กระทรวงการคลังโดยนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้แถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทยโดย Fitch Ratingsเมื่อวันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2551 เวลาประมาณ 10.00 น. ตามเวลาประเทศไทย โดย Fitch ได้ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Long-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ BBB+ ระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Long - term Local Currency Rating) ที่ระดับ A และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้น (Short — term Rating) ที่ระดับ F2 พร้อมทั้งยืนยันระดับเครดิตของประเทศ (Country Ceiling) ที่ระดับ A- โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ดังนี้
1. ความแข็งแกร่งทางสถานะด้านการเงินต่างประเทศและการคลังของรัฐบาลที่ปรับตัวดีขึ้น นโยบายที่ชัดเจนและมีเสถียรภาพขึ้น การฟื้นตัวอย่างราบรื่นของระบอบประชาธิปไตยและการปฏิรูปทางการเงินที่ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Fitch ยังคงยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทย อย่างไรก็ดี แม้ว่าความแข็งแกร่งทางเครดิตของประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากความยุ่งเหยิงทางการเมืองที่ผ่านมา แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่อาจส่งผลต่อความอ่อนแอของศักยภาพทางเครดิตได้ นอกจากนี้ พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 3 พรรคยังคงอยู่ระหว่างรอคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจะสามารถแก้ปัญหาได้ก่อนการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
2. สถานะด้านต่างประเทศของไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2544 ที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากกว่าร้อยละ 5 ของ GDP (มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB รองจากสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งมีระดับเครดิต BBB+) ในปี 2550 แม้ว่าค่าเงินบาทยังคงแข็งค่า ในปี 2551 Fitch คาดว่า นโยบายที่เอื้อประโยชน์ของรัฐบาล (เช่น การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%) จะมีส่วนในการขับเคลื่อนเงินทุนไหลเข้าสุทธิซึ่งจะสามารถหักล้างกับการลดลงของดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลอันเนื่องจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ โดย Fitch คาดว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (รวมทองคำ) จะเท่ากับ 112 พันล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบเท่า 6.7 เดือนของการใช้จ่ายด้านต่างประเทศปัจจุบันและร้อยละ 37.9 ของเงินในความหมายกว้าง) ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ดีกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) นอกจากนี้ การลดลงของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดและหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลต่อ GDP
ส่งผลให้ Fitch คาดว่า สถานะการเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิ (จัดอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) ยังคงแข็งแกร่งในระยะปานกลาง
3. หนี้โดยตรงของรัฐบาลต่อ GDP ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 26.4 (ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) ณ 30 กันยายน 2550 จากร้อยละ 28.6 ในปีงบประมาณ 2549 ขณะที่งบประมาณของรัฐบาลกลางยังคงสมดุล Fitch คาดว่า หนี้รัฐบาลต่อ GDP จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล (เปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) อันเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและแผนการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค นอกจากนี้ Fitch ยังคงคาดว่า หนี้ของรัฐวิสาหกิจจะลดลงในระยะปานกลาง (คิดเป็นร้อยละ 10.7 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2550) แม้ว่าแหล่งเงินในการลงทุนของโครงการลงทุนสาธารณูปโภคจะมาจากรัฐวิสาหกิจเป็นหลักก็ตาม โดยภาระผูกพันของรัฐบาลยังคงอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพที่ประมาณร้อยละ 9 ของ GDP ในปี 2550
4. ความพยายามในการปฏิรูประบบการเงินได้มีขึ้นในปี 2550 ซึ่งจะเห็นได้จาก กฎหมายที่สำคัญหลายฉบับได้ประกาศใช้ ซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย และพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งจะมีการจัดทำหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินที่สอดคล้องกันมาประยุกต์ใช้กับสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคารทุกประเภท เพื่อให้ความคุ้มครองแก่สถาบันการเงิน โดยตัวชี้วัดระบบธนาคารของประเทศไทยซึ่งจัดอันดับโดย Fitch อยู่ที่ C (คุณภาพพอเพียงหรือระบบธนาคารมีความแข็งแกร่ง) ในเดือนเมษายน 2551 จากเดิมอยู่ที่ D นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ของไทยยังได้รับผลกระทบจากสินเชื่อที่ปล่อยให้แก่ลูกหนี้คุณภาพต่ำโดยมีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกันหรือการลงทุนในตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน (Collateralised Debt Obligations: CDOs) ไม่มากนัก ณ สิ้นปี 2550 โดยธนาคารพาณิชย์ที่ลงทุนใน CDOs คิดเป็นอัตราต่ำกว่าร้อยละ 6 ของความเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนทุนของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งยกเว้นธนาคารไทยธนาคาร
