นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย ครั้งที่ 2/2551 ในวันนี้ เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเค้าโครงของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย และมาตรการสำคัญเพื่อพัฒนาตลาดทุน โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. เค้าโครงของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และเค้าโครงมาตรการที่จะบรรจุในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ดังนี้
วิสัยทัศน์ ตลาดทุนไทยจะตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนและผู้ระดมทุน ได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และเสถียรภาพ ด้วยมาตรฐานสากล และเชื่อมโยงตลาดทุนทั่วโลก
โดยวิสัยทัศน์ข้างต้นมีรายละเอียดหลักใน 3 ด้าน คือ
(1) การให้บริการทางการเงินอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง (Financial services for all)
(2) การให้บริการทางการเงินด้วยประสิทธิภาพ และมาตรฐานสากล (World class financial services)
- Efficiency and low costs
- Variety and completeness of products
- Investor protection and education
(3) การเปิดกว้าง เชื่อมโยงกับตลาดทุนทั่วโลก (Openness and integration to global capital market) เป้าหมาย คณะกรรมการฯ ได้กำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับรายละเอียดของวิสัยทัศน์ ดังนี้
(1) มีระดับการเข้าถึงที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนและผู้ระดมทุนประเภทต่างๆ
(2) มีต้นทุนทางการเงินและต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงินที่ต่ำ และสามารถแข่งขันได้
(3) มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านกฎหมาย ระเบียบ บัญชี ภาษี เทคโนโลยี และการกำกับดูแล
(4) พัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของ Products เพื่อการลงทุน ระดมทุนและการบริหารความเสี่ยง และตอบสนองกับความต้องการ
(5) นักลงทุนได้รับการคุ้มครองและความรู้อย่างเหมาะสม
(6) เปิดเสรีการทำธุรกิจในตลาดทุน โดยมีการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของตลาดทุน
มาตรการ คณะกรรมการได้พิจารณาเค้าโครงมาตรการที่ควรจะบรรจุในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย และได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธาน ไปศึกษาในรายละเอียดก่อนที่จะเสนอคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งถัดไปซึ่งจะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม 2551
2. มาตรการสำคัญเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทย คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยได้เห็นชอบมาตรการสำคัญ 4 มาตรการ คือ มาตรการด้านตลาดตราสารหนี้ มาตรการด้านภาษี การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ และมาตรการด้านการควบรวมกิจการ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
มาตรการด้านตลาดตราสารหนี้ที่จะดำเนินการในทันที และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ประกอบด้วย
(1) มาตรการเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ โดยกระทรวงการคลังมีแผนจะออกพันธบัตรรัฐบาล รุ่นอายุ 30 ปีเป็นระยะ เพื่อสนองความต้องการของนักลงทุนระยะยาวและรองรับการระดมทุนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ รวมถึงจะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษเป็นครั้งคราวให้แก่นักลงทุนกลุ่มเป้าหมายให้สามารถลงทุนในตลาดตราสารหนี้ได้โดยตรงเพื่อขยายฐานนักลงทุน
(2) มาตรการในการสร้าง Benchmark bonds ให้ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงการคลังยืนยันว่าจะรักษาให้มี Benchmark bonds ที่มีสภาพคล่องสูงในตลาดรองตลอดไป โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี อย่างต่อเนื่อง ให้มีวงเงินคงค้างไม่ต่ำกว่ารุ่นละ 8 หมื่นล้านบาท และ 6 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ รวมถึงออกพันธบัตรระยะยาวรุ่นอายุ 15 ปี และ 20 ปี เพื่อสร้าง Reference rate ให้แก่ตลาด โดยให้มีวงเงินคงค้างไม่ต่ำกว่ารุ่นละ 3 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะทำ Bond Switching เพื่อเปลี่ยนพันธบัตรรุ่นที่ ขาดสภาพคล่องในตลาดรองมาเป็นรุ่น Benchmark Bond ที่มีสภาพคล่องสูงแทนในปีงบประมาณ 2552 ด้วย
