สรุปการสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ร่วมกับ The Hong Kong and Shanghai Banking Corporation Limited (HSBC) ภายใต้หัวข้อ “ทางเลือกในการบริหาร Sovereign Wealth Fund ของประเทศไทยในอนาคต”
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2551 เวลา 8.30 — 17.00 น.
ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมกับ The Hong Kong and Shanghai Banking Corporation Limited (HSBC) จัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(FPO Forum) ภายใต้หัวข้อ “ทางเลือกในการบริหาร Sovereign Wealth Fund ของประเทศไทยในอนาคต” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและประเทศไทย และเป็นโอกาสในการเรียนรู้ประสบการณ์ของการบริหาร Sovereign Wealth Funds (SWFs) ของประเทศต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาการจัดตั้ง SWFs ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
โดยการสัมมนาในภาคเช้า เริ่มด้วยการกล่าวปาฐกถาเปิดงานสัมมนาโดยนายแพทย์
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามด้วยการสัมมนาในเรื่อง “ภาพรวมปัจจุบันของ Sovereign Wealth Funds ในเวทีโลก” เรื่อง “ประสบการณ์ของการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund ของประเทศเกาหลี” เรื่อง “กรณีศึกษาการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund ของประเทศจีน” และการเสวนาในหัวข้อ “รูปแบบความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund ของประเทศไทย” ตามลำดับ สำหรับภาคบ่ายเริ่มด้วยการเสวนาในหัวข้อ “เกณฑ์ในการกำกับดูแล Sovereign Wealth Fund ที่เหมาะสม” ตามด้วยการสัมมนา เรื่อง “External Fund Managers; Selecting/ Benchmarking Considerations” เรื่อง “Investing in Private Equity” และเรื่อง “The Role of Hedge Funds” โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวปาฐกถาเปิดงานสัมมนา โดยมีรายละเอียดสรุปได้ว่า SWFs มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในระบบการเงินโลก เนื่องจากมีขนาดรวมกันประมาณ 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวอย่างการลงทุน ในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ คือ การลงทุนซื้อหุ้นใน Citigroup ของ SWFs ประเทศคูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ เป็นจำนวนเงินถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Sovereign Wealth Fund หรือชื่อในภาษาไทยว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ซึ่งก็คือ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาล ที่มีลักษณะการลงทุนที่ต่างไปจากการลงทุนของรัฐประเภทอื่นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่จะลงทุนในรูปสินทรัพย์ต่างประเทศ และได้รับการบริหารจัดการแยกจากสินทรัพย์อื่นๆ ของรัฐบาล ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยวุตถุประสงค์ที่อาจเกี่ยวข้องกับประเทศไทยมากที่สุด คือ 1) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากการนำสินทรัพย์ของประเทศไปลงทุน ทั้งในแง่ของผลตอบแทน และการเพิ่มศักยภาพระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และ 2) เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะปานกลางหรือระยะยาว โดยลดผลกระทบในระยะสั้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าส่งออกหลักๆ ของประเทศ
หลายประเทศได้ริเริ่มจัดตั้ง SWFs กันมากขึ้น สาเหตุสำคัญมาจาก 1) ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ 2) การเกินดุลบัญชีเงินสะพัดที่ทำให้มีปริมาณเงินทุนสำรองฯ มากขึ้น แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการลงทุนผ่านกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ทำให้มีความเป็นไปได้สูง หากต้องการให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์การลงทุนที่สอดรับกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยศึกษาแนวทางการจัดตั้ง SWFs จากประเทศต่างๆให้มากที่สุด ต้องรู้ให้จริง มีความเข้าใจ มีสติ เพื่อให้การลงทุนประสบความสำเร็จ เพราะหากเราไปดู SWFs บางแห่งที่เคยลงทุนในสหรัฐฯ ในอดีตก็เคยขาดทุนมาแล้ว ทุกอย่างจึงต้องมีการวิเคราะห์และมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่ดี
SWFs เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เราต้องศึกษาจากประเทศต่างๆ ให้ดี เข้าใจแก่นแท้ทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองฯ ที่มากเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและบัญชีเงินทุนไหลเข้าประเทศ จนส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น อาจส่งผลกระทบทางลบได้ เนื่องจากหากไม่บริหารจัดการให้ดี ก็จะมีต้นทุนและค่าเสียโอกาสตามมา ขณะเดียวกันหากปริมาณเงินสำรองมีน้อยเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคง
