** บทสรุปผู้บริหาร **
ด้านรายได้
- เดือนเมษายน 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,092 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 909 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 48.4) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้า สูงกว่าประมาณการเป็นสำคัญนอกจากนี้ เดือนเดียวกันปีที่แล้วมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. 19,422 ล้านบาท
- 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — เมษายน 2551 ) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 762,490 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,595 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.3 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรมศุลกากรสูงกว่าประมาณการเป็นสำคัญ
ด้านรายจ่าย
- เดือนเมษายน 2551 รัฐบาลได้เบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 154,636 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2551 จำนวน 150,029 ล้านบาท (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.9) ซึ่งแยกเป็นงบประจำ 104,918 ล้านบาท และงบลงทุน 45,111 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 4,607 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — เมษายน 2551) รัฐบาลได้เบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 950,117 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 877,007 ล้านบาท (คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 52.8 ของวงเงินงบประมาณ) ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.1 นอกจากนี้ มีการเบิกจ่ายของงบประมาณปีก่อน 73,110 ล้านบาท
- หน่วยงานที่เบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ สภากาชาดไทย และกระทรวงแรงงาน ในขณะที่หน่วยงานที่เบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน และกระทรวงวัฒนธรรม
ดุลการคลังตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (ระบบ สศค.)
- ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 —เมษายน 2551) รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 791,192 ล้านบาท และมีรายจ่ายทั้งสิ้น 972,000 ล้านบาทส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 180,809 ล้านบาท แต่ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุล 11,403ล้านบาท โดยเมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้ว ทำให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 169,771
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP
- ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 —เมษายน 2551) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 762,781 ล้านบาท และมีรายจ่ายปีปัจจุบันและปีก่อนรวม 950,117 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 187,336 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 8,521 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 195,857 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 2.1 ของ GDP
สถานะหนี้สาธารณะ
- หนี้สาธารณะคงค้างของรัฐบาล ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 มีจำนวน 3,375.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.9 ของ GDP โดยร้อยละ 88.0 ของหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ในประเทศ และส่วนที่เหลือร้อยละ 12.0 เป็นหนี้ต่างประเทศ
- หนี้ระยะยาวมีจำนวน 3,176.4 พันล้านบาท ส่วนหนี้ระยะสั้นมีจำนวน 198.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.1 และ 5.9 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ
กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (50 — 15 - 25)
- กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลังไว้ ดังนี้ สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50 ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 จัดทำงบประมาณสมดุล และสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 25
- กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ปีงบประมาณ 2551 ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 36.94 สัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณเท่ากับร้อยละ 10.47 และสัดส่วนงบลงทุนอยู่ที่ระดับร้อยละ 24.4
- กรอบความยั่งยืนในระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2551 — 2555)
สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP จะเพิ่มสูงขึ้นในปีงบประมาณ 2552 จากนั้นจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องระหว่างปีงบประมาณ 2553 — 2555
สัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณ มีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นไป
สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณ ในปี 2551 จะยังต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลัง เนื่องจากยังมีความจำเป็นในการใช้จ่ายด้านสังคม แต่อย่างไรก็ดี ยังคงมีงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเข้ามาสนับสนุนเพิ่มเติม แต่คาดว่าตั้งแต่ปี 2553 จะสามารถรักษาสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 เพื่อการพัฒนาและการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
ความคืบหน้ามาตรการสำคัญของรัฐบาล
- มาตรการเดิม
- โครงการธนาคารประชาชน
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551 สมาชิกได้ยื่นกู้รวมทั้งสิ้น 14,342,470 ราย โดยได้รับสินเชื่อแล้ว 1,559,096 ราย เป็นเงิน 38,411.9 ล้านบาท โดยในเดือนนี้มีสมาชิกขอกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วถึง 673,567 ราย แต่มีสมาชิกที่ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพียง 9,777 ราย เท่านั้น
หนี้ค้างชำระเกิน 6 เดือน มีจำนวน 77,560 ราย เป็นเงิน 1,241.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.21 ของสินเชื่อ โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 1,334 ราย จำนวน 21 ล้านบาท
- กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551 ได้มีการจัดสรรและโอนเงินให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวม 78,013 กองทุน และได้จัดสรรเงินให้สมาชิก จำนวน 418,635 ล้านบาท โดยสมาชิกได้ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแล้ว 289,307 ล้านบาท (เงินต้น 268,301 ล้านบาท และดอกเบี้ย 21,006 ล้านบาท)
- โครงการบ้านเอื้ออาทร
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551 มีบ้านเอื้ออาทรที่ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว จำนวน 123,630 หน่วย โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 139,835 หน่วย โดยสำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้แล้วจำนวน 29,670.2 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนแล้วจำนวน 27,431.0 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 92.45 ของงบประมาณที่ได้รับอุดหนุน
- โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คพพ.)
