รายงานการเคลื่อนย้ายเงินทุนไตรมาสที่ 1 ปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 29, 2008 16:39 —กระทรวงการคลัง

          ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ดุลบัญชีเงินทุนเกินดุล 323 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดุลบัญชีเดิน 6,184 ล้านดอลลาร์สหรับ ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเกินดุล 6,318 ล้านดอลลาร์  สำหรับสาเหตุสำคัญของการเกินดุลบัญชีเงินทุนเกิดจากการลงทุนโดยตรงสุทธิขายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 53.0 จากช่วงเวลาเดียวกัน
คาดว่าไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ดุลบัญชีเงินทุนเกินดุล 3,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุดในรอบ 2 ปี โดยมีสาเหตุสำคัญจาก 1) การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐและการยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น ทำให้ชาวต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในประเทศและให้กู้ยืมสูงขึ้น ตลอดจนชาวไทย โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์นำเงินตราต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศในระดับสูง และ 2)การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิยังมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2550 ทั้งนี้การออกมาตรการสนับสนุนการส่งออกเงินทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกระทรวงการคลังส่งผลให้เงินทุนของนักลงทุนไทยไหลออกในระดับสูงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ช่วยลดแรงกดดันจากการไหลเข้าในระดับสูงของเงินลงทุนและการแข็งค่าของเงินบาท
1. สถานการณ์ดุลบัญชีเงินทุนไตรมาส 4 ปี 2550
ดุลบัญชีเงินทุน เกินดุล 323 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6,184 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเกินดุล 6,318 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสาเหตุสำคัญของการเกินดุลบัญชีเงินทุนเกิดจากการลงทุนโดยตรงสุทธิขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 53.0 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
1.1 สถานการณ์การลงทุนโดยตรงไตรมาส 4 ปี 2550
การลงทุนโดยตรงสุทธิในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 1,861 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 53.0 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศมีมูลค่า 853 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 133.1 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.4 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีมูลค่า 2,714 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 71.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มนักลงทุนสำคัญที่มีการลงทุนในประเทศคือนักลงทุนจากญี่ปุ่น ยูโรและสิงคโปร์ โดยมีสัดส่วนต่อการลงทุนโดยตรง (ปี 2550) ร้อยละ 33.0, 22.7 และ 12.5 ตามลำดับ
1.2 สถานการณ์การลงทุนในหลักทรัพย์ไตรมาส 4 ปี 2550
การลงทุนในหลักทรัพย์สุทธิไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า -2,992 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า -95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศมีมูลค่า 4,116 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 973.0 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 366.2 ของการลงทุนในหลักทรัพย์จากต่างประเทศ สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์จากต่างประเทศมีมูลค่า 1,124 ดอลลาร์สหรับ ขยายตัวร้อยละ 241.6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มนักลงทุนสำคัญที่มีการลงทุนในประเทศคือนักลงทุนจากฮ่องกง สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา โดยมีสัดส่วนต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ (ปี 2550) ร้อยละ 53.3, 33.7 และ 12.4 ตามลำดับ
การลงทุนในตราสารทุนจากต่างประเทศมีมูลค่า 222 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ -11.9 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สาเหตุที่การลงทุนในตราสารทุนลดลงเกิดจากความวิตกต่อปัญหา subprime และสัญญาชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่ทำให้เกิการขายหุ้นทั่วโลกรวมถึงภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้จากต่างประเทศมีมูลค่า 902 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1,186.8 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
จากข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่า -40,288 ล้านบาท สาเหตุที่มีการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเกิดจากความวิตกต่อภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐที่ทำให้เกิดการขายหุ้นทั่วโลกรวมถึงภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย โดยการซื้อสะสมของชาวต่างชาติตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2540 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 295,358 ล้านบาท
1.3 สถานการณ์การลงทุนอื่นๆ ไตรมาส 4 ปี 2550
การลงทุนอื่นๆ สุทธิไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 1,454 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นในระดับสูงจาก -1,813 ล้านดอลลาร์สหรัฐของช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
การลงทุนอื่นๆ ของชาวต่างประเทศมีมูลค่า -709 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการลงทุนอื่นๆ ของชาวไทยในต่างประเทศมีมูลค่า 2,163 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสะท้อนถึงการนำเงินกลับเข้าประเทศของชาวไทยโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 305.0 ของการลงทุนของชาวต่างชาติ
2. แนวโน้มการเคลื่อนย้ายเงินทุนไตรมาสที่ 1 ปี 2551
คาดว่าไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ดุลบัญชีเงินทุนเกินดุล 3,350 ล้านดอลลาร์สหหรัฐสูงที่สุดในรอบ 2 ปี โดยมีสาเหตุสำคัญมาจาก 1)การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐและการยกเลิกมาตราการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น ทำให้ชาวต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในตราสารทางการเงินและให้กู้ยืมสูงขึ้น ตลอดจนชาวไทยโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ นำเงินตราต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศ ในระดับสูง และ 2) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิยังมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2550 ทัง้นี้การออกมาตรการสนับสนุนการส่งออกเงินทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกระทรวงการคลังส่งผลให้เงินทุนของนักลงทุนไทยไหลออกในระดับสูงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ช่วยลดแรงกดดันจากการไหลเข้าในระดับสูงของเงินทุนและการแข็งค่าของเงินบาท
คาดว่าการลงทุนโดยตรงสุทธิไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 3,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 9.9 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นไปตามข้อมูลการออกใบอนุญาตการส่งเสริมการลงทุนสำหรับชาวต่างชาติในระดับสูงตลอดปี 2550
คาดว่าการลงทุนในตราสารทุนของชาวต่างชาติในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อมูลการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ แนวโน้มการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐและการยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น ทำให้ชาวต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนสูงขึ้น นอกจากนี้คาดว่า การลงทุนในตราสารทุนของนักลงทุนไทยในต่างประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