ภาพรวมเศรษฐกิจ ( เมษายน 2551 )
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม: เดือนกุมภาพันธ์ทรงตัวในระดับสูงสวนทางกับความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ดัชนีชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนกุมภาพันธ์ของกลุ่ม EU13 กระเตื้องขึ้นจากเดือนที่แล้วเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 113.8 จุด เพิ่มขึ้น 0.4 จุดจากเดือนที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้น 3.4 จุด จากเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว สะท้อนถึงภาวะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรยังคงขยายตัวแข็งแกร่งต่อนเอง ท่ามกลางปัญหาวิกฤติด้านสินเชื่อในภาคการเงินก็ตาม
ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปสงค์ของกลุ่ม EU15 ยังคงอ่อนตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 สะท้อนถึงผลกระทบจากปัญหาในภาคการเงินและแนวโน้มการชะลอตัวของสินเชื่อที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคต โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Economic Sentiment Index: ESI) ประจำเดือนมีนาคมลดลงเหลือ 99.6 จุด ลดลง 0.6 จุดจากเดือนที่แล้ว และนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีปรับลดลงต่ำกว่าระดับ 100 จุดเป็นครั้งแรก หลังจากดัชนีขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 111.6 จุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
อัตราเงินเฟ้อ : เดือนมีนาคมยังเร่งตัวขึ้นอีกสู่ระดับร้อยละ 3.6
ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Euro Area: 13 ประเทศ) ประจำเดือนมีนาคมยังเร่งตัวขึ้นอีกจากร้อยละ 3.3 สู่ระดับร้อยละ 3.6 ในเดือนมีนาคม ถือเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้ออยู่เหนือระดับร้อยละ 3.0 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมาจากหมวดการศึกษา (9.6%) หมวดอาหาร (6.2%)และหมวดคมนาคม (5.6%) ที่มีการเร่งตัวขึ้นอีกเนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ ขณะที่หมวดที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้นต่ำเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดสื่อสาร (-1.5%) หมวดสันธนาการและบันเทิง (0.6%) และเครื่องนุ่งห่ม (1.0%) โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด ได้แก่ Spain Cyprus Greece และ Belgium ที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 4.6, 4.4, 4.4 และ 4.4 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศ Netherlands Germany และ Portugal มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดร้อยละ 1.9, 3.3 และ 3.1 ตามลำดับ
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศยูโร 27 ประเทศ (EU 27) ในเดือนมีนาคมก็เร่งตัวขึ้นเช่นกันจากร้ออยละ 3.5 ในเดือนที่แล้วสู่ระดับร้อยละ 3.8 ในเดือนนี้ โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่มยูโร ได้แกก่ Latvia Bulgaria และ Lithuania ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 16.6, 13.2 และ 11.4 ตามลำดับ
อัตราการว่างงาน : เดือนมีนาคมยังทรงงตัวที่ร้อยละ 7.1
ณ สิ้นเดือนมีนาคม Euro area 15 ประเทศมียอดผู้ว่างงานที่ปรับบตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 10.93 ล้านคน คิดเป็นนอัตราการว่างงานร้อยละ 7.1 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด นับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่อัตราการว่างงานออยู่ในระดับดังกล่าว และถือเป็นอัตราการว่างงานต่ำที่สุดนับจากมีการจัดเก็บข้อมูลของพื้นที่ยุโรป โดยยอดผู้ว่างงานในเดือนนี้ลดลง 2.6 หมื่นคคนจากเดือนทที่แล้ว และลดดลง 6.0 แสนคนเมื่อเทียบกับแดือนเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกันที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำกว่า ร้อยละ 8.0 ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคมของปีที่แล้วมีผู้ว่างงานทั้งสิ้น 11.53 ล้านคน หรือคิดเป็นนอัตราการว่างงานร้อยละ 7.5
ขณะที่ยอดผู้ว่างานของ EU 27 ประเทศ ณ เดือนมีนาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 15.99 ล้านคนคิดเป็นอัตราการรว่างงานร้อยละ 6.7 เท่ากับเดือนที่แล้ว
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ย : ECB คงอัตราดอกเบี้ยรร้อยละ 4.0 เป็นเดือนที่สิบติดต่อกัน
เมื่อวันที่ 10 เมษายน คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขออง ECB ไว้ที่ร้อยละ 4.0 ตามเดิมนับเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกันที่ ECB คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับดังกล่าว โดย ECB ได้ให้เหตุผลถึงการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยว่าข้อมูลที่ออกมาล่าสุดได้ยืนยันว่าความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้นอันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและอาหารยังมีอยู่มาก และยังยืนยันถึงการประเมินของ ECB ถึงแนวโน้มความเสี่ยงของอัตราเงินแฟ้อในระยะปานกลางยังมีอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ปริมาณเงินและสินเชื่อยังขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจของยุโรปแม้จะชะลอลงบ้างแต่ก็ยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แม้ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตระบบการเงินโลกที่จะมีต่อภาวะเศรษฐกิจจะเริ่มมีมากขึ้นและยาวนานกว่าที่เคยคาดไว้ แต่เนื่องจากเป้าหมายหลักของ ECB คือการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง ดังนั้น ECB จึงตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมเพื่อป้องกันมิให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อในระยะสั้นกลายเป็นความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเพิ่มของอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลาง โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Area ยังคงมีอัตราการเพิ่มชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หรือ MM3 อยู่ที่ระดับ 8.875 ล้านล้านยูโร ขขยายตัวร้อยลละ 10.3 จากกปีที่แล้ว (ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 11.3) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน (MFI) ให้กู้กับภาคเอกชน (loan to private sector) ก็เริ่มชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นกันน โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม เท่ากับ 10.448 ล้านล้านยูโร ขยายตัวจากปีที่แล้วร้อยละ 10.8 (ลดดลงจากเดือนนกุมภาพันธ์ทที่ขยายตัวร้อยละ 11.0)
สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Monney market interest rates) ในเดือนเมษายนปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยทุกอายุ ยกเว้นเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารประเภทข้ามคืนที่ลดลลงเล็กน้อย เนื่องจากในเดือนนี้สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ ECB มีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ โดยโครงสร้างอัตราผลตอบแทนในเดือนนี้ปรับสูงขึ้นเข้าใกล้เคียงกับระดับเดียวกันของเดือนธันวาคมของปีที่แล้ว
ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคารประเภทข้ามคืน (overnight) หรือ Eonia ของเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.9868 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคารที่มีอายุยาวกว่าต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว โดยอัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมอายุ 1 เดือนเพิ่มขึ้น 6 basis points ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมอายุ 12 เดือนเพิ่มขึ้น 23 basis points จากเดือนที่แล้ว ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีและ 10 ปีก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 35 และ 21 basis points ตามมลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน : ยูโรยังคงทำสถิติแข็งค่าสูงสุดกับดอลลาร์และ ปอนด์ ต่อไป
ค่าเงินยูโรเมื่อแทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ในเดือนเมษายนยังคงแคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นทำสถิติใหม่ต่อเนื่องจากปัจจัยแนวโน้มภาวะอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯฯ ที่มีแนวโน้มในทิศทางขาลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะชะลอตัวชัดเจน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของยูโรยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงในอนาคตอันใกล้เนื่องจากความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อยังมีอยู่สูงขณะที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ดีแม้จะเริ่มมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจของพื้นที่ยูโรกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินบ้างแล้วก็ตาม โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.5660 ดอลลาร์/ยูโร จากเงินยูโรก็แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนทำสถิติใหม่สูงสุดอีกครั้งที่ระดับ 1.5940 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนที่เงินยูโรจะเริ่มอ่อนตัวลงในช่วงงปลายเดือนเมื่อผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมันออกมาต่ำกว่าที่คาดหมาย รวมถึงการที่ระดับปริมาณเงินประจำเดือนมีนาคมเริ่มมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงชัดเจนขึ้น แม้ในวันสุดท้ายของเดือน Fed จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 2.0 ก็ตามเนื่องจากตลาดมองว่า Fed อาจจะหยุดลดอัตราดอกเบี้ยแล้วจึงส่งผลดีต่อเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเงินยูโรปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนอ่อนตัวลงสู่ระดับบ 1.554 ดอลลาร์/ยูโร อย่างไรก็ดีโดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินยูโรในเดือนนี้ยังคงแข็งค่าอีกร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนก่อน และแข็งค่าร้อยละ 16.6 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
เมื่อเทียบกับเงินปอนด์แล้ว เงินยูโรยังคงทำสถิติแข็งค่าต่อเป็นเดือนที่เก้า โดยในเดือนนี้เงินยูโรสามารถทำสถิติปิดเหนือระดับ 0.80 ปอนด์/ยูโร ได้เป็นนครั้งแรก เหตุหลักยังคงมมาจากแนวโนน้มการชะลอตัวลลงของเศรษฐกิจอังกฤษแลละโอกาสที่อัตตราดอกเบี้ยขของอังกฤษนน่าจะปรับลดลลงได้อีก ขณะที่เศรษฐกิจของยูโรยังคงเติบบโตได้ดีและทท่าทีของ ECB ที่ยังคงให้ค้ความสำคัญกกับการควบคคุมเงินเฟ้อเป็นหลัก ซึ่งหลังงจากมีอัตราปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 0.7888 ปอนด์/ยูโร เงินยูโรก็แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งทำสถิติปิดเหนือระดับ 0.80 ปอนด์/ยูโร ได้เป็นครั้งแรกในช่วงกลางเดือนโดยขึ้นไปทำสถิติของอัตราปิดสูงสุดที่ระดับ 0.8061 ปอนด์/ยูโร ก่อนที่จะอ่อนตัวลงในช่วงปลายเดือนเมื่อดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมันและการขยายตัวของปริมาณเงินของ Euro area เริ่มชะลอดลง โดยเงินยูโรปิดตตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.7901 ปอนด์/ยูโร ส่งผลให้คค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 2.6 นับเป็นเดือนที่เก้าติดต่อกันแล้วที่ค่าเฉลี่ยเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาแข็งค่าถึงร้อยละ 17.0
เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินเยนในเดือนนี้เริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้นหลังจากที่อ่อนค่าลงนับจากเดือนมกราคม โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 157.55 เยน/ยูโร ใกล้เคียงกับปลายเดือนที่แล้ว จากนั้นเงินยูโรก็เริ่มแข็งค่าขึ้นโดยขึ้นมาเคลื่อนไหวที่รระดับ 159-160 เยน/ยูโร ก่อนที่จะแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในช่วงหลังของเดือนโดยขึ้นไปทำระดับปิดดสูงสุดที่ระดับ 164.43 เยน/ยูโร ก่อนที่จะชชะลอลงเล็กน้น้อยในช่วงท้ายเดือนและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 162.62 เยน/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.3 หลังจากที่อ่อนค่าลงกับเงินเยนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาอย่างไรก็ดีในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนเล็กน้อยร้อยละ 0.7
ขณะที่เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีการยกเลิกนโยบายกันสำรองร้อยละ 30 สำหรับเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านและทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (off-shore) และประเทศ (on-shore) ปรับเข้าหากันโดยอัตราปิดตลาดวันแรกของเดือนปิดที่ระดับ 49.31 บาท/ยูโร จากนั้นก็เคลื่ออนไหวเหนือระดับดังกล่าวต่อเนื่องและขึ้นนมาปิดสูงสุดขของเดือนที่ระดับ 50.201 บาท/ยูโร ในช่วงกลางเดือน ก่อนที่จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยในช่วงท้ายของเดือนและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 49.215 บาท/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 1.9 และแข็งค่าขึ้นร้อยละ 13.1 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน
เดือนกุมภาพันธ์ : Euro Area กลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 4.3 พันล้านยูโร
ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) เกินดุล 3.4 พันล้านยูโร (หรือเท่ากับขาดดุล 5.0 พันล้านยูโร กรณีที่ข้อมูลยังไม่ได้ปรับตามฤดูกาล) โดย Euro area มีการเกินดุลการค้า (goods trade) และดุลบริการ (services) จำนวน 3.1 และ 5.1 พันล้านยูโร ตามลำดับ ขณะที่ดุลรายได้ (income) มีการเกินดุลเล็กน้อย 0.5 พันล้านยูโร แต่มีการขาดดุลเงินโอน (current transfer) เป็นจำนวน 4.3 พันล้านยูโรตามลำดับ
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า Euro area มีฐานะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเป็นจำนวน 17.8 พันล้านยูโร (หรือ เท่ากับร้อยละ 0.2 ของ Euro area GDP) เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้วที่มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมขาดดุลจำนวน 1.1 พันล้านยูโร ซึ่งการที่ยอดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมกลับมาเกินดุลดังกล่าวเกิดจากการที่ Euro area มีการเกินดุลการค้าสะสมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 52.7 พันล้านยูโรเทียบกับปีที่แล้วที่มีการเกินดุลการค้าสะสมเพียง 24.9 พันล้านยูโร ขณะเดียวกันก็มีการเกินดุลบริการเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้จะถูกชดเชยโดยการขาดดุลรายได้และดุลเงินโอนก็ตาม
ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล (non-seasonal adjusted) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนไหลออกสุทธิ 9.9 พันล้านยูโร (เทียบกับเดือนที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนไหลเข้าสุทธิถึง 27.3 พันล้านยูโร) แยกเป็น 1) เงินลงทุนทางตรง (direct investment) มียอดไหลออกสุทธิ 13.8 พันล้านยูโร 2) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) มียอดไหลเข้าสุทธิ 34.8 พันล้านยูโร 3) อนุพันธ์ทางการเงินมีฐานะไหลเข้าสุทธิ 2.4 พันล้านยูโร และ 4) เงินลงทุนประเภทอื่น (other investment) มีฐานะไหลออกสุทธิถึง 38.0 พันล้านยูโร เนื่องจากแม้ในเดือนนี้สถาบันการเงิน (MFIs) จะมีฐานะเป็นผู้กกู้ยืมสุทธิ 32.9 พันล้านยูโโร แต่ภาคคเอกชนที่มิใชช่สถาบันการเงินกลับมีฐานะเป็นผู้ให้กกู้ยืมสุทธิสูงถึง 52.7 พันล้านยูโร ตามลำดับ
ทั้งนี้ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนกุมภภาพันธ์ Euroo area มีฐานนะดุลบัญชีเงินนทุนเคลื่ออนย้าย (financial account) ไหลเข้าสสุทธิ 63.8 พันลล้านยูโร (เทียยบกับช่วงเดียยวกันของปีทที่แล้วที่มีฐานนะไหลเข้าสุทธิสูงถึง 150.6 พันล้านยูโร) ซึ่งการที่ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมมา Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสมเกินดุลดลงจากปีก่อนหน้าเนื่องจากในปีปนี้มียอดสะสมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) ไหลเข้าสุทธิลดลงเกือบ 100 พันล้านยูโร ขณะเดียวกันการลงทุนในตราสารอนุพพันธ์ก็กลับมีฐานะไหลออกสุทธิรวม 109.1 พันล้านยูโร
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th