รัฐบาลได้โอนเงินโครงการฯ ให้กับหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 จำนวน 5,881 หมู่บ้าน จำนวน 7,006 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,385.3 ล้านบาท
การกระจายอำนาจการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
- ความคืบหน้าการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับปีงบประมาณ 2552
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ซึ่งประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของ ประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต เป็นต้น
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 เป็นงบประมาณขาดดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1,835,000 ล้านบาท ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ 1,585,500 ล้านบาท และขาดดุลงบประมาณ 249,500 ล้านบาท
การจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท. ได้พิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ได้แก่ กำหนดเป้าหมายสัดส่วนรายได้ของ อปท. ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลเท่ากับร้อยละ 25.25 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.05 และประมาณการรายได้รวมของ อปท. จำนวน 400,338.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.26 เป็นต้น โดยจะยึดหลักการจัดสรรเงินอุดหนุนใน 2 รูปแบบ (เงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ) และแบ่ง อปท.ออกเป็น 3 กรม ได้แก่ กทม. เมืองพัทยา และ อบจ.เทศบาลและ อบต.
** สถานการณ์ด้านร้ายได้ **
เดือนเมษายน 2551
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,092 ล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 909 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7
เดือนเมษายน 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,092 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 909 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้า ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 2,849 2,277 และ 1,060ล้านบาท หรือร้อยละ 16.8 5.4 และ 15.7 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลประกอบการของธุรกิจตลอดจนการบริโภคและการลงทุนยังมีทิศทางที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นผลจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ
ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,491 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.2 เป็นผลจากมาตรการทางภาษีที่ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมของสถาบันการเงิน และการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นอกจากนี้ การนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจยังต่ำกว่าเป้าหมาย 5,541 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.0เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง นำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง 41,437 ล้านบาทหรือร้อยละ 48.4 เนื่องจากปีที่แล้วมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.งวดที่ 1 และ 2 จำนวน 19,422 ล้านบาท ขณะที่ปีนี้ได้จัดสรรไปแล้วทั้งสองงวดเป็นจำนวน 21,248 ล้านบาท เมื่อเดือนมกราคมและมีนาคม 2551 ที่ผ่านมา
7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 - เมษายน 2551)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 762,490 ล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,595 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.3) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรและกรมศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นสาเหตุหลัก
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ดังนี้
- กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 567,082 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 17,294 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.7) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 14,782 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นและบริษัทต่างๆเริ่มมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,826 ล้านบาท หรือร้อยละ3.6 เป็นผลจากการนำเข้าและการบริโภคที่ขยายตัว
อย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
- ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นผลจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ย และการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงิน ตลอดจนการปรับลดอัตราภาษีในส่วนของอสังหาริมทรัพย์
- กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 172,487 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยต่ำกว่าเพียง 160 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.6 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6,172 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7) เนื่องจากภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษีเมื่อปลายปีงบประมาณที่แล้ว ตลอดจนการรณรงค์ในการเลิกสูบบุหรี่ทำให้การบริโภคขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้
ส่วนภาษีน้ำมัน และภาษีสุราจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 1,171 และ 781 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 และ 3.6 ตามลำดับ
- กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 57,173 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5,533 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 10.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.1) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 5,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — มีนาคมปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551) มูลค่านำเข้าในรูปดอลล่าร์ สรอ. และเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ
26.4 และ 16.4 ตามลำดับ
- รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 65,966 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 14,044 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.6 (แต่สูงกว่า
ช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 28.6) เป็นผลจากบริษัททีโอทีฯ และบริษัท กสท โทรคมนาคมฯยังไม่นำส่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการ
การสื่อสาร (ชดเชยภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม) นอกจากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง ยังนำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย
- หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 42,001 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,342 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 5.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.9)
การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2551
แม้ว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 จะสูงกว่าประมาณการ 8,595 ล้านบาท แต่ผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรในช่วง 5 เดือนหลังของปีงบประมาณ 2551 ตลอดจนการนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจที่มีแนวโน้มจะต่ำกว่าเป้าหมาย กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีนี้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (1.495 ล้านล้านบาท) เพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1.0 ซึ่งไม่กระทบต่อฐานะการคลังของรัฐบาลแต่อย่างใด
** สถานการณ์ด้านรายจ่าย **
ปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1,660,000 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2550 (1,566,200 ล้านบาท) ร้อยละ 6.0 โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,209,546.8 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน รายจ่ายลงทุน 404,677.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 45,775.9 ล้านบาท ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 60 ก เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550
คณะรัฐมนตรีมีมติลงวันที่ 18 กันยายน 2550 เห็นชอบการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ที่อัตราร้อยละ 94.0 และกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 74.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละส่วนราชการ
เดือนเมษายน 2551
- รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินจากงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวน 150,029 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 38,813 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.9 และมีการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 4,607 ล้านบาททำให้มียอดรวมการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 154,636 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวน 150,029 ล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายงบประจำ จำนวน 104,918 ล้านบาท และงบลงทุนจำนวน 45,111 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีมีจำนวน 4,607 ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — เมษายน 2551)
ปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินแล้วจำนวน 877,007 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 101,709 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.1 ทั้งนี้ มีการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 73,110 ล้านบาท ทำให้มียอดรวมการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 950,117 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวน 877,007 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 52.8 ของวงเงินงบประมาณ 1,660,000 ล้านบาท ประกอบด้วย การเบิกจ่ายงบประจำ จำนวน 700,401 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.8 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ (1,327,087 ล้านบาท) งบลงทุน จำนวน 176,606 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.0 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน
(332,913 ล้านบาท)
- การเบิกจ่ายงบกลาง มีจำนวน 120,932 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 49.8 ของงบประมาณงบกลาง(242,775 ล้านบาท)
- การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี มีจำนวน 73,110 ล้านบาท
- สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรายกระทรวงนั้นกระทรวงที่มีการเบิกจ่ายสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีการเบิกจ่ายจำนวน 16,885 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 87.1 สภากาชาดไทย 1,543 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 80.8 และกระทรวงแรงงาน 18,520 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70.7
- ในขณะที่กระทรวงที่มีการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับสุดท้าย คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการเบิกจ่าย 967 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.9 กระทรวงพลังงาน 665 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 26.9 และกระทรวงวัฒนธรรมมีการเบิกจ่าย จำนวน 1,552 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.5
การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ
ผลการเบิกจ่าย
- เดือนเมษายน 2551 คาดว่ามีการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ ประมาณ 103.3 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 34.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 51.0
- 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ต.ค. 2550 - เม.ย. 2551) มีการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ
365.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลง 361.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.7
การเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณตามระบบ สศค.
