ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ระดับ 96.74 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักส่วนใหญ่ฟื้นตัวและภาคการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวต่อเนื่องส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ เช่น อาหาร และการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนเมษายน ขยายตัวร้อยละ 2.7 เดือนพฤษภาคม หดตัวร้อยละ 1.5 และเดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 1.6
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 14.0 เดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 9.7 และเดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 2.3
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 35.29 จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เป็นหลัก เนื่องจากมีปริมาณผลปาล์มเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ผู้ผลิตเน้นส่งออกเพิ่มในตลาดอินเดีย จีน ปากีสถาน และยุโรป
? ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 14.70 จากถุงมือยางทางการแพทย์ ยางที่ใช้ในชิ้นส่วนรถยนต์/รถจักรยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้น เป็นหลัก ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดยุโรป (เนื่องจากสินค้าผ่านการรับรอง EUDR : EU Deforestation Regulation) อินเดีย และจีน
? เครื่องปรับอากาศ ขยายตัวร้อยละ 26.91 ตามสภาพอากาศทั่วโลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตพัฒนาคุณภาพสินค้าให้มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เช่น ระบบสั่งการเปิด/ปิดจากระยะไกล IOT และ ระบบการกรอง PM 2.5 เป็นต้น
อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในเดือนกรกฎาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 11.11 จากรถบรรทุกปิคอัพและรถยนต์นั่งขนาดเล็กเป็นหลัก หดตัวจากตลาดในประเทศ (-39.45%) เนื่องจากหนี้ครัวเรือนสูง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง และสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ และหดตัวจากตลาดส่งออก (-11.17%)
? ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 11.96 จาก Integrated Circuits (IC) เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 21.48 และผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
? ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ หดตัวร้อยละ 11.02 จากเสาเข็มคอนกรีตและพื้นสำเร็จรูปคอนกรีต เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ
เดือนกรกฎาคม 2567
ม เดือนกรกฎาคม 2567
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนกรกฎาคม 2567
?
การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกรกฎาคม 2567 มีมูลค่า 1,664.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.63 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวจากการนำเข้าในสินค้าประเภทเครื่องจักรใช้ในการแปรรูปไม้และส่วนประกอบ เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกรกฎาคม 2567 มีมูลค่า 10,363.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 18.80 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าขยายตัวในสินค้าประเภทอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สินแร่โลหะโดยเฉพาะดีบุก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
?
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกรกฎาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 186 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.86 (%YoY) และเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ร้อยละ 1.64 (%MoM)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกรกฎาคม 2567 มีมูลค่ารวม 14,379 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.99 (%YoY) แต่ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2567 ร้อยละ 31.10 (%MoM)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2567 คือ การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 17 โรงงาน รองลงมาคือ การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 13 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2567 คือ โรงงานผลิต ประกอบหรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวกึ่งนำ จำนวนเงินทุน 6,413 ล้านบาท รองลงมาคือ การบรรจุสินค้าทั่วไป จำนวนเงินทุน 1,079 ล้านบาท?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
?
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่เลิกกิจการในเดือนกรกฎาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 90 ราย ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 58.53 (%YoY) และลดลงจากเดือนมิถุนายน 2567 ร้อยละ 10.00 (%MoM)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกรกฎาคม 2567 มีมูลค่ารวม 2,624 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 43.88 (%YoY) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ร้อยละ 4.08 (%MoM)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2567 คือ การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 11 โรงงาน รองลงมาคือ การดูดทรายจำนวน 5 โรงงาน การซ่อมแซมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ จำนวน 5 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2567 คือ โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment Plant) มูลค่าเงินลงทุน 814 ล้านบาท รองลงมาคือ โรงงานผลิต ประกอบ หรือซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ ตู้เย็นหรือเครื่องประกอบตู้เย็น มูลค่าเงินลงทุน 169 ล้านบาท?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกรกฎาคม 2567
1.
อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว ได้แก่ 1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 35.3 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 45.2 และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 19.8 เนื่องจากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการที่ตลาดหลักอย่างอินเดียมีความต้องการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มมากขึ้น 2) อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 17.8 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 32.0 เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น จากตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปที่สำคัญ ได้แก่ อเมริกา อิตาลี และออสเตรเลีย 3) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากกากน้ำตาลขยายตัวร้อยละ 20.8 เนื่องจากภาวะการผลิตกากน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น เพื่อสำรองเป็นวัตถุดิบสำหรับรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 4) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อสุกรแช่เย็นแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 5.5 เนื่องจากการเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภคภายในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นตามภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัว 5) ประมง ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากสินค้าสำคัญ คือ ปลาแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 22.9 เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ 6) ผักและผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากสินค้าสำคัญ คือ สับปะรดกระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 58.5 เนื่องจากความต้องการบริโภคจากตลาดในประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีผลผลิตอาหารที่ชะลอตัว คือ มันสำปะหลัง ชะลอตัวร้อยละ 11.7 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง ชะลอตัวร้อยละ 14.9 เนื่องจากภาวะการผลิตแป้งมันสำปะหลังที่ได้ปริมาณน้อยลง บางส่วนเกษตรกรเร่งเก็บผลผลิตที่ไม่ครบอายุออกจำหน่ายก่อนกำหนด ส่งผลต่อคุณภาพแป้งมันสำปะหลังที่ลดลง ไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูปภายในประเทศ อีกทั้งความต้องการที่ลดลงในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องดื่ม ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องดื่มในภาพรวมหดตัวร้อยละ 2.4 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ สุราขาว สุราผสม น้ำดื่มบริสุทธิ์ และเครื่องดื่มรสผลไม้ เนื่องจากการผลิตลดลงตามความต้องการสินค้าของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ลดลง
ตลาดในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 11.8 เช่น 1) เนื้อสุกรแช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 11.4 2) เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 1.0 3) กุ้งแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 9.2 4) น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 16.1 5) น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 3.8 และ 6) อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 17.8
ตลาดต่างประเทศ การส่งออกสินค้าอาหารเดือนกรกฎาคม 2567 ในภาพรวมขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 27.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าจากตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และฮ่องกง ไก่สดและไก่แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 16.5 เพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าจากตลาดหลักอย่างญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 15.9 เพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าจากตลาดหลักอย่างอิรัก และสหรัฐอเมริกา และอาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 26.6 โดยเพิ่มขึ้นจากตลาดสหรัฐอเมริกา และอิตาลี ในส่วนของมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องดื่มชะลอตัวร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยความต้องการลดน้อยลงจากตลาดหลักอย่างกัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา
?คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนสิงหาคม 2567 ในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่ม จากภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับความต้องการนำเข้าจากตลาดหลักของไทย สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคงอาหาร ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
?
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 91.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ สายเคเบิ้ล คอมเพรสเซอร์ สายไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า พัดลมตามบ้าน และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1, 33.5, 27.5, 26.6, 26.1, 25.1, 18.9, 13.9, 13.8 และ 11.6 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในตลาดโลกและมีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน และเตาอบไมโครเวฟ ลดลงร้อยละ 18.3 และ 9.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,467.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 91.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 531.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเวียดนาม แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มีมูลค่า 259.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และจีน สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 116.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ในตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 435.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ในตลาดสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน พัดลม มีมูลค่า 51.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 14.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา อินเดีย และสหราชอาณาจักร ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 137.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.4 ในตลาดญี่ปุ่น จีนและอินโดนีเซีย เครื่องซักผ้า ซักแห้ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 107.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.5 ในตลาดเกาหลีใต้ เวียดนาม และญี่ปุ่น
?
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 63.6 ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ IC, PCBA, Semiconductor devices Transistors และ PWB ลดลงร้อยละ 15.9, 11.3, 1.9 และ 1.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องสินค้าในประเทศชะลอตัวลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer และ HDD เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 และ 20.9 ตามลำดับ โดย HDD ขยายตัวตามความต้องการของการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และจำนวนมาก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 4,515.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการของตลาดโลกและการฟื้นตัวของกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 119.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ในตลาดจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย HDD มีมูลค่า 655.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.6 ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากมีความต้องการใช้ใน Data Center และความต้องการเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 690.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.7 ในตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน และจีน อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 370.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.6 ในตลาดสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเวียดนาม
?คาดการณ์การผลิตเดือนสิงหาคม 2567 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตสินค้าในเชิงปริมาณชะลอตัวลง เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และวงจรรวม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม มูลค่าการจำหน่ายสินค้าต่อหน่วยสูงขึ้น จึงทำให้มูลค่าการจำหน่ายและการส่งออกเพิ่มขึ้น?
?คาดการณ์การผลิตเดือนสิงหาคม 2567 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าจะยังคงทรงตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
?
อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 124,829 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.62 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน เนื่องจากการเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินเพราะหนี้ครัวเรือนสูงและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนปี 2567 ร้อยละ 7.34 (%MoM)
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 46,394 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.58 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ 1 ตัน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ทั้งนี้การจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2567 ร้อยละ 2.66 (%MoM)
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 83,527 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.70 (%YoY) เนื่องจากผลกระทบของสงครามอิสราเอลกับฮามาสในการขนส่งรถยนต์ไปตะวันออกกลางและยุโรป และการส่งออกลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2567 ร้อยละ 6.22 (%MoM)
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือนสิงหาคม ปี 2567 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ปี 2566 เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศ?
?
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 150,947 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.27 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต และการผลิตลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2567 ร้อยละ 3.61 (%MoM)
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มียอดจำหน่ายจำนวน 141,557 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.12 (%YoY) จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี ขนาด 126-250 ซีซี และขนาด 251-399 ซีซี และการจำหน่ายลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2567 ร้อยละ 5.97 (%MoM)
การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 30,528 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.89 (%YoY) อย่างไรก็ตามการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2567 ร้อยละ 9.87 (%MoM)
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม ปี 2567 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ปี 2566 เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศ?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตยางแท่ง และน้ำยางข้น
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 8.97 จากการลดลงของการผลิตยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ และยางรถบรรทุกและรถโดยสาร
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.53 จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในและต่างประเทศ
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 11.78 จากความต้องการยางแท่งและน้ำยางข้นในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 จากความต้องการยางรถยนต์ในตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturing) ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นหลัก
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.31 จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ในประเทศที่อยู่ในระดับสูง
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.36 จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออก ยางแผ่นไปตลาดญี่ปุ่น ยางแท่งไปตลาดจีน และน้ำยางข้นไปตลาดมาเลเซีย
ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24 จากการขยายตัวของการส่งออกยางรถยนต์ไปตลาดรอง อาทิ มาเลเซีย และซาอุดิอาระเบีย
ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.55 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ที่สูงขึ้น
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2567
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่า จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการผลิตยางรถยนต์ คาดว่าจะขยายตัว จากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ ความต้องการของตลาดในประเทศเป็นหลัก ในส่วนของการผลิตถุงมือยาง คาดว่าจะยังขยายตัว จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะขยายตัว จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นผลจากตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย มีแนวโน้มสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทยเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาที่สูงขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะชะลอตัวจากอุปสงค์ความต้องการยางรถยนต์ในตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ที่มีแนวโน้มลดลง ทางด้านการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรป
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือ จากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต เดือนกรกฎาคม ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 6.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 28.62 เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัวร้อยละ 25.82 แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 10.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกรกฎาคม ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.40 โดยผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัวร้อยละ 33.93 พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 21.62 และถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 11.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีมูลค่ารวม 392.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 16.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 74.04 ผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 30.90 และผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) ขยายตัวร้อยละ 29.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า เดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีมูลค่ารวม 505.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 19.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) ขยายตัวร้อยละ 58.82 ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัว ของใช้ในบ้านเรือนอื่น ๆ และของใช้ในห้องน้ำทำด้วยพลาสติก (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ 57.92 และผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบชนิดอื่นทำด้วยพลาสติกที่ไม่ทำเป็นแบบเซลลูลาร์พลาสติกปูพื้น (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 30.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
?แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติกเดือนสิงหาคม 2567 คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกดีขึ้นส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น อุตสาหกรรมพลาสติกมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นจากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าและการส่งออกชะลอตัวจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต - ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนาเข้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต เดือนกรกฎาคม ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 7.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 4.16 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ กรดเกลือ ขยายตัวร้อยละ 18.01 ก๊าซออกซิเจน ขยายตัวร้อยละ 10.43 และก๊าซไฮโดรเจน ขยายตัวร้อยละ 9.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในกลุ่มเคมีขั้นปลายขยายตัวร้อยละ 9.52 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 29.01 แป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 18.76 ผงซักฟอก ขยายตัวร้อยละ 11.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกรกฎาคม ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 2.27 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัว ได้แก่ แป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 24.08 สีอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 13.41 และผงซักฟอก ขยายตัวร้อยละ 13.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนเคมีภัณฑ์พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.82 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัว ได้แก่ กรดเกลือ ขยายตัวร้อยละ 16.59 ก๊าซไนโตรเจน ขยายตัวร้อยละ 3.30 และเมทิลเอสเตอร์ (ไบโอดีเซล) ขยายตัวร้อยละ 3.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนกรกฎาคม ปี 2567 มูลค่าส่งออกรวม 873.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 500.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 30.95 ในส่วนของเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 372.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.12
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 53.64 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 17.12 และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 11.06 เป็นต้น
การนำเข้า เดือนกรกฎาคม ปี 2567 มูลค่าการนำเข้ารวม 1,783.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 27.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,066.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 18.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 716.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 41.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 25.02 ปุ๋ย ขยายตัวร้อยละ 58.91 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 39.63 และเครื่องสำอาง ขยายตัวร้อยละ 39.51 เป็นต้น
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนสิงหาคม 2567 คาดการณ์ว่าการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศในผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์บางชนิดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนของสถานการณ์การส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้นจากตลาดหลัก ได้แก่ อินเดีย จีน และญี่ปุ่น?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนกรกฎาคม ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 94.56 หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PET resin และ PC resin ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.34 และ 3.98 ส่วนปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ Benzene เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA ปรับตัวเพิ่มขิ้นจากปีก่อนร้อยละ 363.04 จากการที่วัตถุดิบที่เริ่มกลับมาผลิตได้ปกติ
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกรกฎาคม ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 89.99 ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ Propylene ลดลงร้อยละ 18.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE resin ลดลงร้อยละ 12.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีมูลค่า 977.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.10 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin ร้อยละ 16.07 เป็นต้น และปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น Ethylene ร้อยละ 210.12 เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ตลาดต่างประเทศมีความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำเพิ่มขึ้นจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงงานในหลายประเทศ
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
การนำเข้า เดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีมูลค่า 550.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.38 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin ร้อยละ 46.41 และปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น Styrene กว่าร้อยละ 500 เป็นต้น
?แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนสิงหาคม ปี 2567 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตจะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตกลับมาผลิตได้หลังจากซ่อมบำรุงในช่วงปลายปีก่อนถึงต้นปี และจะมีความต้องการจากต่างประเทศมาทดแทนจากการที่โรงงาน ปิโตรเคมีในประเทศเริ่มหยุดซ่อมบำรุงหลังจากที่แนวโน้มการผลิตชะลอตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกรกฎาคม 2567 มีค่า 86.5 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว และเหล็กทรงแบน โดยการผลิตเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 6.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว เช่น เหล็กลวด เหล็กเส้นกลม และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน การผลิตเหล็กทรงแบนหดตัวร้อยละ 1.2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขณะที่การผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เพิ่มขึ้น การผลิตท่อเหล็กกล้า ขยายตัวร้อยละ 19.5
การบริโภคในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปริมาณการบริโภค 1.4 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว โดยเหล็กทรงยาว มีปริมาณการบริโภค 0.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน และเหล็กลวดที่ลดลง การบริโภคเหล็กทรงแบนมีปริมาณการบริโภค 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีที่เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปริมาณการนำเข้า 0.9 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 15.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัว เช่น เหล็กลวด ประเภท Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น และจีน) และเหล็กลวด ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และอินโดนีเซีย) ขณะที่เหล็กทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 0.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 2.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ญี่ปุ่น และจีน) เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (HDG) (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน) และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนสิงหาคม 2567 คาดการณ์ว่า การผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ ราคาเหล็กต่างประเทศ การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ เช่น การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เช่น จีนประกาศระงับการออกใบอนุญาต ตั้งโรงงานผลิตเหล็ก เพื่อควบคุมปริมาณการผลิตเหล็กที่มีปริมาณเกินความต้องการบริโภค และการดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการผลิตและบริโภคเหล็กของไทย?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 โดยขยายตัวร้อยละ 1.96 (YoY) ในกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้ายฝ้าย และเส้นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยเรยอน จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้ากีฬา สิ่งทอภายในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์
ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 5.78 (YoY) ในกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) และผ้าทอ (ใยสังเคราะห์)
เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 3.20 (YoY) ในกลุ่มเครื่องแต่งกายทำจากผ้าทอ ทั้งเครื่องแต่งกายชั้นนอก และเครื่องแต่งกายชั้นในสตรีและบุรุษ จากความต้องการของตลาดภายในประเทศที่ลดลง
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 โดยขยายตัวร้อยละ 3.31 (YoY) ในกลุ่มด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นด้ายฝ้าย ผลจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 1.42 (YoY) ในกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) และผ้าขนหนู
เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 2.28 (YoY) เนื่องจากผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศ ประกอบกับผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาย่อมเยา
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ด้ายและเส้นใย หดตัวร้อยละ 8.13 (YoY) ในส่วนของด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก ผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 16.01 (YoY) ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากจีนและเวียดนามเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์กลางน้ำ และปลายน้ำ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 9.73 (YoY) จากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนและเวียดนาม ตามพฤติกรรมการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
การส่งออก
การส่งออกขยายตัวในทุกผลิตภัณฑ์ โดยเส้นใยสิ่งทอขยายตัวร้อยละ 5.74 (YoY) จากการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไปยังเวียดนาม ญี่ปุ่น และอินเดีย ผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 1.10 (YoY) จากการส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเวียดนาม กัมพูชา และบังกลาเทศ สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 16.29 (YoY) จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากใยประดิษฐ์ไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมนี จากการฟื้นตัวของทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ปรับตัวดีขึ้น
?แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนสิงหาคม 2567 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม อาจจะประสบกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ลดลง รวมถึงการนำเข้าสินค้าราคาถูกที่ไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ กดดันความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้าในไทย?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2567
10.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
?อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์รวม
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 6.49 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 11.09 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากความต้องการและคำสั่งซื้อที่ลดลงของตลาดภายในประเทศและประเทศผู้นำเป็นหลัก ได้แก่ บังคลาเทศ เมียนมา และกัมพูชา การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีปริมาณการจำหน่าย 2.78 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 6.74 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการที่ลดลงของปูนซีเมนต์เป็นหลัก เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศในโครงการก่อสร้างภาครัฐและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งยังไม่สามารถระบายสต๊อกที่มีอยู่ได้ เช่น บ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 0.62 ล้านตัน ลดลงสูงร้อยละ 42.80 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์ที่ลดลงค่อนข้างมากจากประเทศบังคลาเทศ สปป.ลาว และกัมพูชา
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนสิงหาคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นตามการพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่มีความยั่งยืนมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางสิ่งแวดล้อม?
?อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 3.47 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 18.55 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีปริมาณการจำหน่าย 2.78 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 22.03 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 มีจำนวน 0.15 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 25.39 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไป เมียนมา ที่ลดคำสั่งซื้อลงอย่างมาก เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และสาธารณูปโภคชะลอตัว โดยมีตลาดหลักในภูมิภาคอาเซียน เช่น สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา ?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนสิงหาคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น จากการเร่งก่อสร้างของภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ และคอนโดมิเนียม เพื่อกระตุ้นยอดคำสั่งซื้อและการส่งเสริมในมาตรการต่าง ๆ จากรัฐบาลในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา?
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง