นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งจัดเก็บได้ 273,274 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 24,808 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — พฤษภาคม 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 1,033,845 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 31,487 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนพฤษภาคม 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 273,274 ล้านบาท สูงกว่าทุกเดือนที่ผ่านมา และสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 24,808 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.1)
สาเหตุสำคัญเนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนที่ครบกำหนดการยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลสิ้นรอบปีบัญชี 2550 ซึ่งปรากฏว่า การยื่นชำระภาษีดังกล่าวสูงกว่าที่ คาดไว้ ทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงกว่าประมาณการเป็นจำนวนถึง 25,598 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.5 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 23.4)
อย่างไรก็ดี มีภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีธุรกิจ เฉพาะ เป็นผลจากมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ และภาษีน้ำมันซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันลดลง รวมทั้งผู้บริโภคหันไปใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้น
2. ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — พฤษภาคม 2551)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,033,845 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 31,487ล้านบาท หรือร้อยละ 3.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.8) ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรและกรมศุลกากรที่สูงกว่าประมาณการเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้า
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 820,631 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 44,083 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.6)
ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 40,361 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.4 สาเหตุสำคัญเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากกำไรสุทธิรอบสิ้นปีบัญชี 2550 สูงกว่าเป้าหมายในอัตราที่สูง นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 10,858 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3.4 เป็นผลจากการนำเข้าและการบริโภคที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่า เป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายทางด้านภาษีของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ประกอบกับการลดลงของอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงิน
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 194,980 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,791 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.0 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5,298 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.8) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษี เมื่อปลายปีงบประมาณที่แล้ว ตลอดจนการรณรงค์ในการเลิกสูบบุหรี่โดยการขยายเขตการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะส่งผลให้การบริโภคขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งภาษีเบียร์ก็จัดเก็บได้ต่ำกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีสุรา และภาษีน้ำมันยังจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 64,984 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,494 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.7) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 5,990 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.4 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — เมษายน 2551) มูลค่านำเข้าในรูปดอลล่าร์ สรอ. และเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 29.0 และ 18.2 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 69,163 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 14,556 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.1) สาเหตุสำคัญมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการประมาณ 5,000 ล้านบาท และบริษัท ทีโอทีฯ กับบริษัท กสท โทรคมนาคมฯ ยังไม่นำส่งรายได้ตามปกติและรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการการสื่อสาร (ชดเชยภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมที่ถูกยกเลิก) ประมาณ 4,500 และ 2,900 ล้านบาท ตามลำดับ
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 52,501 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,590 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.1)
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ที่สูงกว่าประมาณการร้อยละ 3.1 แต่จากการคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในในช่วง 4 เดือนหลังคาดว่าอาจจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเหมือนในช่วงแรก เนื่องจากจะมีผลกระทบจากมาตรการภาษีที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจ เฉพาะ รวมทั้งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่ต่ำกว่าเป้าหมาย แต่อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังคาดว่า จะสามารถจัดเก็บรายได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ (1.495 ล้านล้านบาท)
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 48/2551 9 มิถุนายน 51--
1. เดือนพฤษภาคม 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 273,274 ล้านบาท สูงกว่าทุกเดือนที่ผ่านมา และสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 24,808 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.1)
สาเหตุสำคัญเนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนที่ครบกำหนดการยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลสิ้นรอบปีบัญชี 2550 ซึ่งปรากฏว่า การยื่นชำระภาษีดังกล่าวสูงกว่าที่ คาดไว้ ทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงกว่าประมาณการเป็นจำนวนถึง 25,598 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.5 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 23.4)
อย่างไรก็ดี มีภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีธุรกิจ เฉพาะ เป็นผลจากมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ และภาษีน้ำมันซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันลดลง รวมทั้งผู้บริโภคหันไปใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้น
2. ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — พฤษภาคม 2551)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,033,845 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 31,487ล้านบาท หรือร้อยละ 3.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.8) ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรและกรมศุลกากรที่สูงกว่าประมาณการเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้า
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 820,631 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 44,083 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.6)
ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 40,361 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.4 สาเหตุสำคัญเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากกำไรสุทธิรอบสิ้นปีบัญชี 2550 สูงกว่าเป้าหมายในอัตราที่สูง นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 10,858 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3.4 เป็นผลจากการนำเข้าและการบริโภคที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่า เป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายทางด้านภาษีของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ประกอบกับการลดลงของอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงิน
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 194,980 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,791 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.0 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5,298 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.8) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษี เมื่อปลายปีงบประมาณที่แล้ว ตลอดจนการรณรงค์ในการเลิกสูบบุหรี่โดยการขยายเขตการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะส่งผลให้การบริโภคขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งภาษีเบียร์ก็จัดเก็บได้ต่ำกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีสุรา และภาษีน้ำมันยังจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 64,984 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,494 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.7) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 5,990 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.4 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — เมษายน 2551) มูลค่านำเข้าในรูปดอลล่าร์ สรอ. และเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 29.0 และ 18.2 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 69,163 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 14,556 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.1) สาเหตุสำคัญมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการประมาณ 5,000 ล้านบาท และบริษัท ทีโอทีฯ กับบริษัท กสท โทรคมนาคมฯ ยังไม่นำส่งรายได้ตามปกติและรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการการสื่อสาร (ชดเชยภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมที่ถูกยกเลิก) ประมาณ 4,500 และ 2,900 ล้านบาท ตามลำดับ
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 52,501 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,590 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.1)
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ที่สูงกว่าประมาณการร้อยละ 3.1 แต่จากการคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในในช่วง 4 เดือนหลังคาดว่าอาจจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเหมือนในช่วงแรก เนื่องจากจะมีผลกระทบจากมาตรการภาษีที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจ เฉพาะ รวมทั้งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่ต่ำกว่าเป้าหมาย แต่อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังคาดว่า จะสามารถจัดเก็บรายได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ (1.495 ล้านล้านบาท)
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 48/2551 9 มิถุนายน 51--