เศรษฐกิจไทย
เครื่องชี้เศรษฐกิจรายสัปดาห์
สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุด
? สถานการณ์เศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ เศรษฐกิจไทยแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวในบางภาคส่วนจากมาตรการกระตุ้น
ของภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ต.ค. 67 เพิ่มขึ้นอยู่ระดับที่
89.1 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของยอดขายและปริมาณการผลิต จากมาตรการเยียวยาภาครัฐ เช่น นโยบายเงิน
10,000 บาท และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ภาคการบริโภคเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน
ต.ค. 67 ปรับตัวขึ้น อยู่ระดับเป็น 56.0 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ผลจากโครงการช่วยเหลือ
ประชาชนและการลดดอกเบี้ยนโยบาย ในภาคการท่องเที่ยว วันที่ 4?10 พฤศจิกายน 2567 มีจานวน
นักท่องเที่ยว 7.36 แสนคน โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของ
นักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะไกล โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรป ประกอบกับมีการกระตุ้นและส่งเสริมให้สายการบิน
เพิ่มจานวนเที่ยวบินมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง
? กาลังซื้อในประเทศยังไม่เข้มแข็งเนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนสูง
? ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก
? ความกังวลของผู้บริโภคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังช้าและปัญหาค่าครองชีพที่สูงไม่สอดคล้องกับรายได้
? นักท่องเที่ยวกลุ่มระยะใกล้ เดินทางเข้ามาลดลง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่ชะลอตัวจากการสิ้นสุด
วันหยุดต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อนหน้า
ข้อเสนอแนะ
? เพิ่มมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากตลาดระยะใกล้ เช่น จีนและมาเลเซีย พร้อมสนับสนุนโครงการ ด้าน
การบริการและการพัฒนาสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อรองรับ High Season
? ขยายมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสาหรับกลุ่มเปราะบาง และเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อที่มีเงื่อนไขยืดหยุ่น
เพื่อลดภาระหนี้ครัวเรือนและกระตุ้นการบริโภคในประเทศ
เครื่องชี้เศรษฐกิจรายสัปดาห์
สถานการณ์ภาครัฐ
? ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนประจาปีงบประมาณ พ .ศ. 2568 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ?
8 พฤศจิกายน 2567 พบว่า ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอน
เปลี่ยนแปลง อยู่ที่ 9.64 แสนล้านบาท เบิกจ่ายได้ที่จานวน 8.75 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.08
หากรวมการก่อหนี้ผูกพัน มีการใช้จ่ายที่จานวน 1.38 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.29
โดยสัปดาห์แรกของเดือนเบิกจ่ายได้ร้อยละ 0.64 ต่ากว่าที่ควรจะเบิกจ่ายต่อสัปดาห์ที่ร้อยละ 0.72
จึงต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 0.75 ในช่วงที่เหลือของเดือน เพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายที่ร้อยละ 11.33 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน โดยมีแนวทางดังนี้
1) งบกระทรวง ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะกระทรวงที่มีวงเงินขนาดใหญ่ 5 อันดับแรก ได้แก่
กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม และกระทรวง
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
2) งบจังหวัด ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะจังหวัดที่มีวงเงินขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนให้เม็ดเงินหมุนเวียน
สู่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ นครราชสีมา ชลบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ และขอนแก่น
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
4
Thai Industries Sentiment Index : TISI
Indicators
2023 2024
ทั้งปี Q2 Q3 Sep Oct YTD
TISI 92.6 88.7 88.0 87.1 89.1 89.2
TISI (E) 100.6 95.8 95.3 96.7 98.4 97.1
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ต.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 89.1
*ประกอบด้วย ยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และ
ผลประกอบการ
ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2567 กลับมาปรับเพิ่มขึ้นจาก 87.1 จุดในเดือนก่อน อยู่ที่ระดับ 89.1 โดย
ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกองค์ประกอบย่อยของดัชนี* โดยเฉพาะปริมาณการผลิตและยอดขายโดยรวมที่มีดัชนีเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
3.4 และ 3.2 ตามลาดับ ผลจากมาตรการภาครัฐทั้งการเร่งฟื้นฟูและเยียวยาความเสียหายจากสถานการน้าท่วม นโยบายเงินหนึ่ง
หมื่นบาทสาหรับกลุ่มเปราะบาง ส่งผลดีต่อยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภค การทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง และการฟื้นตัวของ
ภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยท้าทายโดยเฉพาะกาลังซื้อในประเทศที่ยังไม่เข้มแข็งนัก ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังชะลอตัว
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก และความเสี่ยงจาก สถานการณ์
ความตึงเครียดในตะวันออกกลางและภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สาหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 96.7
เป็น 98.4 จากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และการฟื้นตัวทั้งภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
5
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ต.ค. 67ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 56.0จากระดับ 55.3ในเดือนก่อน โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 7เดือน
โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านโครงการเงินช่วยเหลือ 10,000 บาทแก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการและคนพิการรวม 14.55 ล้านคน การคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 77ต่ออีก 1ปี รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเชิงบวกจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25เหลือร้อยละ 2.25การคาดการณ์ GDPGDPที่จะขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 2567 การส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12 ในเดือนกันยายน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.21 จุด ตลอดจนราคาพืชผลเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ความกังวลของผู้บริโภคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังช้าและปัญหาค่าครองชีพที่สูงไม่สอดคล้องกับรายได้ รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์น้าท่วมในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และอิสราเอล-ฮามาส ที่อาจส่งผลต่อราคาพลังงานโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทที่อาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
?วันที่ 4-10พ.ย. 67มีจานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 736,136คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะไกล โดยเฉพาะตลาดภูมิภาคยุโรป รวมถึงการมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีผลต่อจานวนที่นั่งเข้าประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา?
จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในปี 2567และคาดการณ์
จานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 5อันดับแรกรายสัปดาห์ในปี 2567
ที่มา : กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
6
ที่มา : กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวแลttกีฬา
จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย วันที่ 4 10พ.ย. 67มีจานวนนักท่องเที่ยว 7.36 แสนคน และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค 10 พ.ย. 67 (YTD) มีจานวนทั้งสิ้น 29.8 ล้านคน สร้างรายได้ 1.39 ล้านล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่าย/คน/ทริป ที่ 46,750 บาท โดยในช่วงที่ผ่านมาจานวนนักท่องเที่ยวรายสัปดาห์มีจานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.85 จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวภูมิภาคยุโรป และภูมิภาคอเมริกาหลังจากเข้าสู่ชวงฤดูกาลท่องเที่ยว (High
Season) ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มระยะใกล้ (Short Haul) เดินทางเข้ามาลดลง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่ชะลอตัวจากการสิ้นสุดวันหยุดต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อนหน้า
ทั้งนี้ จานวนนักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มเป็นไปตามที่จากจานวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง High SeasonSeasonโดย สศค. คาดการณ์ว่าปี 67 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 36.0 ล้านคน สร้างรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปที่ 47,000 บาท (คาดการณ์ ณ เดือน ต.ค. 67 )
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม 2567 88พฤศจิกายน 2567พบว่า ณ วันที่ 88พฤศจิกายน 2567 วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง อยู่ที่ 9.64 แสนล้านบาท เบิกจ่ายได้ที่จานวน8.7575หมื่นล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 9.08
โดยจานวนเงินที่ต้องเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือของงบประมาณ 2568 (วันที่ 99พ.ย. 2567-30ก.ย. 2568) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 80 ตามประมาณการของกรมบัญชีกลาง อยู่ที่ 7.717.71แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 70.9270.92ทั้งนี้ ณ สิ้นสัปดาห์แรกของเดือน พฤศจิกายน 25672567ผลอัตราการเบิกจ่ายการลงทุนที่ร้อยละ 9.08 เบิกจ่ายเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนตุลาคม 25672567ที่ร้อยละ 0.64ต่ากว่าที่ควรจะเบิกจ่ายต่อสัปดาห์ที่ร้อยละ 0.72จึงต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละร้อยละ 0.750.75ในช่วงที่เหลือของเดือน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ร้อยละ 11.3311.33ณ สิ้นเดือน พฤศจิกายน 2567 โดยมีแนวทางดังนี้1) งบกระทรวง ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะกระทรวงที่มีวงเงินขนาดใหญ่ 5อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม (วงเงินลงทุน 1.81แสนล้านบาท) กระทรวงมหาดไทย (วงเงินลงทุน 1.03แสนล้านบาท) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (วงเงินลงทุน 8.77หมื่นล้านบาท) กระทรวงกลาโหม (วงเงินลงทุน 4.19หมื่นล้านบาท) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วงเงินลงทุน 3.10หมื่นล้านบาท)
2) งบจังหวัด ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะจังหวัดที่มีวงเงินขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนให้เม็ดเงินหมุนเวียนสู่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ นครราชสีมา (วงเงินลงทุน 356.38ล้านบาท) ชลบุรี (วงเงินลงทุน 329.77ล้านบาท) สมุทรปราการ (วงเงินลงทุน 298.01ล้านบาท) เชียงใหม่ (วงเงินลงทุน 296.25 ล้านบาท) และขอนแก่น (วงเงินลงทุน290.19290.19ล้านบาท)
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 67 ปรับตัวลดลงเป็นร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.4 เท่ากับที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะที่ Core inflation rate
รายปีเดือน ต.ค. 67อยู่ที่ร้อยละ 3.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เท่ากับเดือนก่อนหน้าและเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ต.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.9 ขณะที่ดัชนีราคาผลิตพื้นฐาน (core PPI) ออกมาที่ร้อยละ 3.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดเล็กน้อย
จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (3 -9 พ.ย. 67) อยู่ที่ 2.17 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.21 แสนราย และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้ จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.21แสนราย
สหรัฐอเมริกา
GDP
ไตรมาสที่ 3 ปี 67 (ประเมินครั้งที่ 2) ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.6และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 67 หดตัวร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ -2.0
ยูโรโซน
ญี่ปุ่น
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ก.ย. 67 เกินดุล 1,717.1 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 โดยบัญชีสินค้าขาดดุล -315.2 พันล้านเยน (ส่งออกหดตัวร้อยละ -4.5 ต่อปี นาเข้าขยายตัวร้อยละ 3.2ต่อปี) บริการขาดดุล -256.3พันล้านเยน รายได้หลักเกินดุล 2,774.5พันล้านเยน รายได้รองขาดดุล -485.9พันล้านเยน
ยอดสั่งซื้อเครื่องกลโรงงาน (machine tool order) เดือน ต.ค. 67 ขยายตัวร้อยละ 9.3 ต่อปี อยู่ที่ 122,419 ล้านเยน โดยคาสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6ต่อปี ที่ 89,095ล้านเยน อุปสงค์ในประเทศ หดตัวร้อยละ -1ต่อปี ที่ 33,324ล้านเยน
อัตราการว่างงานตามฤดูกาล เดือน ต.ค.67 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ลดลงจากร้อยละ 2.5 ในเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง จานวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5ต่อปี ขณะเดียวกัน การจ้างงานมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยจานวนผู้มีงานทาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3ต่อปี