- เดือนเมษายน 2551
การเบิกจ่ายเงินของกองทุนนอกงบประมาณสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.4 เนื่องจากงบดำเนินการ และการให้กู้ยืมสุทธิเพิ่มขึ้น
- ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 - เมษายน 2551)
การเบิกจ่ายเงินของกองทุนฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.3 เนื่องจากการเบิกจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นมาก
1. เดือนเมษายน 2551 มีการเบิกจ่ายรวม 5,976.1 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 307.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.4 ประกอบด้วยรายจ่ายดำเนินงาน 4,521.7 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 281.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.6 และรายจ่ายเงินให้กู้ยืมสุทธิ 1,454.4 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 26.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 มีการเบิกจ่ายรวม 115,559.4 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12,615.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.3 ประกอบด้วย
(1) รายจ่ายดำเนินงาน 95,492.6 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 5,560.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.2 โดยมีสาเหตุหลักจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายค้างชำระการชดเชยก๊าซ LPG ที่ผ่านมา
(2) สำหรับรายจ่ายเงินให้กู้ยืมสุทธิ 20,066.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 7,055.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.2 โดยเป็นผลจากการให้กู้ยืมกับนักเรียนและนักศึกษาของกองทุนฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 39.3
สรุปการเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณตามระบบ สศค. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551
(ตุลาคม 2550 - เมษายน 2551)
หน่วย : ล้านบาท
รายการ เมษายน 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ
2551* 2550 อัตราเพิ่ม 2551** 2550 อัตราเพิ่ม
การเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณ 5,976.1 5,668.9 5.4 115,559.4 102,943.9 12.3
1. รายจ่ายดำเนินงาน 4,521.7 4,240.7 6.6 95,492.6 89,932.2 6.2
2. รายจ่ายเงินให้กู้ยืมสุทธิ 1,454.4 1,428.2 1.8 20,066.8 13,011.7 54.2
ที่มา : กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร กองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือ เกษตรกร
กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ซึ่งประกอบด้วย
กองทุนเงินกู้ยืมการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต กองทุนเงินให้เปล่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ) กองทุนพัฒนาชนบท
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
หมายเหตุ : * ตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
** เดือนตุลาคม 50 - กุมภาพันธ์ 2551 เป็นตัวเลขจริง มีนาคม - เมษายน 2551 เป็นตัวเลขคาดการณ์
** ฐานะการคลัง **
ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค.1 7 เดือนแรก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 791,192 ล้านบาท และมีรายจ่ายทั้งสิ้น 972,000 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 8.6 และ 10.5 ของ GDP ตามลำดับ
ด้านรายได้ รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 791,192 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.6 โดยประกอบด้วยรายได้ในงบประมาณ (ก่อนจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.) 790,207 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือจาก ตปท. 985 ล้านบาท
ด้านรายจ่าย รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 972,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.7 ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อน (ไม่รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้) 971,015 ล้านบาท รายจ่ายเงินช่วยเหลือจาก ตปท. 985 ล้านบาท
ดุลเงินงบประมาณในช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 180,809 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ของ GDP
ดุลเงินงบประมาณ ในช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 180,809 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ของ GDP ในขณะเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 124,791 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ของ GDP
ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณในช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 เกินดุล 11,403 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP
บัญชีนอกงบประมาณ ประกอบด้วยเงินฝากนอกงบประมาณ และกองทุนนอกงบประมาณ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 199,347 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 4.5 และรายจ่ายรวมเงินให้กู้หักชำระคืนสุทธิ จำนวน 187,945 ล้านบาท ทำให้ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุลทั้งสิ้น 11,403 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP
ดุลการคลังของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 169,771 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP
ดุลงบประมาณขาดดุล ในขณะที่ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุล เมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้ว ทำให้ดุลการคลังของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 ขาดดุล 169,771 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วซึ่งขาดดุล 101,048 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของ GDP)
ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด3 ในช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ในช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล 195,857 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.1 ของ GDP
