รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 20 ธ.ค. 67

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 24, 2025 15:05 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุด

? สถานการณ์เศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ระดับ 90.1

ปัจจัยมาจากการเร่งผลิตสินค้าตามคาสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศเพื่อจาหน่ายในข่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึง

การขยายตัวของภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน พ.ย. 67

ขยายตัวที่ร้อยละ 17.8 ต่อปี เนื่องจากการใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างและเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยจากการ

โดนน้าท่วมในช่วงที่ผ่านมา ภาคการท่องเที่ยว โดยในช่วงวันที่ 9 - 15 ธ.ค. 67 มีจานวนนักท่องเที่ยว

ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 772,553 คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 10.50

ปัจจัยเสี่ยง

? ปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยที่กระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และภาค

การลงทุนเอกชน

ข้อเสนอแนะ

? โครงการ ?คุณสู้ เราช่วย? จะเป็นส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง รวมทั้ง

ลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ขนาดเล็ก

เครื่องชี้เศรษฐกิจรายสัปดาห์

สถานการณ์ภาครัฐ

? ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ? 13 ธันวาคม

2567 พบว่า ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2567 วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 9.6

แสนล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1.1 แสนล้านบาท หากรวมการก่อหนี้ผูกพัน มีการใช้จ่ายที่จานวน 1.99

แสนล้านบาท โดยสัปดาห์ที่สองของเดือนเบิกจ่ายได้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 น้อยกว่าที่

ต้องเบิกจ่ายต่อสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.8 เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ณ สิ้นเดือนที่กรมบัญชีกลางคาดการณ์ไว้ที่

ร้อยละ 17.00 หรือต่ากว่าเป้าหมายร้อยละ 5.48 จึงจาเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนในสัปดาห์ถัดไป

โดยควรเร่งรัดใน 5 กระทรวงที่มีวงเงินสูง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและ

สหกรณ์ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และควรเร่งรัดใน

จังหวัดวงเงินสูง ได้แก่ นครราชสีมา ชลบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ และขอนแก่น

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ระดับ 90.1

*ประกอบด้วย ยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และ

ผลประกอบการ

ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 91.4 จุด ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดใน

รอบ 8 เดือน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกองค์ประกอบย่อยของดัชนี* เป็นผลมาจากการเร่งผลิตสินค้าตามคาสั่งซื้อทั้งในและ

ต่างประเทศเพื่อจาหน่ายในข่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึงการขยายตัวของภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการ

ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยลบ อาทิ สถานการณ์อุทกภัย ปัญหาหนี้เสีย และการแข่งขันจากสินค้านาเข้า ซึ่งอาจส่งผล

กระทบต่อกาลังซื้อและการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ ดัชนี TISI ในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงเป็น 96.7 จุด จากเดิม 98.4 จุด เนื่องจาก

ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และปัจจัยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน พ.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

Cement Sales

Indicators

(%yoy)

2023 2024

ทั้งปี Q2 Q3 Oct Nov YTD

ยอดขาย

ปูนซีเมนต์

1.2 -8.9 4.8 15.7 17.8 -1.2

%mom,

%qoq

- 3.7 12.5 4.4 0.2

ในเดือน พ.ย. 67 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์กลับมาขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการใช้ปูนซีเมนต์

ในการก่อสร้างและเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยจากการโดนน้าท่วมในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้การชะลอตัวของ

ภาคอสังหาริมทรัพย์จากภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงจะส่งผลกระทบต่อการจาหน่ายปูนซีเมนต์ในระยะต่อไป

?วันที่ 9 -15 ธ.ค. 67 มีจานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 772,553 คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 10.50 เนื่องจากจานวนนักท่องเที่ยวกลุ่มระยะไกล (Long HaulHaul) และกลุ่มระยะใกล้ (Short HaulHaul) ที่เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season Season)

จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย วันที่ 9 15 ธ.ค. มีจานวนนักท่องเที่ยว 7.72 แสนคน และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 15 ธ.ค. 67 (YTD) มีจานวนทั้งสิ้น 33.49ล้านคน สร้างรายได้ 1.57ล้านล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่าย/คน/ทริป ที่ 46,969 บาท โดยในช่วงที่ผ่านมาจานวนนักท่องเที่ยวรายสัปดาห์มีจานวนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 73,424 หรือคิดเป็นเป็นร้อยละ 10.50 เป็นผลมาจากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (High SeasonSeason) ของนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะไกล (Long HaulHaul) อาทิ นักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักร สวีเดน รัสเซีย และเยอรมนี ประกอบกับจานวนนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะใกล้ (Short HaulHaul)ที่เดินทางเข้าเป็นจานวนมากเช่นกัน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจาก จีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ อีกทั้ง นักท่องเที่ยวยังมีความเชื่อมั่นจากมาตรการการยกเว้นวีซ่าและบัตร ตม.6

ทั้งนี้ จานวนนักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มเป็นไปตามที่จากจานวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมและช่วง High seasonseasonของนักท่องเที่ยวกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะไกลโดย สศค. คาดการณ์ว่าปี 67 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 36.0 ล้านคน สร้างรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปที่ 47,000 บาท (คาดการณ์ ณ เดือน ต.ค. 67 )

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 13 ธันวาคม 2567พบว่า ณ วันที่ 13ธันวาคม 2567วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง อยู่ที่ 9.63แสนล้านบาท เบิกจ่ายได้ที่จานวน 1.11แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.52หากรวมการก่อหนี้ผูกพัน มีการใช้จ่ายที่จานวน 1.99แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.66

โดยจานวนเงินที่ต้องเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือของงบประมาณ 2568(วันที่ 14ธ.ค. 2567-30ก.ย. 2568) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 80 ตามประมาณการของกรมบัญชีกลาง อยู่ที่ 6.6.60แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 68.48ทั้งนี้ ณ สัปดาห์ที่สองของเดือน ธันวาคม 25672567ผลอัตราการเบิกจ่ายการลงทุนที่ร้อยละ 11.52เบิกจ่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.41น้อยกว่าที่ต้องเบิกจ่ายต่อสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.83เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ณ สิ้นเดือนที่กรมบัญชีกลางคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 17.00หรือต่ากว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 5.48จึงจาเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนในสัปดาห์ถัดไป โดยมีแนวทางดังนี้

1) งบกระทรวง ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะกระทรวงที่มีวงเงินขนาดใหญ่ 5อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม (วงเงินลงทุน 1.81แสนล้านบาท) กระทรวงมหาดไทย (วงเงินลงทุน 1.03แสนล้านบาท) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (วงเงินลงทุน 8.77หมื่นล้านบาท) กระทรวงกลาโหม (วงเงินลงทุน 4.19หมื่นล้านบาท) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วงเงินลงทุน 3.10หมื่นล้านบาท)

2) งบจังหวัด ควรเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะจังหวัดที่มีวงเงินขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนให้เม็ดเงินหมุนเวียนสู่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ นครราชสีมา (วงเงินลงทุน 356.38ล้านบาท) ชลบุรี (วงเงินลงทุน 329.77ล้านบาท) สมุทรปราการ (วงเงินลงทุน 298.01ล้านบาท) เชียงใหม่ (วงเงินลงทุน 296.25 ล้านบาท) และขอนแก่น (วงเงินลงทุน290.19290.19ล้านบาท)

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

GDP

GDPไตรมาส 3 ปี 67 (Final) เท่ากับการประมาณการเบื้องต้น โดยเศรษฐกิจขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) และเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 เมื่อคานวนแบบ annualized

rate ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด

คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC)

ได้มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอยู่ในช่วงร้อยละ 4.50-4.75ต่อปี หรือลดลงร้อยละ 0.25 ซึ่งเป็นการปรับลดลงครั้งที่ 2ในปีนี้ หลังจากที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50สู่ระดับร้อยละ 4.75-5.00ในเดือน ก.ย. 67