สำหรับประเทศไทย เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีเงินทุนสำรองฯ ประมาณ 1.01 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นประมาณ 40% ของ GDP หรือเท่ากับ 4.3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น หรือประมาณ 11 เดือนของมูลค่าการนำเข้าของประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระดับเงินตราต่างประเทศที่มากเพียงพอกับภาระต่างๆ ทั้งนี้ เงินทุนสำรองฯ มีอัตราการเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 44% และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากฐานะการซื้อขายล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศสุทธิจำนวน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในหลายๆ ประเทศได้แก้ไขปัญหาและใช้ประโยชน์จากการมีเงินสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ด้วยการจัดตั้ง SWFs เพื่อบริหารการจัดการเงินตราต่างประเทศที่มีมากขึ้น เช่น จีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ เป็นต้น ซึ่งเราอาจนำแนวทางมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เช่น แนวคิดที่จะช่วยให้ประเทศสามารถได้รับประโยชน์จากเงินทุนสำรองฯ ส่วนเกินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผลตอบแทนระยะยาว (Yield enhancement) หรือการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic assets) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ โดยต้องคำนึงถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวระหว่างประเทศในอนาคตด้วยในช่วงต่อไปด้วย
นาย Charles L. Hanbury-Williams Global Sector Head, Public Sector and Reserve Managers, HSBC กล่าวถึง ภาพรวมการเติบโตของ SWFs ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงสามปีที่ผ่านมามี SWFs เกิดขึ้นจำนวนประมาณ 12 แห่ง และได้กล่าวถึงลักษณะ ประเภท และกลยุทธ์ในการลงทุนของ SWFs ที่สำคัญทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีการเกินบัญชีเดินสะพัดสูง และมี GDP อยู่ในระดับปานกลาง จึงจำเป็นที่จะต้องลงทุนในต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูง โดย SWFs มีการลงทุนในภาคการเงินมากที่สุด ตามมาด้วย การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
นาย Je Yeong Park Chief Operating Officer and Managing Director, Korean Investment Corporation (KIC) ได้กล่าวถึงประสบการณ์การจัดตั้ง KIC ในช่วงปี 2548-2550 ซึ่งจัดตั้งโดยมีการออกกฎหมายเฉพาะ KIC Act 2548 โดยมีแหล่งเงินทุนจากเงินทุนสำรองฯ ของธนาคารกลางเกาหลีใต้ จำนวน 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากกองทุนรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ โครงสร้างการกำกับดูแล KIC ประกอบด้วยคณะกรรมการ 2 ระดับ คือ 1) คณะกรรมการกำกับดูแล KIC และ 2) คณะอนุกรรมการ 2 คณะ คือ คณะอนุกรรมการด้านการลงทุน และคณะอนุกรรมการด้านการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ KIC มีการลงทุนในสินทรัพย์ ตราสารหนี้ หลักทรัพย์ เงินตราต่างประเทศ ตราสารอนุพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ภาคเอกชน
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวถึง รูปแบบการจัดตั้ง China Investment Corporation (CIC) ว่า ประเทศจีนได้มีการสะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จน ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ระดับประมาณ 1.7-1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มีการจัดตั้ง CIC ขึ้นมาบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศฯ บางส่วน โดยมีแหล่งเงินทุนจำนวน 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากการออกพันธบัตรของกระทรวงการคลังจีน แล้วนำเงินที่ได้มาแลกกับเงินตราต่างประเทศของธนาคารกลางจีน ทั้งนี้ คณะกรรมการ จำนวน 11 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบุคลากรระดับสูงของหน่วยงานราชการ ทำหน้าที่กำกับดูแลการลงทุน โดยการลงทุนของ CIC จำเป็นที่จะต้องได้ผลตอบแทนระดับที่สูง เนื่องจากมีต้นทุนจากการออกพันธบัตรของกระทรวงการคลังจีน และยังมีต้นทุนจากการการเข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนจีนด้วย
