เศรษฐกิจไทย
เครื่องชี้เศรษฐกิจรายสัปดาห์
สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุด
? สถานการณ์เศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 67 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
56.9 ปัจจัยมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น การโอน
เงินช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยในช่วงวันที่ 2 - 8 ธ.ค. 67 มีจานวน
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 699,129 คน ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -1.03
ปัจจัยเสี่ยง
? ปัญหาค่าครองชีพที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ราคาน้ามันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
เป็นปัจจัยกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ข้อเสนอแนะ
? มาตรการการช่วยเหลือค่าครองชีพ จะเป็นส่วนช่วยการบริโภคของประชาชน
เครื่องชี้เศรษฐกิจรายสัปดาห์
สถานการณ์ภาครัฐ
? ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ? 6 ธันวาคม
2567 พบว่า ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2567 วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 9.6
แสนล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1.1 แสนล้านบาท รวมการก่อหนี้ผูกพันที่ 1.9 แสนล้านบาท โดยสัปดาห์แรก
ของเดือน ธ.ค. 2567 เบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ซึ่งต่ากว่าเป้าหมายสะสมที่ควรเพิ่มร้อยละ 1.5 ส่งผลให้
เบิกจ่ายต่ากว่าเป้าหมายร้อยละ 5.9 จึงจาเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนในสัปดาห์ถัดไป โดยควร
เร่งรัดใน 5 กระทรวงที่มีวงเงินสูง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และควรเร่งรัดใน
จังหวัดวงเงินสูง ได้แก่ นครราชสีมา ชลบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ และขอนแก่น
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
4
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 67ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 56.9จากระดับ 56.0ในเดือนก่อน โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
โดยในเดือนพฤศจิกายน 2567 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากปัจจัยเชิงบวกและปัจจัยเชิงลบที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ปัจจัยเชิงบวกประกอบด้วย การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้นตามข้อมูลของสานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งก่อน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น การโอนเงินช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจากการเปิดประเทศและการขยายระยะเวลาพานักของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกและราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ปัจจัยเชิงลบที่กดดันความเชื่อมั่น ได้แก่ ปัญหาค่าครองชีพที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ราคาน้ามันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ สถานการณ์น้าท่วมในพื้นที่ภาคใต้ที่สร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรกรรม ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลกที่ส่งผลต่อราคาพลังงานและต้นทุนการผลิต รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก และชะลอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
?วันที่ 2 -8 ธ.ค. 67 มีจานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 699,129 คน ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -1.03 อย่างไรก็ตาม จานวนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าถึงร้อยละ 24.58 เป็นผลมาจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาสิ้นสุดลง ทาให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่เดินทางท่องเที่ยวทางบนฟื้นตัวขึ้น
จานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 5อันดับแรกรายสัปดาห์ในปี 2567
ที่มา : กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
5
ที่มา : กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวแลttกีฬา
จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย วันที่2 88ธ.ค. มีจานวนนักท่องเที่ยว 6.99 แสนคน และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค
1 ธ.ค. 67 (YTD) มีจานวนทั้งสิ้น 32.7 ล้านคน สร้างรายได้ 1.53 ล้านล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่าย/คน/ทริป ที่ 46,919 บาท โดยในช่วงที่ผ่านมาจานวนนักท่องเที่ยวรายสัปดาห์มีจานวนลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า 7,253 คน หรือคิดเป็นร้อยละ -1.03 อย่างไรก็ตาม พบว่าจานวนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าถึงร้อยละ 24.58 เป็นผลมาจากการฟื้นตัวในด้านการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวทางบก ภายหลังเหตุอุทกภัยในอาเภอหาดใหญ่ และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สิ้นสุดลง อีกทั้งมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในด้านการเดินทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย อาทิ สวีเดน นอร์เวย์ และฟินแลนด์
ทั้งนี้ จานวนนักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มเป็นไปตามที่จากจานวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมและช่วง High seasonseasonของนักท่องเที่ยวกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะไกลโดย สศค. คาดการณ์ว่าปี 67 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 36.0 ล้านคน สร้างรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปที่ 47,000 บาท (คาดการณ์ ณ เดือน ต.ค. 67 )
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 6 ธันวาคม 2567พบว่า ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2567 วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง อยู่ที่ 9.63 แสนล้านบาท เบิกจ่ายได้ที่จานวน 1.07แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.11หากรวมการก่อหนี้ผูกพัน มีการใช้จ่ายที่จานวน 1.89แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.63
