ฉบับที่ 38/2567 วันที่ 30 ตุลาคม 2567
ฐานะการคลังของรัฐบาลปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567)
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาล ตามระบบกระแสเงินสดในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 2,791,721 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 3,542,397 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 583,000 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 514,101 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดปีงบประมาณ 2567
หน่วย: ล้านบาท
ปีงบประมาณ
เปรียบเทียบ
2567
2566
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
2,791,721
2,665,671
126,050
4.7
2. รายจ่าย (2.1 + 2.2)
3,542,397
3,262,393
280,004
8.6
2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน
3,395,967
3,088,435
307,532
10.0
2.2 รายจ่ายปีก่อน
146,430
173,958
(27,528)
(15.8)
3. ดุลเงินงบประมาณ
(750,676)
(596,722)
(153,954)
(25.8)
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
142,721
(112,885)
255,606
226.4
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
(607,955)
(709,607)
101,652
14.3
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
583,000
624,644
(41,644)
(6.7)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
(24,955)
(84,963)
60,008
70.6
8. เงินคงคลังต้นงวด
539,056
624,019
(84,963)
(13.6)
9. เงินคงคลังปลายงวด
514,101
539,056
(24,955)
(4.6)
หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2567
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3557
- 2 -
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนกันยายน 2567 และในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567)
ในเดือนกันยายน 2567 รัฐบาลขาดดุลเงินสด จำนวน 11,727 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุล เงินงบประมาณ จำนวน 85,329 ล้านบาท และดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล จำนวน 73,602 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 มีจำนวน 514,101 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนกันยายน 2567 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 369,137 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 46,546 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 14.4) โดยการนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่น และรัฐวิสาหกิจสูงกว่า เดือนเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากมี 1) การนำส่งเงินคงเหลือจากการดำเนินการตามภารกิจคงค้างของบรรษัท บริหารสินทรัพย์ไทยเข้ามาเป็นรายได้แผ่นดิน 2) รายได้จากใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคม เหลื่อมมาจากเดือนสิงหาคม 2567 3) การนำส่งเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล และ 4) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีการนำส่งปันผลระหว่างกาลปี 2567 เร็วกว่าปีที่แล้ว 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 454,466 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 202,246 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 80.2) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 434,127 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 90.8 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 20,339 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 17.8 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 1) 1.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 227,485 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ 29.4 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เบิกจ่ายสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 206,642 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็น ร้อยละ 299.7 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และงบกลางค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เบิกจ่ายสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ เช่น รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 21,811 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวง จำนวน 20,736 ล้านบาท งบลงทุนของกรมชลประทาน จำนวน 12,299 ล้านบาท งบลงทุนของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 11,344 ล้านบาท เงินอุดหนุนของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 8,928 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 5,024 ล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเบิกจ่ายงบกลางรายการที่สำคัญ เช่น เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 53,138 ล้านบาท เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 30,867 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 9,078 ล้านบาท เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ จำนวน 1,942 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 600 ล้านบาท เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐจำนวน 490 ล้านบาท เป็นต้น - 3 - ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนกันยายน 2567 หน่วย: ล้านบาท เดือนกันยายน เปรียบเทียบ 2567 2566 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 434,127 227,475 206,652 90.8 1.1 รายจ่ายประจำ 227,485 175,776 51,709 29.4 1.2 รายจ่ายลงทุน 206,642 51,699 154,943 299.7 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 20,339 24,745 (4,406) (17.8) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 454,466 252,220 202,246 80.2 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ณ เดือนกันยายน 2567 ขาดดุล จำนวน 11,727 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 85,329 ล้านบาท และดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล จำนวน 73,602 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรายจ่ายเหลื่อมไปจ่ายเดือนตุลาคม 2567 จำนวน 39,758 ล้านบาท และเงินฝากคลังของภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม งวดที่ 10 - 12 ปีงบประมาณ 2567 สุทธิ จำนวน 36,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 74,830 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุล จำนวน 63,103 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 514,101 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนกันยายน 2567 หน่วย: ล้านบาท เดือนกันยายน เปรียบเทียบ 2567 2566 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 369,137 322,592 46,545 14.4 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 454,466 252,220 202,246 80.2 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 434,127 227,475 206,652 90.8 2.2 รายจ่ายปีก่อน 20,339 24,745 (4,406) (17.8) 3. ดุลเงินงบประมาณ (85,329) 70,372 (155,701) (221.3) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 73,602 24,299 49,303 202.9 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (11,727) 94,671 (106,398) (112.4) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 74,830 127,000 (52,170) (41.1) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 63,103 221,671 (158,568) (71.5) 8. เงินคงคลังต้นงวด 450,998 317,385 133,613 42.1 9. เงินคงคลังปลายงวด 514,101 539,056 (24,955) (4.6) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2567 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3557 - 4 - 2. ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) 2.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 2,791,721 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว จำนวน 126,050 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.7) โดยการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ กรมสรรพากร (ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา) และกรมสรรพสามิต (ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน) ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับปีที่แล้วมีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 กันยายน 2565 - 20 กรกฎาคม 2566 ขณะที่ปีนี้มีการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 2.5 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 กันยายน - 31 ธันวาคม 2566 และ 1 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 20 มกราคม - 19 เมษายน 2567 และน้ำมันเบนซิน 1 บาท/ลิตร ในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 - 31 มกราคม 2567 อีกทั้งมีการนำส่งรายได้เพิ่มเติม ของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีการนำส่งปันผลระหว่างกาลปี 2567 เร็วกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่นและกรมศุลกากรต่ำกว่าปีที่แล้ว เนื่องจาก ปีที่แล้วมีรายได้พิเศษรวม 72,673 ล้านบาท 2.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 3,542,397 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว จำนวน 280,004 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 8.6) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 3,395,967 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 94.3 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,602,000 ล้านบาท) สูงกว่า ปีที่แล้ว จำนวน 307,532 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.0 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 146,430 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 92.4 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีก่อน จำนวน 158,518 ล้านบาท) ต่ำกว่าปีที่แล้ว จำนวน 27,528 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.8 โดยรายจ่ายปีปัจจุบันประกอบด้วย (ตารางที่ 3) 2.2.1 รายจ่ายประจำ จำนวน 2,829,329 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 101.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 2,797,564 ล้านบาท) สูงกว่าปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 8.4 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุข เบิกจ่ายสูงกว่าปีที่แล้ว 2.2.2 รายจ่ายลงทุน จำนวน 566,638 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 70.4 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 804,436 ล้านบาท) สูงกว่าปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 18.5 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน กระทรวงการคลัง และงบกลางค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เบิกจ่ายสูงกว่าปีที่แล้ว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญ เช่น รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 299,338 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 207,750 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 152,738 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกรมบัญชีกลาง จำนวน 118,464 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 105,998 ล้านบาท เงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 94,856 ล้านบาท งบลงทุน ของกรมทางหลวง จำนวน 92,301 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 88,915 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 65,596 ล้านบาท เงินอุดหนุน ของสำนักงานประกันสังคม จำนวน 55,973 ล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเบิกจ่ายงบกลางรายการที่สำคัญ เช่น เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 375,171 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จำนวน 106,557 ล้านบาท เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ จำนวน 74,490 ล้านบาท เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 58,911 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐ จำนวน 4,707 ล้านบาท เป็นต้น - 5 - ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) หน่วย: ล้านบาท ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ ร้อยละต่อวงเงินงบประมาณ 2567 2566 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน (1.1+1.2) 3,395,967 3,088,435 307,532 10.0 94.3 1.1 รายจ่ายประจำ 2,829,329 2,610,245 219,084 8.4 101.1 1.2 รายจ่ายลงทุน 566,638 478,190 88,448 18.5 70.4 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 146,430 173,958 (27,528) (15.8) 92.4 3. รายจ่ายรวม (1+2) 3,542,397 3,262,393 280,004 8.6 94.2 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จำนวน 607,955 ล้านบาท โดยเป็น การขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 750,676 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณเกินดุล จำนวน 142,721 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลัก รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 118,361 ล้านบาท เงินฝากคลังของภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม งวดที่ 10 - 12 ปีงบประมาณ 2567 สุทธิ จำนวน 36,000 ล้านบาท ทั้งนี้ มีการถอนเงินฝากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 นำส่งคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน สุทธิ จำนวน 11,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 583,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 24,955 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 514,101 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) หน่วย: ล้านบาท ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ 2567 2566 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 2,791,721 2,665,671 126,050 4.7 2. รายจ่าย (2.1 + 2.2) 3,542,397 3,262,393 280,004 8.6 2.1 รายจ่ายปีปัจจุบัน 3,395,967 3,088,435 307,532 10.0 2.2 รายจ่ายปีก่อน 146,430 173,958 (27,528) (15.8) 3. ดุลเงินงบประมาณ (750,676) (596,722) (153,954) (25.8) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 142,721 (112,885) 255,606 226.4 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (607,955) (709,607) 101,652 14.3 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 583,000 624,644 (41,644) (6.7) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (24,955) (84,963) 60,008 70.6 8. เงินคงคลังต้นงวด 539,056 624,019 (84,963) (13.6) 9. เงินคงคลังปลายงวด 514,101 539,056 (24,955) (4.6) หมายเหตุ: ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2567 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3557 ที่มา: กระทรวงการคลัง