ในช่วงของการเสวนาหัวข้อ “รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund ในประเทศไทย” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายธีรชัย ภูวนาถนารานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบัยวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง นาย Je Yeoung Park และนาย Richard Cookson, Global Head of Asset Allocation Research, HSBC ได้กล่าวถึงรูปแบบของ SWF ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยมีการพิจารณาถึง ที่มาของเงินทุน กลไกการกำกับดูแล ความสัมพันธ์กับรัฐบาลและธนาคารกลาง ยุทธศาสตร์ในการลงทุน และผู้บริหารการลงทุน ซึ่งสรุปได้ว่า ต้องศึกษาถึงความจำเป็นในการจัดตั้ง SWF โดยดูว่าประเทศไทยมีเงินทุนสำรองฯ เพียงพอแล้วหรือไม่ และต้องศึกษาหากลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยการลงทุนใน SWF นี้ จะเป็นการลงทุนที่เน้นผลตอบแทนสูงในระยะปานกลางถึงระยะยาว ที่มีการบริหารจัดการแยกออกมาจากการบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศโดยธนาคารกลางอย่างชัดเจน และมีผู้บริหารการลงทุนเป็นตัวแทนจากภาคเอกชน ในส่วนของการระดมทุนควรเป็นการตัดสินในร่วมกันระหว่างธนาคารกลางและกระทรวงการคลัง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องมีการศึกษาในรายละเอียดต่อไป
ในช่วงบ่าย เป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “Governance of and Proposed Code of Conduct for SWF” และการสัมมนาเกี่ยวกับการบริหารจัดการของ SWFs ซึ่งกล่าวถึง มาตรฐานธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการเปิดเผยข้อมูลของ SWFs ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องทำให้มีความชัดเจน โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษามาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้ การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ร่วมกับ The Hong Kong and Shanghai Banking Corporation Limited (HSBC) ภายใต้หัวข้อ “ทางเลือกในการบริหาร Sovereign Wealth Fund ของประเทศไทยในอนาคต” ทั้งภาคเช้าและภาคบ่ายได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากสาธารณชน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนประมาณ 300 คน สศค. จึงขอขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ และจะได้นำความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับไปเป็นแนวทางการเสนอนโยบายเศรษฐกิจการเงิน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 5/2551 15 พฤษภาคม 2551--
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2551 เวลา 8.30 — 17.00 น.
ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมกับ The Hong Kong and Shanghai Banking Corporation Limited (HSBC) จัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(FPO Forum) ภายใต้หัวข้อ “ทางเลือกในการบริหาร Sovereign Wealth Fund ของประเทศไทยในอนาคต” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและประเทศไทย และเป็นโอกาสในการเรียนรู้ประสบการณ์ของการบริหาร Sovereign Wealth Funds (SWFs) ของประเทศต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาการจัดตั้ง SWFs ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
โดยการสัมมนาในภาคเช้า เริ่มด้วยการกล่าวปาฐกถาเปิดงานสัมมนาโดยนายแพทย์
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามด้วยการสัมมนาในเรื่อง “ภาพรวมปัจจุบันของ Sovereign Wealth Funds ในเวทีโลก” เรื่อง “ประสบการณ์ของการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund ของประเทศเกาหลี” เรื่อง “กรณีศึกษาการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund ของประเทศจีน” และการเสวนาในหัวข้อ “รูปแบบความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund ของประเทศไทย” ตามลำดับ สำหรับภาคบ่ายเริ่มด้วยการเสวนาในหัวข้อ “เกณฑ์ในการกำกับดูแล Sovereign Wealth Fund ที่เหมาะสม” ตามด้วยการสัมมนา เรื่อง “External Fund Managers; Selecting/ Benchmarking Considerations” เรื่อง “Investing in Private Equity” และเรื่อง “The Role of Hedge Funds” โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวปาฐกถาเปิดงานสัมมนา โดยมีรายละเอียดสรุปได้ว่า SWFs มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในระบบการเงินโลก เนื่องจากมีขนาดรวมกันประมาณ 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวอย่างการลงทุน ในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ คือ การลงทุนซื้อหุ้นใน Citigroup ของ SWFs ประเทศคูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ เป็นจำนวนเงินถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Sovereign