โดยจานวนเงินที่ต้องเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือของงบประมาณ 2568(วันที่ 7ธ.ค. 2567-30ก.ย. 2568) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 80 ตามประมาณการของกรมบัญชีกลาง อยู่ที่ 6.6.64แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 68.89ทั้งนี้ ณ สัปดาห์แรกของเดือน ธันวาคม 25672567ผลอัตราการเบิกจ่ายการลงทุนที่ร้อยละ 11.11เบิกจ่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35น้อยกว่าที่ต้องเบิกจ่ายต่อสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.47เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ณ สิ้นเดือนที่กรมบัญชีกลางคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 17.00หรือต่ากว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 5.89จึงจาเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนในสัปดาห์ถัดไป โดยมีแนวทางดังนี้
1) งบกระทรวง ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะกระทรวงที่มีวงเงินขนาดใหญ่ 5อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม (วงเงินลงทุน 1.81แสนล้านบาท) กระทรวงมหาดไทย (วงเงินลงทุน 1.03แสนล้านบาท) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (วงเงินลงทุน 8.77หมื่นล้านบาท) กระทรวงกลาโหม (วงเงินลงทุน 4.19หมื่นล้านบาท) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วงเงินลงทุน 3.10หมื่นล้านบาท)
2) งบจังหวัด ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะจังหวัดที่มีวงเงินขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนให้เม็ดเงินหมุนเวียนสู่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ นครราชสีมา (วงเงินลงทุน 356.38ล้านบาท) ชลบุรี (วงเงินลงทุน 329.77ล้านบาท) สมุทรปราการ (วงเงินลงทุน 298.01ล้านบาท) เชียงใหม่ (วงเงินลงทุน 296.25 ล้านบาท) และขอนแก่น (วงเงินลงทุน290.19290.19ล้านบาท)
เครื่องชี้ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือนต.ค. 67คิดเป็น 2.12 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย
โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ต.ค.67 อยู่ที่ 5.5.86 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)
ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
อัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.1เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 67 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.6 เท่ากับที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะที่ Core inflation raterateรายปีเดือน พ.ย. 67อยู่ที่ร้อยละ 3.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เท่ากับเดือนก่อนหน้าและเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน พ.ย 67อยู่ที่ร้อยละ 3.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.6โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.6ขณะที่ดัชนีราคาผลิตพื้นฐาน (core PPI) ออกมาที่ร้อยละ 3.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เท่ากับเดือนก่อนหน้าและเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (1 -7 ธ.ค. 67) อยู่ที่ 2.42 แสนราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าและสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้ จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ายมาอยู่ที่ 2.24 แสนราย
สหรัฐอเมริกา
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25ในการประชุมวันที่ 13 ธ.ค. 67 ตามการคาดการณ์ของตลาด และเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4ในปีนี้ หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน มิ.ย. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.00 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.40 ส่วนอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.15
ยูโรโซน
จีน
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ต.ค. 67ที่ขยายตัวร้อยละ 12.7จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศที่เริ่มตึงตัว
มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ย. 67 หดตัวร้อยละ -3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ต.ค. 67ที่หดตัวร้อยละ -2.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงอ่อนแอ
ดุลการค้า เดือน พ.ย. 67 เกินดุลที่ระดับ 97.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 67ที่เกินดุลที่ระดับ 95.27พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการเกินดุลที่มากที่สุดนับตั้งแต่ เดือน มิ.ย. 67
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 และขยายตัวต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.5
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
ไต้หวัน
การส่งออก เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 8.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัวของการส่งออกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของยอดส่งออกสินค้าในหมวดชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หมวดอุปกรณ์สาหรับสารสนเทศ การสื่อสาร และโสตทัศนูปกรณ์ และ หมวดยางและพลาสติก เป็นสาคัญ
การนาเข้า เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 และสูงกว่าตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 18.2 การนาเข้าในเดือนนี้มีอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ มิ.ย. 67โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการนาเข้าสินค้าในหมวดหมวดอุปกรณ์สาหรับสารสนเทศ การสื่อสาร และโสตทัศนูปกรณ์ หมวดชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และหมวดเครื่องจักร เป็นสาคัญ
ดุลการค้า เดือน พ.ย. 67 เกินดุลอยู่ที่ 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 6.9พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่ 7.4พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ต.ค. 67 เกินดุล 2,456.9 พันล้านเยนซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 21โดยรายได้ปฐมภูมิอยู่ที่ 3,254.1พันล้านเยน ในขณะที่รายได้ทุติยภูมิขาดดุล -482.5 พันล้านเยน บัญชีบริการขาดดุลที่ -159.0 พันล้านเยน ขณะเดียวกัน บัญชีสินค้าขาดดุล -155.7 พันล้านเยน โดยการส่งออกเติบโตขึ้นร้อยละ 2.9 ขณะที่การนาเข้าลดลงร้อยละ -0.7
คาสั่งซื้อเครื่องมือกล (Machine Tool Orders) เดือน พ.ย. 67เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0ต่อปี ที่ 119,336 ล้านเยน (หดตัวร้อยละ -2.6 จากเดือนก่อนหน้า) โดยการขยายตัวเกิดจากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี ที่ 34,326 ล้านเยน และคาสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี ที่ 85,010 ล้านเยน สาหรับช่วง 11 เดือนแรกของปี Machine Tool Orders ลดลงร้อยละ -1.3ต่อปี ที่ 1,342,024ล้านเยน
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
ออสเตรเลีย
ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.35 ต่อปี เพื่อรักษาต้นทุนการกู้ยืมไว้ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นครั้งที่ 9ติดต่อกัน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยธนาคารกลางระบุว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะลดลงอย่างมาก และจะยังคงต่าลงอีกระยะหนึ่ง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงสูงเกินไปก่อนที่จะถึงจุดกึ่งกลางที่ร้อยละ 2ถึง 3ในปี 69
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1ของกาลังแรงงานรวม
อินโดนีเซีย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ระดับ 125.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 121.1 จุด การเพิ่มขึ้นนี้เกิดจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่การบริหารใหม่ภายใต้ประธานาธิบดี Prabowo SubiantoSubiantoที่เป็นไปอย่างราบรื่น
ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.87 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน แต่เป็นอัตราที่อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 67เนื่องจากยอดขายอาหารขยายตัวชะลอลง ประกอบกับสินค้าสารสนเทศและการสื่อสารหดตัวเร่งขึ้น เป็นสาคัญ
ยอดขายรถยนต์ เดือน พ.ย. 67 หดตัวที่ร้อยละ -11.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มาเลเซีย
อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกาลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ ม.ค. 63
ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 และต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10แต่ก็เป็นการขยายตัวของผลผลิตในอัตราที่ต่าที่สุดในรอบ 10เดือน จากผลผลิตอุตสาหกรรมในหมวดเหมืองแร่ที่ลดลงในอัตราที่ลดลง
ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการขยายตัวของยอดค้าปลีกในอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ มิ.ย. 67 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากยอดขายสินค้าในร้านค้าที่ไม่ใช่ร้านค้าเฉพาะทาง และหมวดเครื่องใช้ภายในบ้านในร้านค้าเฉพาะทาง เป็นสาคัญ
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.
สิงคโปร์
อัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาลแล้ว) ไตรมาสสาม ปี 67 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงจากร้อยละ 2.0ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการว่างงานต่าสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2ปี 66โดยได้รับแรงหนุนจากการลดลงของการเลิกจ้างส่วนใหญ่ในภาคการผลิตและบริการทางการเงิน ขณะเดียวกัน การจ้างงานรวมเพิ่มขึ้น 22,300 คน โดยมีการเพิ่มขึ้นทั้งในการจ้างงานของประชากรประจาชาติ (เติบโตในภาคส่วนที่มุ่งเน้นการส่งออก) และผู้ไม่ใช่ประชากรประจาชาติ (ในภาคก่อสร้างและการผลิต) ทั้งนี้ ในระยะยาว จานวนตาแหน่งงานว่างและอัตราส่วนตาแหน่งงานว่างต่อผู้ว่างงานคาดว่าจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดของโควิด
อัตราการว่างงานตามฤดูกาล เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เท่ากับเดือนก่อนหน้าและสูงสุดนับจาก มิ.ย. 67จานวนผู้ว่างงานลดลง 21,000คน หรือลดลงร้อยละ -3.1ต่อปี ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 123,000คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4ต่อปี
เกาหลีใต้
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 67 หดตัวที่ร้อยละ -3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อิตาลี
การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด หลังจากเพิ่มขึ้น 3.1 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า นี่ถือเป็นการเติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง โดยได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วน ประกอบด้วย การผลิต การทาเหมืองแร่ และไฟฟ้า
อัตราเงินเฟ้อรายปี เดือน พ.ย. 67 ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 5.48 จากร้อยละ 6.21 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งยังคงอยู่ใกล้กับขีดจากัดของ RBI ที่ห่างจากระดับร้อยละ 4 ไม่เกิน 2 จุด แม้ว่าจะกลับเข้าสู่ช่วงเป้าหมาย แต่ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงต้นปี ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ RBI อาจเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสแรกของปี 68
การผลิตในภาคการผลิต (Manufacturing production) เดือน ต.ค. 67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ต่อปี (จากร้อยละ 3.9 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า) โดยได้แรงหนุนจาก การผลิตโลหะพื้นฐาน อุปกรณ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์การกลั่นปิโตรเลียม และ coke
อินเดีย
เยอรมนี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นKLCI มาเลเซีย) PSEi ฟิลิปปินส์) และ S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย) เป็นต้น เมื่อวันที่ 12ธ.ค. 67 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,439.89 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 9 12ธ.ค. 67 อยู่ที่37,845.04 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 9 -12ธ.ค. 67 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ -5,422.80 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน ถึง 20ปี โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง -3 ถึง 4 bpsbpsเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ถึง 7 ปี โดยเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 bpsbpsเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 26ปี ซึ่งนักลงทุนสนใจ 2.61เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่9 -12 ธ.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 33,649.87649.87ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 12 ธ.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ-69,303.21 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่12 ธ.ค.67เงินบาทปิดที่ 33.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.39 จากสัปดาห์ก่อนหน้าสอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเปโซ และหยวนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐขณะที่เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตวอน ดอลลาร์ไต้หวัน และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ 1.76
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง