การเตรียมความพร้อมของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการเพื่อรับสิทธิตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 19, 2024 13:32 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 91/2567 วันที่ 19 กันยายน 2567

การเตรียมความพร้อมของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

เพื่อรับสิทธิตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการ

แห่งรัฐและคนพิการ (โครงการฯ) โดยภาครัฐจะสนับสนุนเงินจานวน 10,000 บาทต่อคน จานวนประมาณ 14.55

ล้านราย แบ่งเป็น 1) ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จานวนประมาณ 12.40 ล้านราย และ 2) คนพิการ

จานวนประมาณ 2.15 ล้านราย จึงขอประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม ดังนี้

1. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ทาการยืนยันตัวตน (e-KYC) สาเร็จแล้ว ณ วันที่ 31

สิงหาคม 2567 และคนพิการที่ได้รับเบี้ยความพิการ 800 บาท อยู่แล้วตามฐานข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ ณ วันที่

31 สิงหาคม 2567 จะได้รับสิทธิในโครงการฯ โดยไม่ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ อีก

2. ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการจะได้รับเงิน 10,000 บาท ผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้

2.1 ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเงินผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

2.1.1 บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจาตัวประชาชน

2.1.2 ยกเว้นกรณีผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่สามารถผูกพร้อมเพย์ได้

จะโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารตามที่ได้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือ ณ สานักงานคลังจังหวัดหรือ

กรมบัญชีกลาง

ทั้งนี้ คนพิการที่บัตรประจาตัวคนพิการหมดอายุ หรือมีบัตรประจาตัวคนพิการแบบเก่า (แบบเล่ม)

โดยยังไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนมีบัตรแบบใหม่ แต่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยืนยันตัวตน (e-KYC) สาเร็จแล้ว ณ วันที่

31 สิงหาคม 2567 จะถูกรวมในกลุ่มนี้และได้รับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจาตัวประชาชน

2.2 คนพิการ จะได้รับเงินผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

2.2.1 ช่องทางที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการอยู่ในปัจจุบัน (ทั้งที่รับเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารหรือ

ที่รับเงินสดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

2.2.2 กรณีคนพิการไม่ปรากฏข้อมูลช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการตามข้อ 2.2.1 จะโอนเงิน

ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจาตัวประชาชนของคนพิการ

3. กรณีคนพิการที่บัตรประจาตัวคนพิการหมดอายุ หรือผู้ได้รับเงินเบี้ยความพิการที่ไม่มีบัตรประจาตัว

คนพิการ จะต้องต่ออายุบัตรประจาตัวคนพิการหรือทาบัตรประจาตัวคนพิการให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะได้รับโอนเงิน

ตามโครงการฯ อย่างไรก็ดี ต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ประสงค์รับเงิน

ภายใต้โครงการฯ

4. การผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจาตัวประชาชน สามารถผูกบัญชีกับธนาคารใดก็ได้ที่มีบัญชีเงินฝาก

โดยไม่จากัดว่าต้องเป็นธนาคารของรัฐ ทั้งนี้ ต้องดาเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจาตัวประชาชนให้แล้วเสร็จ

ภายในวันที่ 16 ธันวาคม 2567 มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ

5. ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการควรตรวจสอบบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจาตัวประชาชน

หรือบัญชีเงินฝากธนาคารให้มีสถานะปกติ (Active) เพื่อพร้อมรับเงินตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

2

6. ในกรณีที่จ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สาเร็จในครั้งแรก จะมีการดาเนินการจ่ายเงินซ้า (Retry) ให้แก่

กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจานวน 3 ครั้ง ได้แก่

รอบจ่ายซ้า จ่ายเงินภายในวันที่ ทาบัตรหรือต่ออายุบัตรประจาตัว

คนพิการภายในวันที่

ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับ

เลขประจาตัวประชาชนภายในวันที่

ครั้งที่ 1 22 ตุลาคม 2567 10 ตุลาคม 2567 18 ตุลาคม 2567

ครั้งที่ 2 22 พฤศจิกายน 2567 12 พฤศจิกายน 2567 18 พฤศจิกายน 2567

ครั้งที่ 3 22 ธันวาคม 2567 3 ธันวาคม 2567 16 ธันวาคม 2567

ทั้งนี้ เมื่อพ้นกาหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว จะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่า

กลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ

โฆษกกระทรวงการคลังเน้นย้าในหลักที่ว่า คนพิการที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการอยู่แล้วในปัจจุบัน ไม่ว่า

จะได้รับเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารหรือรับเงินสดผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะได้รับเงิน 10,000 บาท

ผ่านช่องทางที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการอยู่เดิม

ในขณะที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจาตัวประชาชน โดยมีช่องทาง

ตรวจสอบการมีอยู่หรือผูกบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจาตัวประชาชนได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ

(ATM) ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร เป็นต้น

อย่างไรก็ดี หากเป็นผู้พิการบางกลุ่มที่มีสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยืนยันตัวตน (e-KYC) สาเร็จแล้ว

ภายใน 31 สิงหาคม 2567 ขอให้ตรวจสอบเพิ่มว่า บัตรประจาตัวคนพิการของตนหมดอายุหรือไม่ หรือเป็น

ผู้มีบัตรประจาตัวคนพิการแบบเก่า (แบบเล่ม) ที่ยังไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อมีบัตรแบบใหม่กับกรมส่งเสริมและพัฒนา

คุณภาพชีวิตคนพิการ โดยหากเป็นกลุ่มดังกล่าวนี้ จะโอนเงิน 10,000 บาท ให้ตามสิทธิของกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

โดยจะต้องมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจาตัวประชาชนด้วย ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่ากลุ่มดังกล่าวนี้ มีจานวนค่อนข้างน้อย

หมายเหตุ: ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ สามารถตรวจสอบผลการจ่ายเงินในวันถัดไปหลังจากวันที่จ่ายเงิน

ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

1. ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

1.1 เว็บไซต์ https://โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ2567.cgd.go.th (ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป)

1.2 เว็บไซต์ https://govwelfare.cgd.go.th (ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป)

1.3 แอปพลิเคชัน "รัฐจ่าย" (ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง)

1.4 Call Center กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 0 2270 6400 ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ ระหว่างเวลา

08.30 - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

2. ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และคนพิการที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

2.1 ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2109 2345 ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์

ระหว่างเวลา 08.30 - 17.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

2.2 ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ โทรศัพท์หมายเลข 0 2109 2345

กด 1 กด 5 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ 24 ชั่วโมง

3. คนพิการ

3.1 เว็บไซต์ https://govwelfare.dep.go.th/check

3.2 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

3.3 Call Center กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2354 3388

ต่อ 701 - 702 (หน่วยงานออกบัตรประจาตัวคนพิการ) หรือศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์

ระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

3.4 อปท. กทม. และเมืองพัทยา ที่คนพิการรับเงินเบี้ยความพิการ ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ ระหว่างเวลา

08.30 - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ที่มา: กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