ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 1, 2024 14:20 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 26/2567 วันที่ 31 กรกฎาคม 2567
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567)
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 2,001,163 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 2,531,054 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 428,170 ล้านบาท ส่งผลให้ เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 449,980 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก
เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ2567
ปีงบประมาณ2566
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
2,001,163
1,956,724
44,439
2.3
2. รายจ่าย (2.1 + 2.2)
2,531,054
2,565,504
(34,450)
(1.3)
2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน
2,418,826
2,434,126
(15,300)
(0.6)
2.2 รายจ่ายปีก่อน
112,228
131,378
(19,150)
(14.6)
3. ดุลเงินงบประมาณ
(529,891)
(608,780)
78,889
13.0
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
12,645
(97,668)
110,313
112.9
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
(517,246)
(706,448)
189,202
26.8
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
428,170
435,243
(7,073)
(1.6)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
(89,076)
(271,205)
182,129
67.2
8. เงินคงคลังต้นงวด
539,056
624,019
(84,963)
(13.6)
9. เงินคงคลังปลายงวด
449,980
352,814
97,166
27.5
หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2567
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3569
- 2 -
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนมิถุนายน 2567 และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567)
ในเดือนมิถุนายน 2567 รัฐบาลเกินดุลเงินสด จำนวน 47,720 ล้านบาท โดยเป็นการเกินดุล เงินงบประมาณ จำนวน 53,002 ล้านบาท และเป็นการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 5,282 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวน 449,980 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ฐานะการคลังเดือนมิถุนายน 2567
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 376,070 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว โดยการนำส่งรายได้ของกรมสรรพากร (ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม) ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจาก มีการเปลี่ยนระบบสัมปทานปิโตรเลียมเป็นระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ซึ่งมีอัตราภาษีลดลงจากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 20 อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จากการนำส่งรายได้เพิ่มเติมของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 323,068 ล้านบาท ต่ำกว่า เดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 21,108 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 6.1) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 315,391 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 6.0 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณ ปีก่อน จำนวน 7,677 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 12.7 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 1)
1.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 272,358 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ 5.7 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงมหาดไทย กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน และกระทรวงแรงงาน เบิกจ่ายต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
1.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 43,033 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็น ร้อยละ 7.5 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน เบิกจ่ายต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 103,052 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 20,388 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 10,582 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 10,543 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 5,779 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5,142 ล้านบาท เงินอุดหนุนของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 4,542 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 4,287 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง จำนวน 2,756 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จำนวน 2,075 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกองทัพอากาศ จำนวน 2,007 ล้านบาท และการเบิกจ่ายงบกลางรายการที่สำคัญ ได้แก่ เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 31,013 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 9,342 ล้านบาท เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ จำนวน 1,912 ล้านบาท เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 487 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 426 ล้านบาท และเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 377 ล้านบาท
- 3 -
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนมิถุนายน 2567
หน่วย: ล้านบาท
เดือนมิถุนายน
เปรียบเทียบ
2567
2566
จำนวน
ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2)
315,391
335,380
(19,989)
(6.0)
1.1 รายจ่ายประจำ
272,358
288,863
(16,505)
(5.7)
1.2 รายจ่ายลงทุน
43,033
46,517
(3,484)
(7.5)
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน
7,677
8,796
(1,119)
(12.7)
3. รายจ่ายรวม (1+2)
323,068
344,176
(21,108)
(6.1)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ณ เดือนมิถุนายน 2567 เกินดุล จำนวน 47,720 ล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลเงินงบประมาณ จำนวน 53,002 ล้านบาท และเป็นการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 5,282 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการถอนเงินฝากคลังของกองทุนประชารัฐ เพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม สุทธิ จำนวน 4,432 ล้านบาท และการถอนเงินฝากคลังของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สุทธิ จำนวน 1,155 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 8,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุล จำนวน 55,720 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 449,980 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนมิถุนายน 2567
หน่วย: ล้านบาท
เดือนมิถุนายน
เปรียบเทียบ
2567
2566
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
376,070
377,950
(1,880)
(0.5)
2. รายจ่าย (2.1 + 2.2)
323,068
344,176
(21,108)
(6.1)
2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน
315,391
335,380
(19,989)
(6.0)
2.2 รายจ่ายปีก่อน
7,677
8,796
(1,119)
(12.7)
3. ดุลเงินงบประมาณ
53,002
33,774
19,228
56.9
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
(5,282)
11,183
(16,465)
(147.2)
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
47,720
44,957
2,763
6.1
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
8,000