ในช่วง 7 เดือนแรกรัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 762,781 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนรวม 950,117 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 187,336 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 8,521 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 195,857 ล้านบาท ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 217,349 ล้านบาท
** สถานการณ์ด้านหนี้สาธารณะ **
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551
- หนี้สาธารณะคงค้าง เท่ากับ 3,375.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.9 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว จำนวน 33.3 พันล้านบาทโดยเป็นหนี้คงค้างที่เป็นภาระงบประมาณต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 23.2 และแยกเป็นหนี้ในประเทศร้อยละ 88.0 ส่วนที่เหลือร้อยละ 12.0
เป็นหนี้ต่างประเทศ
- หนี้คงค้างที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากหนี้ที่รัฐบาลกู้ตรงและหนี้ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 32.6 และ 1.7 พันล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่
หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 1.1 พันล้านบาท
- หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 32.6 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยหนี้ในประเทศเพิ่มขึ้น 35.9 พันล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์และตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 11.2 พันล้านบาทและออกตั๋วเงินคลังสุทธิ 24 พันล้านบาท ในขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลง 3.2 พันล้านบาท
หน่วย : ล้านบาท
ณ 29 ก.พ.51 ณ 31 มี.ค.51
1. รวมหนี้ที่รัฐบาลกู้ตรง 2,107,861.98 2,140,502.53
หนี้ที่รัฐบาลกู้ตรง-ต่างประเทศ 93,081.87 89,838.06
หนี้ที่รัฐบาลกู้ตรง-ในประเทศ 2,014,780.11 2,050,664.47
2. รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจ 1,045,437.44 1,047,122.33
หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน-ต่างประเทศ 180,651.06 184,042.28
หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน-ในประเทศ 471,270.83 470,824.28
หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน-ต่างประเทศ** 131,017.85 131,864.34
หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน-ในประเทศ** 262,497.70 260,391.43
3. หนี้ของหน่วยงานภาครัฐอื่น * 20,969.43 20,969.43
หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน-ในประเทศ 12,169.43 12,169.43
หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน-ในประเทศ 8,800.00 8,800.00
4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ FIDF 167,427.37 166,371.79
5. ยอดหนี้สาธารณะคงค้างรวม (1+2+3+4) 3,341,696.22 3,374,966.08
GDP 9,158,300 9,158,300
หนี้สาธารณะคงค้างรวมต่อ GDP (%) 36.49 36.85
หนี้คงค้างที่เป็นภาระงบประมาณต่อ GDP (%) 24.52 23.21
หมายเหตุ * หน่วยงานภาครัฐอื่น ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติและสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
** ไม่รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่มา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะ ณ 31 มีนาคม 2551
หน่วย : พันล้านบาท
หนี้ในประเทศ หนี้ต่างประเทศ
จำนวน 2,969.20 405.70
ร้อยละ (%) 87.98 12.02
หนี้สาธารณะ ณ 31 มีนาคม 2551
หนี้ระยะยาว หนี้ระยะสั้น
จำนวน 3,176.40 198.60
ร้อยละ (%) 94.12 5.88
- หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 1.1 พันล้านบาท เนื่องจากมีการซื้อคืนพันธบัตรกองทุนฯ
- หนี้ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 1.7 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีการชำระคืนเงินกู้น้อยกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ โดย
รัฐวิสาหกิจที่มีการชำระคืนเงินกู้สุทธิสูงสุด ได้แก่ ธอส.จำนวน 4.0 พันล้านบาท และธสน. จำนวน 3.4 พันล้านบาทในขณะที่การเคหะแห่งชาติและขสมก. เบิกจ่ายเงินกู้สุทธิ 14.8 และ 2.9 พันล้านบาท ตามลำดับ
** กรอบความยั่งยืนทางการคลัง **
กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการคลังที่สอดคล้อง
กับสถานะเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้ (50-15-0-25)
- ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50
- ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
- การจัดทำงบประมาณสมดุล
- สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25
สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้จัดทำการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลาง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินและรักษาความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลาง สมมติฐานและผลการวิเคราะห์ ดังนี้
สมมติฐานสำคัญในการกำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
- อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจไทย มีการปรับปรุงสมมติฐานอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (Real GDP Growth Rate) ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยปรับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2552-2553 เป็นร้อยละ 5.5 และ 5.4 ตามลำดับ (เดิมร้อยละ 5.4 และ 5.2) สำหรับปีงบประมาณ 2551 คงเดิมที่ร้อยละ 5.0 และปีงบประมาณ 2554 - 2555 คงเดิมที่ร้อยละ 5.6
- อัตราเงินเฟ้อ มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน โดยปรับอัตราเงินเฟ้อระหว่างปีงบประมาณ 2551 — 2552 เป็นร้อยละ 3.5 (เดิมร้อยละ 4.0 และ 3.0) และระหว่างปีงบประมาณ 2553 — 2555 คงเดิมที่ร้อยละ 3.0, 3.1 และ 3.1)
- ประมาณการรายได้ ประมาณการโดยใช้ Revenue Buoyancy โดยในปีงบประมาณ 2552 ใช้ค่า Revenue Buoyancy เท่ากับ 0.67 และระหว่างปีงบประมาณ 2553 -2555 ใช้ค่า Revenue Buoyancy เท่ากับ 1.0 สำหรับปีงบประมาณ 2551 เป็นข้อมูลประมาณการรายได้ตามเอกสารงบประมาณ
ผลการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังปีงบประมาณ 2551 -2555
ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP (CY)ไม่เกินร้อยละ 50
ในปีงบประมาณ 2551 ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 36.94 โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP จะเพิ่มสูงขึ้นในปีงบประมาณ 2552 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 38.87 จากนั้นจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ระหว่างปีงบประมาณ 2553-2555 โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 36.99 ในปีงบประมาณ 2555
ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
ในปีงบประมาณ 2551 สัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณเท่ากับร้อยละ 10.47 และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับร้อยละ 7.60 ในปีงบประมาณ 2555
การจัดทำงบประมาณสมดุล
ไม่สามารถจัดทำงบประมาณสมดุลระหว่างปีงบประมาณ 2551 — 2554 รัฐบาลได้มีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่มีผลต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล รวมทั้งการตั้งงบประมาณเพื่อชำระภาระงบประมาณค้างจ่าย อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายในปีที่ผ่านๆ มา และในปีงบประมาณ 2551 ได้มีการจัดทำงบประมาณขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในช่วงขาลง ทั้งนี้ จากสภาวการณ์ในปัจจุบันคาดว่าจะมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2552-2554 โดยมีเป้าหมายที่จะจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2555
สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25
สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณ ระหว่างปีงบประมาณ 2550 — 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 24 24.4 และ 22.2 ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ระหว่างปีงบประมาณ 2553-2555 เพื่อการพัฒนาและการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
**ความคืบหน้ามาตรการสำคัญของรัฐบาล**
มาตรการเดิม
1. โครงการธนาคารประชาชน
ผลการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551
- สมาชิกยื่นกู้ มีจำนวน 14,342,470 รายจำนวนสมาชิกที่ได้รับสินเชื่อ 1,559,096 ราย เป็นเงิน 38,411.9 ล้านบาท
- หนี้ค้างชำระเกิน 6 เดือน มีจำนวน 77,560 ราย เป็นเงิน 1,241.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.21 ของยอดสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2548 กว่า 3 เท่า
โครงการธนาคารประชาชนเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2545 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงิน ส่งเสริมให้เกิดการออมทรัพย์อย่างเป็นระบบในหมู่สมาชิกและพัฒนาอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมให้สมาชิกมีพัฒนาการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานให้มี
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ยอด NPL คิดเป็น % ต่อสินเชื่อคงเหลือ
ราย จำนวนเงิน NPL/สินเชื่อ
(ล้านบาท) (ร้อยละ)
ม.ค.48 31,654 415.1 6.03
ธ.ค.48 55,924 827.2 11.75
ม.ค.49 58,378 868.2 12.48
ธ.ค.49 78,857 1,240.6 17.35
ม.ค.50 80,341 1,263.9 17.95
ธ.ค.50 76,394 1,227.6 18.21
ม.ค.51 75,716 1,215.2 18.35
ก.พ.51 76,030 1,218.6 18.57
มี.ค.51 76,226 1,220.9 18.71
เม.ย.51 77,560 1,241.9 19.21
ธนาคารออมสินได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ คือ
1. ธนาคารออมสินสาขาออกบริการรับฝากเงินนอกสถานที่ ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนด
2. ธนาคารได้เพิ่มหน่วยให้บริการเพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ด้วยความสะดวกอย่างทั่วถึง
3. จำนวนหนี้ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนธนาคารเร่งออกติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางโทรศัพท์ หนังสือเตือนให้ชำระหนี้ และการเข้าพบลูกหนี้ด้วยตนเอง เป็นต้น
4. จำนวนหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ธนาคารออมสินภาค / เขต / สาขา และพนักงาน จากฝ่ายสินเชื่อนโยบายรัฐจะร่วม
ดำเนินการจัดทีมลงพื้นที่ และเชิญลูกหนี้มาเจรจาเพื่อแก้ไขหนี้ค้างชำระดังกล่าว
5. ธนาคารได้จ้างบริษัทติดตามหนี้ภายนอกเพื่อมาดำเนินการติดตามและแก้ไขหนี้สำหรับหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยฝ่ายสินเชื่อนโยบายรัฐได้ประเมินผลและติดตามการดำเนินงานของบริษัทอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ทำให้เสียภาพลักษณ์ของธนาคาร
6. ได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างธนาคารออมสินกับสำนักระงับข้อพิพาท กระทรวงยุติธรรม เพื่อจัดกระบวนการไกล่เกลี่ยการชำระหนี้
2. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ผลการดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551
- กองทุนที่ได้รับจัดสรรและโอนเงินแล้ว 78,013 กองทุน
- จัดสรรเงินให้สมาชิก 418,635 ล้านบาท
- สมาชิกชำระคืนเงินต้น 268,301 ล้านบาท ดอกเบี้ย 21,006 ล้านบาท
โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาทในการลงทุนสร้างอาชีพเสริม และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน
การดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551
- กองทุนที่ได้รับจัดสรรและโอนเงินแล้ว 78,013 กองทุน โดยผ่านธนาคารออมสิน 61,848 กองทุนและ ธ.ก.ส. 16,165 กองทุน
- จ่ายเงินกู้แก่สมาชิกกองทุน (สะสม) 418,635 ล้านบาท โดยผ่านธนาคารออมสิน 324,869 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 93,766 ล้านบาท
- สมาชิกชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย โดยชำระเงินต้นกู้ผ่านธนาคารออมสิน 225,569 ล้านบาทและ ธ.ก.ส. 42,732 ล้านบาท และดอกเบี้ยผ่านธนาคารออมสิน 17,600 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 3,406 ล้านบาท
ความก้าวหน้าการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่สำคัญ
ผลการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนิติบุคคล ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 มีการยื่นจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนิติบุคคล จำนวน 69,994 กองทุน จากจำนวนกองทุนฯ ทั้งสิ้น 78,013 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 89.70 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 85 ของกองทุนทั้งหมด) และได้รับการอนุมัติจากนายทะเบียนแล้วจำนวน 63,387 คิดเป็นร้อยละ 81.25 ของกองทุนทั้งหมด