Wealth Fund หรือชื่อในภาษาไทยว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ซึ่งก็คือ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาล ที่มีลักษณะการลงทุนที่ต่างไปจากการลงทุนของรัฐประเภทอื่นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่จะลงทุนในรูปสินทรัพย์ต่างประเทศ และได้รับการบริหารจัดการแยกจากสินทรัพย์อื่นๆ ของรัฐบาล ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยวุตถุประสงค์ที่อาจเกี่ยวข้องกับประเทศไทยมากที่สุด คือ 1) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากการนำสินทรัพย์ของประเทศไปลงทุน ทั้งในแง่ของผลตอบแทน และการเพิ่มศักยภาพระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และ 2) เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะปานกลางหรือระยะยาว โดยลดผลกระทบในระยะสั้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าส่งออกหลักๆ ของประเทศ
หลายประเทศได้ริเริ่มจัดตั้ง SWFs กันมากขึ้น สาเหตุสำคัญมาจาก 1) ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ 2) การเกินดุลบัญชีเงินสะพัดที่ทำให้มีปริมาณเงินทุนสำรองฯ มากขึ้น แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการลงทุนผ่านกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ทำให้มีความเป็นไปได้สูง หากต้องการให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์การลงทุนที่สอดรับกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยศึกษาแนวทางการจัดตั้ง SWFs จากประเทศต่างๆให้มากที่สุด ต้องรู้ให้จริง มีความเข้าใจ มีสติ เพื่อให้การลงทุนประสบความสำเร็จ เพราะหากเราไปดู SWFs บางแห่งที่เคยลงทุนในสหรัฐฯ ในอดีตก็เคยขาดทุนมาแล้ว ทุกอย่างจึงต้องมีการวิเคราะห์และมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่ดี
SWFs เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เราต้องศึกษาจากประเทศต่างๆ ให้ดี เข้าใจแก่นแท้ทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองฯ ที่มากเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและบัญชีเงินทุนไหลเข้าประเทศ จนส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น อาจส่งผลกระทบทางลบได้ เนื่องจากหากไม่บริหารจัดการให้ดี ก็จะมีต้นทุนและค่าเสียโอกาสตามมา ขณะเดียวกันหากปริมาณเงินสำรองมีน้อยเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคง
สำหรับประเทศไทย เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีเงินทุนสำรองฯ ประมาณ 1.01 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นประมาณ 40% ของ GDP หรือเท่ากับ 4.3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น หรือประมาณ 11 เดือนของมูลค่าการนำเข้าของประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระดับเงินตราต่างประเทศที่มากเพียงพอกับภาระต่างๆ ทั้งนี้ เงินทุนสำรองฯ มีอัตราการเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 44% และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากฐานะการซื้อขายล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศสุทธิจำนวน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในหลายๆ ประเทศได้แก้ไขปัญหาและใช้ประโยชน์จากการมีเงินสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ด้วยการจัดตั้ง SWFs เพื่อบริหารการจัดการเงินตราต่างประเทศที่มีมากขึ้น เช่น จีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ เป็นต้น ซึ่งเราอาจนำแนวทางมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เช่น แนวคิดที่จะช่วยให้ประเทศสามารถได้รับประโยชน์จากเงินทุนสำรองฯ ส่วนเกินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผลตอบแทนระยะยาว (Yield enhancement) หรือการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic assets) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ โดยต้องคำนึงถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวระหว่างประเทศในอนาคตด้วยในช่วงต่อไปด้วย
นาย Charles L. Hanbury-Williams Global Sector Head, Public Sector and Reserve Managers, HSBC กล่าวถึง ภาพรวมการเติบโตของ SWFs ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงสามปีที่ผ่านมามี SWFs เกิดขึ้นจำนวนประมาณ 12 แห่ง และได้กล่าวถึงลักษณะ ประเภท และกลยุทธ์ในการลงทุนของ SWFs ที่สำคัญทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีการเกินบัญชีเดินสะพัดสูง และมี GDP อยู่ในระดับปานกลาง จึงจำเป็นที่จะต้องลงทุนในต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูง โดย SWFs มีการลงทุนในภาคการเงินมากที่สุด ตามมาด้วย การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
