ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 และ 2568

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 1, 2024 13:38 —กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 และ 2568
ฉบับที่ 113/2567 วันที่ 31 ตุลาคม 2567
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 และ 2568
?เศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 นาโดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และภาคการส่งออกสินค้า และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากปัจจัยบวก 4 ด้านหลักคือการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกสินค้า การท่องเที่ยว และการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกอย่างใกล้ชิด?
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ว่า ?เศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 2.2 ถึง 3.2) คงเดิมจากประมาณการครั้งก่อนและนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี นาโดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งจานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทาง เข้ามาในประเทศไทยในปี 2567 คาดว่าจะมีจานวน 36.0 ล้านคน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.6 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.1 ถึง 5.1) เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน แม้จะเผชิญแรงกดดันต่อเศรษฐกิจจากสถานการณ์อุทกภัย แต่ผลจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐได้ชดเชยและสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับประชาชนมากขึ้น สาหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ 2.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.4 ถึง 3.4) เนื่องจากมีสัญญาณฟื้นตัวดีกว่าคาดในไตรมาสที่ 2 และ 3 จากโอกาส ของผู้ประกอบการไทยแทนที่สินค้าจีนที่ถูกปรับขึ้นภาษีจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ การบริโภคภาครัฐคาดว่า จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 ถึง 2.6) และการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.3 ถึง 1.3) อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าหดตัวที่ร้อยละ -1.9 (ช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ -2.4 ถึง -1.4) เนื่องจากการหดตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือโดยเป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์สันดาปที่ลดลง ซึ่งต้องจับตาการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างใกล้ชิด
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 0.4 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.1 ถึง 0.9) ลดลงจากประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวลดลง สาหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะเกินดุล 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 ของ GDP
- 2 -
สาหรับในปี 2568 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5 ถึง 3.5) จากปัจจัยบวก 4 ด้านหลักคือการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกสินค้า การท่องเที่ยว และการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.4 ถึง 3.4) ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยคาดว่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.6 ถึง 3.6) จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในปี 2568 คาดว่าจะมีจานวน 39.0 ล้านคน ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ รวมถึงมีแรงสนับสนุนสาคัญจากงบประมาณปี 2568 ที่พร้อมเร่งเบิกจ่าย ส่งผลให้คาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.7 ถึง 2.7)
ในปี 2568 การลงทุนจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์สาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยได้รับแรงหนุน จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) การลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8 ถึง 2.8) ขยายตัวเร่งตัวขึ้นจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผ่านมาตรการของบีโอไอ โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 2) การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัว ที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.2 ถึง 5.2) จากการเร่งรัดการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนและการเร่งรัดโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และโครงการรถไฟทางคู่ในเส้นทางต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยยกระดับศักยภาพการแข่งขันและกระตุ้นการลงทุนต่อเนื่องในภาคเอกชน
ด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 1.5) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดี ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 10.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.7 ของ GDP (ช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 1.2 ถึง 2.2 ของ GDP)
โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงการคลังจะมีบทบาทสาคัญในปี 2568 ในการดาเนินนโยบายการคลังเชิงบูรณาการ (Integrated Fiscal Policy) โดยมุ่งเน้น 3 เสาหลัก ได้แก่ 1) การรักษาวินัยและเสถียรภาพทางการคลัง (Fiscal Discipline and Stability) ผ่านการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการรักษาระดับหนี้สาธารณะให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง 2) การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน (Quality and Sustainable Growth) ผ่านมาตรการทางการคลังและภาษีที่เอื้อต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ และ 3) การยกระดับการพัฒนาทุนมนุษย์ และความเข้มแข็งทางการเงินของภาคครัวเรือน (Human Capital Development and Household Financial Resilience) โดยเร่งผลักดันโครงการเสริมสร้างความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) และการพัฒนาระบบการให้คาปรึกษาทางการเงินเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการหนี้สินภาคครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม ยังควรติดตามปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความขัดแย้ง ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจากัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น สถานการณ์ความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ให้ปรับตัวสูงขึ้น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา และความกังวลเรื่องข้อพิพาททะเลจีนใต้เกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์หลังมีการซ้อมรบของกองทัพเรือจีนและรัสเซียในบริเวณดังกล่าว รวมถึงการขยายบทบาท ของกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ BRICS และการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศ CRINK (จีน รัสเซีย อิหร่าน และเกาหลีเหนือ) ที่อาจสร้างแรงกดดันต่อสหรัฐอเมริกาในเรื่องระเบียบโลกใหม่ 2) ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาและทิศทางการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ 3) การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าสาคัญของไทย 4) ปัญหาหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจที่จะบั่นทอนการใช้จ่ายในระยะต่อไป และ 5) ผลกระทบ ทางเศรษฐกิจจากปัญหาน้าท่วมในหลายจังหวัด
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3271
- 3 -
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 และ 2568
2566 2567f 2568f เฉลี่ย ช่วง เฉลี่ย ช่วง
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
1.9
2.7
2.2 ถึง 3.2
3.0
2.5 ถึง 3.5
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภค
- การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
7.1
4.6
4.1 ถึง 5.1
2.9
2.4 ถึง 3.4
- การบริโภคภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
-4.6
2.1
1.6 ถึง 2.6
2.2
1.7 ถึง 2.7
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุน
- การลงทุนภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
3.2
-1.9
-2.4 ถึง -1.4
2.3
1.8 ถึง 2.8
- การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
-4.6
0.8
0.3 ถึง 1.3
4.7
4.2 ถึง 5.2
4) อัตราการขยายตัวของปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละ)
2.1
5.6
5.1 ถึง 6.1
3.1
2.6 ถึง 3.6
5) อัตราการขยายตัวของปริมาณนาเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละ)
-2.3
6.8
6.3 ถึง 7.3
3.5
3.0 ถึง 4.0
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
19.4
13.5
10.9 ถึง 16.1
12.5
9.9 ถึง 15.1
- มูลค่าสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ)
-1.5
2.9
2.4 ถึง 3.4
3.1
2.6 ถึง 3.6
- มูลค่าสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ)
-3.8
5.4
4.9 ถึง 5.9
3.6
3.1 ถึง 4.1
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
7.4
10.3
7.6 ถึง 13.0
10.0
7.3 ถึง 12.7
- ร้อยละของ GDP
1.5
1.9
1.4 ถึง 2.4
1.7
1.2 ถึง 2.2
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละ)
1.2
0.4
-0.1 ถึง 0.9
1.0
0.5 ถึง 1.5
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละ)
1.3
0.5
0.0 ถึง 1.0
1.0
0.5 ถึง 1.5
สมมติฐานหลัก
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละ)
3.2
3.2
2.7 ถึง 3.7
3.2
2.7 ถึง 3.7
2) ราคาน้ามันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล)
81.9
81.0
76.0 ถึง 86.0
78.0
73.0 ถึง 83.0
สมมติฐานด้านนโยบาย
3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)
34.8
35.1
34.6 ถึง 35.6
32.9
32.4 ถึง 33.4
4) รายจ่ายภาคสาธารณะ (ล้านล้านบาท)
3.99
4.11
4.09 ถึง 4.13
4.29
4.26 ถึง 4.31
5) จานวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน)
28.2
36.0
35.5 ถึง 36.5
39.0
38.5 ถึง 39.5


          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