3. โครงการบ้านเอื้ออาทร
รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติดำเนินการจัดสร้างที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานสำหรับประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการและพนักงานหน่วยงานของรัฐชั้นผู้น้อย จำนวน 600,000 หน่วย ภายในเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2546-2550) วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 273,209 ล้านบาท
เป้าหมายดำเนินงาน
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 อนุมัติตามกรอบใหม่ให้ดำเนินการระยะที่ 1-5 รวม 300,504 หน่วย
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการบ้านเอื้ออาทรรวม 5 ระยะ จำนวน 601,727 หน่วย วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 273,209 ล้านบาท ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้นำเสนอกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และคณะรัฐมนตรีเพื่อขอทบทวนกรอบเป้าหมายจำนวนหน่วยของโครงการบ้านเอื้ออาทรใหม่ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปรับเป้าหมายจำนวนหน่วยคงเหลือ 300,504 หน่วย และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550
ความคืบหน้าการดำเนินงาน
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551 ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว จำนวน 123,630 หน่วย
- โครงการที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว 123,630 หน่วย
- โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 139,835 หน่วย
การจัดสรรและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
- ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 สำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินให้แล้วจำนวน 29,670.2 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงิน
อุดหนุนไปแล้วรวมทั้งสิ้น 27,431.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.45 ของงบฯ ที่ได้รับ ทั้งนี้
เงินอุดหนุนนี้จะเป็นเงินที่นำไปใช้ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของโครงการ เช่น ระบบถนน ท่อประปา ศูนย์ชุมชน เป็นต้น
ซึ่งจะต้องดำเนินการก่อนการก่อสร้างตัวอาคาร
การจัดสรรและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนระยะที่ 1-5
- ระยะที่ 1-3 (82,531 หน่วย) การเคหะแห่งชาติได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนประจำปีจากรัฐบาลรวมทั้งสิ้น 9,627.9 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายไปแล้วจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2551 จำนวน 8,833.6 ล้านบาท ประกอบด้วย
งบปกติ จำนวน 6,253.5 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 มีการเบิกจ่ายแล้วรวม 5,679.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.8
งบกลาง จากศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) จำนวน 3,374.4 ล้านบาทมีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 จำนวน 3,153.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.5
- ระยะที่ 4 ได้รับการจัดสรรทั้งโครงการรวม 12,211.9 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนที่อยู่อาศัย จำนวน 118,661 หน่วย มีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 จำนวน 10,776.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.2
- ระยะที่ 5 ได้รับการจัดสรรทั้งโครงการรวม 7,830.4 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนที่อยู่อาศัย จำนวน 99,312 หน่วย มีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 จำนวน 7,821.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.9
ผลการวิเคราะห์โครงการ
จากการที่โครงการได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวนเพียง 123,630 หน่วย หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 41.14 ของเป้าหมายที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งการดำเนินงานที่ล่าช้านั้น
มีสาเหตุหรือปัญหาที่ทำให้โครงการล่าช้า ดังนี้
- ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องด้านการเงิน
- ความล่าช้าที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
- งานล่าช้าเนื่องจากขาดแคลนแรงงาน
- ผู้รับจ้างขาดการบริหารจัดการงานที่ดีทำให้งานล่าช้าสะสมและไม่สามารถเสร็จได้ตามกำหนด
- กฎระเบียบบางอย่างไม่สอดคล้องกับสภาพผู้อยู่อาศัยและการอยู่อาศัยเช่า
วงเงินลงทุนและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนโครงการบ้านเอื้ออาทร
หน่วย : ล้านบาท
คณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสร้าง การเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
ณ 31 มี.ค. 51
(หน่วย) ได้รับจัดสรร เบิกจ่าย
ระยะที่ 1 4,131 327.1 316.1
ระยะที่ 2 7,100 617.1 589.2
ระยะที่ 3 71,300 8,683.7 7,928.4
ระยะที่ 4 118,661 12,211.9 10,776.0
ระยะที่ 5 99,312 7,830.4 7,821.3
รวม 300,504 29,670.2 27,431.0
หมายเหตุ (1) ระยะที่ 1 ปรับลดลง 44 หน่วย จากโครงการเชียงใหม่เดิม 640 หน่วย เหลือ 596 หน่วย
(2) ระยะที่ 2, 3, 4 และ 5 มีการปรับหน่วยดำเนินการใหม่ (คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับลดหน่วยจากเดิม 601,727 หน่วย เหลือ 300,504 หน่วย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550)
(3) ระยะที่ 3 ได้รับอนุมัติจาก ครม. จำนวน 140,000 หน่วย กคช. ได้รับอนุมัติงบอุดหนุนเพียง 100,519 หน่วย ส่วนที่เหลืออีก 39,481 หน่วย โอนไปใช้งบเอื้ออาทรระยะที่ 5
(4) ระยะที่ 5 ได้รับอนุมัติจาก ครม. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 จำนวน 339,481 หน่วย โดยเป็นจำนวนหน่วย ของระยะที่ 5 จำนวน 300,000 หน่วย และโอนมาจากระยะที่ 3 จำนวน 39,481 หน่วย
(5) หน่วยที่ดำเนินการ ไม่นับรวมอาคารคงเหลือ กคช.ที่นำมาเข้าโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 14 โครงการ4,400 หน่วย และอยู่ระหว่างเจรจาขอปรับลดหน่วยกับผู้รับจ้าง จำนวน 378 หน่วย