(3) มาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ตลาด เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศผลประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกภายใน 30 นาทีหลังปิดประมูลในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติ รวมถึงจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลทั้ง Intra-day และ End of day กับประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยคาดว่า ThaiBMA จะส่งข้อมูลการซื้อขายระหว่างวันและเผยแพร่ในหน้าจอ Bloomberg ได้ภายในเดือนมิถุนายนศกนี้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศสามารถรับรู้ข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ของไทยได้รวดเร็ว และครบถ้วนยิ่งขึ้น และ ก.ล.ต. จะเปิดให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกิจตราสารหนี้ได้ครบวงจรทั้งจัดจำหน่าย ค้า และเป็นนายหน้า สำหรับตราสารหนี้และอนุพันธ์ของตราสารหนี้ เป็นต้น
มาตรการด้านภาษี มีเป้าหมายหลักเพื่อขจัดความไม่เสมอภาคของการให้สิทธิทางภาษีกับเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภท (non-level playing field of tax system) โดยสิ่งที่ต้องการเห็น คือ การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางภาษี การมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางอย่างที่เหมะสมและเอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุน และการจัดเก็บภาษีมีความเหมะสม เป็นธรรม และแข่งขันระหว่างประเทศได้
คณะกรรมการฯ ยังได้กำหนดมาตรการที่จะดำเนินการในระยะสั้น และมาตรการที่จะดำเนินการในระยะต่อไป โดยมีตัวอย่างมาตรการระยะสั้นที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ได้แก่ การออกมาตรการภาษีเพื่อรองรับพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน การปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital : VC) ที่ลงทุนใน SMEs และการออกมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้อขายตราสารหนี้ ในตลาดตราสารหนี้ (BEX) การปรับปรุงประมวลรัษฎากรเพื่อสนับสนุนการควบรวมกิจการ และการออกมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นของการจัดตั้ง กบช. โครงสร้าง กบช. รวมทั้งผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจัดตั้ง กบช. และเห็นควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งต่อไป โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาก่อนดำเนินการ
มาตรการด้านการควบรวมกิจการ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการควบรวมกิจการในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยอุปสรรคทางด้านภาษีและด้านกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปพิจารณาในรายละเอียดเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป
สำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0-2273-9020 ต่อ 3668 , 3303
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 46/2551 21 พฤษภาคม 51--
1. เค้าโครงของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และเค้าโครงมาตรการที่จะบรรจุในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ดังนี้
วิสัยทัศน์ ตลาดทุนไทยจะตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนและผู้ระดมทุน ได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และเสถียรภาพ ด้วยมาตรฐานสากล และเชื่อมโยงตลาดทุนทั่วโลก
โดยวิสัยทัศน์ข้างต้นมีรายละเอียดหลักใน 3 ด้าน คือ
(1) การให้บริการทางการเงินอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง (Financial services for all)
(2) การให้บริการทางการเงินด้วยประสิทธิภาพ และมาตรฐานสากล (World class financial services)
- Efficiency and low costs
- Variety and completeness of products
- Investor protection and education
(3) การเปิดกว้าง เชื่อมโยงกับตลาดทุนทั่วโลก (Openness and integration to global capital market) เป้าหมาย คณะกรรมการฯ ได้กำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับรายละเอียดของวิสัยทัศน์ ดังนี้
(1) มีระดับการเข้าถึงที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนและผู้ระดมทุนประเภทต่างๆ
(2) มีต้นทุนทางการเงินและต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงินที่ต่ำ และสามารถแข่งขันได้
(3) มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านกฎหมาย ระเบียบ บัญชี ภาษี เทคโนโลยี และการกำกับดูแล
(4) พัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของ Products เพื่อการลงทุน ระดมทุนและการบริหารความเสี่ยง และตอบสนองกับความต้องการ
(5) นักลงทุนได้รับการคุ้มครองและความรู้อย่างเหมาะสม
(6) เปิดเสรีการทำธุรกิจในตลาดทุน โดยมีการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของตลาดทุน
มาตรการ คณะกรรมการได้พิจารณาเค้าโครงมาตรการที่ควรจะบรรจุในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย และได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธาน ไปศึกษาในรายละเอียดก่อนที่จะเสนอคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งถัดไปซึ่งจะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม 2551
2. มาตรการสำคัญเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทย คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยได้เห็นชอบมาตรการสำคัญ 4 มาตรการ คือ มาตรการด้านตลาดตราสารหนี้ มาตรการด้านภาษี การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ และมาตรการด้านการควบรวมกิจการ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
มาตรการด้านตลาดตราสารหนี้ที่จะดำเนินการในทันที และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ประกอบด้วย
(1) มาตรการเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ โดยกระทรวงการคลังมีแผนจะออกพันธบัตรรัฐบาล รุ่นอายุ 30 ปีเป็นระยะ เพื่อสนองความต้องการของนักลงทุนระยะยาวและรองรับการระดมทุนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ รวมถึงจะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษเป็นครั้งคราวให้แก่นักลงทุนกลุ่มเป้าหมายให้สามารถลงทุนในตลาดตราสารหนี้ได้โดยตรงเพื่อขยายฐานนักลงทุน
(2) มาตรการในการสร้าง Benchmark bonds ให้ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงการคลังยืนยันว่าจะรักษาให้มี Benchmark bonds ที่มีสภาพคล่องสูงในตลาดรองตลอดไป โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี อย่างต่อเนื่อง ให้มีวงเงินคงค้างไม่ต่ำกว่ารุ่นละ 8 หมื่นล้านบาท และ 6 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ รวมถึงออกพันธบัตรระยะยาวรุ่นอายุ 15 ปี และ 20 ปี เพื่อสร้าง Reference rate ให้แก่ตลาด โดยให้มีวงเงินคงค้างไม่ต่ำกว่ารุ่นละ 3 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะทำ Bond Switching เพื่อเปลี่ยนพันธบัตรรุ่นที่ ขาดสภาพคล่องในตลาดรองมาเป็นรุ่น Benchmark Bond ที่มีสภาพคล่องสูงแทนในปีงบประมาณ 2552 ด้วย
(3) มาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ตลาด เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศผลประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกภายใน 30 นาทีหลังปิดประมูลในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติ รวมถึงจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลทั้ง Intra-day และ End of day กับประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยคาดว่า ThaiBMA จะส่งข้อมูลการซื้อขายระหว่างวันและเผยแพร่ในหน้าจอ Bloomberg ได้ภายในเดือนมิถุนายนศกนี้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศสามารถรับรู้ข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ของไทยได้รวดเร็ว และครบถ้วนยิ่งขึ้น และ ก.ล.ต. จะเปิดให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกิจตราสารหนี้ได้ครบวงจรทั้งจัดจำหน่าย ค้า และเป็นนายหน้า สำหรับตราสารหนี้และอนุพันธ์ของตราสารหนี้ เป็นต้น
มาตรการด้านภาษี มีเป้าหมายหลักเพื่อขจัดความไม่เสมอภาคของการให้สิทธิทางภาษีกับเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภท (non-level playing field of tax system) โดยสิ่งที่ต้องการเห็น คือ การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางภาษี การมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางอย่างที่เหมะสมและเอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุน และการจัดเก็บภาษีมีความเหมะสม เป็นธรรม และแข่งขันระหว่างประเทศได้
คณะกรรมการฯ ยังได้กำหนดมาตรการที่จะดำเนินการในระยะสั้น และมาตรการที่จะดำเนินการในระยะต่อไป โดยมีตัวอย่างมาตรการระยะสั้นที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ได้แก่ การออกมาตรการภาษีเพื่อรองรับพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน การปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital : VC) ที่ลงทุนใน SMEs และการออกมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้อขายตราสารหนี้ ในตลาดตราสารหนี้ (BEX) การปรับปรุงประมวลรัษฎากรเพื่อสนับสนุนการควบรวมกิจการ และการออกมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นของการจัดตั้ง กบช. โครงสร้าง กบช. รวมทั้งผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจัดตั้ง กบช. และเห็นควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งต่อไป โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาก่อนดำเนินการ
มาตรการด้านการควบรวมกิจการ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการควบรวมกิจการในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยอุปสรรคทางด้านภาษีและด้านกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปพิจารณาในรายละเอียดเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป
สำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0-2273-9020 ต่อ 3668 , 3303
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 46/2551 21 พฤษภาคม 51--