สรุปการสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum)
ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ เชียงราย
วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2551 เวลา 8.30 — 16.30 น.
ณ ห้องเชียงรุ้ง โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย
การสัมมนาวิชาการภายใต้โครงการขยายบทบาท สศค. สู่ภูมิภาค เรื่อง “เจาะลึกเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัด” และ “ขยายสะพานการค้าจากเพื่อนบ้านสู่ไทย” ณ จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ล่าสุดของเศรษฐกิจโลกและกลไกการส่งผ่านของปัจจัยภายนอกประเทศต่อสาขาการผลิตต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและจังหวัด สำหรับการสัมมนาภาคบ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการ ได้รับทราบ เข้าใจมาตรการที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินนโยบายการคลังสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศทั้งในภาพรวม ตลอดจนในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่ได้มีการลดภาษีศุลกากรขาเข้าเพื่อสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน การให้สิทธิพิเศษทางภาษีได้จัดทำในการอำนวยความสะดวกด้านการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวอย่างทั่วถึง รวมถึงรับฟังข้อคิดเห็นจากภาคเอกชนต่อมาตรการดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ประกอบการจัดทำนโยบาย และมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต วิทยากรในภาคบ่ายนี้ ได้รับเกียรติจากนายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์กรมหาชน) ดร.ลัดตะนะไต หลวงลาดบันดิด นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาค ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และดร.กุลยา ตันติเตมิท หัวหน้าฝ่ายความร่วมมือด้านการคลังยุโรป-อเมริกา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีดร.กุลยา เป็นผู้ดำเนินรายการ สาระสำคัญจากการอภิปรายสรุปได้ ดังนี้
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวถึงข้อได้เปรียบของประเทศไทยในด้าน ภูมิศาสตร์ เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางของกรอบความร่วมมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือเหลี่ยมเศรษฐกิจต่างๆ เช่น สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT) สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (Quadrangle) ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจ (ACMECS)
หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ (GMS) และเจ็ดเหลี่ยมเศรษฐกิจ และประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่เป็นสมาชิกอยู่ในทุกกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจที่กล่าวถึง ดังนั้นไทยจึงเป็นสะพานเชื่อมต่อกับทวีปเอเซียและจะนำไปสู่ความเป็นจุดศูนย์กลางของ logistic ของเอเชียในที่สุด นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนที่เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจจากตะวันออกสู่ตะวันตกโดยนโยบาย 4 ทันสมัย ได้แก่ เกษตร อุตสาหกรรม เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ การปกครองและทหาร ซึ่งยุทธศาสตร์หลักสู่ความทันสมัยทั้ง 4 ด้านดังกล่าวคือ เส้นทางคมนาคม โดยเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ 2 สายสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางด้าน Logistic ได้แก่ 1) East-West Corridor เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม (สู่ดานังทางตะวันออก หากแต่การเชื่อมโยงทางตะวันตกสิ้นสุดแค่ถึงแม่สอดเนื่องจากปัญหาของประเทศพม่า) ซึ่งหากเส้นทางนี้สำเร็จจะเชื่อมโยงไปสู่อินเดียได้ 2) North-South Corridor เป็นการเชื่อมโยงจากจีน คุนหมิง-บ่อฮาน (บ่อเต็นฝั่งลาว) — เชียงของ — กรุงเทพฯ หรือที่เรียกว่า คุนมั่นกงลู่ ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมยูนนานเข้ากับอาเซียน และได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าหากเส้นทางคุนมั่นกงลู่นี้ มีการต่อยอดจากกรุงเทพฯ ลงสู่ทะเลอันดามัน โดยท่าเรือน้ำลึกลงทะเลอันดามัน ในจังหวัดกระบี่ ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลาง logistic เชื่อมระหว่างจีน และต่อยอดจากจีนถึงอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป
ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์กรมหาชน) ได้อภิปรายใน 2 ประเด็นหลักคือ นโยบายการต่างประเทศของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ การฟื้นฟู กระชับสัมพันธ์ การริเริ่ม และความร่วมมือระหว่างกันทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี การสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันในการแก้ไขปัญหา การหาผลประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงใจและสร้างสรรค์ โดยมียุทธศาสตร์ ได้แก่ การทูตเชิงรุกทางเศรษฐกิจ การให้ความช่วยเหลือเอการพัฒนา ด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวระหว่างกัน การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สร้างความไว้ใจระหว่างกัน และประเด็นการรวมตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค ในกรอบที่สำคัญ ได้แก่ 1) ประชาคมอาเซียน ที่มีเป้าหมาย ในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน ตลอดจนเงินทุนกันอย่างเสรี 2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) ที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และบริการ เพื่อยกระดับการจ้างงาน ความร่วมมือทางเทคโนโลยี การศึกษา การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก โดยได้มีการสร้างถนนเชื่อมโยงอนุภูมิภาคเข้าด้วยกัน ได้แก่ ถนนหมายเลข 1 3 9 และ 10 ล่าสุดการประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งที่ 3 เน้นในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเน้นใช้ประโยชน์จากถนนเชื่อมโยงที่สร้างขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจต่อเศรษฐกิจภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เช่น พัฒนา Contract Farming เชื่อมโยงการผลิต แปรรูป ภาคการค้าและบริการโดยเฉพาะธุรกิจขนส่ง ภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมที่จะมีการย้ายฐานการผลิตเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน 3) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือที่เรียกว่า ACMECS ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความร่วมมือที่มีอยู่แล้ว ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบตามแนวชายแดน
ดร. ลัดตะนะไต หลวงลาดบันดิด นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาค (Regional Economist) ธนาคารเพื่อ
การพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้กล่าวถึง บทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียต่อการสนับสนุนการค้ากับประเทศ
เพื่อนบ้านในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Economic Cooperation Program)
ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สปป.ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนานและกวางสี) ตั้งแต่ปี 2535 สาขาความร่วมมือของ GMS มี 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน เกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ADB เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก ผ่านการเชื่อมโยงตามแนวเศรษฐกิจ (Economic Corridor) ตามแผนยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 1) Hardware การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North South Economic Corridor: NSEC) เป็นหนึ่งโครงการที่มีความสำคัญภายใต้แนวพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุน การพัฒนาเครือข่ายพลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีด้านคมนาคมด้วย ซึ่งมีการเชื่อมต่อระหว่างกัมพูชา-ลาว พม่า-ไทย-เวียดนาม ซึ่งจะช่วยลดความยากจนเขตชนบทชายแดน 2) Software กระชับความสัมพันธ์ของชุมชน เช่น การลดอุปสรรคของการ cross-border ลดกฎระเบียบที่จำกัด เช่น ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งของสินค้าและผู้โดยสาร 3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในแผนงานของ GMS การทำงานร่วมกับ GMS Business Forum การมีความร่วมมือสนับสนุนด้านเกษตรกรรม ท่องเที่ยวและ 4) ความร่วมมือสนองสินค้าสาธารณะ เช่น การควบคุมโรค แรงงานและการย้ายถิ่น การศึกษา และสิ่งแวดล้อม
ดร.กุลยา ตันติเตมิท ได้กล่าวถึงกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการค้าชายแดน เช่น สิทธิประโยชน์การลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (AISP) การทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ภายใต้กรอบ ACMECS เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการเลือกใช้สิทธิ์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และได้กล่าวถึงภาวะการค้าชายแดนไทยกับประเทศพม่า ลาว และ จีนในด่านศุลกากร 8 ด่านภาคเหนือ โดยได้หยิบยกด่านศุลกากรและสินค้านำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของแต่ละประเทศ และได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาการนำเข้ากระเทียมจากประเทศจีนว่าไม่ได้มีผลมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เนื่องจากในปัจจุบันสินค้ากระเทียมยังเป็นสินค้าที่มีการกำหนดโควตาภาษี โดยกระเทียมที่นำเข้าจากประเทศจีนในปัจจุบันตามฐานข้อมูลในระบบนั้น เป็นกระเทียมที่นำเข้ามาภายใต้อัตราภาษีนอกโควตาที่ร้อยละ 57 นอกจากนี้ ยังได้เสริมถึงมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า ซึ่งประกอบด้วย กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และภาคบริการที่ได้รับผลกระทบ
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 17/2551 7 กรกฎาคม 2551--
ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ เชียงราย
วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2551 เวลา 8.30 — 16.30 น.