(6) จำนวนหน่วยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จไม่นับรวมอาคารคงเหลือฯ จำนวน 14 โครงการ 4,400 หน่วย
4. โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประชาธิปไตย คือ จัดงบประมาณโดยตรง เพื่อประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน นำไปแก้ไขปัญหาส่วนรวมในการดำรงชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ โดยประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง ยังผลให้หมู่บ้าน/ชุมชนได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์ปัญหา ส่วนใดเป็นส่วนรวม ส่วนใดเป็นส่วนบุคคล และจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง จากนั้นร่วมกันกำหนดการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสมและพอเพียง
- เป้าหมาย
1. เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม (ร่วมคิด — ร่วมทำ) ตามระบอบประชาธิปไตย
2. เพื่อกระจายงบประมาณและอำนาจในการบริหารงบประมาณสู่ท้องถิ่น (หมู่บ้าน/ชุมชน) เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาและสร้างประโยชน์ของส่วนรวมของตนเองได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพแบบบูรณาการ
3. เพื่อการพลิกฟื้นหมู่บ้านให้มีพลังขับเคลื่อนสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน
4. เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์ความคิดและนำไปสู่การปฏิบัติในการสร้างปัจจัยสนับสนุนต่างๆ เพื่อการดำรงชีพและการมีอาชีพของประชาชนโดยส่วนรวมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
5. เพื่อพัฒนารูปแบบและระบบในการเตรียมความพร้อมของประชาชนและชุมชนเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นที่เต็มรูปแบบในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
- วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมคิด-ร่วมทำในการแก้ไขปัญหาของส่วนร่วมกันที่ทุกส่วน/ฝ่ายในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนต่างยอมรับและร่วมมือ
กันอย่างฉันทานุมัติ
2. เพื่อนำผลของการดำเนินการในระยะแรกเริ่มไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ ทดสอบ การจัดทำคู่มือ การจัดทำร่างระเบียบ และการกำหนดแนวทางในการดำเนินการที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นก่อนการนำไปใช้จริงกับหมู่บ้านต้นแบบอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
3. เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของประชาชนเพื่อการพลิกฟื้นหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีพลังขับเคลื่อนสู่การแก้ไข
ปัญหาความยากจน
4. สร้างโอกาสและส่งเสริมภาวการณ์เป็นผู้นำให้ประชาชนในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
5. เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมประชาธิปไตยระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
6. ส่งเสริมกระบวนการร่วมคิด-ร่วมทำ เพื่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์ความคิดและการร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติที่นำไปสู่การสร้างปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีพและการมีอาชีพของประชาชนโดยส่วนรวมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
7. เพื่อเสร้างสร้างและปลูกจิตสำนึกในการบริหารงบประมาณ/ดำเนินการกิจกรรมร่วมกันที่ยึดหลักการบริหารแบบตรงไปตรงมา โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และความมีอยู่จริงของเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล
8. เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนและชุมชนในการรองรับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นที่เต็มรูปแบบในอนาคตอย่างมี
ประสิทธิภาพ
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. แก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างตรงจุดแบบบูรณาการ
2. ประชาชนทุกหมู่บ้าน/ชุมชนในประเทศไทยได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาล
3. ประชาชนทุกหมู่บ้าน/ชุมชนรู้จักการบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับอย่างจำกัดให้เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงสุด
4. ประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง (ร่วมคิด-ร่วมทำ) และถือเป็นอีกขั้นตอนของการพัฒนาประชาธิปไตย
5. ก่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนและการสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน
6. สร้างและส่งเสริมให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง
7. สร้างและส่งเสริมให้เกิดผู้นำท้องถิ่นที่มาจากภาคประชาชนโดยแท้จริง
8. ลดปัญหาและภาระของสังคมในหลายด้านอาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมในชุมชน เป็นต้น
9. รองรับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. หน่วยงานภาครัฐสามารถนำผลที่ได้จากการดำเนินโครงการของราษฎรในท้องถิ่นไปประยุกต์และปรับปรุงใช้กับแผนพัฒนาท้องถิ่น
หรือองค์กรของตนเองได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดทำงบประมาณและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
11. ประชาชนให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น เกิดความรู้สึกรับผิดชอบร่วมเป็นเจ้าของ และร่วมแรงร่วมใจอย่างเต็มกำลังความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
12. ก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหมู่บ้าน/ชุมชน และก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
ความคืบหน้าดำเนินการ
รัฐบาลได้โอนเงินโครงการฯ ให้กับหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 จำนวน 5,881 หมู่บ้าน จำนวน 7,006 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,385.3 ล้านบาท
หลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณ
การพิจารณาโครงการของหมู่บ้าน/ชุมชนที่เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการ SML จะคำนึงถึง
1. การแก้ไขปัญหาความยากจนที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
2. การเพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืน
3. การแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชนด้วยตนเอง
4. การพัฒนาโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน
5. การพัฒนาสินทรัพย์ของหมู่บ้านและชุมชน
6. การอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านและชุมชน
7. การเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด
และจะจัดสรรตามหลักเกณฑ์การดังนี้
ขนาด จำนวนประชากร เงินงบประมาณ จำนวน มบ/ชช วงเงินงบประมาณที่ได้
(บาท) (โดยประมาณ)
S1 ไม่เกิน 50 คน 50,000 48 2,400,000
S2 51 — 150 คน 100,000 252 25,200,000
S3 151 250 คน 150,000 4,804 720,600,000
S 251 — 500 คน 200,000 23,681 4,736,200,000
M 501 — 1,000 คน 250,000 36,522 9,130,500,000
L 1,001 — 1,500 คน 300,000 9,904 2,971,200,000
XL 1,501 คนขึ้นไป 350,000 3,147 1,101,450,000
รวม 78,358 18,687,550,000
วงเงินงบประมาณที่ขอรับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 และ 2552
งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เห็นควรขอรับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 8,000 ล้านบาท โดยเห็นควรเบิกจ่ายจากงบประมาณตามโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขที่เหลือในระบบ GFMISทั้งจำนวน สำหรับงบประมาณส่วนที่ขาดเห็นควรให้สำนักงบประมาณจัดสรรเพิ่มเติมให้ต่อไป
งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เห็นควรขอรับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 20,000 ล้านบาท
** การกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น **
ความคืบหน้าการจัดสรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับปีงบประมาณ 2552
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 ได้พิจารณาเรื่องยุทธศาสตร์การจัดสรรและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 โดยได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายซึ่งประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การ
ฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างสมดุล เป็นต้น
สำหรับนโยบายงบประมาณได้กำหนดให้เป็นงบประมาณขาดดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1,835,000 ล้านบาท ประมาณการรายได้สุทธิของรัฐบาล 1,585,500 ล้านบาท และการขาดดุลงบประมาณจำนวน 249,500 ล้านบาท
ในส่วนของการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้พิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 และกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. โดยสรุป ได้ดังนี้
(1) กำหนดเป้าหมายสัดส่วนรายได้ของ อปท. ต่อรายได้รายได้สุทธิของรัฐบาล เท่ากับร้อยละ 25.25 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2551 ซึ่งกำหนดที่ร้อยละ 25.20
(2) ประมาณการรายได้รวมของ อปท. จำนวน 400,338.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 376,740 ล้านบาท เป็นจำนวน 23,598.75 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.26 ประกอบด้วย
(2.1) รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง และภาษีอากรที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้ จำนวน 249,838.75 ล้านบาท(สัดส่วนร้อยละ 62.41 ของรายได้รวม) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีจำนวน 228,900 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 60.76ของรายได้รวม) เป็นจำนวน 20,938.75 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.15
(2.2) เงินอุดหนุนซึ่งจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวข้างต้น จำนวน 150,500 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 37.59 ของรายได้รวม) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 147,840 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 39.24 ของรายได้รวม) เป็นจำนวน 2,660 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.80
2. คณะอนุกรรมการด้านการเงิน การคลังและงบประมาณในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ซึ่งได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้ให้
ความเห็นชอบในการจัดสรรให้แก่ อปท. จำนวน 150,500 ล้านบาทโดยได้ข้อสรุปดังนี้
(1) หลักการจัดสรรเงินอุดหนุน แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
(1.1) เงินอุดหนุนทั่วไปที่จัดสรรเพื่อให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้นและมีอิสระในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งการจัดสรรตามภารกิจที่ถ่ายโอน
(1.2) เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ซึ่งจัดสรรแก่ อปท.บางแห่งเพื่อดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีหรือโครงการที่ผูกพันงบประมาณจากปีที่ผ่านมา หรือโครงการตามนโยบายรัฐบาล เป็นต้น
(2) การจัดสรรวงเงินให้แก่ อปท. แต่ละประเภท โดยหลักเกณฑ์การจัดสรรคำนึงถึงภารกิจตามอำนาจหน้าที่และภารกิจถ่ายโอนและรายได้ในภาพรวมของ อปท.โดยสรุปผลการจัดสรรแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
(2.1) กทม.ได้รับการจัดสรรจำนวน 14,420.84 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ซึ่งได้รับจำนวน 15,064.90 ล้านบาท เป็นจำนวน 641.06 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.26
(2.2) เมืองพัทยา จำนวน 1,494.74 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ซึ่งได้รับจำนวน 1,700.16 ล้านบาท เป็นจำนวน
205.42 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.08
(2.3) อบจ. เทศบาลและอบต. จำนวน 134,584.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งได้รับจำนวน 131,074.94 ล้านบาท เป็นจำนวน 3,509.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.66
นอกจากนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ร่วมกับสำนักงบประมาณและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วมกันพิจารณารายละเอียดการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. กลุ่มที่ 3 ตามวงเงินอุดหนุนและหลักการดังกล่าวข้างต้นและนำเสนอคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th