รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 2 ส.ค. 67

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 7, 2024 14:19 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจรายสัปดาห์

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย. 67 หดตัวที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี เนื่องจากผลิต

สินค้าสาคัญที่หดตัว ได้แก่ การผลิตยานยนต์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และ

ผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ (คอนกรีต ปูนซีเมนต์)

? ปริมาณการจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน มิ.ย. 67 หดตัวที่

ร้อยละ -7.9 ต่อปี เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

? ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มิ.ย. 67 หดตัวที่ร้อยละ -1.5

ต่อปี เนื่องจาก จากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศเริ่มอ่อนกาลังลง จากแรงกดดัน

ของภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูง

? ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. 67 หดตัวที่ร้อยละ -18.7 ต่อปี

เนื่องจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนส่งผลให้สถาบัน

การเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง

? การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย. 67 หดตัวร้อยละ -6.1 ต่อปี เนื่องจาก การหดตัว

ของรายจ่ายปีปัจจุบันและรายจ่ายปีก่อนเบิกจ่ายได้

? รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มิ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 10.3

ต่อปี เนื่องจาก การขยายตัวของรายได้รัฐวิสาหกิจและภาษีน้ามันและผลิตภัณฑ์น้ามัน

? ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. 67 พบว่าดุลเงินงบประมาณ

เกินดุลจานวน 53,002 ล้านบาท

? หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 67 คิดเป็นร้อยละ 63.5 ของ GDP โดยสถานะหนี้

สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ใน

ระดับต่ากว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDP

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย. 67 หดตัวร้อยละ -1.7ต่อปี

Indicators

(%yoy)

2023

2024

ทั้งปี

Q1

Q2

May

June

YTD

ยอดจาหน่ายเหล็ก

-

6.6 -

5.5 1.8

8.5

-

7.9 -

2.1

%mom_sa,

%qoq_sa

-

-

5.1 1.7

5.6

-

5.9

Manufacturing Production Index :

MPI

ปริมาณการจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม

โดยดัชนีหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากการผลิตสินค้าสาคัญที่หดตัว ได้แก่ การผลิตยานยนต์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ คอนกรีต ปูนซีเมนต์ ที่หดตัวร้อยละ 118 0,,-14.6 และ -6.4 ต่อปี ตามลาดับ* จากปัญหาด้านกาลังซื้อรถยนต์ในประเทศที่ลดลงและการปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เข้มงวดขึ้น ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะแผ่นวงจรที่ใช้ในการประกอบยานยนต์ ในขณะที่การชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ส่งผลให้ความต้องการวัสดุเพื่อการก่อสร้างลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ดี การผลิตน้ามันปาล์มขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3ตามวัตถุดิบที่เข้าสู่ตลาดมากขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้อต่อผลผลิต (*เรียงตามสัดส่วนใน MPI ในระบบ TSIC 22หลัก

ปริมาณการจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน มิ.ย. 6767หดตัวที่ร้อยละ 7.97.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวที่ร้อยละ 5.95.9เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ปริมาณการจาหน่ายเหล็กในประเทศเดือน มิ.ย. 6767หดตัวร้อยละ 7.97.9โดยมีปัจจัยสาคัญมาจากปริมาณการจาหน่ายที่หดตัวของเหล็กประเภท อาทิ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน และเหล็กเส้นกลม ที่หดตัวร้อยละ 26.1 19.6 14.914.9และ 14.214.2ตามลาดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มิ.ย. 677หดตัวที่ร้อยละ -1.5ต่อปี และหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ที่ร้อยละ -1.8

โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จากจัดเก็บในค่าการใช้จ่ายภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 (%YoY)

ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศเริ่มอ่อนกาลังลง จากแรงกดดันของภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนาเข้าพลิกกลับมาหดตัวในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ -10.1(%YoY) จากสถานการณ์การนาเข้าสินค้าที่หดตัวลง อย่างไรก็ดี หากมองในภาพรวมแล้วปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ยังคงอยู่ในทิศทางที่ดี แม้ว่าจะหดตัวลงเล็กน้อยในเดือนนี้ แต่มูลค่าการจัดเก็บใน 6เดือนแรกของปี 67ยังคงขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2.2เป็นต้น

ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. 6767หดตัวที่ร้อยละ 18.718.7เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 5.85.8เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

การจัดเก็บภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. 6767หดตัวจากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยมาจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนส่งผลให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลเป็นปัจจัยลบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ขณะที่ยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคธุรกิจอสังหาฯของภาครัฐ

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย. 67เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 323,068ล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.1ต่อปี ทาให้ 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 67 เบิกจ่ายที่ร้อยละ 69.6

5

ที่มา กรมสรรพากร คานวณโดย สศค.

โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 315,391ล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.0ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 69.5ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจา 272,358ล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.7ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 77.8และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 43,033 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -7.5ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 37.9 (2) รายจ่ายปีก่อนเบิกจ่ายได้ 7,677ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -12.7ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 70.8ต่อปี

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มิ.ย. 67ได้ 334,419ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.3ต่อปี

โดยรายได้ในเดือน มิ.ย. 67 ขยายตัวจาก รายได้รัฐวิสาหกิจ ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 228.8 และภาษีน้ามันและผลิตภัณฑ์น้ามัน ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 110.9

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. 67พบว่าดุลเงินงบประมาณเกินดุลจานวน 53,002ล้านบาท

ทั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล

5,282 ล้านบาทพบว่าดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 47,720 ล้านบาท โดยในเดือนนี้รัฐบาลมีการกู้เงิน 8,000 ล้านบาท ส่งผลให้จานวนเงินคงคลังปลายงวดอยู่ที่ 449,980 ล้านบาท

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 67 มีจานวนทั้งสิ้น11 5ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.5 ของ GDPGDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างลดลงสุทธิ 104,494.97ล้านบาท

ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPGDPยังอยู่ในระดับต่ากว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 770 ของ GDPGDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 84.6 ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.8ของยอดหนี้สาธารณะ

เครื่องชี้ภาคการเงิน

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มิ.ย. 677เกินดุลที่ 1,950.55ล้านดอลลาร์สหรัฐเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 646.99ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยเดือน มิ.ย. 677ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่-498.88ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่2,449.33ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาหรับดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 677เกินดุลรวม 5,165.99ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Current Account

8

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน มิ.ย. 677มียอดคงค้าง 20.620.6ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.1.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน มิ.ย. 677มียอดคงค้าง 25. 22ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 2.55จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.02จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่สินเชื่อเพื่อการบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.0ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

ผลการประชุมคณะกรรมการกาหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ครั้งที่ 5/8ของปี 67มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ช่วงร้อยละ 5.25 -5.50 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ตลาด โดยเป็นการคงดอกเบี้ยต่อเนื่อง นับตั้งแต่การประชุมเมื่อเดือน ก.ย. 66อีกทั้ง FOMCFOMCมองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง การจ้างงานเพิ่มขึ้นช้าลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่า อัตราเงินเฟ้อลดลงในช่วงปีที่ผ่านมาแต่ยังคงสูงขึ้นบ้าง ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อยังคงเคลื่อนตัวไปสู่ความสมดุลที่ดีขึ้น โดยแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่คงมีความแน่นอน

ดัชนี PMIPMIภาคการผลิต (ของ ISM) เดือน มิ.ย. 67 อยู่ที่ 46.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 48.5จุด ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 48.8จุด

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (21 -27 ก.ค. 67) อยู่ที่ 2.49 แสนราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.35 แสนล้าน และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.49 แสนราย ทั้งนี้ จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average)

ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.38แสนราย

สหรัฐอเมริกา

ญี่ปุ่น

อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่าสุดนับจาก ม.ค. 67

ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปี (ร้อยละ 0.6 ต่อเดือน) สูงสุดในรอบ 4เดือน และสะท้อนการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 27ของยอดค้าปลีก จากค่าจ้างที่ปรับขึ้นที่ช่วยกระตุ้นการบริโภค

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ ) มีมติในรอบประชุม เดือน ก.ค. 67 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไปที่ระดับราวร้อยละ 0.25 จากระดับเดิมที่ราวร้อยละ 0-0.1 พร้อมทั้งกาหนดเป้าหมายลดวงเงินซื้อพันธบัตรในเดือน ม.ค.-มี.ค. 68 เหลือครึ่งหนึ่งของระดับปัจจุบัน โดยตั้งเป้าไว้ที่เดือนละ 3ล้านล้านเยนต่อเดือน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 36.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 36.4ในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดนับจาก เม.ย. 67

คาสั่งซื้อเพื่อการก่อสร้าง (Construction Order) เดือน มิ.ย. 67 หดตัวร้อยละ -19.7 ต่อปี โดยคาสั่งซื้อเฉลี่ยตั้งแต่ปี 28-67อยู่ที่ร้อยละ 2.5

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Jibun Bank PMI) ภาคการผลิต (final) เดือน ก.ค. 67อยู่ที่ 49.1 ลดลงจากระดับ 50ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนการหดตัวภาคการผลิตเป็นครั้งที่ห้าในรอบปีนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

เกาหลีใต้

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน มิ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี (ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยในช่วงปี 2519-2567ขยายตัวร้อยละ 8.01

ดุลการค้า เดือน ก.ค. 67 เกินดุล 3.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.9ต่อปี (ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10) ขณะที่การนาเข้าขยายตัวร้อยละ 10.5ต่อปี

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global PMI) ภาคการผลิต เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 51.4 สะท้อนการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม จากยอดสั่งซื้อใหม่และยอดการผลิตที่เพิ่มขึ้น

