แนวทางดำเนินนโยบายภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0 มีแนวโน้มส่งผลกระทบ ต่อการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานโลก การค้าและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ รวมถึงประเทศไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 21, 2025 15:21 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 1/2568 วันที่ 21 มกราคม 2568
แนวทางดาเนินนโยบายภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0 มีแนวโน้มส่งผลกระทบ ต่อการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานโลก การค้าและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของสหรัฐ
รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งอาจชะลอตัวลงจากข้อกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ สานักงานเศรษฐกิจการคลังเชื่อมั่นว่านโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความพร้อมเพื่อส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจและเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยได้อย่างต่อเนื่อง
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่าในวันที่ 20 มกราคม 2568 เวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) (24.00 น. เวลาประเทศไทย) นายโดนัลด์ ทรัมป์ได้เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตาแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ ณ อาคารรัฐสภา และกล่าวสุนทรพจน์ประกาศการเริ่มต้น "ยุคทองของอเมริกา" (Golden Age of America) พร้อมเน้นแนวทาง "America First" ผ่านนโยบายสาคัญดังนี้
1. นโยบายต่างประเทศ: มุ่งเน้นการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของสหรัฐฯ และเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศ ผ่านภาษีศุลกากร (Tariff) โดยการเพิ่มภาษีนาเข้าสินค้าจากจีน และการปกป้องภาคการผลิต และภาคเกษตรกรรมในสหรัฐฯ โดยการเพิ่มภาษีนาเข้าจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขความไม่สมดุล ทางการค้า รวมถึงจะมีการเจรจาทบทวนข้อตกลงการค้าใหม่ เพื่อสร้างความได้เปรียบและความเป็นธรรม แก่แรงงานและอุตสาหกรรมในประเทศ พร้อมส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ย้ายฐานการผลิตกลับสู่สหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มการจ้างงานในประเทศ และลดการพึ่งพาการนาเข้าจากต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมสาคัญ
2. พลังงานและเศรษฐกิจ: การยกเลิกนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Green New Deal) และยกเลิกข้อบังคับยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งเสริม การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานและกระตุ้นการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมนามัน
3. การอพยพและความมั่นคงชายแดน: การประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติบริเวณชายแดนใต้ เพื่อหยุด การอพยพผิดกฎหมาย พร้อมระบุว่ากลุ่มค้ายาเสพติดเม็กซิกันจะถูกจัดเป็นองค์กรก่อการร้ายต่างชาติ
4. การปฏิรูปรัฐบาล: การยุติการควบคุมหรือการจากัดการเข้าถึงข้อมูลในการแสดงความคิดเห็นโดยหน่วยงานภาครัฐ (Government Censorship)
5. นโยบายสังคม: การรับรองเพศเพียงสองประเภทอย่างเป็นทางการ (ชายและหญิง) และการคืนสถานะ ให้แก่ทหารพร้อมทั งจ่ายค่าตอบแทนย้อนหลังเต็มจานวน กรณีที่ถูกปลดประจาการจากการคัดค้าน นโยบายบังคับฉีดวัคซีน COVID-19
ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลังกล่าวเพิ่มเติมว่า สานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้คาดการณ์ผลกระทบจากการดาเนินนโยบายภายใต้รัฐบาลทรัมป์ 2.0 ว่าอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานโลก การค้า และเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย สาหรับด้านการส่งออก นโยบายกีดกันทางการค้า และการเพิ่มภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังสหรัฐฯ ได้แก่
-2-
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และสินค้าเกษตร ขณะเดียวกัน การที่สหรัฐฯ เพิ่มภาษีสินค้าจากจีน อาจทาให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการสินค้าจากไทยลดลง และมีความเป็นไปได้สูงที่จีนอาจระบายสินค้าสู่ตลาดเอเชียรวมถึงไทย ทาให้สินค้าของไทยอาจเผชิญกับการแข่งขัน ที่รุนแรงขึ น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มยานยนต์ เคมีภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง และสิ่งทอ
ทั งนี แนวทางการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน สามารถทาได้โดย
1. มุ่งเน้นการกระจายตลาดส่งออกและแหล่งนาเข้า รวมทั งการขยายการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรป (EU) และสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) รวมทั งการปรับภาคการผลิตโดยมุ่งเน้นสินค้ามูลค่าสูงและซับซ้อน เช่น ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ชิ นส่วนสมาร์ทโฟน สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร พลังงานสะอาด เป็นต้น เพื่อเพิ่มอุปสงค์ในตลาดโลก พร้อมทั งมีแผนพัฒนาแรงงานและส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการผลิต ขณะเดียวกัน สถานการณ์ดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้ไทยขยายการส่งออกสินค้าทดแทน จากจีนสู่ตลาดสหรัฐฯ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ เหล็กและอะลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งไทย มีศักยภาพในการขยายส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ และตอบสนองความต้องการของตลาดที่กาลังปรับตัวจาก การเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานโลก
2. เร่งรัดการลงทุน นโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากสหรัฐฯ ในไทยไม่มาก โดยการลงทุนจากสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.3 ของเงินลงทุนต่างประเทศทั งหมด อย่างไรก็ตาม การเพิ่มกาแพงภาษีสินค้านาเข้าในสหรัฐฯ อาจกระตุ้นการย้ายฐานการผลิตจากประเทศต่าง ๆ มายังไทยมากขึ น โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ไทย ซึ่งเป็นโอกาสสาคัญในการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั นสูง เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า ศูนย์ข้อมูล (Data Center) เป็นต้น นอกจากนี การพัฒนาแรงงานเฉพาะด้านและโครงสร้างพื นฐาน เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ รถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ เป็นต้น รวมถึง การปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื อต่อการลงทุน เช่น การลดขั นตอนการอนุมัติและการสร้างสิทธิประโยชน์ทางภาษี สาหรับอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด จะช่วยเสริมสร้างความได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุนและเพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขันของประเทศ
3. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลกระทบจากนโยบายของสหรัฐฯ ค่อนข้างจากัด เนื่องจากนักท่องเที่ยว จากสหรัฐฯ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.9 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั งหมดในปี 2567 โดยนักท่องเที่ยวหลักที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมาจากจีน ญี่ปุ่น และยุโรป อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจกระตุ้นจานวนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ ให้เดินทางมายังไทยมากขึ น ในขณะเดียวกัน การพัฒนาสิ่งอานวยความสะดวก เช่น ระบบชาระเงินดิจิทัล การยกระดับโครงสร้างพื นฐาน เช่น สนามบินและระบบขนส่ง รวมถึงการบูรณาการการส่งเสริม การลงทุนในภาคการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื นฐานดิจิทัล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากตลาดสาคัญและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับทั งนักลงทุน และนักท่องเที่ยว ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลังกล่าวในที่สุดว่า นอกจากนโยบายรองรับความไม่แน่นอน ดังกล่าวแล้ว การดาเนินนโยบายการคลังปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเป็นการดาเนินนโยบายการคลังเชิงบูรณาการมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลยังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยดาเนินโครงการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งขณะนี้ สศค. อยู่ระหว่างเสนอร่างพระราชบัญญัติศูนย์กลาง ทางการเงิน พ.ศ. .... เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) ซึ่งจะดึงดูดสถาบันการเงินชั นนาและวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech Startup) มาประกอบธุรกิจในประเทศ โดยจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเพิ่มการจ้างงานที่มีคุณภาพและผลตอบแทนสูงในระยะยาว
-3-
ทั้งนี้ สศค. จะติดตามการดาเนินนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถเตรียม ความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดาเนินนโยบายดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจว่า การดาเนินนโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบันและการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรการ การคลัง จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปี 2568 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3272


          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