51,000
(43,000)
(84.3)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
55,720
95,957
(40,237)
(41.9)
8. เงินคงคลังต้นงวด
394,260
256,857
137,403
53.5
9. เงินคงคลังปลายงวด
449,980
352,814
97,166
27.5
หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2567
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3569
- 4 -
2. ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567)
2.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 2,001,163 ล้านบาท สูงกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 44,439 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.3) โดยการนำส่งรายได้ของกรมสรรพสามิต (ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน) กรมสรรพากร (ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) และรัฐวิสาหกิจสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับปีที่แล้วมีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาท/ลิตร ขณะที่ปีนี้มีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 2.5 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 กันยายน - 31 ธันวาคม 2566 และ 1 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 มกราคม - 19 เมษายน 2567 และน้ำมันเบนซิน 1 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 - 31 มกราคม 2567 อีกทั้งมีการนำส่งรายได้เพิ่มเติม ของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่นและกรมศุลกากรต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษรวม 55,579 ล้านบาท
2.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 2,531,054 ล้านบาท ต่ำกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 34,450 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.3) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 2,418,826 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 15,300 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.6 และการเบิกจ่าย เงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 112,228 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 19,150 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.6 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 3)
2.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 2,153,461 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 78.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 2,756,868 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็น ร้อยละ 3.3 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่ายสูงกว่ากว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
2.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 265,365 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 36.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 723,132 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 24.1 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงกลาโหม เบิกจ่ายต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 263,791 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 182,388 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 152,738 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 99,346 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 84,832 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 67,571 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 65,596 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงานประกันสังคม จำนวน 55,277 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง จำนวน 50,211 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 43,069 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 25,577 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง จำนวน 24,342 ล้านบาท เงินอุดหนุนของสำนักงาน ศาลยุติธรรม จำนวน 16,726 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จำนวน 16,559 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 15,055 ล้านบาท และการเบิกจ่ายงบกลางรายการที่สำคัญ ได้แก่ เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 282,839 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 79,739 ล้านบาท เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ จำนวน 51,600 ล้านบาท เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,028 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 2,786 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 2,725 ล้านบาท
- 5 -
ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก
เปรียบเทียบ
ร้อยละต่อวงเงินงบประมาณ
ปีงบประมาณ
2567
ปีงบประมาณ2566
จำนวน
ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2)
2,418,826
2,434,126
(15,300)
(0.6)
69.5
1.1 รายจ่ายประจำ
2,153,461
2,084,585
68,876
3.3
78.1
1.2 รายจ่ายลงทุน
265,365
349,541
(84,176)
(24.1)
36.7
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน
112,228
131,378
(19,150)
(14.6)
70.8
3. รายจ่ายรวม (1+2)
2,531,054
2,565,504
(34,450)
(1.3) 69.6
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จำนวน 517,246 ล้านบาท โดยเป็น การขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 529,891 ล้านบาท และการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 12,645ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเงินฝากคลังของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม สุทธิ จำนวน 8,510 ล้านบาท เงินฝากคลังของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ สุทธิ จำนวน 2,071 ล้านบาท และเงินฝากคลังของกองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน สุทธิจำนวน 1,039 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 428,170 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 89,076 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 449,980 ล้านบาท (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก
เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ2567
ปีงบประมาณ2566
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
2,001,163
1,956,724
44,439
2.3
2. รายจ่าย (2.1 + 2.2)
2,531,054
2,565,504
(34,450)
(1.3)
2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน
2,418,826
2,434,126
(15,300)
(0.6)
2.2 รายจ่ายปีก่อน
112,228
131,378
(19,150)
(14.6)
3. ดุลเงินงบประมาณ
(529,891)
(608,780)
78,889
13.0
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
12,645
(97,668)
110,313
112.9
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
(517,246)
(706,448)
189,202
26.8
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
428,170
435,243
(7,073)
(1.6)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
(89,076)
(271,205)
182,129
67.2
8. เงินคงคลังต้นงวด
539,056
624,019
(84,963)
(13.6)
9. เงินคงคลังปลายงวด
449,980
352,814
97,166
27.5
หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2567
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กองนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3569


          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