มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย”

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 11, 2025 14:59 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 16/2568 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks ภายใต้โครงการ ?คุณสู้ เราช่วย?
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงิน ได้มีการดาเนินโครงการ ?คุณสู้ เราช่วย? สาหรับลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions: SFIs) ในการลดภาระค่างวดในการชาระหนี้และยกเว้นดอกเบี้ยซึ่งจะช่วยให้ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น และปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้นนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือครอบคลุมถึงลูกหนี้รายย่อยของผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ สถาบันการเงิน (Non-Banks) และสอดคล้องกับการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของธนาคารพาณิชย์ และ SFIs กระทรวงการคลังจึงได้ร่วมกับ ธปท.เสนอมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks ภายใต้โครงการ ?คุณสู้ เราช่วย? และจัดทาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกระบวนการเบิกจ่ายโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่า (Soft Loan) สาหรับผู้ประกอบธุรกิจ Non-Banks ของธนาคารออมสิน เพื่อเป็นการส่งผ่านความช่วยเหลือจากภาครัฐไปยังลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวการประชุม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการดังกล่าวตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในเบื้องต้นได้รับทราบว่ามี Non-Banks เข้าร่วมมาตรการได้แก่บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จากัด (มหาชน) และบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จากัด (มหาชน) โดยลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks ดังกล่าวจะได้รับการช่วยเหลือภายใต้โครงการ?คุณสู้ เราช่วย? ผ่าน 2 มาตรการ ดังนี้
1) มาตการ ?จ่ายตรง คงทรัพย์? หรือมาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ยโดยการเน้น ตัดต้นเงิน เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรถยนต์วงเงินไม่เกิน 800,000 บาท ลูกหนี้สินเชื่อรถจักรยานยนต์วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกากับที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 200,000 บาท สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 20,000 บาท และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 50,000 บาท โดยมาตรการนี้จะช่วยเหลือลูกหนี้ Non-Banks ผ่านการลดภาระผ่อนชาระ 3 ปี เหลือเพียงร้อยละ 70 และลดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 10 เช่น จากเดิมร้อยละ 25 ต่อปี เป็นร้อยละ 15 ต่อปี ตลอดระยะเวลา 3 ปี โดยดอกเบี้ยส่วนที่ลดให้ดังกล่าวจะพักชาระไว้ทั้งหมด และยกเว้นให้หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดระยะเวลาของมาตรการ
2) มาตรการ ?จ่าย ปิด จบ? หรือมาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นหนี้เสีย (Non-performing Loan: NPLs) ที่มียอดคงค้างหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท โดยจะช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน ให้ลูกหนี้ชาระหนี้เพียงบางส่วน เพื่อปิดหนี้ได้ทันที
นายพรชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการ Non-Banks ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ รายย่อยตามมาตรการที่กาหนด กระทรวงการคลังได้จัดทาโครงการ Soft Loan สาหรับผู้ประกอบธุรกิจ Non-Banks ของธนาคารออมสิน วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี และกาหนดให้วงเงินสินเชื่อ ของ Non-Banks ต่อรายสูงสุดไม่เกิน 5,000 ล้านบาท โดยวงเงินสินเชื่อแต่ละรายขึ้นอยู่กับปริมาณการสูญเสียรายได้ของ Non-Banks แต่ละแห่ง ที่เกิดจากการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ นอกจากนี้ รัฐบาลจะชดเชยต้นทุนเงินให้กับธนาคารออมสินในอัตราร้อยละ 2.00 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาท เพื่อส่งผ่าน ความช่วยเหลือจากภาครัฐไปยังลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks
2
นายพรชัยฯ ได้เน้นย้าว่า ?มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks ภายใต้โครงการ ?คุณสู้ เราช่วย? คาดว่ามีลูกหนี้ของ Non-Banks เข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือประมาณ 1.7 ล้านบัญชี ยอดคงค้างประมาณ 50,000 ล้านบาท ซึ่งการขยายความช่วยเหลือในครั้งนี้จะทาให้ลูกหนี้รายย่อยที่สามารถ เข้าร่วมโครงการ ?คุณสู้ เราช่วย? ครอบคลุมลูกหนี้ทุกกลุ่ม ทั้งลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ SFIs รวมถึงลูกหนี้ของ Non-Banks และโครงการ ?คุณสู้ เราช่วย? มุ่งเน้นให้เจ้าหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับศักยภาพ ของลูกหนี้ เน้นการตัดเงินต้นเพื่อให้ลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และเพิ่มโอกาสให้ลูกหนี้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบและแก้ปัญหา หนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม?
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์โครงการ ?คุณสู้ เราช่วย? (https://www.bot.or.th/khunsoo)


          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