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
จีน
ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วงปลายเดือน ก.ย. 67
อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.1ของกาลังแรงงานรวม และนับว่าต่าสุดในรอบ 4เดือน
การส่งออก เดือน ต.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัวของการส่งออกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของยอดส่งออกสินค้าในหมวดอุปกรณ์สาหรับสารสนเทศ การสื่อสาร และโสตทัศนูปกรณ์ หมวดโลหะพื้นฐาน และหมวดชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสาคัญ
การนาเข้า เดือน ต.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 17.3 และต่ากว่าตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.0 การนาเข้าในเดือนนี้มีอัตราการขยายตัวที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ พ.ค. 67โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการหดตัวของการนาเข้าสินค้าในหมวดเหมืองแร่ เป็นสาคัญ
ดุลการค้า เดือน ต.ค. 67 เกินดุลอยู่ที่ 6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 7.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่ 6.2พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ไต้หวัน
มาเลเซีย
GDP
GDPไตรมาสที่ 3ปี 67 finalfinalขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด
สหราชอาณาจักร
อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.0ของกาลังแรงงานรวม และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.1
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
อินเดีย
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) เดือน ก.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี และฟื้นตัวจากการหดตัวร้อยละ -0.1 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า โดยภาคการผลิตเติบโตร้อยละ 3.9 โดยมีปัจจัยบวกหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่กลั่นแล้ว โลหะพื้นฐาน เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี และผลิตภัณฑ์อาหาร
อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) เดือน ต.ค. 67อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.21ต่อปี (ร้อยละ 1.34ต่อเดือน) ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปี แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อยังห่างจากเป้าหมายของ RBIRBIที่กาหนดไว้ที่ร้อยละ 2ซึ่งยิ่งทาให้การคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต้องยืดออกไป
ดุลการค้า (Balance of Trade) เดือน ต.ค. 67ขาดดุล -27.1พันล้านดอลลาร์ ลดลงจากการขาดดุล 31.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 ต่อปี มาอยู่ที่ 39.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของผลผลิตสินค้าของอินเดีย ขณะที่การนาเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.9 เป็น 66.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ออสเตรเลีย
อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 6767คงที่จากเดือนก่อหนน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.14.1ของกาลังแรงงานรวม
อินโดนีเซีย
มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 6767ขยายตัวที่ร้อยละ 10.2510.25จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.316.31จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการนาเข้า เดือน ต.ค. 6767ขยายตัวที่ร้อยละ 17.4917.49จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.558.55จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ต.ค. 6767เกินดุลที่ระดับ 2.472.47พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 3.233.23พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ฝรั่งเศส
อัตราการว่างงาน Q 3 6767อยู่ที่ร้อยละ 7.4 ของกาลังแรงงานรวม เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.3ของกาลังแรงงานรวม
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
สเปน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.5 และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
เยอรมนี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkeiNikkei(ญี่ปุ่น) Hang SengSeng(ฮ่องกง) และ TWSETWSE(ไตัหวัน) เป็นต้น เมื่อวันที่ 1414พ.ย. 67ดัชนีปิดที่ระดับ 1,45050.112 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 11 1414พ.ย. 67 อยู่ที่466,940940.600ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศเป็น นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 1111-1414พ.ย. 67 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ -33,397.75397.75ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 เดือน ถึง 112 ปี และ 1919ถึง 2020ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง 3 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 66ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.52.5เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่1111-1414พ.ย. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -8,653.85653.85ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 1414พ.ย. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ-7575,747.40747.40ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่1414พ.ย. 67เงินบาทปิดที่ 35.015.01บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.877จากสัปดาห์ก่อนหน้าสอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตเปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวัน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินกุลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ -0.97
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง