นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 41 ระหว่างวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม 2551 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ดังนี้
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 41
1.1. ในการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียครั้งที่ 41 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน H.E. Juan Carlos I กษัตริย์ประเทศสเปนและ H.E. Pedro Solbes Mira รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศสเปนได้กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้ว่าการของประเทศสมาชิกธนาคารพัฒนาเอเชียและผู้แทนจากประเทศต่างๆ ระหว่างพิธีเปิดการประชุม
1.2. Mr. Haruhiko Kuroda ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวสุนทรพจน์ถึงปัญหาของเศรษฐกิจโลก ซึ่งประกอบด้วย ปัญหาด้านตลาดการเงินและปัญหาด้านราคาอาหาร โดยธนาคารพัฒนาเอเชียเตรียมที่จะให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินเพื่อลดความกดดันต่อนโยบายการคลังของประเทศต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นอกจากนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชียจะเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรด้วย
สำหรับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวขอบคุณประเทศผู้บริจาคทุกประเทศที่สนับสนุนการเพิ่มทุนของกองทุนพัฒนาเอเชียครั้งที่ 9 (ADF X) โดยเป้าหมายการใช้จ่ายเงินของกองทุนฯ จะมุ่งเน้นการเสริมสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คลอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจภายในประเทศ (Inclusive Economic Growth) การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคอากาศ และการเสริมสร้างความร่วมมือและการรวมตัวของกลุ่มประเทศในภูมิภาค โดยเน้นว่า ความสำเร็จต่างๆ จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันของประเทศสมาชิกและความเป็นหุ้นส่วน (Partnership)
1.3. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมฯ โดยมีใจความสำคัญว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว เนื่องจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาอาหารประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น นโยบายการคลังและการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของไทยเพื่อกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่องและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของภาคเอกชน
นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาราคาอาหารที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและผลผลิตการเกษตรที่ไม่เพียงพอ โดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรในการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์และอุปกรณ์สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งอาจจะพิจารณาการซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกรในรูปแบบของการจัดทำ Forward Contracts เพื่อควบคุมทั้งราคาและเพิ่มปริมาณอุปทานของอาหารที่เป็นพืชผลทางการเกษตรให้มากขึ้น นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการระทรวง การคลังได้แสดงความยินดีและสนับสนุนการเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 9 (ADF X) ตลอดจนสนับสนุนนโยบายที่สำคัญต่างๆ เช่น กรอบแผนงานยุทธศาสตร์ระยะยาวฉบับใหม่ของธนาคารพัฒนาเอเชียการปรับปรุงประสิทธิภาพในหน่วยงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ ยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับธนาคารพัฒนาเอเชียระหว่างปี 2550-2554 เป็นต้น
1.4. ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย เป็นต้น ได้กล่าวสุนทรพจน์ให้การสนับสนุนกรอบแผนงานยุทธศาสตร์ระยะยาวของธนาคารพัฒนาเอเชีย การเพิ่มทุนของกองทุนพัฒนาเอเชียครั้งที่ 9 (ADF X) และเห็นควรให้ธนาคารพัฒนาเอเชียมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาระดับราคาอาหารสูงในปัจจุบัน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในการเกษตร โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในชนบท และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับเกษตรกรและองค์กรท้องถิ่น สาธารณะประชาชนจีนขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียพัฒนาและรักษาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ตลอดจนการมีระบบธรรมาภิบาลที่ดีขององค์กร และการให้ความสำคัญกับเสียงของประเทศสมาชิกส่วนน้อย
2. การพบหารือทวิภาคีกับหน่วยงานต่างๆ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้พบหารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชียและสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งในการหารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (นาย Haruhiko Kuroda) นั้น ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวแสดงความชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และยินดีสนับสนุนโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ (Megaprojects) ของประเทศไทย และร่วมมือกับประเทศไทยในการพัฒนาและลดช่องว่างทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง สำหรับการแก้ไขปัญหาการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร ประเทศไทยได้เสนอให้มีการรวมตัวของผู้ผลิตเพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน โดยขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ในการพบปะหารือทวิภาคีกับผู้บริหารจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้แก่ Merrill Lynch, Sumitomo Mitsui Banking Corporation, Daiwa Securities SMBC และ Citi Group ผู้บริหารจากหน่วยงานดังกล่าวแสดงความขอบคุณในความร่วมมือเป็นอย่างดี รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากระดับราคาอาหารสูง และแนวนโยบาย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย การพิจารณาการระดมทุนจากตลาดการเงินต่างประเทศ การเตรียมการรองรับปัญหาประชากรสูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคต โอกาสในการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์การในการรักษาพยาบาล (Medical Hub) เป็นต้น
สำหรับการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 42 จะจัดขึ้นที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 2 — 5 พฤษภาคม 2552
