ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2568

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 28, 2025 15:33 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 33/2568 วันที่ 28 มีนาคม 2568
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค1
(Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI)
ประจาเดือนมีนาคม 2568
"ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือนมีนาคม 2568 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ ใน 6 เดือนข้างหน้าที่ยังมีทิศทางดีขึ้นในภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจ
ในภาคบริการและการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ควรติดตามเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ สถานการณ์สงครามการค้า และความแปรปรวนของสภาพอากาศเป็นสาคัญ"
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือนมีนาคม 2568 จากการประมวลผลข้อมูลการสารวจ ภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสานักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทาดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า ?ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจาเดือนมีนาคม 2568 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่ยังมีทิศทางดีขึ้นในภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจในภาคบริการและการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ควรติดตามเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ สถานการณ์สงครามการค้า และความแปรปรวนของสภาพอากาศเป็นสาคัญ" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 77.2 สะท้อนความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ มีคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น การส่งออกมีทิศทางขยายตัว และภาคการก่อสร้างที่คาดว่าจะได้รับอานิสงค์ จากเงินลงทุนภาครัฐที่ทยอยเบิกจ่ายในช่วงก่อนสิ้นปีงบประมาณ อีกทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากกาลังเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวของทะเลฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทย อีกทั้งหลายภาคส่วนยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง สาหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 75.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีแรงสนับสนุนจากภาคบริการและภาคเกษตร อาทิ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การสนับสนุนการท่องเที่ยว การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร และการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในปีนี้รัฐบาลประกาศให้เป็นปี Amazing Thailand Grand Tourism and Sports Year 2025 รวมถึงการเข้าสู่ฤดูกาลผลไม้ ประกอบกับอุปสงค์สินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในกลุ่มอาหารสด อาหารแห้ง อาหารแปรรูป และผลไม้ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)2 ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
1 หมายเหตุ
ก. ขอขอบคุณกรมบัญชีกลาง และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทาดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI)
ข. การอ่านค่าดัชนี RSI (ช่วง 0-100)
ดัชนี > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน?
ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ชะลอกว่าปัจจุบัน?
ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ทรงตัว?
2 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา
- 2 -
ที่ระดับ 76.7 ทางด้านดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 73.7 สะท้อนความเชื่อมั่นที่ดี โดยเฉพาะในภาคบริการและภาคเกษตร จากการดาเนินมาตรการส่งเสริมการบริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับสูง และภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 73.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดี โดยเฉพาะ ในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยคาดว่า ภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มกาลังการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้า ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่รัฐบาลดาเนินการอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในเกณฑ์ดีที่ระดับ 70.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ และภาคเกษตร ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวที่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ขณะเดียวกันการเข้าสู่ฤดูฝน จะช่วยให้มีปริมาณน้าที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายจากปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพอากาศและต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 69.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและนโยบายภาครัฐในการรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น และสาหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 68.3 โดยมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มของภาคเกษตรและภาคบริการ จากปัจจัยสนับสนุนด้านนโยบาย การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร การบริหารจัดการน้า การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ ควรต้องติดตามสถานการณ์ ด้านสภาพอากาศที่แปรปรวน การบริหารจัดการน้าเพื่อการเกษตร ระดับต้นทุนการผลิต รวมถึงการระบาดของโรคพืช และสัตว์เป็นสาคัญ
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจาเดือนมีนาคม 2568
กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
69.3
75.4
70.5
77.2
68.3
73.4
73.7
76.7
ดัชนีแนวโน้มรายภาค
1) ภาคเกษตร
63.6
76.4
72.3
74.9
74.0
68.0
76.5
76.1
2) ภาคอุตสาหกรรม
71.6
63.5
63.7
80.5
64.1
78.5
69.6
65.4
3) ภาคบริการ
75.3
88.3
75.1
78.0
70.0
77.7
76.6
90.6
4) ภาคการจ้างงาน
65.8
74.6
71.5
75.0
66.8
71.1
70.9
75.3
5) ภาคการลงทุน
70.1
74.1
69.8
77.9
66.6
71.9
75.0
76.3
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254


          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