นาย Je Yeong Park Chief Operating Officer and Managing Director, Korean Investment Corporation (KIC) ได้กล่าวถึงประสบการณ์การจัดตั้ง KIC ในช่วงปี 2548-2550 ซึ่งจัดตั้งโดยมีการออกกฎหมายเฉพาะ KIC Act 2548 โดยมีแหล่งเงินทุนจากเงินทุนสำรองฯ ของธนาคารกลางเกาหลีใต้ จำนวน 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากกองทุนรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ โครงสร้างการกำกับดูแล KIC ประกอบด้วยคณะกรรมการ 2 ระดับ คือ 1) คณะกรรมการกำกับดูแล KIC และ 2) คณะอนุกรรมการ 2 คณะ คือ คณะอนุกรรมการด้านการลงทุน และคณะอนุกรรมการด้านการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ KIC มีการลงทุนในสินทรัพย์ ตราสารหนี้ หลักทรัพย์ เงินตราต่างประเทศ ตราสารอนุพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ภาคเอกชน
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวถึง รูปแบบการจัดตั้ง China Investment Corporation (CIC) ว่า ประเทศจีนได้มีการสะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จน ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ระดับประมาณ 1.7-1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มีการจัดตั้ง CIC ขึ้นมาบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศฯ บางส่วน โดยมีแหล่งเงินทุนจำนวน 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากการออกพันธบัตรของกระทรวงการคลังจีน แล้วนำเงินที่ได้มาแลกกับเงินตราต่างประเทศของธนาคารกลางจีน ทั้งนี้ คณะกรรมการ จำนวน 11 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบุคลากรระดับสูงของหน่วยงานราชการ ทำหน้าที่กำกับดูแลการลงทุน โดยการลงทุนของ CIC จำเป็นที่จะต้องได้ผลตอบแทนระดับที่สูง เนื่องจากมีต้นทุนจากการออกพันธบัตรของกระทรวงการคลังจีน และยังมีต้นทุนจากการการเข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนจีนด้วย
ในช่วงของการเสวนาหัวข้อ “รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund ในประเทศไทย” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายธีรชัย ภูวนาถนารานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบัยวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง นาย Je Yeoung Park และนาย Richard Cookson, Global Head of Asset Allocation Research, HSBC ได้กล่าวถึงรูปแบบของ SWF ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยมีการพิจารณาถึง ที่มาของเงินทุน กลไกการกำกับดูแล ความสัมพันธ์กับรัฐบาลและธนาคารกลาง ยุทธศาสตร์ในการลงทุน และผู้บริหารการลงทุน ซึ่งสรุปได้ว่า ต้องศึกษาถึงความจำเป็นในการจัดตั้ง SWF โดยดูว่าประเทศไทยมีเงินทุนสำรองฯ เพียงพอแล้วหรือไม่ และต้องศึกษาหากลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยการลงทุนใน SWF นี้ จะเป็นการลงทุนที่เน้นผลตอบแทนสูงในระยะปานกลางถึงระยะยาว ที่มีการบริหารจัดการแยกออกมาจากการบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศโดยธนาคารกลางอย่างชัดเจน และมีผู้บริหารการลงทุนเป็นตัวแทนจากภาคเอกชน ในส่วนของการระดมทุนควรเป็นการตัดสินในร่วมกันระหว่างธนาคารกลางและกระทรวงการคลัง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องมีการศึกษาในรายละเอียดต่อไป
ในช่วงบ่าย เป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “Governance of and Proposed Code of Conduct for SWF” และการสัมมนาเกี่ยวกับการบริหารจัดการของ SWFs ซึ่งกล่าวถึง มาตรฐานธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการเปิดเผยข้อมูลของ SWFs ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องทำให้มีความชัดเจน โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษามาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้ การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ร่วมกับ The Hong Kong and Shanghai Banking Corporation Limited (HSBC) ภายใต้หัวข้อ “ทางเลือกในการบริหาร Sovereign Wealth Fund ของประเทศไทยในอนาคต” ทั้งภาคเช้าและภาคบ่ายได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากสาธารณชน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนประมาณ 300 คน สศค. จึงขอขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ และจะได้นำความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับไปเป็นแนวทางการเสนอนโยบายเศรษฐกิจการเงิน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 5/2551 15 พฤษภาคม 2551--