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 2 ปี 67 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 9 เดือน ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการโดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และการขนส่ง เป็นสาคัญ

ดัชนีฯ PMIPMIภาคอุตสาหกรรม (Jodo BankBank) เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 47.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.2จุด อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ยังคงต่ากว่าระดับ 50จุด บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมของออสเตรเลียยังคงหดตัว

มูลค่าการส่งออกสินค้า เดือน มิ.ย. 67 หดตัวที่ร้อยละ -2.88จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -9.33จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน มิ.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.97จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 67 เกินดุลที่ระดับ 5.58 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 5.05พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน มิ.ย.67 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.7ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม

สิงคโปร์

อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 6.5 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.4ของกาลังแรงงานรวม และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์

ดัชนี PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 45.8 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีที่ต่ากว่าระดับ 50.0จุด บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรม

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

อินเดีย

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน ก.ค. 67 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับในระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งน้อยกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.7เนื่องจากผลผลิตของแก๊สธรรมชาติ เหล็ก และเครื่องใช้ไฟฟ้าชะลอตัวลง

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (HSBC India Manufacturing PMI)PMI)(

เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 58.1 ลดลงจากระดับ 58.3 ในเดือนก่อนหน้า แต่ต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 59.0 โดยยังคงได้แรงหนุนหลักจากการเพิ่มขึ้นของคาสั่งซื้อใหม่

อินโดนีเซีย

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.13 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.51จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีฯ PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 49.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด นับเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค 64 โดยผลผลิตลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสองปี และคาสั่งซื้อใหม่ลดลงหลังจากขยายตัวมานานกว่าหนึ่งปี นอกจากนี้ ยอดขายในต่างประเทศลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนถึงความล่าช้าในการขนส่ง

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI) เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 49.7 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.9 จุด ทั้งนี้ดัชนีอยู่ในระดับต่ากว่า 50 บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อันเนื่องจากคาสั่งซื้อใหม่ (new order) ที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย

มาเลเซีย

GDP

GDPไตรมาสที่ 2 ปี 67 (advance estimate) ขยายตัวที่ร้อยละ 5.09 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.56จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตามถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่าเศรษฐกิจจะโตที่ร้อยละ 4.80 และเป็นการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 5โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายจ่ายเพื่อการสะสมทุนเบื้องต้น และการใช้จ่ายรัฐบาลที่ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ในขณะเดียวกันการส่งออก และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลง

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI) เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.2 จุด ทั้งนี้ดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 50 บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากกาลังการผลิตและยอดคาสั่งซื้อใหม่ (new order) ที่เพิ่มขึ้น

นาคารกลางอังกฤษประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือร้อยละ 5.00 ต่อปี สาหรับการประชุมในเดือน ส.ค. 67จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 5.25ต่อปี โดยธนาคารกลางอังกฤษได้กล่าวว่าจะมีแนวทางดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างระมัดระวังในอนาคต

ดัชนี PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 43.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.5จุด โดยดัชนีที่ต่ากว่าระดับ 50.0จุด บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรม

เยอรมนี

GDP

GDPไตรมาสที่ 2 ปี 67 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 67 (เบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ก็ยังต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่ร้อยละ 2.4โดยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI) finalfinalเดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 44.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.4 จุด และต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่ระดับ 44.1 จุดเล็กน้อย ทั้งนี้ดัชนีอยู่ในระดับต่ากว่า 50 บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 และเป็นการหดตัวของดัชนีที่มากที่สุดนับตั้งแต่ ม.ค. 67อันเนื่องจากยอดการผลิตที่ต่าที่สุดในรอบ 26เดือนและยอดคาสั่งซื้อใหม่ที่ต่าที่สุดในรอบ 6เดือน

ฝรั่งเศส

อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 7.0 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.9ของกาลังแรงงานรวม

ดัชนี PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 47.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.7จุด โดยดัชนีที่ต่ากว่าระดับ 50.0จุด บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรม

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETSETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่นKLCIKLCI(มาเลเซีย) และ S&P/ASX ASX200 (ออสเตรเลีย) เป็นต้น เมื่อวันที่ 1ส.ค. 67ดัชนีปิดที่ระดับ 1,1,322.75จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 30 ก.ค. 67 ถึง 1 ส.ค. 67 อยู่ที่41,724.94 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 30 ก.ค. 67 ถึง 1 ส.ค. 67 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 195.89ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 เดือน ถึง 20 ปี ปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -9 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่30 ก.ค. 67 ถึง 1 ส.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 15,531.62ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 1ส.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ-32,253.86 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่1 ส.ค. 67เงินบาทปิดที่ 35.48 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.88จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ริงกิตวอน ดอลลาร์ไต้หวัน และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลยูโร เปโซ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ 1.54

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