รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 13 ก.ย. 67

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 16, 2024 13:37 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจรายสัปดาห์

สถานการณ์การบริโภคภาคเอกชน

? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 67 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 56.5 เนื่องจากความกังวล

ของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวได้ช้าและความกังวลต่อรายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับ

ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงแสดงว่า ผู้บริโภคเริ่มไม่แน่ใจว่า

เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นหรือไม่

? อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบบประมาณและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใน

ปลายไตรมาสที่ 3 ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 จะมีส่วนให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคน่าจะปรับตัวดีขึ้น

สถานการณ์การท่องเที่ยว

? ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ก.ย. 67 (2 ก.ย. ? 8 ก.ย. 67) มีจานวนนักท่องเที่ยว 5.3 แสนคน

โดยเดือน ก.ย. 67 สศค. คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาทั้งสิ้น 2.7 ล้านคน

โดยในช่วงที่ผ่านมาจานวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มลดลง ตามปัจจัยทางฤดูกาล ซึ่งอาจส่งผลต่อรายได้ของ

ผู้ประกอบการในภาคบริการที่เกี่ยวข้อง แต่โดยภาพรวมทั้งปีจานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและรายได้จาก

การท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มว่าสอดคล้องกับที่ สศค. คาดการณ์ไว้ ซึ่งมาตรการ Ease of traveling

ของภาครัฐถือเป็นส่วนสาคัญในการกระตุ้นการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี อาจมีมาตรการส่งเสริมและโปรโมท

การท่องเที่ยวในเมืองรองเพื่อให้นักท่องเที่ยวกระจายตัวไปยังเมืองรองมากขึ้น

สถานการณ์ภาครัฐ

? ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 6 กันยายน

2567 พบว่า ณ วันที่ 6 กันยายน 2567 วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง

อยู่ที่ 7.21 แสนล้านบาท เบิกจ่ายได้ที่จ นวน 3.75 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51.95

หากรวมการก่อหนี้ผูกพัน มีการใช้จ่ายที่จานวน 5.30 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 73.44

ทั้งนี้จากผลอัตราการเบิกจ่ายการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า (วันที่ 30 ส.ค. 2567) ที่ร้อยละ

2.07 แต่ยังต่ากว่าที่ควรจะเป็น ที่ร้อยละ 3.21 จึงควรเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนก่อนสิ้นปีงบประมาณ

พ.ศ. 2567 ดังนี้

1) งบกระทรวง ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะกระทรวงที่มีวงเงินขนาดใหญ่ 5 อันดับแรก ได้แก่

1. กระทรวงคมนาคม 2. กระทรวงมหาดไทย 3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4. กระทรวงกลาโหม

5. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2) งบจังหวัด ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะจังหวัดที่มีวงเงินขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนให้เม็ดเงินหมุนเวียน

สู่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ 1. อุดรธานี 2. นครราชสีมา 3. เชียงใหม่ 4. ชลบุรี 5. ขอนแก่น

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

4

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 67 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 56.5 จากระดับ 57.7

ในเดือนก่อน โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากความกังวลของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวได้ช้า และความกังวล

ต่อรายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ความกังวลต่อสถานการณ์น้าท่วมในพื้นที่ภาคเหนือที่สร้างความเสียหายต่อ

ทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงผลิตผลทางการเกษตร อย่าง ไร ก็ดี ปัจ จัย ก ร เ มือ ง ใ น ป ร เ ท ศ เ ริ่ม มีค ว ม ชัด เ จ น ขึ้น

จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการที่ปรับตัวดีขึ้น ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อ

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะต่อไป

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 6 กันยายน 2567 พบว่า ณ

วันที่ 6 กันยายน 2567 วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง อยู่ที่ 7.21 แสนล้านบาท เบิกจ่ายได้ที่จานวน

3.75 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51.95

1) จานวนเงินที่ต้องเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือของงบประมาณ 2567 (วันที่ 7 ก.ย. - 30 ก.ย. 2567) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 70 ตามประมาณการของ สศค. อยู่ที่ 1.30 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 25.78

2) จานวนเงินที่ต้องเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือของงบประมาณ 2567 (วันที่ 7 ก.ย. - 30 ก.ย. 2567) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

การเบิกจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 75 ของกรมบัญชีกลาง อยู่ที่ 1.66 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.73

ทั้งนี้จากผลอัตราการเบิกจ่ายการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า (วันที่ 30 ส.ค. 2567) ที่ร้อยละ 2.07 แต่ยังต่ากว่าที่

ควรจะเป็นที่ร้อยละ 3.21 จึงควรเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้

1) งบกระทรวง ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะกระทรวงที่มีวงเงินขนาดใหญ่ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. กระทรวงคมนาคม