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
0-2265-8050 ต่อ 5214
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 44/2551 26 พฤษภาคม 51--
1. ความแข็งแกร่งทางสถานะด้านการเงินต่างประเทศและการคลังของรัฐบาลที่ปรับตัวดีขึ้น นโยบายที่ชัดเจนและมีเสถียรภาพขึ้น การฟื้นตัวอย่างราบรื่นของระบอบประชาธิปไตยและการปฏิรูปทางการเงินที่ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Fitch ยังคงยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทย อย่างไรก็ดี แม้ว่าความแข็งแกร่งทางเครดิตของประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากความยุ่งเหยิงทางการเมืองที่ผ่านมา แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่อาจส่งผลต่อความอ่อนแอของศักยภาพทางเครดิตได้ นอกจากนี้ พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 3 พรรคยังคงอยู่ระหว่างรอคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจะสามารถแก้ปัญหาได้ก่อนการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
2. สถานะด้านต่างประเทศของไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2544 ที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากกว่าร้อยละ 5 ของ GDP (มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB รองจากสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งมีระดับเครดิต BBB+) ในปี 2550 แม้ว่าค่าเงินบาทยังคงแข็งค่า ในปี 2551 Fitch คาดว่า นโยบายที่เอื้อประโยชน์ของรัฐบาล (เช่น การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%) จะมีส่วนในการขับเคลื่อนเงินทุนไหลเข้าสุทธิซึ่งจะสามารถหักล้างกับการลดลงของดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลอันเนื่องจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ โดย Fitch คาดว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (รวมทองคำ) จะเท่ากับ 112 พันล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบเท่า 6.7 เดือนของการใช้จ่ายด้านต่างประเทศปัจจุบันและร้อยละ 37.9 ของเงินในความหมายกว้าง) ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ดีกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) นอกจากนี้ การลดลงของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดและหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลต่อ GDP
ส่งผลให้ Fitch คาดว่า สถานะการเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิ (จัดอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) ยังคงแข็งแกร่งในระยะปานกลาง
3. หนี้โดยตรงของรัฐบาลต่อ GDP ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 26.4 (ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) ณ 30 กันยายน 2550 จากร้อยละ 28.6 ในปีงบประมาณ 2549 ขณะที่งบประมาณของรัฐบาลกลางยังคงสมดุล Fitch คาดว่า หนี้รัฐบาลต่อ GDP จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล (เปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) อันเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและแผนการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค นอกจากนี้ Fitch ยังคงคาดว่า หนี้ของรัฐวิสาหกิจจะลดลงในระยะปานกลาง (คิดเป็นร้อยละ 10.7 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2550) แม้ว่าแหล่งเงินในการลงทุนของโครงการลงทุนสาธารณูปโภคจะมาจากรัฐวิสาหกิจเป็นหลักก็ตาม โดยภาระผูกพันของรัฐบาลยังคงอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพที่ประมาณร้อยละ 9 ของ GDP ในปี 2550
4. ความพยายามในการปฏิรูประบบการเงินได้มีขึ้นในปี 2550 ซึ่งจะเห็นได้จาก กฎหมายที่สำคัญหลายฉบับได้ประกาศใช้ ซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย และพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งจะมีการจัดทำหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินที่สอดคล้องกันมาประยุกต์ใช้กับสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคารทุกประเภท เพื่อให้ความคุ้มครองแก่สถาบันการเงิน โดยตัวชี้วัดระบบธนาคารของประเทศไทยซึ่งจัดอันดับโดย Fitch อยู่ที่ C (คุณภาพพอเพียงหรือระบบธนาคารมีความแข็งแกร่ง) ในเดือนเมษายน 2551 จากเดิมอยู่ที่ D นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ของไทยยังได้รับผลกระทบจากสินเชื่อที่ปล่อยให้แก่ลูกหนี้คุณภาพต่ำโดยมีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกันหรือการลงทุนในตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน (Collateralised Debt Obligations: CDOs) ไม่มากนัก ณ สิ้นปี 2550 โดยธนาคารพาณิชย์ที่ลงทุนใน CDOs คิดเป็นอัตราต่ำกว่าร้อยละ 6 ของความเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนทุนของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งยกเว้นธนาคารไทยธนาคาร
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
0-2265-8050 ต่อ 5214
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 44/2551 26 พฤษภาคม 51--