ 5.25 -5.50 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ตลาด โดยเป็นการคงดอกเบี้ยต่อเนื่อง นับตั้งแต่การประชุมเมื่อเดือน ก.ย. 66 อีกทั้ง FOMCFOMCยังมองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง (Solid Pace)

การจ้างงานยังคงแข็งแกร่ง และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่า อัตราเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลงในช่วงปีที่ผ่านมาแต่ยังคงเพิ่มขึ้น และได้ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมสาหรับการปรับลดช่วงเป้าหมาย ซึ่งอาจมีการพิจารณาปรับลดเมื่อมีความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่ร้อยละ 2 อย่างยั่งยืน สาหรับการพิจารณาการปรับช่วงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในระยะต่อไป คณะกรรมการ FOMC จะประเมินข้อมูลอย่างรอบคอบ

อัตราการว่างงานเดือน พ.ค. 67 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.9ในเดือนก่อนหน้าซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 65

อัตราเงินเฟ้อรายปีเดือน พ.ค. 67 ปรับตัวลดลงเป็นร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.6 ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะที่ Core inflation raterateรายปีเดือน มี.ค. 67อยู่ที่ร้อยละ 3.4ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบ 3ปี โดยต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (2 -8 มิ.ย. 67) อยู่ที่ 2.27 แสนราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.25แสนราย ทั้งนี้ จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.42 แสนราย

สหรัฐอเมริกา

จีน

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน พ.ค. 67 หดตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 2.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นเดือนที่ 20ติดต่อกันที่ดัชนีราคาผู้ผลิตหดตัว

GDP

ไตรมาสแรกปี 67 (final) หดตัวร้อยละ -0.1 ต่อปี หรือหดตัวตัวร้อยละ -1.4ต่อไตรมาส

ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน เม.ย. 67 เกินดุล 2,050.5 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน โดยดุลการค้าขาดดุล -661.5 พันล้านเยน ดุลบริการขาดดุล -721.5พันล้านเยน รายได้ปฐมภูมิเกินดุล 3,832.8พันล้านเยน และรายได้ทุติยภูมิขาดดุล -399.3พันล้านเยน

คาสั่งซื้อเครื่องมือกล (Machine Tool Orders) เดือน พ.ค.67 ชยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อปี ขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังจากหดตัวต่อเนื่องมา 16เดือน จากคาสั่งซื้อต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 67หดตัวร้อยละ -3.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.2และหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.9

ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo rate) ที่ร้อยละ 6.5 ต่อเนื่องเป็นครั้งที่แปดในเดือน มิ.ย. 67ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่คงที่ภายใต้กรอบเป้าหมายและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) เดือน พ.ค. 67 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.77ลดลงจากร้อยละ 4.8 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ากว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 4.9 นับเป็น 9 เดือนติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่จาเป็นสาหรับธนาคารกลางในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน เม.ย 67ขยายตัวร้อยละ 5จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมากกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.6 โดยได้แรงหนุนหลักจากผลผลิตภาคการผลิตที่คิดเป็นร้อยละ 78ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.9จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีการเติบโตที่เด่นชัดในภาคการผลิตเฟอร์นิเจอร์

ในการประชุมเดือน มิ.ย. 67 ธนาคารกลางของไต้หวันได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาดเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.88และต่ากว่าคาดการณ์ของตลาดที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2อัตราเงินเฟ้อดังกล่าวถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ ก.พ. 67อันเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหาร หมวดที่อยู่อาศัย และหมวดการขนส่งและการสื่อสาร เป็นสาคัญ

การส่งออก เดือน พ.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 นับเป็นการขยายตัวของการส่งออกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7การส่งออกในเดือนนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวอย่างของยอดส่งออกสินค้าหมวดสารสนเทศ การสื่อสาร และโสตทัศนูปกรณ์

การนาเข้า เดือน พ.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.0การนาเข้าในเดือนนี้ได้รับปัจจัยกดดันจากการหดตัวของการนาเข้าสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และเครื่องจักรเป็นสาคัญ

ดุลการค้า เดือน พ.ค. 67 เกินดุลอยู่ที่ 6.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 6.4พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 4.04.0ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1ของกาลังแรงงานรวม

ออสเตรเลีย

ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. หดตัวที่ร้อยละ -2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการหดตัวครั้งแต่ตั้งแต่เดือน พ.ค. 66จากการใช้จ่ายที่ลดลง

อินโดนีเซีย

อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3ของกาลังแรงงานรวม โดยเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ เดือน ก.ย. 64

ดุลการค้า (สินค้าและบริการ) เดือน เม.ย. 67 ขาดดุล -6.75 พันล้านปอนด์ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -1.1พันล้านปอนด์

สหราชอาณาจักร

อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกาลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ มี.ค. 63ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4ตัวเลขดังกล่าวต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.3นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ ก.ย. 65 ทั้งนี้ การขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มาจากการขยายตัวที่เร่งขึ้นของภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และภาคอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก เป็นสาคัญ

ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวที่ชะลอลงของยอดขายสินค้าในร้านค้าที่ไม่ใช่ร้านเฉพาะทาง เป็นสาคัญ

มาเลเซีย

ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน เม.ย. 67 ขาดดุล -0.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเป็นครั้งแรกหลังจากที่เกินดุลต่อเนื่องมา 11 เดือน โดยบัญชีบริการขาดดุล -1.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่บัญชีรายได้หลักขาดดุล -3.37พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่บัญชีสินค้าเกินดุลอยู่ที่ 5.11พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกเพิ่มขึ้น

อัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาลแล้ว) เดือน พ.ค.67 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 เท่ากันต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 67 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์

GDPไตรมาสที่ 1 ปี 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8และเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนการขยายตัวของเศรษฐกิจฝรั่งเศสที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 3ไตรมาส

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นตัวเลขที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ ก.ย. 64

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkeiNikkei225 ญี่ปุ่น

Heng SengSeng(ฮ่องกง) ShanghaiShanghai(จีน) และ IDXIDX(อินโดนีเซีย) เป็นต้น เมื่อวันที่ 13มิ.ย. 67 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,31,311.78จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 10-13 มิ.ย. 67 อยู่ที่42,152.66 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 10 -13มิ.ย. 67 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ -8,662.29 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน ถึง 1 ปี และ 19 -20 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 bpsbpsขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 -18 ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -3 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่10-13มิ.ย. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,429.59 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 13มิ.ย. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ-50,864.53ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่13 มิ.ย. 67เงินบาทปิดที่ 36.63 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.38จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตวอน ดอลลาร์ไต้หวัน และดอลลาร์สิงคโปร์ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุล เปโซ แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ -0.16

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