ณ ห้องเชียงรุ้ง โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย
การสัมมนาวิชาการภายใต้โครงการขยายบทบาท สศค. สู่ภูมิภาค เรื่อง “เจาะลึกเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัด” และ “ขยายสะพานการค้าจากเพื่อนบ้านสู่ไทย” ณ จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ล่าสุดของเศรษฐกิจโลกและกลไกการส่งผ่านของปัจจัยภายนอกประเทศต่อสาขาการผลิตต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและจังหวัด สำหรับการสัมมนาภาคบ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการ ได้รับทราบ เข้าใจมาตรการที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินนโยบายการคลังสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศทั้งในภาพรวม ตลอดจนในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่ได้มีการลดภาษีศุลกากรขาเข้าเพื่อสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน การให้สิทธิพิเศษทางภาษีได้จัดทำในการอำนวยความสะดวกด้านการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวอย่างทั่วถึง รวมถึงรับฟังข้อคิดเห็นจากภาคเอกชนต่อมาตรการดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ประกอบการจัดทำนโยบาย และมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต วิทยากรในภาคบ่ายนี้ ได้รับเกียรติจากนายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์กรมหาชน) ดร.ลัดตะนะไต หลวงลาดบันดิด นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาค ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และดร.กุลยา ตันติเตมิท หัวหน้าฝ่ายความร่วมมือด้านการคลังยุโรป-อเมริกา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีดร.กุลยา เป็นผู้ดำเนินรายการ สาระสำคัญจากการอภิปรายสรุปได้ ดังนี้
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวถึงข้อได้เปรียบของประเทศไทยในด้าน ภูมิศาสตร์ เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางของกรอบความร่วมมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือเหลี่ยมเศรษฐกิจต่างๆ เช่น สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT) สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (Quadrangle) ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจ (ACMECS)
หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ (GMS) และเจ็ดเหลี่ยมเศรษฐกิจ และประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่เป็นสมาชิกอยู่ในทุกกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจที่กล่าวถึง ดังนั้นไทยจึงเป็นสะพานเชื่อมต่อกับทวีปเอเซียและจะนำไปสู่ความเป็นจุดศูนย์กลางของ logistic ของเอเชียในที่สุด นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนที่เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจจากตะวันออกสู่ตะวันตกโดยนโยบาย 4 ทันสมัย ได้แก่ เกษตร อุตสาหกรรม เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ การปกครองและทหาร ซึ่งยุทธศาสตร์หลักสู่ความทันสมัยทั้ง 4 ด้านดังกล่าวคือ เส้นทางคมนาคม โดยเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ 2 สายสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางด้าน Logistic ได้แก่ 1) East-West Corridor เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม (สู่ดานังทางตะวันออก หากแต่การเชื่อมโยงทางตะวันตกสิ้นสุดแค่ถึงแม่สอดเนื่องจากปัญหาของประเทศพม่า) ซึ่งหากเส้นทางนี้สำเร็จจะเชื่อมโยงไปสู่อินเดียได้ 2) North-South Corridor เป็นการเชื่อมโยงจากจีน คุนหมิง-บ่อฮาน (บ่อเต็นฝั่งลาว) — เชียงของ — กรุงเทพฯ หรือที่เรียกว่า คุนมั่นกงลู่ ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมยูนนานเข้ากับอาเซียน และได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าหากเส้นทางคุนมั่นกงลู่นี้ มีการต่อยอดจากกรุงเทพฯ ลงสู่ทะเลอันดามัน โดยท่าเรือน้ำลึกลงทะเลอันดามัน ในจังหวัดกระบี่ ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลาง logistic เชื่อมระหว่างจีน และต่อยอดจากจีนถึงอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป
ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์กรมหาชน) ได้อภิปรายใน 2 ประเด็นหลักคือ นโยบายการต่างประเทศของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ การฟื้นฟู กระชับสัมพันธ์ การริเริ่ม และความร่วมมือระหว่างกันทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี การสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันในการแก้ไขปัญหา การหาผลประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงใจและสร้างสรรค์ โดยมียุทธศาสตร์ ได้แก่ การทูตเชิงรุกทางเศรษฐกิจ การให้ความช่วยเหลือเอการพัฒนา ด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวระหว่างกัน การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สร้างความไว้ใจระหว่างกัน และประเด็นการรวมตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค ในกรอบที่สำคัญ ได้แก่ 1) ประชาคมอาเซียน ที่มีเป้าหมาย ในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน ตลอดจนเงินทุนกันอย่างเสรี 2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) ที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และบริการ เพื่อยกระดับการจ้างงาน ความร่วมมือทางเทคโนโลยี การศึกษา การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก โดยได้มีการสร้างถนนเชื่อมโยงอนุภูมิภาคเข้าด้วยกัน ได้แก่ ถนนหมายเลข 1 3 9 และ 10 ล่าสุดการประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งที่ 3 เน้นในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเน้นใช้ประโยชน์จากถนนเชื่อมโยงที่สร้างขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจต่อเศรษฐกิจภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เช่น พัฒนา Contract Farming เชื่อมโยงการผลิต แปรรูป ภาคการค้าและบริการโดยเฉพาะธุรกิจขนส่ง ภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมที่จะมีการย้ายฐานการผลิตเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน 3) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือที่เรียกว่า ACMECS ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความร่วมมือที่มีอยู่แล้ว ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบตามแนวชายแดน
ดร. ลัดตะนะไต หลวงลาดบันดิด นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาค (Regional Economist) ธนาคารเพื่อ
การพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้กล่าวถึง บทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียต่อการสนับสนุนการค้ากับประเทศ
เพื่อนบ้านในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Economic Cooperation Program)
ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สปป.ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนานและกวางสี) ตั้งแต่ปี 2535 สาขาความร่วมมือของ GMS มี 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน เกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ADB เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก ผ่านการเชื่อมโยงตามแนวเศรษฐกิจ (Economic Corridor) ตามแผนยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 1) Hardware การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North South Economic Corridor: NSEC) เป็นหนึ่งโครงการที่มีความสำคัญภายใต้แนวพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุน การพัฒนาเครือข่ายพลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีด้านคมนาคมด้วย ซึ่งมีการเชื่อมต่อระหว่างกัมพูชา-ลาว พม่า-ไทย-เวียดนาม ซึ่งจะช่วยลดความยากจนเขตชนบทชายแดน 2) Software กระชับความสัมพันธ์ของชุมชน เช่น การลดอุปสรรคของการ cross-border ลดกฎระเบียบที่จำกัด เช่น ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งของสินค้าและผู้โดยสาร 3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในแผนงานของ GMS การทำงานร่วมกับ GMS Business Forum การมีความร่วมมือสนับสนุนด้านเกษตรกรรม ท่องเที่ยวและ 4) ความร่วมมือสนองสินค้าสาธารณะ เช่น การควบคุมโรค แรงงานและการย้ายถิ่น การศึกษา และสิ่งแวดล้อม
ดร.กุลยา ตันติเตมิท ได้กล่าวถึงกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการค้าชายแดน เช่น สิทธิประโยชน์การลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (AISP) การทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) ภายใต้กรอบ ACMECS เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการเลือกใช้สิทธิ์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และได้กล่าวถึงภาวะการค้าชายแดนไทยกับประเทศพม่า ลาว และ จีนในด่านศุลกากร 8 ด่านภาคเหนือ โดยได้หยิบยกด่านศุลกากรและสินค้านำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของแต่ละประเทศ และได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาการนำเข้ากระเทียมจากประเทศจีนว่าไม่ได้มีผลมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เนื่องจากในปัจจุบันสินค้ากระเทียมยังเป็นสินค้าที่มีการกำหนดโควตาภาษี โดยกระเทียมที่นำเข้าจากประเทศจีนในปัจจุบันตามฐานข้อมูลในระบบนั้น เป็นกระเทียมที่นำเข้ามาภายใต้อัตราภาษีนอกโควตาที่ร้อยละ 57 นอกจากนี้ ยังได้เสริมถึงมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า ซึ่งประกอบด้วย กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และภาคบริการที่ได้รับผลกระทบ
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 17/2551 7 กรกฎาคม 2551--