นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้แถลงข่าว การจัดงานการสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดเชียงราย ในวันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2551 โดยกล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าชายแดนระหว่างกลุ่มจังหวัดภาคเหนือกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งได้รับ การสนับสนุนจาก ADB มาตรการการให้สิทธิพิเศษทางภาษีต่างๆ และการคำนึงถึงผลกระทบของความผันผวนของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2551” ดังนี้
ในไตรมาสแรกของปี 2551 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี เป็นผลจาก การฟื้นตัวที่ดีขึ้นของการบริโภคและการลงทุน ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยในระยะสั้น เศรษฐกิจมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน อาหาร และวัสดุก่อสร้าง ส่วนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากการหันมาค้าขายเพิ่มขึ้นกับประเทศเกิดใหม่ที่ยังเติบโตสูง เช่น จีน ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นขยายตัวชะลอลง ส่วนยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ซึ่งสะท้อนถึง การบริโภคภายในประเทศยังขยายตัวได้ดี โดยมีรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในระดับสูงมากตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ด้านการลงทุนในหมวดสินค้าทุนและเครื่องจักรมีการขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่การลงทุนในหมวดก่อสร้างซึ่งวัดจาก การจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเร่งขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนัยสนุนจากมาตรการภาษีเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาครัฐมีการเบิกจ่ายใน 8 เดือนแรกของปีงบประมาณประมาณร้อยละ 60 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 1.66 ล้านล้านบาท
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2551 สศค.คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0-6.0 ต่อปี โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลัก คือ การขยายตัวของการส่งออก ในขณะที่อาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ เงินเฟ้อที่คาดว่าจะอยู่ระหว่างร้อยละ 6.0 — 8.0 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ดังนั้นรัฐจึงได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบของค่าครองชีพที่สูงขึ้นให้แก่ประชาชนในระดับฐานราก เช่น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเพิ่มเบี้ยยังชีพให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างในระดับล่าง อย่างไรก็ตาม วิกฤตพลังงานและอาหารที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่นี้ อาจเป็นโอกาสสำคัญสำหรับเกษตรกรไทย หากมีการส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากภาวะราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น
ในการสัมมนาหัวข้อ “เจาะลึกเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัด” นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่าภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีทั้งปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย การเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นและกระทบต่อภาคการบริโภคและการลงทุนของไทย และความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกและค่าเงินบาท อย่างไรก็ดี เนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายมีเกษตรกรรม การค้าส่งค้าปลีก และการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารเป็นภาคการผลิตหลัก การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรบวกกับค่าเงินบาทที่อ่อนลงจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของจังหวัด ในขณะที่การเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมัน การขยายตัวชะลอลงของเศรษฐกิจคู่ค้า และอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับจังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ ภาครัฐควรเร่ง การเบิกจ่ายให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ การส่งออกไปยังจีน ลาว และพม่าควรได้รับการส่งเสริมให้มีการขยายตัวมากขึ้น รวมถึงวางยุทธศาสตร์ในการสร้างโอกาสให้แก่ชาวนาในการส่งออกสินค้าในช่วงราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดยังมีศักยภาพที่ขยายตัวได้ตามเป้าหมายการท่องเที่ยวของประเทศ และการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านการค้าและการผลิตจะช่วยให้เศรษฐกิจทั้งในระดับจังหวัด ประเทศ และภูมิภาคให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น
ในการสัมมนานี้ นายวิรุฬ คำภิโล รองประธานสภาหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ปัญหาราคาน้ำมันแพงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ภาคการท่องเที่ยว และภาคการค้าของจังหวัดเชียงราย อย่างไรก็ตาม หากระบบคมนาคมขนส่งระหว่างภาคเหนือของไทย ภาคใต้ของจีน และภาคเหนือของลาวมีการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์จะช่วยให้การค้าข้ามชายแดนมีมากขึ้นและช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศในบริเวณภาคเหนือของไทย ด้านภาคเกษตรกรรม จังหวัดเชียงรายได้รับอานิสงส์จากราคาข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาจากแรงงานย้ายเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมในภาวะที่ผลผลิตเกษตรมีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย โดยได้เสนอยุทธศาสตร์การปรับตัวของเศรษฐกิจจังหวัด โดยเน้นให้รัฐส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองให้แก่ประเทศ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานทดแทน ในด้านเกษตรกรรม รัฐควรส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีเพื่อลดการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพัฒนาระบบไซโลเพื่อลดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศอีกด้วย ในด้านการค้าและการลงทุน รัฐควรเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือและของประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งภายในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (ไทย จีน ลาวและพม่า)
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 16/2551 4 กรกฎาคม 2551--
ในไตรมาสแรกของปี 2551 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี เป็นผลจาก การฟื้นตัวที่ดีขึ้นของการบริโภคและการลงทุน ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยในระยะสั้น เศรษฐกิจมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน อาหาร และวัสดุก่อสร้าง ส่วนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากการหันมาค้าขายเพิ่มขึ้นกับประเทศเกิดใหม่ที่ยังเติบโตสูง เช่น จีน ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นขยายตัวชะลอลง ส่วนยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ซึ่งสะท้อนถึง การบริโภคภายในประเทศยังขยายตัวได้ดี โดยมีรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในระดับสูงมากตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ด้านการลงทุนในหมวดสินค้าทุนและเครื่องจักรมีการขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่การลงทุนในหมวดก่อสร้างซึ่งวัดจาก การจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเร่งขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนัยสนุนจากมาตรการภาษีเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาครัฐมีการเบิกจ่ายใน 8 เดือนแรกของปีงบประมาณประมาณร้อยละ 60 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 1.66 ล้านล้านบาท
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2551 สศค.คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0-6.0 ต่อปี โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลัก คือ การขยายตัวของการส่งออก ในขณะที่อาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ เงินเฟ้อที่คาดว่าจะอยู่ระหว่างร้อยละ 6.0 — 8.0 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ดังนั้นรัฐจึงได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบของค่าครองชีพที่สูงขึ้นให้แก่ประชาชนในระดับฐานราก เช่น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเพิ่มเบี้ยยังชีพให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างในระดับล่าง อย่างไรก็ตาม วิกฤตพลังงานและอาหารที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่นี้ อาจเป็นโอกาสสำคัญสำหรับเกษตรกรไทย หากมีการส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากภาวะราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น
ในการสัมมนาหัวข้อ “เจาะลึกเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัด” นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่าภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีทั้งปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย การเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นและกระทบต่อภาคการบริโภคและการลงทุนของไทย และความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกและค่าเงินบาท อย่างไรก็ดี เนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายมีเกษตรกรรม การค้าส่งค้าปลีก และการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารเป็นภาคการผลิตหลัก การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรบวกกับค่าเงินบาทที่อ่อนลงจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของจังหวัด ในขณะที่การเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมัน การขยายตัวชะลอลงของเศรษฐกิจคู่ค้า และอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับจังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ ภาครัฐควรเร่ง การเบิกจ่ายให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ การส่งออกไปยังจีน ลาว และพม่าควรได้รับการส่งเสริมให้มีการขยายตัวมากขึ้น รวมถึงวางยุทธศาสตร์ในการสร้างโอกาสให้แก่ชาวนาในการส่งออกสินค้าในช่วงราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดยังมีศักยภาพที่ขยายตัวได้ตามเป้าหมายการท่องเที่ยวของประเทศ และการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านการค้าและการผลิตจะช่วยให้เศรษฐกิจทั้งในระดับจังหวัด ประเทศ และภูมิภาคให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น
ในการสัมมนานี้ นายวิรุฬ คำภิโล รองประธานสภาหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ปัญหาราคาน้ำมันแพงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ภาคการท่องเที่ยว และภาคการค้าของจังหวัดเชียงราย อย่างไรก็ตาม หากระบบคมนาคมขนส่งระหว่างภาคเหนือของไทย ภาคใต้ของจีน และภาคเหนือของลาวมีการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์จะช่วยให้การค้าข้ามชายแดนมีมากขึ้นและช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศในบริเวณภาคเหนือของไทย ด้านภาคเกษตรกรรม จังหวัดเชียงรายได้รับอานิสงส์จากราคาข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาจากแรงงานย้ายเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมในภาวะที่ผลผลิตเกษตรมีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย โดยได้เสนอยุทธศาสตร์การปรับตัวของเศรษฐกิจจังหวัด โดยเน้นให้รัฐส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองให้แก่ประเทศ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานทดแทน ในด้านเกษตรกรรม รัฐควรส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีเพื่อลดการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพัฒนาระบบไซโลเพื่อลดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศอีกด้วย ในด้านการค้าและการลงทุน รัฐควรเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือและของประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งภายในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (ไทย จีน ลาวและพม่า)
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 16/2551 4 กรกฎาคม 2551--