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 39/2551 13 พฤษภาคม 51--
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 41
1.1. ในการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียครั้งที่ 41 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน H.E. Juan Carlos I กษัตริย์ประเทศสเปนและ H.E. Pedro Solbes Mira รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศสเปนได้กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้ว่าการของประเทศสมาชิกธนาคารพัฒนาเอเชียและผู้แทนจากประเทศต่างๆ ระหว่างพิธีเปิดการประชุม
1.2. Mr. Haruhiko Kuroda ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวสุนทรพจน์ถึงปัญหาของเศรษฐกิจโลก ซึ่งประกอบด้วย ปัญหาด้านตลาดการเงินและปัญหาด้านราคาอาหาร โดยธนาคารพัฒนาเอเชียเตรียมที่จะให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินเพื่อลดความกดดันต่อนโยบายการคลังของประเทศต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นอกจากนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชียจะเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรด้วย
สำหรับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวขอบคุณประเทศผู้บริจาคทุกประเทศที่สนับสนุนการเพิ่มทุนของกองทุนพัฒนาเอเชียครั้งที่ 9 (ADF X) โดยเป้าหมายการใช้จ่ายเงินของกองทุนฯ จะมุ่งเน้นการเสริมสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คลอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจภายในประเทศ (Inclusive Economic Growth) การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคอากาศ และการเสริมสร้างความร่วมมือและการรวมตัวของกลุ่มประเทศในภูมิภาค โดยเน้นว่า ความสำเร็จต่างๆ จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันของประเทศสมาชิกและความเป็นหุ้นส่วน (Partnership)
1.3. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมฯ โดยมีใจความสำคัญว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว เนื่องจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาอาหารประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น นโยบายการคลังและการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของไทยเพื่อกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่องและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของภาคเอกชน
นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาราคาอาหารที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและผลผลิตการเกษตรที่ไม่เพียงพอ โดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรในการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์และอุปกรณ์สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งอาจจะพิจารณาการซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกรในรูปแบบของการจัดทำ Forward Contracts เพื่อควบคุมทั้งราคาและเพิ่มปริมาณอุปทานของอาหารที่เป็นพืชผลทางการเกษตรให้มากขึ้น นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการระทรวง การคลังได้แสดงความยินดีและสนับสนุนการเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 9 (ADF X) ตลอดจนสนับสนุนนโยบายที่สำคัญต่างๆ เช่น กรอบแผนงานยุทธศาสตร์ระยะยาวฉบับใหม่ของธนาคารพัฒนาเอเชียการปรับปรุงประสิทธิภาพในหน่วยงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ ยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับธนาคารพัฒนาเอเชียระหว่างปี 2550-2554 เป็นต้น
1.4. ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย เป็นต้น ได้กล่าวสุนทรพจน์ให้การสนับสนุนกรอบแผนงานยุทธศาสตร์ระยะยาวของธนาคารพัฒนาเอเชีย การเพิ่มทุนของกองทุนพัฒนาเอเชียครั้งที่ 9 (ADF X) และเห็นควรให้ธนาคารพัฒนาเอเชียมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาระดับราคาอาหารสูงในปัจจุบัน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในการเกษตร โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในชนบท และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับเกษตรกรและองค์กรท้องถิ่น สาธารณะประชาชนจีนขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียพัฒนาและรักษาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ตลอดจนการมีระบบธรรมาภิบาลที่ดีขององค์กร และการให้ความสำคัญกับเสียงของประเทศสมาชิกส่วนน้อย
2. การพบหารือทวิภาคีกับหน่วยงานต่างๆ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้พบหารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชียและสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งในการหารือกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (นาย Haruhiko Kuroda) นั้น ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวแสดงความชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และยินดีสนับสนุนโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ (Megaprojects) ของประเทศไทย และร่วมมือกับประเทศไทยในการพัฒนาและลดช่องว่างทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง สำหรับการแก้ไขปัญหาการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร ประเทศไทยได้เสนอให้มีการรวมตัวของผู้ผลิตเพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน โดยขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ในการพบปะหารือทวิภาคีกับผู้บริหารจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้แก่ Merrill Lynch, Sumitomo Mitsui Banking Corporation, Daiwa Securities SMBC และ Citi Group ผู้บริหารจากหน่วยงานดังกล่าวแสดงความขอบคุณในความร่วมมือเป็นอย่างดี รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากระดับราคาอาหารสูง และแนวนโยบาย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย การพิจารณาการระดมทุนจากตลาดการเงินต่างประเทศ การเตรียมการรองรับปัญหาประชากรสูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคต โอกาสในการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์การในการรักษาพยาบาล (Medical Hub) เป็นต้น
สำหรับการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 42 จะจัดขึ้นที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 2 — 5 พฤษภาคม 2552
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 39/2551 13 พฤษภาคม 51--