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (8-14 พ.ย. 67) อยู่ที่ 2.20 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าและน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้ จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ายมาอยู่ที่ 2.25แสนราย

สหรัฐอเมริกา

ดัชนี PMIPMIภาคบริการ เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 51.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.5จุด และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ระดับ 49.5จุด โดยดัชนีอยู่สูงกว่าระดับ 50.0จุด บ่งชี้ทิศทางการขยายตัวของภาคบริการ

ดัชนี PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 45.2 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และอยู่ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ระดับ 45.3จุด โดยดัชนีอยู่ต่ากว่าระดับ 50.0จุด บ่งชี้ทิศทางการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ยูโรโซน

จีน

ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.8และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกาลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์

ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สาหรับลูกหนี้ชั้นดี (Loan Prime

Rate LPR) ประเภท 1 ปี ไว้ที่ระดับร้อยละ 3.1 และคงอัตราดอกเบี้ย LPRLPRประเภท 5ปี ไว้ที่ร้อยละ 3.6 ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

คาสั่งซื้อเครื่องจักรหลัก (Machinery Orders) ซึ่งไม่รวมคาสั่งซื้อสาหรับเรือและบริษัทพลังงานไฟฟ้า เดือน ต.ค. 67 ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี (ร้อยละ 2.1 ต่อเดือน) แตะระดับ 869.8พันล้านเยน จากคาสั่งซื้อจากภาคการผลิตพุ่งขึ้นร้อยละ 12.5แตะ 436.8พันล้านเยน

ดุลการค้า เดือน พ.ย. 67 ขาดดุลลดลงอย่างมากเหลือ -117.62 พันล้านเยน จาก 813.87พันล้านเยนในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.8ต่อปี เป็น 9,152.38พันล้านเยน ขณะที่การนาเข้าลดลง ร้อยละ -3.9ต่อปี เป็น 9,270ล้านเยน

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นหลักไว้ที่ประมาณร้อยละ 0.25ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี 67 ซึ่งยังคงระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 51 เนื่องจาก BoJBoJต้องการเวลาเพิ่มเติมในการประเมินความเสี่ยงบางประการ โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายใต้การนาของโดนัลด์ ทรัมป์และแนวโน้มค่าจ้างในปีหน้า

ญี่ปุ่น

สิงคโปร์

การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ามัน (NODX) เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปี (ร้อยละ 14.7 ต่อเดือน) ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ -4.7 ในเดือนตุลาคม นับเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดของ NODXNODXนับตั้งแต่เดือน ส.ค. โดยมีสาเหตุหลักจากการพุ่งขึ้นของยอดขายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

ดุลการค้า เดือน พ.ย. 67 เกินดุล 6,519.08 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ดุลการค้าในสิงคโปร์มีค่าเฉลี่ย 1,281.88 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ตั้งแต่ปี 07 ถึงปัจจุบัน 2024

ดัชนี PMIPMIภาคการผลิตของอินเดียโดย HSBC เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 67อยู่ที่ระดับ 57.4เร่งขึ้นจากระดับ 56.5 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงผลการดาเนินงานที่แข็งแกร่งของภาคการผลิตในช่วงสิ้นปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นที่เร็วขึ้นของคาสั่งซื้อใหม่และคาสั่งซื้อเพื่อการส่งออก

ดัชนี PMI ภาคบริการของอินเดียโดย HSBC เดือน ธ.ค. 67(เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นเป็น 60.8จาก 58.4ในเดือนก่อนหน้า ตาม นับเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 41ของกิจกรรมภาคบริการ โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ สะท้อนจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของคาสั่งซื้อใหม่

ราคาขายส่งของอินเดีย (WPI Inflation) เดือน พ.ย. 67เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.89ต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.36ในเดือนตุลาคม เนื่องจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลง

ดุลการค้า เดือน พ.ย. 67 ขาดดุล -37.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยการนาเข้าพุ่งขึ้นร้อยละ 27ต่อปี แตะ 69.95พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ -5.3ต่อปี เหลือ 32.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบสองปี

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

มาเลเซีย

การส่งออก เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัวของการส่งออกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน ทั้งนี้การส่งออกในเดือนนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดน้าปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง เป็นสาคัญ

การนาเข้า เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัวของการนาเข้าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 แต่เป็นอัตราที่ต่าที่สุด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการนาเข้าสินค้าในกลุ่มสินค้าขั้นกลาง และกลุ่มสินค้าเพื่อการบริโภค เป็นสาคัญ

ดุลการค้า เดือน พ.ย. 67 เกินดุลที่ 15.3 พันล้านริงกิตมาเลเซีย เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 11.9 พันล้านริงกิตมาเลเซีย และสูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่เกินดุลที่ 9.1 พันล้านริงกิตมาเลเซีย

ในการประชุมเดือน ธ.ค. 67ธนาคารกลางของไต้หวันได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาดเพื่อรักษาเสถียรภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ

ไต้หวัน

ฝรั่งเศส

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้อยู่ในระดับต่าที่สุดในรอบ 3เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงในอัตราที่ชะลอลงของอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงาน เป็นสาคัญ

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI) flashflashเดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 41.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.1 จุด และต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่ระดับ 43.0จุด ทั้งนี้ดัชนีอยู่ในระดับต่ากว่า 50บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 22อันเนื่องจากระดับการผลิตลดลงต่าที่สุดในรอบ 4ปี 6เดือน

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (PMI) flashflashเดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 48.2 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.9 จุด และต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่ระดับ 46.7 จุด ทั้งนี้ดัชนีอยู่ในระดับต่ากว่า 50 บ่งชี้การหดตัวของภาคบริการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเป็นการหดตัวของดัชนีที่มากที่สุดนับตั้งแต่ ม.ค. 67 อันเนื่องจากบริษัทที่ทาธุรกิจเกี่ยวกับการบริการมียอดขายที่ลดลงจากอุปสงค์ที่อ่อนแอลง

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

อินโดนีเซีย

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.28จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.01 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 17.49จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน พ.ย. 67 เกินดุลที่ระดับ 4.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 2.48พันล่นดอลลาร์สหรัฐ

สหราชอาณาจักร

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคบริการ เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 51.4 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.8จุด ในเดือนก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและปริมาณงานค้างที่ลดลง

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (S&P Global/CIPS PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 47.3 จุด ลดลงจากระดับ 48.0จุด ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากยอดคาสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 67 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3โดยได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าในหมวดสันธนาการและวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้น

อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 67 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 67 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ต.ค. 67 เกินดุลที่ระดับ 5.15 พันล้านยูโร เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 2.58พันล้านยูโร

อิตาลี

เยอรมนี

ดัชนี PMIPMIภาคบริการ เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 51.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.3จุด และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ระดับ 49.3จุด โดยดัชนีอยู่สูงกว่าระดับ 50.0จุด บ่งชี้ทิศทางการขยายตัวของภาคบริการ

ดัชนี PMIPMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 42.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.0 จุด และอยู่ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ระดับ 43.1 จุด โดยดัชนีอยู่ต่ากว่าระดับ 50.0 จุด บ่งชี้ทิศทางการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkei 225 ญี่ปุ่น) PSEi ฟิลิปปินส์) และ Heng Seng ฮ่องกง) เป็นต้น เมื่อวันที่ 19ธ.ค. 67 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,377.35 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 16 19ธ.ค. 67 อยู่ที่48,280.50 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศ นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 16 -19ธ.ค. 67 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ -2,114.26 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน ถึง 20 ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง -11ถึง 6 bpsbpsเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 33ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 bpsbpsเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 ปี ซึ่งนักลงทุนสนใจ 3.693.69เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่1616-199ธ.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 6,230.79 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 199ธ.ค. 67 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ-65,610.82 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่19 ธ.ค.67เงินบาทปิดที่ 34.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -2.25 จากสัปดาห์ก่อนหน้าสอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตเปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวัน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ -1.20

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