(วงเงินลงทุน 1.71 แสนล้านบาท ) 2. กระทรวงมหาดไทย (วงเงินลงทุน 1.30 แสนล้านบาท) 3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (วงเงิน

ลงทุน 0.83 แสนล้านบาท) 4. กระทรวงกลาโหม (วงเงินลงทุน 0.41 แสนล้านบาท) 5. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรม (วงเงินลงทุน 0.30 แสนล้านบาท)

2) งบจังหวัด ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะจังหวัดที่มีวงเงินขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนให้เม็ดเงินหมุนเวียนสู่จังหวัดต่าง ๆ

ได้แก่ 1. อุดรธานี (วงเงินลงทุน 411.10 ล้านบาท) 2. นครราชสีมา (วงเงินลงทุน 311.58 ล้านบาท) 3.เชียงใหม่ (วงเงินลงทุน 301.17

ล้านบาท) 4. ชลบุรี (วงเงินลงทุน 293.78 ล้านบาท) 5. ขอนแก่น (วงเงินลงทุน 292.34 ล้านบาท)

6

ที่มา : กรมบัญชีกลาง คานวณโดย สศค.

ข้อมูล ณ วันที่ 6 ก.ย. 2567

46.20%

57.15%

70.00%

47.60%

60.50%

75.00%

3.39% 4.73%

6.00%

7.55% 9.09%

10.84%

13.63%

27.16%

36.70%

42.36%

49.88%

51.95%

0%

25%

50%

75%

100%

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

เป้าการเบิกจ่าย 70% เป้าการเบิกจ่าย 75% อัตราเบิกจ่ายสะสม

เป้าบัญชีกลางที่ร้อยละ 75

= 5.41 แสนล้านบาท

รายจ่ายลงทุนรวมทั้งหมด 7.21 แสนล้านบาท

เป้าในแบบจาลอง

ที่ร้อยละ 70

= 5.05 แสนล้านบาท

การเร่งรัดเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนภาครัฐปีงบประมาณ 2567

อัตราการเบิกจ่ายเพมิ่ ขนึ้ จากสัปดาห์ก่อนหน้า (วันที่ 31 ส.ค. 2567) ร้อยละ 2.07

แต่ยังตา กว่าที่ควรจะเป็น ที่ร้อยละ 3.21

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 67 คิดเป็น 2.05 เท่าของสินทรัพย์

สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ 5.48 ล้านล้านบาท

เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จาก

เกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ

1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)

ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.

อัตราการว่างงานในเดือน ส.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.3 และ

เท่ากับที่ตลาดคาดการณ์

อัตราเงินเฟ้อรายปีเดือน ส.ค. 67 ปรับตัวลดลงเป็นร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อยที่ร้อยละ 2.6

ในขณะที่ Core inflation rate รายปีเดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ซึ่งอยู่ในระดับต่าสุด

ในรอบกว่า 3 ปี ติดต่อกันเป็นระยะเวลาสองเดือน

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ส.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ากว่า

ที่ตลาดคาดการณ์ โดยลดลงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.1 ขณะที่ดัชนีราคาผลิตพื้นฐาน

(core PPI) ออกมาที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ากว่าที่ตลาดคาดเช่นกัน

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (1-7 ก.ย. 67) อยู่ที่ 2.30 แสนราย

เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าและต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.28 แสนราย ทั้งนี้ จานวน

ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความ

ผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้านักมาอยู่ที่ 2.30 แสนราย

ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

GDP ไตรมาส 2 ปี 67 (final) หด ตัวร้อยละ -1.0 ต่อปี ( หรือหดตัวตัวร้อยละ -3. 0

ต่อไตรมาส) ส่งผลให้ครึ่งแรกของปี 67 GDP หดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี

จีน

มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 67 ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน

ก.ค. 67 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 67 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือน

เดือน ก.ค. 67 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ส.ค. 67 เกินดุลที่ระดับ 91.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือน

ก.ค. 67 ที่เกินดุลที่ระดับ 84.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้น

เล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 และถือเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่

ก.พ. 67

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน ก.ค. 67 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบ

กับในระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยได้แรงหนุนหลักจากการขยายตัวของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ผลิตภัณฑ์แปรรูปโลหะ และอุปกรณ์ขนถ่าย

อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) เดือน ส.ค. 67 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.65 เมื่อเทียบกับในระยะ

เดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อน และเหนือกว่าการคาดการณ์ของ

ตลาดที่ร้อยละ 3.55 ซึ่งเป็นครั้งที่สองติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้อต่ากว่าเป้าหมายของธนาคารกลาง

ที่ร้อยละ 4 ในรอบ 5 ปี และเป็นผลมาจากราคาอาหารเป็นหลัก

อัตราการว่างง่าน (Unemployment Rate) เดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบ

กับในระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงจากระดับร้อยละ 4.2 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก

จานวนของคนว่างงานลดลงเหลือ 1.44 ล้านคน

เศรษฐกิจสหราชอาณาจักร (GDP) หยุดชะงักอีกครั้งในเดือน ก .ค. 67 ต่ากว่าตลาด

คาดการณ์ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยได้แรงหนุนหลักจากการขยายตัวของ

ภาคการบริการที่ร้อยละ 0.1 ขณะที่ภาคการผลิตและการก่อสร้างหดดตัวลง

ดุลการค้า (Balance of Trade) เดือน ก.ค. 67 ขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 20 พันล้านปอนด์

ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการขาดดุล 18.9 พันล้าน จากเดือนก่อนหน้า

การนาเข้า (Import) เดือน ก.ค. 67 หดตัวร้อยละ 4.6 จากเดือนก่อนหน้า เป็น 48.6 พันล้านปอนด์

การส่งออก (Export) เดือน ก.ค 67 หดตัวร้อยละ 10.8 จากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับต่าสุดใน

รอบ 30 เดือน เป็น 28.6 พันล้านปอนด์

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน ก.ค. 67 หดตัวร้อยละ 0.8 จากเดือน

ก่อนหน้า โดยได้แรงฉุดหลักจากการหดตัวของผลผลิตภาคการผลิต อุปทานด้านไฟฟ้าและแก๊ส

และการจัดการน้าและของเสีย

อินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก

เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัว

ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยยอดขายส่วนใหญ่เติบโตในด้านอาหาร เสื้อผ้า ยานยนต์และ

อุปกรณ์เสริม และเชื้อเพลิง เป็นสาคัญ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 124.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่

อยู่ที่ระดับ 123.4 จุด

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.

อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกาลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจาก

เดือนก่อนหน้า ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ มี.ค. 63 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9

ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัว

ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดค้าปลีกใน

เดือนนี้แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของยอดค้าปลีกในอัตราที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ เม .ย. 67

โดยได้รับปัจจัยกดดันจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดสินค้าในร้านค้าที่ไม่เฉพาะทาง

หมวดสินค้าอื่น ๆ ในร้านค้าเฉพาะทาง เป็นสาคัญ

ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่า

จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 นับเป็นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7

โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการผลิต และภาคส่วนไฟฟ้าเป็นสาคัญ

มาเลเซีย ไต้หวัน

การส่งออก เดือน ส.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลง

จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่าจะขยายตัว

ที่ร้อยละ 7.4 นับเป็นการขยายตัวของการส่งออกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 การส่งออกในเดือนนี้

ได้รับปัจจัยกดดันจากการชะลอตัวของยอดส่งออกสินค้าในหมวดอุปกรณ์สารสนเทศ

การสื่อสาร และโสตทัศนูปกรณ์ หมวดเครื่องจักร หมวดโลหะพื้นฐาน และหมวดพลาสติกและยาง

เป็นสาคัญ

การนาเข้า เดือน ส.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลง

จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.2 และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ

15.0 การนาเข้าในเดือนนี้ได้รับปัจจัยกดดันจากการหดตัวของการนาเข้าสินค้าในหมวด

ปิโตรเลียม เป็นสาคัญ

ดุลการค้า เดือน ส.ค. 67 เกินดุลอยู่ที่ 11.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือน

ก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่ 5.0 พันล้าน

ดอลลาร์สหรัฐฯ

อัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาลแล้ว) เดือน ส.ค.67 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ลดลงจากร้อยละ 2.5

ในเดือนก่อนหน้า

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.

เยอนมนี

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน

หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.2

จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก .ค. 67 หดตัวร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่

ร้อยละ 0.4

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก .ค. 67 หดตัวที่ร้อยละ -3.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็น

การหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18

อิตาลี

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน

หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.2

จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก .ค. 67 หดตัวร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่

ร้อยละ 0.4

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่นSTI(สิงคโปร์) IDX(อินโดนีเซีย) และ PSEi(ฟิลิปปินส์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 12ก.ย. 67ดัชนีปิดที่ระดับ 1,421.58 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 9-12 ก.ย. 67 อยู่ที่49,063.44 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 9-12 ก.ย. 67 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 7,713.64ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ถึง 15 ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -2 bpsขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 เดือน และ 18 ถึง 19 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 51 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 3.14 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่9 -12 ก.ย. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,973.21 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 12ก.ย. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ-5,406.69 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่12 ก.ย. 67เงินบาทปิดที่ 33.74 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.22จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน เปโซ และวอน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลยูโร ริงกิตดอลลาร์ไต้หวัน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อยู่ที่ร้อยละ 0.25

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